10/24/2555

9 ปีไฟใต้ จริงจังจริงใจแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ แสงเทียนแห่งความหวังของคนปลายด้ามขวาน





การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งห่วงโซ่แห่งความรุนแรงที่ได้ปะทุขึ้นมาใหม่อีกครั้งเมื่อต้นปี 47   โดยกลุ่มก่อความไม่สงบได้บุกโจมตีที่ตั้งหน่วยกองพันพัฒนาที่ 4 อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ได้สังหารเจ้าหน้าที่ทหาร 4 นาย  แล้วล่าถอยไปพร้อมกับอาวุธมากกว่าสามร้อยกระบอก ขณะเดียวกันก็ลอบเผาโรงเรียนและจุดต่าง ๆ อีกนับสิบแห่งในคืนเดียวกัน นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงรอบใหม่ที่ต่อเนื่องมายาวนานเกือบ 9 ปี  ด้วยรูปแบบของสถานการณ์ที่มีการพัฒนาความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในลักษณะการบ่อนทำลาย การก่อวินาศกรรมด้วยการลอบวางระเบิด การลอบฆ่า และลอบวางเพลิง มีผู้ได้รับบาด เจ็บเสียชีวิต ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนทั่วไปทั้งผู้นับถือศาสนาพุทธและมุสลิมเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจทั้งในพื้นที่และของประเทศโดยรวมอย่างมาก  และแน่นอนว่าสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยกำลังถูกจับตามองจากหลายฝ่ายทั้งภายในและนอกประเทศว่าบทสรุปของความรุนแรงนี้จะจบลงได้หรือไม่  เมื่อไหร่และอย่างไร

ประเด็นพื้นฐานที่มีความอ่อนไหวและถูกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงนำมาใช้เพื่อขยายจุดต่างสร้างแนวร่วมในพื้นที่ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือความแตกต่างทางศาสนา  วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเรื่องชาติพันธุ์การเป็นคนมลา ยูปัตตานี  ทั้งนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการบีบบังคับให้ออกนอกพื้นที่โดยใช้การข่มขู่ เข่นฆ่าประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ เพื่อให้ส่วนที่เหลือเกิดความหวาดกลัวจนต้องอพยพหลบหนี  โดยเฉพาะการบิดเบือนคำสอนอันดีงามของศาสนาอิสลามว่าการทำร้ายคนต่างศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่ผิด   จึงกลายเป็นสิ่งชักนำให้สถานการณ์ภาคใต้ของไทยกลับขยายใหญ่โตขึ้นตามลำดับ 

แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วแม้ความแตกต่างจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา  และถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อใช้ความรุนแรงแต่มันมิใช่ปัญหาทั้งหมด  กรณีมุสลิมภาคใต้ของไทยนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้เรียกร้องโดยอาศัยหลักการพื้นฐานคือ การปกครองตนเองด้วยคณะบริหารของตน ซึ่งมีเป้าหมายคือ ความเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมมุสลิม อย่างไรก็ตามในการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรงครั้งใหม่นี้  หาได้มีกลุ่มก่อความไม่สงบใดๆ กล่าวอ้างถึงข้อเรียกร้องการปกครองตนเองอย่างชัดเจน แล้วกำหนดแผนการและขั้นตอนการนำไปสู่การปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ เหมือนกับกลุ่ม Moro Islamic Liberation Front  ของฟิลิปปินส์แต่อย่างใด 

ในทางตรงกันข้าม  การก่อเหตุรุนแรงทุกครั้งกลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทยไม่เคยแม้แต่การออกมาประกาศความรับผิดชอบว่าเป็นการกระทำเพื่อต้องการแบ่งแยกดินแดน  ซ้ำร้ายยังใช้สื่อของกลุ่มปฏิบัติการข่าวสารทั้งในพื้นที่ประเทศไทยและในกลุ่มประเทศมุสลิมกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของรัฐบาลไทยที่ต้องการกลั่นแกล้งชาวมุสลิม  เพื่อมุ่งหวังการได้รับการบริจาคเงินช่วยเหลือซึ่งอ้างว่านำมาเพื่อใช้ในการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวมุสลิมและใช้ในการต่อสู่แบ่งแยกดินแดนจากต่างประเทศ  ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนมาเป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี  แต่เป็นที่รู้กันว่าเงินส่วนนี้มิได้ถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค  แต่กลับถูกแบ่งสรรปันส่วนกันระหว่างแกนนำ  จะเห็นได้จากการเกิดการแตกแยกของแกนนำขบวนการออกเป็นกลุ่มๆ  เพื่อก่อเหตุรุนแรงสร้างผลงานแล้วเรียกร้องขอรับเงินบริจาคเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน

นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่เสมือนเป็นปัจจัยผลักดันให้สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไปที่สำคัญยังมีปัจจัยด้านการเมือง  กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มธุรกิจผิดกฏหมายที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงและมีผลประโยชน์ร่วมกันลักษณะต่างตอบแทน  ปกป้องซึ่งกันและกัน  ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ได้ยากยิ่ง

อย่างไรก็ดีด้วยพื้นฐานการอยู่ร่วมกันภายใต้วิถีชีวิตที่แตกต่างของประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีทั้งคนไทยเชื้อสายมลายู  จีน และไทย  ซึ่งได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสำนึกเสมอว่าทุกคนเป็นพลเมืองไทยตลอดมา  ทำให้ความพยายามที่กล่าวอ้างถึงการแบ่งแยกดินแดนของขบวนการยังคงไม่ประสบความสำเร็จ  ในขณะที่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ยังคงต้องสังเวยชีวิตให้กับการก่อเหตุรุนแรงต่อไป

เป็นเวลาเกือบ 9 ปีแล้วที่รัฐบาลไทยได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เหตุการณ์ในภาคใต้ของประเทศสงบลง โดยสิ่งที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษมาโดยตลอดคือ การดำเนินการภายใต้การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน  ความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและประชาคมโลกเช่น สหประชาชาติ องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์กรภาคประชาสังคมและนักวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามดูแล  รายงานและแนะนำการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ดังจะเห็นได้จากการแสดงความเห็นและจุดยืนขององค์กรระหว่างประเทศและองค์กรโลกมุสลิมที่ต่างยืนยันตรงกันว่า  ไม่เห็นด้วยกับการก่อเหตุรุนแรงที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมากและการแอบอ้างศาสนามาก่อเหตุร้ายนั้น  ไม่ใช่การกระทำของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นมุสลิม

การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านต่างๆ  อย่างต่อเนื่องและจริงใจของรัฐบาลไทยถึงแม้ว่าจะมีประชาชนเชื้อสายมลายูอาศัยอยู่มากที่สุด  เพื่อให้ประชาชนปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในบริบททางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจใหม่ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษกิจอาเซียน  ทั้งด้านศาสนาที่ไม่กีดกันการประกอบศาสนกิจใดๆ  และให้การสนับสนุนการประกอบพิธีในวันสำคัญๆ ต่างๆ   การส่งเสริมขนบธรรมเนียม ประเพณี  วัฒนธรรม  ตลอดจนการอนุรักษ์มรดกของท้องถิ่นโดยการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษามลายูท้องถิ่นในสถานศึกษา  รวมถึงการให้ความยุติธรรมด้านคดีความที่ให้สิทธิการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน  ทั้งหมดนั้นเป็นเหตุให้ความพยายามใดๆ ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่ประสบผลสำเร็จ

ตัวชี้วัดถึงการพัฒนาของสถานการณ์ในด้านดีที่สำคัญในชั่วโมงนี้คงหนีไม่พ้นนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคสี่ส่วนหน้า คือ นโยบายสานใจสู่สันติ โดยพลโทอุดมชัย  ธรรมสาโรรัช ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคสี่  ที่เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบและผู้เห็นต่างจากรัฐได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขกำลังเดินหน้าไปด้วยดี  โดยมีผู้เห็นต่างจากรัฐทยอยกันเข้ารายงานตัวกับฝ่ายความมั่นคงมากขึ้นตามลำดับ  แม้ว่าฝ่ายขบวนการเองยังคงพยายามแสดงศักยภาพโดยการก่อเหตุในพื้นที่ต่อไปเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังคงเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์ความรุงแรงให้ดำรงอยู่ได้ก็ตาม 

หากคำถามคือ เมื่อไหร่เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยจะยุติลงคงหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ ณ เวลานี้  แต่ด้วยการพัฒนาของสถานการณ์ที่มีสัญญาณที่ดีและความร่วมมือในการแจ้งข่าวสารของประชาชนจนนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดมากขึ้น  ความเบื่อหน่ายเอือมระอาของประชาชนที่มีต่อขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงที่มุ่งสร้างเพียงความเสียหายอย่างไม่รู้จบ  การถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการเหลียวแลจากขบวนการของแนวร่วมจนยอมวางอาวุธและออกมารายงานตัว  รวมถึงองค์กรระดับชาติต่างๆ ในประชาคมโลกที่กำลังมองเหตุการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างเข้าอกเข้าใจ  เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งบอกเหตุได้ว่าเค้าลางแห่งความสงบสันติกำลังเริ่มปรากฏขึ้น  สำคัญที่สุดคือต้องบูรณาการการทำงานอย่างจริงจังของทุกองคาพยศทั้งระดับพื้นที่และระดับชาติ  ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ปัญหาอยู่ฝ่ายเดียว  รับรองว่าอีกไม่นานความสงบจะกลับคืนมาสู่ภาคใต้อีกครั้ง...รับรอง
---------------------------------------------

ซอเก๊าะ   นิรนาม

10/17/2555

Dedicated teacher knew he might be killed but didn’t give up

            The latest teacher shot dead by suspected militants in the restive deep South knew he was marked for death but he refused to give up his teaching job and went to school and back home riding unescorted in a motorcycle.
           Mr Komsant Chomyong, 40, a teacher of Ban Bor Ngor school in Ra-ngae district of Narathiwat, was shot dead on October 1 as he was riding home in his motorcycle.  According to eyewitnesses, two men riding on a motorcycle approached him and the pillion-rider shot him to death with a handgun.  Then the shooter stopped and took away the victim’s 11-mm pistol which he always carried but did not have a chance to use it.
          Mr Komsant’s death brought to 152 the number of teachers killed by suspected militants for the past eight years since the start of a renewed insurgency in January 2004.
          The victim’s younger sister, Mrs Kantha Veeraseni, told Isra news agency that Mr Komsant  used to be a border patrol policeman but served in the force for only three years and had to quit the service due to health problem.  Then, he took a teaching course and got a teaching job at Ban Lupodeeyae in Ra-ngae district after graduation.  But later on, he further his study until he got a Master’s in education and got transferred to Ban Bor Ngor school where he taught until his murder.
          "He knew that it was a great risk teaching in this red zone so he decided not to get married in order to be able to fully devote himself to teaching.  He did not want to move out of the district and wanted to teach here," said Mrs Kantha.
          The victim’s colleagues at the school told Isra news agency that Mr Komsant was fully aware that he would one day be attacked by suspected militants but he refused to travel with them for fear that they might be harmed.
          While most of the teachers in the school travelled together in a chartered truck and escorted by security forces, Mr Komsant rode alone in his motorcycle but kept changing the routes, said his colleagues.
          Mr Komsant’s sudden death has provoked widespread concern about safety problem among teachers in the restive region, especially in the so-called red zones.  Mr Boonsom Thongsriplai, head of the Federation of Teachers in Three Southernmost Provinces, said the killing had badly affected the morale of teachers.  He urged the government to increase incentives for the teachers such as better welfare, a rise in risk fees and better career path.
          Pol Col Thavee Sodsong, secretary-general of Southern Border Provinces Administration Centre, and Narathiwat Governor Apinan Suethanuwong, presided over the bathing rite of the victim on October 1 along with several teachers of Ban Bor Ngor.  About two million baht in cash were also given to the victim’s family as compensation.

10/04/2555

คำตอบที่ยังไม่จบของ “แนวร่วมมุมกลับ”...เมื่อแตกประเด็น


“การโดดเดี่ยวผู้ก่อความไม่สงบจากฐานการสนับสนุน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จในการต่อสู้กับพวกเขาเหล่านั้น ”
                                                                                                Jame O.kirass
                                                                             “Terrorism and Irregular Warfar
จาก ยุทธบทความ  สุรชาติ  บำรุงสุข มติชน สุดสัปดาห์ ฉบับ วันที่  14   20 กันยายน พ.ศ.2555  ฉบับที่ 1674

          ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้คนส่วนใหญ่มักมองปัญหาภาคใต้เป็นเรื่องของ      “ ความมั่นคง ” ซึ่งมองอย่างนี้ก็ไม่ผิด แต่ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ต้องไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ปัญหาฝ่ายเดียวแต่เป็นปัญหาของชาติที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ปัญหา และอย่ามองปัญหาเป็นของคนนอก” แต่เป็นปัญหาของ “คนในประเทศ” ฝ่ายกลุ่มขบวนการมีการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานลับมาไม่น้อยกว่า 30 ปี จากรุ่นต่อรุ่น และมีกระบวนยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่มีธงเดียว คือ “แบ่งแยกรัฐปัตตานี” ดังนั้นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมกันคิด ต้องมาร่วมกันทำ คือ ทำอย่างไรที่ทุกฝ่ายไม่กลายเป็นขับเคลื่อนสงคราม        และผลักดันให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ไม่นำเรื่องภายในประเทศออกสู่นอกประเทศ รวมถึงไม่สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนในทุกกรณี ซึ่งคนไทยทุกคนในประเทศนี้ คงไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่ แล้วปัจจัยอะไรล่ะ ที่อาจทำให้ประเทศไทย ในหลาย ๆ องคาพยพ หลงติดกับดักของขบวนการกับดักของอำนาจ ผลประโยชน์ หรือกับดักของเสรีประชาธิปไตยโดยขาดการยั้งคิด จนเป็นเครื่องมือของสงครามแบ่งแยกดินแดน ที่เรียกว่า “แนวร่วมมุมกลับ”ซึ่งส่วนสำคัญที่พอชูออกมาให้เป็นมูลเหตุแห่งการได้ไตร่ตรอง พอจะมีให้เห็นอยู่หลายประเด็น       ซึ่งผู้เขียนขอยกมาบางส่วนตามสายตาที่จับจ้องได้แต่ในส่วนที่มองไม่เห็นคงได้เห็นผู้ทีต่อยอดทางความคิด    โดยเห็นประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ได้ร่วมกันผลักดันตามแต่ความสามารถและหนทางของแต่ละบุคคล   

การเมือง (Politics)
       การเมืองในที่นี้ ผู้เขียนเองคงไม่ได้หมายถึงวาทะกรรมการเมืองนำการทหารที่ใช้สันติวิธี การบังคับใช้กฎหมาย หรือการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน การพัฒนาแทนการใช้กำลังของการยุทธ์การรบ และอาวุธ กระทำต่อกลุ่มขบวนการปฏิวัติหรือฝ่ายก่อเหตุรุนแรงที่เข้าใจกันอยู่ปัจจุบัน แต่การเมืองในประเด็นนี้ผู้เขียนหมายถึง รัฐบาลที่ (Goverment) ประกอบด้วยองคาพยพหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายค้าน ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยรวมที่เกิดเป็นรัฐโดยมีการเมือง (Polity) เป็นจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศ โดยทุกฝ่ายต้องตระหนัก และคิดเป็นหนึ่งรวมกัน เพื่อร่วมกำหนดแนวทางระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และร่วมแก้ไขปัญหาเป็นทางเดียวกัน รับฟังข้อเสนอแนะของแต่ละฝ่าย โดยมีจุดประสงค์ร่วมกันคือเราจะไม่ยอมเสียดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดง่ายที่สุดก็คือตรงข้ามกับฝ่ายกลุ่มขบวนที่ต้องการการแบ่งแยกดินแดน แต่รัฐบาลจะใช้วิธีไหนล่ะ โดยรวมหัวใจทุกฝ่ายที่เป็นการเมืองทุกระดับ ที่จะแสดงพลังอำนาจรัฐในการบริหารจัดการ และมีธงเดียวคือ ไมมีการแบ่งแยกดินแดนปกครองทั้งนี้ใช้ว่าการคัดค้านเห็นต่างจากอีกฟากการเมืองไม่ใช่สิ่งไม่ดี        แต่ถูกต้องแล้วที่ต้องมีการตรวจสอบการทำงาน และความโปร่งใส เช่น งบประมาณถึงประชาชนทั่วถึงหรือไม่ มีการคอรับชั่นทั้งระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติหรือไม่ซึ่งเป็นการถ่วงดุลของรัฐโดยสังคม และการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทั้งนี้ต้องไม่มีการแฝงประโยชน์หรือขัดผลประโยชน์ของฝ่ายกลุ่มของตนเอง โดยรวมแล้ว ต้องทิ้งคำว่าผลประโยชน์ของตนเองให้หมด สำหรับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้      ทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือพรรค (party) ต้องมุ่งสู่ผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก อย่าเอาแต่ขัดขวาง ป้ายสีฝ่ายตรงข้าม เอาประโยชน์ใส่ตนเองโดยมี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ทางการเมือง
       เมื่อไม่นานมานี้เองถือว่าเป็นแสงสว่างของการเมืองไทยในขบวนการร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ เมื่อพรรคการเมืองที่มีอำนาจบริหารฝ่ายรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน หารือกันเป็นครั้งแรกแม้ในการหาทางแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประชาชน 3 จังหวัด เมื่อ 18 กันยายน 2555 แม้ว่าจะมีความเห็นที่ต่างกันในบางเรื่องแต่ก็มีความเห็นที่เหมือนกันเช่น ยึดมั่นในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการใช้นโยบายการเมืองนำการทหารใช้การพัฒนาแก้ไขปัญหา และพัฒนาต่อเนื่องจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ ส่วนความเห็นที่ต่างกันเช่น แนวคิดการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ หรือ ร่าง พ.ร.บ. ปัตตานีมหานคร และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้งกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ให้ใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแทน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ถือได้ว่าเป็นหนทางเริ่มต้น และเป็นหนทางเดียวกัน ที่ฝ่ายการเมือง (politics) ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลมีความเห็นทางเดียวกันคือไม่ยอมแบ่งและแยกดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ออกจากประเทศไทย
       ในการประชุมหารือกันครั้งนี้เป็นครั้งแรก และอาจมีครั้งต่อไป ในระดับปฏิบัติที่นักการเมืองจะร่วมกับกำลังฝ่ายความมั่นคงทั้งฝ่ายตำรวจที่มี รองนายกเฉลิม ฯ เป็นหัวหอก และฝ่ายทหารที่มี รองนายก ยุทธศักดิ์ฯ เป็นผู้นำโดยทุกฝ่ายต้องร่วม และรับฟังซึ่งกัน และกันเพื่อหาทางออก และหนทางปฏิบัติจากระดับนโยบายยุทธศาสตร์ ลงสู่ประชาชน เพื่อเป้าหมายสันติสุขอย่างยั่งยืน ของประชาชนชาวไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้            ทั้งชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมาลายู สามารถอยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุขนั้นคือ การแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของรัฐไทย ความเข้มแข็งของการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายปฏิวัติในสงครามประชาชนอย่างแท้จริง
       แต่การร่วมมือทางการเมืองของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรคของรัฐไทยครั้งนี้ ย่อมมีนักการเมืองหลายระดับ หลายกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ทางการเมือง และในระดับบุคคลก็มีหลายคนที่หมดความชอบธรรม เสียประโยชน์ทางการเมือง และโจมตีต่อต้านนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐมาโดยตลอด รวมถึงการกล่าวโจมตีฝ่ายความมั่นคงอย่างต่อเนื่องในทุกวิถีทาง แต่หาประโยชน์ในทางปฏิบัติเพื่อนำความสุขสงบมาสู่ประชาชนไม่ได้เลย อีกทั้งยังประพฤติตนเหมือนเป็นผู้ที่ต้องการจะแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ให้กับกลุ่มขบวนการ และทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้หรือจงใจที่จะมองไม่เห็นว่ามีนักการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติเป็นกลุ่มแนวร่วมที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนตรงนี้เองผู้เขียนก็ไม่มีคำตอบ แต่ขอยกเหตุการณ์เมื่อ ๑๖ ธ.ค.๕๔นักการเมืองคนหนึ่งที่ชื่อนาย มุกตาร์   กีละ หัวหน้าพรรคประชาธรรมที่คะแนนเสียงของชาวบ้านมาแรง และมีแนวโน้มจะได้ใจประชาชนในทุกระดับที่นักการเมืองท่านนี้ทุ่มเทให้กับการนำความสงบสุขมาสู่ประชาชนอย่างแท้จริงด้วยแนวทางการเมือง และสันติทั้งที่ตอนเริ่มต้นถูกฝ่ายความมั่นคงมองว่าเป็นแนวร่วมขบวนการ แต่สุดท้ายต้องมาจบชีวิตด้วยน้ำมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนโดยกลุ่ม RKK เขต กูจิงรือปะ ที่สุดท้ายถูกชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านสังหารในเวลาต่อมา ไม่เช่นนั้นการตายของ มุกตาร์  กีละ จะเป็นเครื่องมือของฝ่ายแบ่งแยกดินแดน ที่เตรียมป้ายสีให้กับฝ่ายความมั่นคงของรัฐไทย ตรงนี้ทุกฝ่ายก็ต้องไตร่ตรองว่ามีหรือไม่ ที่การเมืองตั้งแต่ระดับชาติ ถึงระดับท้องถิ่นบางกลุ่ม กับกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีสายสัมพันธ์กันหรือไม่ แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าปล่อยให้ฝ่ายความมั่นคงฝ่ายเดียวคงไม่มีปัญญาแน่นอน
       ที่จะขาดไม่ได้ก็พวก “พลอยกระโจน” กระโดดเข้าร่วมวงวิจารณ์เสนอปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้    ในเวทีต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์แท้จริงกับประชาชนไม่ได้เลย สำหรับนักการเมืองบางคนที่เสียผลประโยชน์ และชื่อเสียงของตน ก็ส่งเสริม และยกปัญหาสู่สากลโดยไม่รู้ตัว รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีความจงใจเพียงเพื่อชื่อเสียงของตนเองหรือแสดงภูมิว่าเป็นผู้รู้ ผู้ช่ำชอง จนเป็นการเอื้อประโยชน์ และช่องทางให้กลุ่มขบวนการใช้เป็นเครื่องมือหรือตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังผลักดันให้มีการแบ่งแยก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทย ทั้งที่ความสามารถของตนเองไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักการเมืองไทยพุทธ หรือนับถือศาสนาอิสลาม ลองใช้ความรู้ความสามารถของพวกท่านมาร่วมกันกับทุกฝ่ายทำให้บ้านเมืองภาคใต้กลับสู่ความสงบ ไม่ต้องแบ่งแยกดินแดน นำสันติสุขมาสู่ประชาชนอย่างแท้จริงไม่ดีกว่าหรือ นี้เองเป็นผลที่มองได้ว่าการเมือง (politic ) ที่ไม่ได้จงใจแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทย หรือด้วยความรู้เพียงแค่ผลประโยชน์ของตน จนที่สุดเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการนำไปใช้ประโยชน์ เป็น “แนวร่วมมุมกลับ” โดยนักการเมืองนั่นเอง

สื่อมวลชน (Journalists)
       เปิดประเด็นหัวข้อนี้ ผู้เขียนคงไม่ต้องแยกว่าสื่อมวลชนประเภทไหน ชนิดใด ช่องทางอะไร แต่ขอรวมทั้งหมดในภาพกว้างทั้งคอลัมนิสต์, นักเขียน, นักวิจารณ์, พิธีกร, ผู้จัดรายการ ทั้งที่มีสังกัดและเสรี ทั้งนี้ตัวผู้เขียนเองมีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า สื่อคือสิ่งสำคัญ และมีพลังอย่างยิ่งใหญ่ต่อโลกปัจจุบันโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้พลังของสื่อนั้นยิ่งใหญ่จนประเมินไม่ได้ ดั่งสถานการณ์ของโลกที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 9 11 หรือการนำเสนอข่าวสารของสหรัฐอเมริกาของสื่อ CNN
( Cable News Network) และฝ่ายตรงข้ามโลกอาหรับอย่าง อัลจาซีร่า แม้แต่ในเอเชียที่สำคัญเช่น ประเทศมาเลเซีย ( The star ) หากเจาะลึกลงไปถึงในประเทศต่าง ๆ ที่มีปัญหาของสงครามปฏิวัติการก่อความไม่สงบในประเทศเช่น ในฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย สื่อในประเทศเหล่านี้จะร่วมกันต่อต้านความไม่สงบที่ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนเป็นเสียงเดียวกัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อคือสิ่งที่สร้างความสมดุล และนำเสนอข่าวสาร ข้อเท็จจริง ข้อมูลที่เป็นจริง โดยไม่บิดเบือนสู่สายตาประชาชน และการรับรู้อย่างทั่วถึงด้วยวิชาชีพและจรรยาบรร                      ( morality ) ซึ่งมีพลังที่ยิ่งใหญ่ และเปลี่ยนโลกนี้ได้จริงด้วยพลังของสื่อ
       มองดูปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2947 ( คศ.1999 )
ถึงปัจจุบัน มีการนำเสนอสื่อถึงเรื่องราวใน 3 จังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเสนอภาพเหตุการณ์ออกสู่สายตาประชาชน และประชาคมโลก โดยแม้นแต่ขบวนการแบ่งแยกดินแดงเองก็มีความต้องการสื่อ และมีการนำสื่อต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมืออย่างแยบยล ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ฝ่ายรัฐเองก็มีความพยายามทำความเข้าใจร่วมมือกับสื่อมาอย่างต่อเนื่อง แต่อาจมีมุมมองที่ต่างกันที่ฝ่ายสื่อมองว่ารัฐต้องการปิดบังข้อมูลความจริง      ฝ่ายรัฐก็มองว่าสื่อนำเสนอข้อมูลในทางเดียวที่มุ่งสู่การขยายผลการปฏิบัติของกลุ่มขบวนการ ทั้งนี้เวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสุดท้ายทุกฝ่ายก็ต้องร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ที่ทั้งฝ่ายความมั่นคงและสื่อเองก็ไม่อยากให้เสียดินแดน 3 จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  แบ่งแยกออกจากประเทศไทย ตัวอย่างเหตุการณ์วันที่ 28 กรกฏาคม 2555 กลุ่มขบวนการได้แสดงศักยภาพของตนเองโดยสังหารเจ้าหน้าที่ทหาร ผ่านหน้ากล้อง CCTV จงใจแสดงศักยภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตจำนวน 4 นาย และภาพเผยแพร่อย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงสื่อ Social Media ( youtube ), Facebook จนที่สุดฝ่ายความมั่นคงต้องออกมาขอร้องการนำเสนอภาพคลิบดังกล่าว และก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ทุกคลิบ ทุกภาพ 
ทุกสื่อ งดแพร่กระจายคลิบดังกล่าวทันทีในวันต่อมา นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ทุกส่วนทุกฝ่ายมีความเห็นในทางเดียวกัน โดยเฉพาะสื่อมองเห็นว่านี้คือ ความมั่นคงของชาติ  

       สื่อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทั้งสื่อที่เป็นไทยพุทธ, ไทยมุสลิม, ไทยมาลายู, สื่อหลัก, สื่ออิสระ,      สื่อท้องถิ่น, สื่อเชิงวิชาการ, สื่อที่เกาะติดสถานการณ์, นักวิจารณ์, คอลัมนิสต์ ทั้งที่มีสังกัดและเสรี รวมถึงสื่อทางเลือกของมือสมัครเล่น และนักวิชาการ ซึ่งในส่วนของนักวิชาการ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงในประเด็นต่อไป สื่อต่าง ๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมากมายนี่เอง ที่สถานการณ์ความไม่สงบจากสงครามปฏิวัติ
ของกลุ่มขบวนการที่ใช้ประชาชนเป็นเหยื่อและเครื่องมือในการก่อการ เปิดโอกาสให้กับสื่อได้หยิบฉวยและสร้างโอกาสทางความคิด ทางอาชีพ จนบางคน บางกลุ่มลืมจรรยาบรรณและลืมไปว่านี่คือประเทศไทย และสื่อจะยอมเสียดินแดนตรงนี้ไปไห้กลุ่มขบวนการแล้วใช้ชื่อว่า ปัตตานีดารุสลามหรือไม่ คงต้องถามใจสื่อเอง และผู้เขียนไม่ปฏิเสธว่าสื่อมีหน้าที่ต้องเสนอความจริง ตรวจสอบความจริงเพื่อสร้างสมดุลและความถูกต้องให้กับสังคม เพื่อป้องกันผู้ใดผู้หนึ่งมาแสวงประโยชน์จากสังคมนี้โดยขาดการตรวจสอบ

       ถูกต้องทุก ๆ สังคมที่ประกอบเป็นรัฐ ย่อมมีการตรวจสอบ แต่ทั้งนี้สื่อต้องไม่ลืมไปว่ากลุ่มขบวนการก็มีความต้องการสื่อเช่นกัน โดยเฉพาะการขยายผลสู่ประชาคมโลกได้รับรู้ ทั้งนี้สุดท้ายก็อยู่ที่วิจารณญาณ และจรรยาบรรณของสื่อที่จะมีส่วนร่วมนำสันติสุขกลับสู่ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไรโดยไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายกลุ่มขบวนการคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้สื่อบางท่าน         มีรายได้เป็นกอบเป็นกำมีชื่อเสียงไปถึงระดับต่างประเทศเนื้อหาของสื่อที่ออกสู่สายตาชาวโลกโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นการสื่อให้โลกเข้าใจปัญหาที่แท้จริงในประเทศไทยของเรา หรือต้องการให้ต่างประเทศมาแทรกแซง เพื่อแบ่งประเทศแยกดินแดนออกจากประเทศไทยนี้ก็ต้องคิดดูกัน
       ถ้าถามว่ามีสื่อที่เป็นพวกกับกลุ่มขบวนการไหม คงไม่มีใครตอบได้นอกจากสื่อด้วยกันเอง และถ้าจะบอกว่าเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สื่ออิสระบางกลุ่มที่ต้องการชื่อเสียงไหม และถ้าดินแดน 3 จังหวัดแห่งนี้ถูกแยกออกไปจากประเทศไทยจะมีประโยชน์อะไรได้อีก นี่ก็คงต้องพิจารณากันไป ทั้งนี้ผู้เขียนว่าทุกฝ่ายต้องหันมาเห็นประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และต้องไม่มีการเสียดินแดนเป็นที่ตั้ง ต้องมีจุดยืนเดียวกัน แต่จะนำเสนอแบบไหนก็แล้วแต่ช่องทาง และความชำนาญในวิชาชีพของตน แต่ถ้าหวังเพียงผลประโยชน์ ชื่อเสียง เพื่อความมันส์ และเพียงเพื่ออัตตาของตนเอง โดยไม่นึกถึงประเทศชาติเป็นส่วนรวม นั่นแหละที่เขาเรียกว่า “เข้าทางโจร” แล้วท่านจะไปอยู่ที่ไหน

องค์กรภาคประชาสังคม NGO (Non Government  Orgnizations )
       เหตุการณ์ปัญหาความไมสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 (คศ.1999) ทำให้เกิดองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ มากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และต่างประเทศ จุดหนึ่งที่ตอบได้อย่างมั่นใจว่าองค์กรภาคประชาสังคมทำให้หน่วยงานความมั่นคงทำงานได้อย่างลำบาก และขัดแย้งกันอยู่เนือง ๆ แต่ต้องเข้าใจว่าองค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO คือผู้สร้างความสมดุล และดำรงซึ่งสิทธิมนุษยชนของทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ทุกศาสนา ซึ่งรายละเอียดของประเด็นหัวข้อนี้ ผู้เขียนเคยเขียนให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบแล้วในตอนที่ 3 ที่ผ่านมา จึงขอสรุปเพียงว่าองค์กรภาคประชาสังคมหรือ NGO ควรหันหน้ารับฟังอย่างรอบด้าน และต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากทุกด้าน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการ รวมถึงต้องนึกถึงผลประโยชน์ของรัฐเป็นที่ตั้ง หากผลประโยชน์ส่วนตนมาบดบังความถูกต้องเสียแล้ว ความสมดุลของมนุษยชาติย่อมไม่เกิด ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีการแก้ปัญหาของรัฐน่าจะต้องนำมารายงานหรือไม่ NGO ต้องควรนำไปพิจารณา การตอกย้ำ ซ้ำ ๆ ปัญหาเป็นสิ่งถูกต้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ แล้วประชาชนที่ถูกกระทำที่ไม่ใช่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ชาติพันธ์อื่นไม่ถูกกล่าวถึงในเวทีสากล สิทธิความเท่าเทียมต้องมีขึ้นกับมนุษยชาติ ทุกชาติพันธ์ ทุกศาสนา ทุกภาษาไม่ใช่หรือ และถึงเวลาหรือยังที่องค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO จะมองถึงจุดหมายของการไม่แบ่งแยกดินแดน และอยู่ร่วมกันได้ของทุกชาติพันธ์หรือถ้าแบ่งแยกดินแดนไปแล้ว องค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGO ที่เป็นคนไทยเขียนรายงานไปต่างประเทศจะภูมิใจไหมที่มีส่วนให้การแบ่งแยก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกจากประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ แล้วต่อไปจะไปแยกส่วนไหนของประเทศไทยออกอีก     

นักวิชาการ ( Academician )
       ประเด็นตรงนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงอย่างน้อยนิด ด้วยความรู้ ความสามารถของผู้เขียนเองมีน้อยมากในตรงนี้ ผู้เขียนขอรวมถึงนักวิชาการทั้งหมดที่ติดตาม เขียน วิจารณ์ และพยายามหาทางออกให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงนักวิชาการด้านศาสนาทุกศาสนาโดยเฉพาะศาสนาอิสลาม และนักวิชาการด้านความมั่นคง   โดยความสำคัญของความเป็นนักวิชาการที่ฝ่ายรัฐสามารถนำมาใช้พิจารณาประกอบการแก้ปัญหาความไม่สงบได้สัมฤทธิ์ผลได้ดีทีเดียวแต่ทั้งนี้นักวิชาการต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงใจ และต้องไม่มีผลประโยชน์ ชื่อเสียง หรือการเงิน ขอให้มองผ่านจุดนี้ไป โดยเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และต้องไม่มีการแบ่งแยกดินแดน นักวิชาการศาสนาถึงเวลาออกมาร่วมแสดงออกให้สาธารณชนได้เข้าใจเรื่องของศาสนาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ไม่บิดเบือนทุกฝ่ายต้องออกมาแสดงให้ทุกคนรับรู้ในมุมมองของตนตามหลักการ ทางช่องทางต่าง เพราะหากนิ่งเฉยด้วยเพราะความกลัวหรือไม่แสดงออกก็เท่ากับว่า สิ่งที่ฝ่ายขบวนการกระทำนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่
       การนำเสนอของนักวิชาการนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถเป็นแนวทางที่นำมาสู่การปฏิบัติได้จริง การออกมาร่วมมือให้ข้อคิดเห็นล้วนมีประโยชน์ แต่ถ้าประโยชน์นั้นไม่สามารถเอื้อต่อฝ่ายรัฐไทย แต่ไปเอื้อให้กับฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ก่อการร้ายกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์นั้น นักวิชาการก็ควรต้องมานั่งทบทวนอย่างจริงจังก่อนนำเสนอข้อมูลออกไปสู่สาธารณชนหรือไม่

องค์กรนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ( Student Organization
               ในตอนที่ 1 และ 2 ของแนวร่วมมุมกลับจากเว็บไซต์ที่เคยนำเสนอแล้วได้กล่าวให้ผู้อ่านได้เข้าใจแล้วอย่างละเอียด ฉะนั้นตอนนี้ขอสรุปเพียงเข้าใจว่าพลังนักศึกษามีส่วนขับเคลื่อนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของประเทศในอดีตที่ผ่านมา แต่ถ้าเจาะลงไปที่องค์การนักศึกษาที่เป็นมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้บางกลุ่มที่มุ่งเคลื่อนไหวเพื่อความขัดแย้งของชาติพันธุ์และศาสนา โดยที่สถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาส่วนใหญ่นิ่งเฉย หรือจะปฏิเสธว่าไม่มีนักศึกษาอุดมศึกษามุสลิมบางคน เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อเหตุรุนแรง และแฝงตัวอยู่กับนักศึกษาส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่กรุงเทพมหานครเมื่อหลับหู หลับตานิ่งเฉยอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรที่บัณฑิตจากอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีนักศึกษาจากนอก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเรียนในมหาวิทยาลัยเลย ด้วยเพราะอิทธิพลมืดกลุ่มนักศึกษาที่นิยมจักรวรรดิของความรุนแรง ในโลกที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมนุษย์ชาติกลุ่มเดียวคงไม่อาจอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่นได้ หากมีความคิดที่สุดโต่งขัดแย้งกับผู้อื่น ความเป็นบัณฑิตและสถาบันที่ผลิตบุคลากรเพื่อไปพัฒนาสังคม และประเทศคงต้องถึงเวลาทบทวนที่นักศึกษามุสลิมส่วนใหญ่และสถาบันอุดมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องร่วมกันผลักดันความรุนแรงสุดโต่งออกจากสังคม และออกมาแสดงให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า ความรุนแรงเพื่อแบ่งแยกสังคม สุดท้ายพวกท่านต้องเป็นผู้ที่จะประกาศให้สังคมรู้ว่านักศึกษามุสลิมส่วนใหญ่และสถาบันอุดมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการความสงบที่อยู่ร่วมกันได้ ทุกชาติพันธุ์ ภาษา ทุกศาสนา และไม่แบ่งแยกดินแดนออกจากประเทศไทยแล้วท่านกล้าหรือกลัวที่จะรักษาประเทศชาติ

               ตอนจบของแน่วร่วมมุมกลับนี้ อาจเป็นบทสรุปของความหมายทางวิชาการความมั่นคง เรื่องแนวร่วมมุมกลับก็ได้หรือมีมากกว่านี้ก็ได้ในมุมมองของผู้เขียน และผู้อ่านตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับ 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ สงขลาบางส่วน ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่นของโลกด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมความเป็นมาที่ที่ต่างกันแต่ที่เหมือนกันทั่วโลกคือความโหดร้ายทารุณของสงครามปฏิวัติ โดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือก่อความรุนแรงที่มี ศาสนา ชาติพันธุ์ ภาษาเป็นข้ออ้างเพื่ออำนาจของกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มคนอีกหลายส่วนที่ลงมาร่วมหรือคล้อยตาม และหลงในวังวนของสงครามนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เพียงคำว่าอัตลักษณ์เท่านั้น ที่เป็นตัวอันตรายทึ่เกิดความทุกเข็นของมนุษยชาติในครั้งนี้ ความเป็นตัวตน ความเป็นเจ้าของบางสิ่งที่ผูกมัดกับคำว่าอัตลักษณ์ตัวกูของกู จึงก่อเกิดสงครามและการต่อสู้ที่สร้างแต่ความเดือดร้อนอย่างไม่จบสิ้น และหากทุกฝ่ายลดอัตลักษณ์ของตนเอง ลดความเป็นตัวกูของกูและเข้าหากันอย่างสันตินั่นแหละ ทุกชาติพันธุ์ ทุกภาษา ทุกศาสนาก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในโลก รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
----------------------------------
บินหลาดง   นรา