7/31/2555

‘ก่อการร้าย’รุกแรง! เข้าใจ..ไฟใต้ กันเกิด‘เต็มรูปแบบ’

           การก่อความไม่สงบ การก่อความรุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ในระยะนี้เกิดขึ้นในรูปแบบที่ดูจะ “รุนแรงมากขึ้น!!” โดยเฉพาะกับการเกิด “คาร์บอมบ์ในพื้นที่เขตเมือง” และ “คาร์บอมบ์สังหารเจ้าหน้าที่จำนวนมาก” จนนำมาซึ่งกระแสหวั่นวิตก “การก่อการร้ายเต็มรูปแบบ??”

ก่อการร้ายเต็มรูปแบบ“ ตอนนี้น่าจะยังไม่ใช่         แต่ต่อไปก็ไม่แน่...ถ้ากลุ่มผู้ก่อการมีโอกาส!!!!

ทั้งนี้ ถามว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กลุ่มผู้ก่อความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็น “ผู้ก่อการร้าย” หรือไม่? บางฝ่ายอาจตอบว่าใช่ บางฝ่ายอาจตอบว่าแค่คล้าย ๆ หรือบางฝ่ายอาจตอบว่าไม่ใช่ นั่นก็ว่ากันไป แต่จะอย่างไรก็ตาม ที่แน่ ๆ คือ การ ’เข้าใจสถานการณ์ไฟใต้“ ของทุกฝ่าย ของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ น่าจะเป็นประโยชน์ในการ ’สกัดการเกิดสถานการณ์ก่อการร้ายเต็มรูปแบบ“

        และหากจะโฟกัสกันที่การปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งมักเป็นไปในรูปแบบ “กองโจร” ก็มีบทความเรื่อง “การปราบปรามการก่อความไม่สงบ–รู้จักกับกองโจรในการก่อความไม่สงบ”ในเว็บไซต์ ทอทหาร ที่ฉายภาพให้เห็น-ให้เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้โดยสังเขปคือ...การปฏิบัติการของกองโจรจะเป็นการดำเนินการที่ใช้เวลา ใช้ยุทธวิธีที่มีลักษณะการจู่โจมอย่างรุนแรงในระยะสั้น ๆ แล้วถอนตัวอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่แล้วกองโจรจะใช้การเข้าตีโฉบฉวยและการซุ่มโจมตีเป็นหลัก

“กองโจร” นั้น มักจะมีลักษณะของการปฏิบัติการทางยุทธวิธีดังนี้คือ...โจมตีต่อที่หมายล่อแหลมด้วยกำลังที่เหนือกว่า, หลีกเลี่ยงการเข้าปะทะโดยตรงอย่างแตกหักกับกำลังปราบปรามที่เหนือกว่า, รวมกำลังอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าปฏิบัติการ แล้วกระจายกำลังออกเพื่อหลีกเลี่ยงการโต้ตอบ, ปะปนอยู่กับประชาชน รวมถึงมีการดำรงความริเริ่มอยู่เสมอ และดำเนินกลยุทธ์เพื่อจู่โจมกำลังปราบปรามโดยอาศัยข่าวกรองที่ถูกต้อง-มีการวางแผนอย่างละเอียด...ซึ่งกับสถานการณ์ ’ไฟใต้“ ก็อยู่ในขอบข่ายลักษณะเหล่านี้

เป็นลักษณะการปฏิบัติการที่เจ้าหน้าที่ระวังยาก

และกับการตอบโต้การปราบปรามก็จะยากตาม



      บทความในเว็บไซต์ ทอทหาร ซึ่งเขียนโดยนักวิชาการสายความมั่นคง ยังขยายความลักษณะของการปฏิบัติการทางยุทธวิธีของกองโจร ไว้อีกว่า...อาจจะมีได้ทั้งในแบบ รบด้วยวิธีรับ ซึ่งโดยปกติแล้วกองโจรจะไม่ทำ เพราะกองกำลังมีขนาดเล็กและไม่มีอาวุธหนักสนับสนุน แต่ถ้าจะต้องทำก็จะเลือกพื้นที่ที่ได้เปรียบกำลังฝ่ายปราบปราม ถ้าถูกปิดล้อมก็จะตีฝ่าวงล้อม สลายตัวออกเป็นรายบุคคล หรือหลบซ่อนปะปนกับประชาชน

       อาจเป็นแบบ ปฏิบัติการรบกวน โดย ซุ่มโจมตี ตีโฉบฉวย เข้าตีด้วยกำลังขนาดเล็ก ปฏิบัติการต่อเส้นทางคมนาคม ฯลฯ ซึ่งเป็นแบบที่ฝ่ายรัฐฝ่ายปราบปรามต้องตั้งรับ หมดโอกาสที่จะเป็นฝ่ายรุก และเปิดโอกาสให้กองโจรสามารถขยายตัว อาจขยายไปเป็นการปฏิบัติการรบด้วยยุทธวิธีของสงครามตามแบบได้

       หรืออาจจะเป็นแบบ เข้าตีด้วยกำลัง เมื่อกองโจรมีการจัดตั้งเป็นหน่วย รวบรวมกำลังได้จำนวนมาก โดยกำลังจะได้รับการฝึกการใช้อาวุธมาเป็นอย่างดี การปฏิบัติการแบบนี้จะเข้าตีต่อหน่วยเจ้าหน้าที่ที่อยู่โดดเดี่ยว หรือหากไม่โดดเดี่ยวก็จะใช้ปฏิบัติการอื่น ๆ เสริม เช่น ปฏิบัติการต่อเส้นทางคมนาคม เพื่อแบ่งแยกหน่วยที่ต้องการเข้าตีออกจากหน่วยอื่น ๆ ตัวอย่างการปฏิบัติลักษณะแบบนี้คือ การปล้นปืนกองพันทหารพัฒนาที่ 4

        นอกจากนี้ ก็อาจจะเป็นแบบ ใช้วิธีการก่อการร้าย ซึ่งหากใช้กับสถานการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้กองโจรบรรลุเป้าหมายได้ โดยเทคนิคที่นำมาใช้ก็ได้แก่ วางระเบิด ลอบสังหาร ฆาตกรรม ทรมาน ลักพาตัว ขู่ขวัญ ข่มขู่ว่าจะเปิดเผยความลับหรือแบล็กเมล์ เพื่อให้บุคคลกระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อกองโจร ซึ่งเทคนิคเหล่านี้กองโจรจะใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งทางอ้อม ในการบีบบังคับ กระตุ้น ยั่วยุ และในการคุกคาม

    ’การคุกคามจะใช้เพื่อก่อให้เกิดความหวาดกลัวกับบุคคล ครอบครัว เพื่อน ทำให้ประชาชนไม่กล้าให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล...“ ’การกระตุ้น ยั่วยุ เป็นการดำเนินการที่ต้องการให้ฝ่ายรัฐบาลเข้าปราบปรามด้วยความรุนแรง เพื่อให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจและเอาใจออกห่างจากรัฐบาล โดยมีเป้าหมายคือกำลังทหารของรัฐบาล ผู้นำ หรือตำรวจ“…ในบทความระบุ ซึ่งก็สอดคล้องกับสถานการณ์

       และอีกประเด็นหนึ่งจากบทความชิ้นนี้ ที่ยึดโยงกับสถานการณ์ “ไฟใต้” ซึ่งก็น่าคิด คือ...’หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จักกองโจรดีพอ ทำให้เกิดแนวความคิดต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปในรูปของความรุนแรง และนำไปสู่การสร้างกระแส และอาจนำไปสู่ความแตกแยกในประเทศชาติในที่สุด“

“ต้องเข้าใจไฟใต้” จุดนี้ก็ “สำคัญต่อการดับไฟใต้”

ก็มีผลถึงการที่ “ประชาชนจะสนับสนุนเจ้าหน้าที่”

มีผลต่อการ “สกัดการก่อการร้ายเต็มรูปแบบ!!!!!”.





ที่มา  สกู๊ปหน้า 1  เดลินิวส์   http://www.dailynews.co.th/article/223/138109

7/23/2555

จากกระบวนการยุติธรรม ถึงบทบาทของ NGOs ใน จชต. “ความพยายามที่สวนทาง”


           การตัดสินคดีของศาลจังหวัดนราธิวาส ให้ประหารชีวิตนายมะธาฮา ยะสีงอ ผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงหลายคดีในพื้นที่ จชต. เมื่อวันที่ 16 ก.ค.55 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งคดีตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงกระบวนการศาลยุติธรรม ที่มีการพิจารณาคดีอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีความมั่นคงในพื้นที่ จชต. ที่มีความละเอียดอ่อน และมักถูก หยิบยกประเด็นที่มีการจับกุมตัวผู้ต้องหาแล้วศาลต้องพิจารณาสั่งยกฟ้องเนื่องจากขาดหลักฐานที่จะนำไปสู่การยืนยันตัวผู้กระทำผิดได้อย่างชัดเจน 

        ที่สำคัญคือ การได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภาคประชาสังคมหรือ NGOs ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ต้องหาหลายรายที่ฝ่ายความมั่นคงมีข่าวสารหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นผู้กระทำผิด แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแล้วมักจะถูกยกฟ้องด้วยเหตุผลข้างต้น และเมื่อใดก็ตามที่เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่ไม่ต้องเอ่ยชื่อแต่เป็นที่ทราบกันดีถึงบทบาทในการให้การช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรง ก็จะรีบเร่งออกมาช่วงชิงเพื่อสร้างความเหนือกว่าด้านข่าวสารด้วยการโจมตีฝ่ายความมั่นคงในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทันที 

      ซึ่งถ้ายังจำกันได้ถึงกรณี นายซูลกิฟลี ซิกะ ผู้ต้องสงสัยซึ่งมีพฤติกรรมเป็นสมาชิกผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือ RKK ที่ถูกฝ่ายความมั่นคงควบคุมตัว โดยในระหว่างเจ้าหน้าที่เข้าทำการควบคุมตัว นายซูลกิพลีฯ ได้ถอดซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือทิ้งและยังใช้หลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของคนอื่นมาแสดงตน ได้ร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานระหว่างควบคุมตัว จนองค์กรภาคประชาสังคมได้ออกมาโหมกระพือเรื่องราวโจมตีฝ่ายความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในท้ายที่สุดจากผลการตรวจร่างกายของแพทย์ถึง 3 คนยืนยันได้ว่าไม่มีการซ้อมทรมานแต่อย่างใด และท้ายที่สุด นายซูลกิฟลีฯ ก็ถูกจับกุมอีกครั้งในข้อหาร่วมกับพวกเข้าโจมตีฐานพระองค์ดำ ซึ่งก็ก่อเหตุพร้อมกับนายมะธาฮา ยะสีงอ นั้นเอง 

      และนี่เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ ครั้งที่ NGOs เหล่านั้นไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่ตนเองได้กระทำลงไปอีกเช่นเคย 

         กรณีนายมะธาฮา ยะสีงอ ซึ่งถูกศาลตัดสินประหารชีวิตครั้งนี้ ด้วยเหตุแห่งความผิดโดยเมื่อวันที่ 19 ม.ค.54 ได้ร่วมกับพวกอีกประมาณ 40 คนโจมฐานปฏิบัติการ ร้อย ร.15121 หรือฐานพระองค์ดำ ทำให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิต และยังได้นำอาวุธจากคลังอาวุธไปได้จำนวนมาก จนเมื่อวันที่ 11 ก.พ.55 ได้เกิดการปะทะระหว่างผู้ก่อเหตุรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ อ.บาเจาะ นราธิวาส ส่งผลให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิตจำนวน 1 คน จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบของกลางจำนวนมากทั้งอาวุธและกระสุน ในจำนวนนั้นมีกระเป๋าสตางค์ซึ่งมีบัตรประชาชนของ นายมะธาฮา ฯ ตกอยู่ในที่เกิดเหตุซึ่งจากการตรวจสารทางพันธุกรรมหรือ DNA พบว่าตรงกันกับนายมะธาฮา ฯ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าทำการจับกุมเมื่อวันที่ 5 ก.ค.55 ซึ่งก็ได้พบหลักฐานสำคัญที่มัดตัวผู้ต้องหาแบบดิ้นไม่หลุดคือ พบอาวุธปืน M16 อีกจำนวนหนึ่งกระบอกที่บ้านของผู้ต้องหา ซึ่งเป็นปืนที่ถูกปล้นไปจากฐานพระองค์ดำนั้นเอง 

        เจอหลักฐานชัดเจนอย่างนี้นายมะธาฮา ฯ ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาจึงให้การรับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงจริง จนนำไปสู่การตัดสินให้ประหารชีวิตโดยศาลจังหวัดนราธิวาสในข้อหาก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร พยายามฆ่าในที่สุด 

 ถึงกระนั้นการจับกุมดังกล่าวก็ยังมีการร้องเรียนของผู้ต้องหาว่าได้ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานให้รับสารภาพไปยังองค์กรสิทธิมุนษยชนแห่งชาติ จนเป็นเหตุให้คำร้องดังกล่าวเป็นคำร้องที่ฝ่ายความมั่นคงต้องถูกตรวจสอบ และด้วยวัตถุพยานต่างๆ ที่ฝ่ายความมั่นคงได้ตรวจสอบและชี้แจงไปยังองค์กรสิทธิมุนษยชนแห่งชาติ ทำให้คำร้องนั้นกลายเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาพยายามดิ้นรนหนีความผิดเพื่อผลทางรูปคดีและลดความเชื่อมั่นในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งเมื่อศาลพิจารณาจากหลักฐานและสำนวนการสอบสวนแล้วตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิต จึงย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่จับกุมได้ถูกคน ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่กล่าวหา 

    คดีนี้จึงเป็นอีกหนึ่งคดีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสตรงไปตรงมา และการพิทักษ์รักษาความศักสิทธิ์ของกระบวนการศาลยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ตามครรลอง 

       ที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยผดุงความยุติธรรมทางคดีให้เกิดขึ้นได้คือ ความร่วมมือขององค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องไม่คำนึงแต่เรื่องการให้ความช่วยเหลือโดยไม่พิจารณาถึงผลเสียทางรูปคดีโดยไม่มองถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้สำหรับบทบาทของ NGos บางองค์กรกำลังตกเป็นเครื่องมือของผู้ก่อเหตุรุนแรงทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว นี่คือความจริงที่ NGos ต้องตระหนัก เพราะการให้ความช่วยเหลือผู้ก่อเหตุรุนแรงทั้งๆ ที่รู้ว่ามีความผิดจริงไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ล้วนเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ในพื้นที่เลวร้ายลงจนยากจะแก้ไข 

    เพราะจากสถิติการจับกุมในคดีความมั่นคงนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่ผู้ต้องหาที่ได้รับการช่วยเหลือจนหลุดคดีไป ย้อนกลับมาก่อเหตุเข่นฆ่าประชาชนได้ตามอำเภอใจต่อไป มิหน่ำซ้ำยังใช้ความรุนแรงและข่มขู่สร้างความเกรงกลัวให้กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น เพื่อแสดงให้ชาวบ้านในพื้นที่เห็นว่าอำนาจรัฐไม่สามารถเอาผิดตนเองได้ 

         แล้วเมื่อถึงตรงนี้ใครล่ะที่จะเป็นผู้แก้ปัญหาและดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านต่อไป บอกได้เลยว่าไม่ใช้ NGos หรอก 

       ได้เคยเสนอแนวทางการในการแก้ไขปัญหาการไม่บูรณาการกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ NGos มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อถึงเวลานี้ก็ยังจะขอเสนอแนวทางนั้นต่อไป เพราะจะเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้นคือ “การสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน” ของทั้งสองฝ่ายคือ องค์กรภาคประชาสังคมกับฝ่ายความมั่นคงมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ เพิ่มโอกาสในการพบปะพัฒนาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดความเห็นที่ตอนนี้อาจมีความแตกต่างเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรหรือเหตุผลอื่นใด เพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาร่วมกัน ทำงานร่วมกันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูลโดยมุ่งสู่ประชาชนเป็นสำคัญ ความสงบสุขก็จะกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืนในอีกไม่นาน 

จากที่เฝ้าสังเกตและติตดามการดำเนินการแก้ไขปัญหาภาคใต้ตามแนวทางที่ต่างกันของทั้งสองฝ่ายมาพอสมควร ถึงวันนี้เชื่อ่ได้ว่าฝ่ายความมั่นคงน่าจะพร้อมแล้วที่จะประสานความร่วมมือกัน คงเหลือแต่องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่นี่แหละว่ามองเห็นโอกาสบนวิกฤตนี้หรือไม่ 

ถอยหลังคนละก้าวแล้วเริ่มได้เลย....ยังไม่สาย สันติสุขของพี่น้องประชาชนรออยู่ข้างหน้าแล้วครับ 

ซอเก๊าะ นิรนาม

7/09/2555

องค์กรนักศึกษาใน จชต. ความเคลือบแฝงในเงามืด ความจริงที่ต้องเปิดเผย

ชมคลิ้บวีดีโอ  http://www.youtube.com/watch?v=Izw4H6-CILk&feature=relmfu
     
         ในกระแสการต่อสู้ด้านการเมืองระหว่างรัฐไทยกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนานนั้น ยุทธศาสตร์การสร้างแนวร่วมของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเพื่อใช้เป็นมวลชนสนับสนุนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างได้ผล โดยเฉพาะการใช้ความแตกต่างทางอัตลักษณ์ ประวัติ ศาสตร์ชาติพันธุ์และศาสนามาบิดเบือน โดยมุ่งหวังจุดประกายความแตกแยก สร้างสถานการณ์ให้ลุกลามจนนำไปสู่การเข้ามาแทรกแซงขององค์กรระหว่างประเทศแล้วเข้าสู่กระบวนการแยกตัวเป็นเอกราชต่อไป
               ในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาขบวนการใช้วิธีการนี้ในหลายกลุ่มเป้าหมาย และที่เกิดผลมากที่สุดคือกลุ่มเยาวชนทั้งนอกและในสถานศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือ “ปอเนาะ” โดยได้แอบแฝงเข้าไปในสถานศึกษาในภาพของครูสอนศาสนาอิสลาม ใช้การปลุกระดมบ่มเพาะด้วยการนำประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลามมาบิดเบือน เพื่อให้เกิดความคิดความเชื่อที่แตกต่าง สร้างความรู้สึกให้เกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐและระบบการปกครองของรัฐไทย และเยาวชนส่วนหนึ่งจะถูกคัดเลือกเข้ารับการฝึกเป็นแนวร่วมปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการก่อเหตุรุนแรง ส่วนเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดจะถูกคัดเลือกให้เป็นผู้ขยายผลในการสร้างแนวร่วมในสถานศึกษาในแห่งอื่นๆ ต่อไป 

7/04/2555

ปอเนาะ “เบ้าหลอมแห่งอิสลาม”



              ยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนตามแผนบันได 7 ขั้นขององค์กรนำในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมความเชื่อได้อย่างสุดประมาณ และจะหยั่งรากฝังลึกต่อไปในพื้นที่นี้อีกอย่างยาวนานแม้ว่าวันหนึ่งการต่อสู้ด้วยอาวุธจะหมดไปก็ตาม นั้นคือ ยุทธศาสตร์การสร้างแนวร่วมเพื่อใช้เป็นมวลชนสนับสนุน โดยใช้ความแตกต่างทางอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์และศาสนามาบิดเบือน ซึ่งส่งผลให้เกิดการแตกแยกแบ่งฝ่ายระหว่างประชาชนทั้งสองศาสนาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และแน่นอนว่าการบิดเบือนทั้งมวลมุ่งหวังจุดประกายให้สถานการณ์ลุกลามจนนำไปสู่การเข้ามาแทรกแซงขององค์กรระหว่างประเทศแล้วเข้าสู่กระบวนการแบ่งแยกดินแดนต่อไป 

             ในช่วงที่ผ่านมาการแสวงหาแนวร่วมของผู้ก่อเหตุรุนแรงมักมุ่งเป้าหมายไปที่เยาวชนทั้งในนอกและในสถานศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือ “ปอเนาะ” ซึ่งจากข้อมูลข่าวสารที่ฝ่ายความมั่นคงได้จากกระบวนการด้านการข่าว ยืนยันได้ว่าผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือแนวร่วมในระดับปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นเยาวชนในสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้อาศัยช่องว่างทางการศึกษา แอบแฝงเข้าไปในสถานศึกษาดังกล่าวในภาพของครูสอนศาสนาอิสลาม (อุสตาซ) ใช้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นสถานที่ดำเนินการปลุกระดมบ่ม
เพาะด้วยการนำประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลามมาบิดเบือน เพื่อให้เกิดความคิดความเชื่อที่แตกต่าง จนนำไปสู่การเลือกข้างและเยาวชนส่วนหนึ่งจะถูกคัดเลือกเข้ารับการฝึกเป็นกองกำลัง RKK เพื่อใช้ในการก่อเหตุรุนแรง โดยการปฏิบัติข้างต้นอยู่ภายใต้การให้การสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษาบางรายทั้งที่เต็มใจและถูกกดดัน ข่มขู่ให้จำยอม ซึ่งที่ผ่านมาจากการเข้าปิดล้อมตรวจค้นของฝ่ายความมั่นคงในโรงเรียนหลายแห่ง ก็สามารถตรวจพบหลักฐานที่เชื่อมโยงกับผู้ก่อเหตุรุนแรง อาทิ อาวุธปืน ระเบิดหรืออุปกรณ์ประกอบ ซึ่งที่ยืนยันได้ชัดเจนที่สุดคือ การเข้าปิดล้อมตรวจค้นโรงเรียนอิสลามบูรพาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ที่สามารถตรวจยึดหลักฐานสำคัญได้จำนวนมากจนนำไปสู่การจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรงและการระงับใบอนุญาติโรงเรียนในที่สุด 

7/01/2555

Pulo member gets life in jail


·         Published: 28/06/2012 at 01:34 AM
·         Newspaper section: News

The Appeals Court yesterday handed down a life sentence to a member of the Pattani United Liberation Organisation (Pulo), a separatist movement, reversing the Criminal Court's earlier decision to drop all charges against him.

Prosecutors indicted Koseng Cheloh, also called Useng, on charges of rebellion and illegal assembly of weapons and men to conduct terrorist activities with the aim of separating five southern border provinces from the Kingdom.
The court was told that between 1968 and Feb 10, 1998, Mr Koseng and other Pulo members recruited Muslims into the separatist movement, extorted protection money from businessmen in the five southern border provinces and used the money to set up armed units to conduct terrorist activities.
Prosecutors said these activities included attacks on government installations, destroying rail tracks with bombs and burning down bridges and schools, resulting in extensive damage and a large number of casualties.
The court was also told that in 1998, Mr Koseng was named by Hayee Dao, who was arrested on suspicion of being a head of the new Pulo, as the leader of a sub-group of Pulo operating in cities.
Mr Koseng was arrested on Dec 7, 2005, on a murder charge and was then identified as a man called Zakarim, which he insisted was not his name.
However, police investigators testified they later learned the name Zakarim was a pseudonym of the Pulo sub-group allegedly controlled by Mr Koseng.
Authorities also obtained a picture of Mr Koseng's ID card in a raid in the far South.
The search turned up more evidence suggesting that he and another suspect, Manaze Jeloh, had a role in terrorist-style weapons training.
Mr Koseng failed to prove his claim that he had lived in Malaysia for 10 years and spent some years studying in Syria and Libya, the Appeals Court said.
The Criminal Court dismissed the case against Mr Koseng on Dec 1, 2008, on the grounds that evidence against him was doubtful.
The state chose to appeal, and the Appeals Court yesterday sentenced Mr Koseng to death. The sentence was commuted to a life sentence on the grounds that his testimony was useful.