8/28/2557

กระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข (สันติภาพ)

แบมะ ฟาตอนี
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (peace dialogue) ระหว่างรัฐบาลไทย กับกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งของผู้ที่เห็นต่าง มีการลงนามกระบวนการสันติภาพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งได้มีการดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้งด้วยกันก่อนที่ได้ห่างหายไปเนื่องจากปัญหาภายในของประเทศไทยเอง


            เมื่อปัญหาการเมืองภายในของประเทศไทยนิ่ง หน่วยงานความมั่นคง โดย กอ.รมน. จึงคิดริเริ่มสานต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพขึ้นมาใหม่ แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข แทน
และเริ่มมีกระแสการโจมตีจากขาประจำผู้ที่ไม่เห็นด้วย ต่างดาหน้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนักวิชาการอิสระ สื่อแนวร่วมโจรใต้ พร้อมเปิดประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ถึงการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการยังไม่ทันได้กำหนดวันดีเดย์ในการพูดคุย
            กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) เป็นความพยายามของรัฐบาลไทย ที่ต้องการตอบสนององค์การระหว่างประเทศ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนภายในประเทศ และข้อเสนอของนักวิชาการให้หาแนวทางพูดคุยเจรจากับกลุ่มผู้มีความเห็นต่างจากรัฐ เพื่อยุติความรุนแรงทั้งสิ้นทั้งปวง
ท่าทีของแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) กับกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่ผ่านมา

            จากการลงนามกระบวนการสันติภาพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และมีการดำเนินการพูดคุยไปแล้ว 7 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ทราบว่าความคิดเห็นในสภา BRN กลุ่มทหารยังไม่เห็นด้วยในการพูดคุย รวมไปถึงหน่วยปฏิบัติการ RKK ในพื้นที่ แต่สภา BRN ยังมีมติเห็นชอบให้ นายฮาซัน ตอยิบ ดำเนินการพูดคุยเนื่องจากเห็นแก่ประเทศมาเลเซีย (โดนบีบบังคับ) โดยให้ดำเนินการในลักษณะใช้งานการเมืองพูดคุย แต่ยังคงให้ทางทหาร ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องเพื่อชิงความได้เปรียบ

            สภา BRN มีความกลัวว่า กลุ่มปฏิบัติที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นนักรบรุ่นใหม่จะทำการปฏิวัติเนื่องจากไม่เห็นด้วย จึงใช้วิธีเรียกร้องนอกเวทีด้วยการออกแถลงการณ์เรียกร้อง 5 ข้อ 7 ข้อ ในห้วงเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นหลักประกันในการเห็นชอบร่วมกัน การดำเนินการของ BRN มีระเบียบแบบแผน ซึ่งเดินตาม Road Map ที่สภา BRN ได้เขียนขึ้นมา การปฏิบัติการพูดคุยจะดำเนินการเป็นจังหวะ เป็นขั้นตอน มีการปฏิบัติการข่าวสาร ใช้เล่ห์เหลี่ยมชิงความได้เปรียบเป็นฝ่ายรุกตลอดเวลา
            การพูดคุยทุกครั้งจะไม่มีการเปลี่ยนตัวบุคคล หรือจัดหาคนมาเพิ่ม ยังคงใช้ชุดเดิม ซึ่งเป็นหลักการ ไม่เปิดเผยตัวตน แต่ฝ่าย BRN สามารถรวมกลุ่ม BRN-CONGRESS, BIPP และ PULO บางส่วนได้แค่กลุ่ม กาแบ ยูโซ๊ะ แต่ไม่สามารถรวมกับกลุ่ม PULO กลุ่มนายซัมซูดิง คาน และกลุ่มนายกัสตูรี มะโกตา ได้เนื่องจากยังขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์
ท่าทีของกลุ่มผู้เห็นต่างอื่นๆ ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ


            กลุ่ม PULO กลุ่มนายซัมซูดิง คาน และกลุ่มนายกัสตูรี มะโกตาต่างมีความพยายามที่จะเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพกับผู้แทนรัฐบาลไทย เนื่องจากไม่อยากตกกระบวนรถไฟสันติภาพที่อาจจะมีการแบ่งสันปันส่วนร่วมกันของผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐ แต่กลับโดนฝ่าย BRN กีดกันไม่ให้เข้าร่วมด้วย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ยังไม่ลงตัว
            กลุ่มสหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS:Persekutuan Mahasiswa Pelajar dan Muda Mudi Se Patani) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองของ BRN ยังคงเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นด้วยการจัดเวทีเสวนา Bicara Patani ทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และต่างประเทศ เพื่อปลุกกระแสนิยมความเป็นปาตานี ต้องการให้ประชาชนชาวมลายูปาตานีรับรู้ถึงสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และปลุกกระแสให้ทุกคนออกมากำหนดชะตากรรมของตนเองด้วยการลงประชามติขอแยกดินแดนออกจากประเทศไทย

            องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งรับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่กลับถูกแทรกซึมและจัดตั้งโดยขบวนการ BRN มีการเคลื่อนไหวทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายความมั่นคงในประเด็นสิทธิมนุษยชน การกำหนดใจตนเองเพื่อลงประชามติขอแยกตัวเป็นเอกราชในอนาคต รูปแบบการขับเคลื่อนใช้ลักษณะไม่ใช้ความรุนแรง (Non Violent) โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเคลื่อนไหว เพื่อให้เป็นประเด็นเกิดการลุกฮือของประชาชนมลายู และเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Right of Self-Determination)
ท่าทีของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้



            จากการสำรวจข้อมูลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลับพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดนเป็นเอกราช อัตราส่วนของประชาชนที่สนับสนุน การแบ่งแยกดินแดนเป็นเอกราช เพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น แต่ผู้มีความเห็นต่างจากรัฐได้พยายามยุยง ปลุกปั่นประชาชนในพื้นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อต้านรัฐบาล โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Self-Determination) เพื่อการปลดปล่อยดั่งเช่นกรณีของประเทศล่าอาณานิคม ไม่ให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย
บทเรียนจากกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ 7 ครั้ง
            ก็ต้องยอมรับความจริงว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับ BRN ผ่านผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย สรุปได้ว่า ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากขาด ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน อีกทั้งยังไม่มีกรอบการพูดคุยที่ชัดเจน เป็นการพูดคุยโดยการบีบบังคับ BRN โดยมาเลเซียตั้งแต่ในครั้งแรก ในเมื่อจุดเริ่มไม่ได้มาจากการพูดคุยกันในระดับล่าง และไม่มีความต่อเนื่อง ฝ่าย BRN มีการประกาศเจตนารมณ์ที่สูงสุด เพื่อไมให้กลุ่มปฏิบัติในพื้นที่เกิดการปฏิวัติ การพูดคุยมีการเรียกร้องในข้อเสนอที่ไม่สามารถกระทำได้เพื่อทำการถ่วงเวลาไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งยังสั่งการหน่วยในพื้นที่ปฏิบัติการทางทหารเพื่อชิงความได้เปรียบไปด้วย ในส่วนของการลดการก่อเหตุรุนแรงในห้วงเดือนรอมฎอน เป็นภาวะจำยอมของ BRN เนื่องจากทางมาเลเซียได้บีบบังคับเพื่อนำเสนอให้ OIC ทราบ ซึ่งหาก BRN ไม่ดำเนินการจะมีผลเสียทางยุทธศาสตร์ ความพยายามของ BRN มีการยกระดับการพูดคุยนำไปสู่การเจรจา การขอให้มาเลเซียเป็นแค่ตัวกลางไกล่เกลี่ย (Mediator) และขอให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาร่วมเป็นสักขีพยานในการพูดคุย ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ได้สอดรับกับข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เลย
แนวทางการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ)


            รัฐบาลไทยมุ่งเน้นส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้ การอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย พหุวัฒนธรรม มีสภาวะแวดล้อมที่พร้อมและเอื้อต่อการแสวงหาทางออกของความขัดแย้งโดยสันติวิธี พร้อมทั้งสร้างหลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุข
            ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรูปแบบของการกระจายอำนาจที่เหมาะสมบนพื้นฐานความเป็นพหุสังคมจังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นหลักสากลที่ยอมรับได้ ไม่ใช่เงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ประชาชนทุกคนมีความปลอดภัยในเสรีภาพต่อการแสดงความคิดเห็น

            สร้างความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็น และอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐ ที่มีการเลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีเอกภาพ และเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ หรือองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนกระบวนการพูดคุยดังกล่าว
แนวทางสร้างสันติสุขแสงแห่งความหวังประชาชนชายแดนใต้


            นับเป็นความหวังของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง ที่ยังมีแสงแห่งความหวังที่จะได้เห็นสันติภาพ สันติสุขเกิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชื่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ หรือกระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุขก็ตามที จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายคือการคืนความสุขความสันติสุขให้กับสังคมและประชาชนให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ผ่านมาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ BRN โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก อีกไม่นานเมื่อมีการเอาจริงเอาจังและได้ดำเนินการพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อนั้นความสันติสุขจะกลับคืนมา ณ ดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้

*****************************

8/23/2557

นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์ DNA จับกุมโจรใต้


แบมะ ฟาตอนี
ความเจริญด้านเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ในยุคปัจจุบันนี้ส่งผลให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น มีพัฒนาการทุกๆ ด้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งการปลูกถ่ายพันธุกรรม หรือสิ่งอื่นๆ ที่เราคาดไม่ถึงว่ามนุษย์สามารถกระทำได้ เช่นเดียวกันในการเก็บรวบรวมหลักฐานวัตถุพยานของคนร้ายในคดีสำคัญต่างๆ นิติวิทยาศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทส่วนช่วยในการระบุตัวตน ยืนยันตัวบุคคลที่ลงมือทำการก่อเหตุ นำไปสู่การจับกุมตัวมาลงโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) คืการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขามาประยุกต์ใช้ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความเพื่อผลในการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษ ซึ่งครอบคลุมขอบข่ายงาน ดังนี้
- การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการถ่ายรูป (Crime Scene Investigation and Forensic)
- การตรวจลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Fingerprint, Palmprint, Footprint)
- การตรวจเอกสาร (Document) เช่น ตรวจลายเซ็น ลายมือเขียน
- การตรวจอาวุธปืน และกระสุนปืนของกลาง (Forensic Ballistics)
- การตรวจทางเคมี (Forensic Chemistry) ช่น ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ
- การตรวจทางฟิสิกส์ (Forensic Physics) เช่น ตรวจร่องรอยการเฉี่ยวชนรถ
- การตรวจทางชีววิทยา (Biological Trace Evidence) ช่น ตรวจเส้นผม เลือด อสุจิ
- การตรวจทางนิติเวช (Forensic Medicine) ได้แก่ งานนิติพยาธิ งานนิติวิทยา งานชีวเคมี
- งานพิสูจน์บุคคล งานภาพการแพทย์
            เหตุการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงก็เช่นเดียวกันหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมหลักฐาน วัตถุพยานในพื้นที่เกิดเหตุมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะควานหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการดำเนินกรรมวิธีดังกล่าว คือ หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

            ผลของการใช้หน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ ทำการตรวจวัตถุพยาน ชิ้นส่วนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานที่เกิดเหตุ เมื่อมีการตรวจสารพันธุกรรม มีการพบ DNA ที่สามารถยืนยันตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ลงมือก่อเหตุนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้ายมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมเข้าสู่ชั้นศาลซึ่งมีส่วนช่วยงานสอบสวนสืบสวนได้เป็นอย่างมากและมีความเที่ยงตรง ชัดเจน

            ล่าสุดหน่วยงานด้านความมั่นคง ร่วมกับ ผู้ชำนาญการด้านนิติวิทยาศาสตร์ ได้มีการเปิดเผยถึงผลการตรวจสารพันธุกรรมจากเหตุการณ์ที่สำคัญ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง มีการตรวจพบ DNA สามารถติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้หลายราย และมีบางส่วนยังคงหลบหนีการจับกุม แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้
เหตุการณ์แรก ผู้ก่อเหตุรุนแรงร่วมกันก่อเหตุโดยใช้อาวุธสงครามบุกเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการชุดพัฒนาสันติ 42-1 และฐานปฏิบัติการทหารพรานที่ 4213 ในพื้นที่หมู่ 1 ต.เกาะแลหนัง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 โดยที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวกลุ่มแนวร่วมผู้ก่อเหตุดังกล่าวไว้ได้แล้วจำนวน 8 คน และในส่วนของการตรวจ DNA จำนวน 6 คน สามารถติดตามจับกุมตัวได้แล้วทั้ง 6 คน แต่ในเวลาต่อมาได้หลบหนีประกัน จำนวน 1 คน คือ นายเภาซี ยีหมะ
เหตุการณ์ที่สอง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 และ 43 ได้เข้าทำการตรวจยึดฐานปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงบนเทือกเขาตะเว พื้นที่ บ้านบือแจง ม.4 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส พบกลุ่มก่อเหตุรุนแรงจนเกิดการปะทะนานกว่า 30 นาที หลังสิ้นเสียงปืนเจ้าหน้าที่ได้เข้าพิสูจน์ทราบพบฐานใหญ่ ที่คาดว่าจะมีคนร้ายอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คน โดยฐานนี้เป็นฐานที่ใช้เป็นแหล่งประกอบระเบิด เพื่อก่อเหตุในพื้นที่ จ.นราธิวาส พบที่พักของคนร้ายกว่า 10 หลัง ตั้งอยู่ริมธารน้ำตก โดยสามารถตรวจยึดอุปกรณ์ประกอบวัตถุระเบิด วงจรอิเล็กทรอนิคส์ สารประกอบระเบิด และป้ายผ้า  
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=-cpvVaVtPoY

ข้อสรุปหลังการตรวจสอบวัตถุพยานในที่เกิดเหตุพบ DNA ยืนยันตัวบุคคลได้ จำนวน 20 คน ซึ่งศาลได้ออกหมาย ป.วิ.อาญา แล้ว จำนวน 3 คน และสามารถดำเนินจับกุมตัวได้ทั้ง 3 คน เสียชีวิตไปแล้ว จำนวน 2 คน และยังคงหลบหนีอยู่ จำนวน 15 คน นอกจากนี้ยังพบ Profile DNA บุคคลที่ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลและตัวตนได้อีก ประมาณ 40 คน
เหตุการณ์ที่สาม หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 เข้าตรวจค้นเป้าหมายบ้านพักต้องสงสัยหลังโรงเรียนดาราศาสตร์วิทยา ซึ่งตั้งอยู่ ม.1 ต.บาเร๊ะใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส หลังสืบทราบมีกองกำลังติดอาวุธได้แฝงตัวเคลื่อนไหวเพื่อประชุมวางแผนก่อเหตุร้าย พบชายฉกรรจ์ จำนวน 4 คน ได้วิ่งออกมาจากบ้านพักหลังหนึ่งไม่มีเลขที่ โดยวิ่งหลบหนี พรางใช้อาวุธปืนสงครามยิงเบิกทาง จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่เป็นละลอกๆ และคนร้ายอาศัยความชำนาญพื้นที่หลบหนีไปได้

            จากการตรวจสอบที่บริเวณขนำเจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดของกลางได้หลายรายการ อาทิ อาวุธปืน M-16 จำนวน 1 กระบอก เป้สนาม เป้ใส่เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ รองเท้า เวชภัณฑ์ พร้อมด้วยเครื่องยังชีพในป่า เจ้าหน้าที่จึงได้ขอสนับสนุนกองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส เข้าตรวจสอบเพื่อเก็บลายนิ้วมือแฝงและคราบ DNA และในเวลาต่อมาสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ จำนวน 8 คน และได้จับกุมตัวแล้ว จำนวน 1 คน คือ นายมาหะมะ มะเด็ง แต่ยังคงหลบหนีอยู่ จำนวน 7 คน ซึ่งผู้ที่ยังคงหลบหนีทั้งหมดหน่วยในพื้นที่ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

            ในเมื่อกลุ่มผู้ก่อเหตุแฝงกาย ซ่อนเร้นปิดบังอำพราง หน่วยงานภาครัฐก็จำเป็นต้องหาวิธีการ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เพื่อหาหลักฐานจากการเก็บวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ DNA หาตัวคนร้ายหรือตัวผู้กระทำการก่อเหตุมาลงโทษดำเนินคดี มิฉะนั้นกลุ่มโจรใต้กลุ่มนี้ยังคงได้ใจกระทำความผิดแล้วผิดอีกโดยไม่ย่ำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งเป็นผลลบด้านสังคมจิตวิทยา เมื่อมีการใช้นิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยและส่งผลให้มีการจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ จะส่งผลให้กลุ่มแนวร่วมในขบวนการเกิดความลังเลหากจะคิดทำการก่อเหตุ สักวันหนึ่งหากไม่โดนจับตายเสียก่อน พันธุกรรมของกลุ่มโจรใต้เหล่านี้จะมีการเก็บตัวอย่างอยู่ในสารบบแฟ้มข้อมูล และเปรียบเทียบ DNA ศาลออกหมายจับเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ต้องหนีหัวซุกหัวซุนไม่มีโอกาสอยู่กับครอบครัว หมดความสุขไม่มีอิสระไปเลยตลอดชีวิต

*******************************

8/20/2557

จับโจรใต้ฟาตอนีได้พร้อมอาวุธสงครามคาโรงเรียนตาดีกา

แบมะ ฟาตอนี
เมื่อวันที่ 18 ส.ค.57 เวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังเข้าทำการตรวจสอบผู้ต้องสงสัย บริเวณโรงเรียนตาดีกา ในพื้นที่ บ.ตันหยง ม.3 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

          เจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบพบผู้ต้องสงสัย จำนวน 2 ราย ในบริเวณโรงเรียนตาดีกาบ้านตันหยง และสามารถควบคุมตัวและทราบชื่อในเวลาต่อมา ชื่อ นายมะรอมลี ราแดง ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 88/2 ม.3 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี และนาย ดือนัง สะยีเต๊ะ และในการนี้ได้ทำการตรวจพบอาวุธปืน ปลย. AK-47 หมายเลข 95105 จำนวน 1 กระบอก ซองกระสุนและกระสุน ขนาด 7.62 มม. จำนวนหนึ่งอีกด้วย
          จากการซักถามเบื้องต้นทราบว่า นายรอมือลี ลาแดง เป็นผู้จัดหาอาวุธปืนซึ่งใช้ยิงกำนันตำบลม่วงเตี้ย ซึ่งมีบ้านพักอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ก่อนหน้านี้ยังเคยใช้ปืนขนาด 11 มม. ยิงกำนันคนดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้งด้วยกันแต่ไม่เป็นผล ส่วนนายดือนัง สะยีเต๊ะ เป็นคนเฝ้าอาวุธปืน ปลย.AK-47 ที่นำมาซุกซ่อนไว้ในโรงเรียนตาดีกาบ้านตันหยง

          หลายเหตุการณ์ด้วยกันที่กลุ่มขบวนการโจรใต้ได้ใช้สถานศึกษาเป็นที่ซ่องสุมกำลัง บ้างใช้เป็นที่ประกอบวัตถุระเบิด เป็นที่หลบซ่อนตัวของกลุ่มผู้ก่อเหตุ และล่าสุดใช้เป็นที่หลบซ่อนอาวุธสงคราม ต้องยอมรับความจริงว่าการที่โรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการ ย่อมส่งผลให้มีการตรวจสอบ ที่ตามมาก็คือมีการสั่งปิดการดำเนินกิจการของโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อครู อาจารย์ และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบหมั่นตรวจสอบและไม่ให้กลุ่มขบวนการโจรใต้เหล่านี้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นแหล่งบ่มเพาะ หลบซ่อนตัว ซ่องสุมกำลังและอาวุธ หากให้ความร่วมมือกับกลุ่มขบวนการ เหตุการณ์ซ้ำรอยดังที่มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในการสั่งปิดโรงเรียนปอเนาะก่อนหน้านี้ ดั่งเช่นการสั่งปิดโรงเรียนญิฮาดวิทยา หรือปอเนาะญิฮาด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และ ปอเนาะสะปอมหรือ โรงเรียนอิสลามบูรพาหมู่ที่ 5 ตำบล กะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2550
          หากโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนตาดีกา หรือโรงเรียนสอนศาสนายังคงให้การสนับสนุนกับกลุ่มขบวนการโจรใต้อยู่ จะส่งผลเสียต่อสถาบันโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอื่นๆ อย่าให้คนภายนอกเหมารวมมองว่าโรงเรียนเหล่านี้เป็นแหล่งบ่มเพาะและใช้เป็นสถานที่ฝึกปรือทางยุทธวิธี รวมทั้งเป็นสถานที่ในการประกอบวัตถุระเบิดของกลุ่มขบวนการ BRN
          หลายปีมาแล้วที่คนทั่วไปตั้งข้อสงสัยต่อโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากรูปแบบโดยทั่วไปของโรงเรียนสอนศาสนาเป็นแบบโรงเรียนกินนอน มีที่พักอยู่ในบริเวณโรงเรียน จึงง่ายต่อการมั่วสุม การชักจูงของผู้ไม่หวังดีให้นักเรียน และเยาวชนเหล่านั้นหลงผิด ด้วยการกล่อมเกลาจิตใจ ฝังความคิดความเชื่อผิดๆ เข้าไป มีการถ่ายทอดวิธีการชั่วร้ายหลอกให้ทำการก่อเหตุ
          แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีผลได้ ผลเสียกับผลประโยชน์ ต่างดาหน้าออกมาไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตรวจสอบ โรงเรียนสอนศาสนาเอกชนได้กลายเป็นดินแดนต้องห้าม แตะต้องไม่ได้ เมื่อมีการติดตามคนร้ายเข้าไปและมีการตรวจค้นก็จะออกมากล่าวหาเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ ไม่ให้เกียรติต่อสถานที่ นี่คือสิ่งที่เป็นมาตลอดระยะเวลาร่วม 10 กว่าปี ที่ผ่านมา มีการตอบโต้และออกมาให้ข่าวเชิงลบแทบจะทุกครั้งที่มีการดำเนินการกับโรงเรียนสอนศาสนาที่เข้าข่ายให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการโจรใต้ บุคคลเหล่านั้นไม่เคยคำนึงถึงความผิดถูก ชั่วดี อยู่ในสมองอันน้อยนิดเลย มุ่งปกป้องคนของกลุ่มขบวนการให้พ้นผิดโดยใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือในการหลบซ่อน หรือว่าผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าของโรงเรียนเป็นสมาชิกแนวร่วมขบวนการอยู่ด้วย น่าคิดนะ...
          หากไม่มีข้อมูล ว่าบุคลากรของโรงเรียน ครู อาจารย์ หรือนักเรียน เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงก็มิอาจบุกรุกเข้าไปทำการตรวจสอบสร้างความเสื่อมเสียให้กับทางโรงเรียนได้ กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่สามารสั่งปิดการดำเนินกิจการของโรงเรียนอย่าลืมว่าโรงเรียนเอกชนต่างๆ ในปัจจุบันนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐต่อหัว ต่อคน โรงเรียนเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีจำนวนหลายพันโรง แน่นอนเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการเหล่านี้ต่างมีรายได้เป็นล่ำเป็นสัน เราประชาชนคนหนึ่งผู้ที่เสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐ รัฐนำเงินภาษีมาสนับสนุนให้กับโรงเรียนเอกชนของคุณ ในเมื่อมีการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร หรือหากต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจก็จะต้องเต็มใจให้มีการตรวจสอบว่าโรงเรียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการโจรใต้ นี่คือความจริงที่มิอาจบิดเบือน คนที่ทำดีย่อมได้รับแต่ในสิ่งที่ดี หากใครคิดชั่ว ย่อมได้รับจากผลกระทำความชั่วนั้นๆ หากยังคิดให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการ ให้แหล่งพักพิง ให้เป็นที่ซ่องสุมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการก่อเหตุ..สักวันโรงเรียนของท่านอาจจะโดนเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบและมีการสั่งปิดดำเนินการเรียนการสอนเข้าสักวัน

*****************************

ภัยแทรกซ้อนเชื่อมโยงปัญหาไฟใต้





 
 الحركة الإيضافي يواصل المشكلة الأحداث لغيرالأمن في ولايات الجنوبية.
ภัยแทรกซ้อนเชื่อมโยงปัญหาไฟใต้
لانؤمن عندرجال القوات المسلحة والأمن.هم يشاركون في جلّ المشكلة الإيضافية التي تشّبت مع الشعوب في ولايات الجنوبية منذزمان طويل.حتي بعضهم يشعرونها جزء من حياتهم اليومية.لأن عندمايطبّق ويستطيع القبض مع الحسى ماحرم بعددكشير.سواءكانت الأشجارحرامة والأشجارممنوعة.وإناءحديدليملأ البترول.ويفتش السفينة الحلة البترول الحرام 5 سفينة.
ومهمة قدلقي إناءللإطفاءالناروشقب الحديد والأجزاء الحديدمقياسه وصورته كالصندوف المربع مشل القنبلة التي استخدمتها جمعية الإنفصالية التي وضعتهافي بِضْعِ المناطق في محفطة مغاغ فتاني في 24 فرسفاكوم 2557 مع الأدوات في استخدمها على قطع وغنةالحديد.
في التاريغ 5 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قدتشارك القوات في التفتيشى ويستطيعون الجسى اللوري الرقم 82,0431 سؤرأتاني.التي حملت
الأشجارجملة 21 قطعة.والقبض حوالى مكتب الكهربائية المرحلية بمدينة جالا.في التاريغ 9 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قديفتشون اللوري التي مرّت نحومكان التفتيشى فولوبلاغا ويستطيعون القبض والحبس الأشجارلايعرف جنسها بجملة 44 قطعة.طوالها 6 ميتر.وقبض على الجانَين ومعهمالورَىين والأشجاربجملة 40 قطعة.مقياسها 2.4 ميتر 1.3 ميتر طوالها 1.50 ميتر.يجمع كلها 30 تَنْ واللوري 18 عجلات.
وفي التاريغ 11 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قديفتسشون ماعندالمصنع فنسَق برقم 148/20 سأتيغ نوك مغاغ بولاية جالا.قدلقيوالأشجار وليس لهاالإذن.ليأخذهاالغائدة والجس على الأوراق ليفتشون بجملة 5 برنامجا.

وفي التاريغ 12 ميئتؤنايون 2557 الموظفون الذين يعملون في نكّ وحّل الأجنطارالإيضافية.ومع موظفي الذين مسؤولين يفتبشون في قرية بودي سأتيغ نوك مغاغ بولاية جالا ووجدواجملة الأشجاركشيرة.
وفي التاريغ 13ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن يفتشون المصنع سهأ فن تاوي للتجارة الأشجار.برقم 39/103 بانا مغاغ ولايةفتاني. يفتشون الاشجاركشيرة.ووجدواالأشجارممنوعة كشيرة مشل كالاشجارجاغا.ووجدواالأحدادالمربعةكبيرة يبلغ 35,000 ليتر.بجملة 3 حديدامُرّبعا.يظّن في استخدام في السفينة ويحمل بهاالبترول الحرام رجال القوات المسلحة والأمن يدخلون ويفتشون سفينة صيدالسمك التي تحاول لحملة البترول الحرام.بجملة 5 سُفن في مينأ بانا.ويظّنون في استخدام التجارة البترول الحرام.ومهمة في التفيشى هذه المرة.قدوجدت في مصنع الأشجارسهأ سب تاوي للتجارة الأشجار.إناءلإطفاءالنار والحريدالمريع والأجزاء التي شاكها وصورتها ستساوِيابالإناء الحديدالتي يملأالقنبلة التي انفجرت في مناطق مغاغ بولاية فتاني في التاريغ 24 فرسفاكوم 2557 الماضي.ومع ذلك وجدالآت للقطع الحديدوماغيرذلك.
وفي التاريغ 18 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن مع هؤلأعلى المسؤولية يفتشون مضنع الأشجارسهأسب تاوي للتجارة ووجدواالآت الختم للدخول والخروج الحدودبين البلد.الحدودفي مدينةسوغيكولق.والحدود مؤداحان والحدودنوغكاي.والحدودبوغكان على كل الحدود ورقتين وبعدذلك وجدواالفلوس – النقود – تايلند,والفلوس بلادالآخربعدكشير.وجدواالأوراق للإرشادات في تطبيق لفيردفع الرسوم والتفتيش والقبض حتى لايفتش من جهة موظفي الحكومة.
            وقبضواعلى صاحب المصنع وهوسهأ
خي خيياسومسين,وسومفيت فونسنام ويقدمان للموظفي للسؤال عليهما.
الخطرالإيضافي في منطقةثلاث ولايات الجنوبية.ظهرت منذزمان طويل حتى أصبحت مكان وميدان في طلب المعيشة للأهل السياسيةوالظالم الفلوس – النقود – الخري يحصل على طريقة التجارة الحرامة بالقانون.
وهناك يوجدالعلامة بالجمعيةالإنفصالية بي.أر.عين,والجمعيات الآخرى.الذين يتحركون ويناقصنون ويستخدموت القوات المسلحة نحورجال القوات المسلحةوالأمن الحكومةالقايلندية.
والبينات من كل ناحية يقول:أن التجارة الحرامة.والتجارة الأشجارالحرامة والبترول وبضائع التجارة بدون الدفع الرسوم.وجمعيات المخدرات.هؤلاء هم الذين المساعدون بالنسبةالعُددوالفلوس للجمعية الإنفصالية.واستخدم الفلوس لشراءالأسلحة وغيرهامن أدوات استخدام لُتكّون القنبلةالتي الشعوب فتاني هم المأساة.
المصنع الذي يُتاجرماحرم بالقانون يجعل ويحاول الأجزاء ليتكّون القنبلة مشل بعد يُفتّسش مصنع التجارة الأشجارسهأسب تاوي للتجارة.قدوجدوافيه إناءللإطفاء.والحديدالمربع.والأجزام الحديرةكشيرة.الشكل والصورة قريبةمشل الصندوق الحديرالذي يستخدمه في تفجيرالقنبلةبعّده مكان في مغاغ فتاني في التاريغ 24 فرسفاكوم 2557 الماضي.

يحاول لأخذالعقاب على من الذي في وراءالأحداث لغيرالأمن.أوجب على رجال القوات المسلحةوالأمن كل فروع يساعدون ويحاولون بجّرة.لإعدادةالأمن والسلام لولايات الجنوبية.لانري دموع الشعوب فتاني يسيل بسب أهل السياسيةالفاجر.والظالم فرعون في استخدام مشكلةلغيرالأمن في ولايات الجنوبية.جعلت فرصةلهم في التجارةماحرم القانون بلادالتايلندية.لذا...لابّدلناأن نساعدكي الخطرالإيضافي هذاضياع من هذاالأمؤض.