4/29/2560

‘ประเด็นญีฮาด จชต.’ เมื่อผู้นำศาสนาลงพื้นที่รับรู้ความจริง

"Ibrahim"

     เมื่อวันที่ 5-7 เมษายน 2560 “แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม” (
The Grand Mufti of Egypt) หรือผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย – อียิปต์ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมลงพื้นที่สัมผัสวิถีชีวิตพุทธ-มุสลิม

     และล่าสุดเมื่อ 25 เมษายน 2560 ฮาบีบ อาลี หรือ Habib Ali Zainal Abidin Al-Kaff ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนศาสนา และเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติศาสนา และประชาสัมพันธ์บอกกล่าวผ่านคำบรรยายให้กับกลุ่มประเทศมุสลิม ได้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้ ฮาบีบ อาลี ชื่นชมไทยใช้หลักศาสนาแก้ปัญหาเยาวชน
     การเดินทางมาของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลาม คณะ OIC ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ หรือแม้กระทั่งผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) ในหลายโอกาสที่คณะเหล่านั้นได้ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเรา ได้รับรู้ปัญหาและสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด กลับพบว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขทั้งชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน
     ซึ่งจากการเดินทางมาของ“แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม”ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ ได้นำปรัชญาและหลักคำสอนมาเผยแพร่ให้กับพี่น้องผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ จชต.ตามหลักคำสอนศาสนาอิสลามที่ถูกต้องดั้งเดิม และแนวคิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (peaceful coexistence)
“แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม”ได้กล่าวเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อีกทั้งยังมั่นใจรัฐบาลไทยต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เดินมาถูกทางแล้ว 
     ในส่วนของท่าน ฮาบีบ อาลี หรือ Habib Ali Zainal Abidin Al-Kaff ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวชื่นชมไทยที่ใช้หลักศาสนาแก้ปัญหาเยาวชน เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนร่วมกันสร้างชุมชนศรัทธา (กำปงตักวา) ตามแนวทางของศาสดา ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง อีกทั้งมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
     รวมทั้งรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการศึกษาทั้งทางด้านศาสนา และวิชาสามัญควบคู่กันไป ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ประชาชน ให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญการที่รัฐบาลไทยส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข นับเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะช่วยให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ซึ่งในสมัยท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด ซ.ล. บางกลุ่มที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็ยังอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข และอยู่ด้วยกันด้วยความเคารพ ให้ความปลอดภัยต่อศาสนานั้นด้วย โดยทุกศาสนาจะเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน


     ทุกครั้งที่บุคคลสำคัญทางศาสนาอิสลามได้มาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับรู้สถานการณ์ที่แท้จริง ได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ ต่างได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ารัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญ และความเท่าเทียมของผู้คน ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติและศาสนา
โดยเฉพาะต่อพี่น้องประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม รัฐบาลมิได้ขัดขวางหรือกีดกันในการประกอบศาสนกิจแต่อย่างใด มีแต่สนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาไม่ว่าการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการทำอุมเราะห์ แถมยังส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาดีกว่าประเทศอิสลามบางประเทศด้วยซ้ำ
     จากการโฆษณาชวนเชื่อของบุคคลบางกลุ่มได้การกล่าวหารัฐบาลไทยกีดกันการนับถือศาสนา และ ไม่ได้รับความเท่าเทียมในสังคม มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม นำประเด็นในเรื่องศาสนาซึ่งมีความละเอียดอ่อนต่อความคิดความเชื่อเป็นเครื่องมือ ปลุกกระแสให้ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยการทำญีฮาด ซึ่งจากการที่ “แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม” ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ และฮาบีฟหนุ่ม ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซียที่มาเยือน จชต.กลับพบว่าแท้จริงแล้วรัฐบาลไทย ไม่ได้ขัดขวางพี่น้องมุสลิมในการนับถือศาสนาด้วยซ้ำ และไม่เข้าเงื่อนไขการปลุกกระแสให้ให้มีการญีฮาดแต่ประการใด.
----------------------------

4/22/2560

ขบวนการบีอาร์เอ็นป่วนใต้...หลอกใช้เยาวชนร่วมก่อเหตุห้วงปิดเทอม

"Ibrahim"

        จากเหตุการณ์ป่วนใต้ 13 จุด 12 อำเภอ เมื่อตอนค่ำวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนหน้าเกิดเหตุ มีการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารล่วงหน้าว่าจะมีการใช้กำลังในการก่อเหตุจากกลุ่มขบวนการ ซึ่งจากการปฏิบัติการของกลุ่มคนร้ายที่ลงมือก่อเหตุ จุดตรวจจุดสกัดในพื้นที่ได้มีการวางแผนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ส่งผลให้ผลที่ออกมาเบาลงได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งเจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ หากค่ำคืนวันนั้นเจ้าหน้าที่เลือกใช้ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธในการตอบโต้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นย่อมมีผู้บาดเจ็บล้มตาย
     เมื่อมีการตรวจสอบประวัติ 2 ศพโจรใต้ที่เสียชีวิตพบว่าเป็น“ไส้ศึก”สวมรอยเป็น ชรบ.คอยส่งข่าวความเคลื่อนไหวเจ้าหน้าที่ให้กับแกนนำกลุ่มขบวนการ

     แหล่งข่าวในพื้นที่เปิดเผยว่า“หัวโจก”ระดับแกนนำคุมกำลัง ซึ่งซุ่มกบดานเงียบอยู่ในพื้นที่“สะบ้าย้อย”หลอกใช้“เยาวชน”ในการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ เพื่อทำการฝึกภาคสนามให้กับแนวร่วมรุ่นใหม่โดยมีสมาชิกกลุ่มขบวนการในพื้นที่คอยกำกับดูแล
      รูปแบบยุทธวิธีในการป่วนเมืองเมื่อช่วงค่ำวันที่ 19 เมษายน มีการประกอบวัตถุระเบิดแสวงเครื่องแล้วลำเลียงนำไปส่งให้กับ“เยาวชน”ทำการขว้างเข้าใส่จุดตรวจจุดสกัด รวมไปถึงบ้านพักของทางราชการและอาคารบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย
      แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่“สะบ้าย้อย”โจรใต้ 2 ศพที่เสียชีวิตน่าจะมาจากความรีบเร่งในในการประกอบระเบิด ซึ่งทั้งทั้งสองรายเป็นสมาชิกกลุ่มขบวนการที่นำระเบิดแสวงเครื่องไปส่งให้ทำการก่อเหตุแต่กลับระเบิดใส่ร่างของตนเองเสียก่อนจนเสียชีวิตดังกล่าว

      “เด็กและเยาวชน” คือเป้าหมายหลักของกลุ่มขบวนการที่ต้องการดึงมาเป็นสมาชิกแนวร่วม  มีการปลูกฝังแนวความคิด ความเชื่อ ด้วยการบิดเบือนประวัติศาสตร์ปัตตานี บิดเบือนหลักคำสอนศาสนา ส่งผลให้“เด็กและเยาวชน”กลุ่มนี้หลงผิด มีความก้าวร้าว มีความคิดแปลกแตกต่างจากเด็กและเยาวชนทั่วๆ ไป
      ห้วงโรงเรียนปิดภาคเรียนฤดูร้อนของทุกๆ ปี เป็นห้วงที่“เด็กและเยาวชน”มีเวลาว่างจากการศึกษาเล่าเรียน สิ่งหนึ่งที่เห็นจนชินตาคือการจัดโครงการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมาย กลุ่มคนที่ไม่หวังดีจะใช้โอกาสนี้แอบแฝงจัดโครงการอบรมขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการสวยหรูดูดีเพื่อตบตาผู้ปกครอง เช่น โครงการตาดีกาสัมพันธ์, โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้สอนกีรอฮาตี, โครงการพี่พาน้องพัฒนาบ้านเกิด รวมไปถึงการแข่งขันกีฬาสภานักเรียนและประชาชนในพื้นที่ มีการเชิญชวนกึ่งบังคับทำการกวาดต้อนเด็กๆให้ไปเข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนดังกล่าวซึ่งได้จัดขึ้นภายในหมู่บ้าน
     ได้รับการเปิดเผยจากผู้ปกครองในพื้นที่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พ่อแม่เด็กเยาวชนส่วนใหญ่จะเห็นดีเห็นงามด้วยเนื่องจากดีกว่าปล่อยให้ลูกหลานอยู่ว่างๆ โดยไม่มีอะไรทำ ผู้จัดโครงการมักจะเป็น “เปอร์มูดอ”ที่คอยจัดหลักสูตรตาดีกาหรือกิจกรรมในห้วงปิดภาคเรียน แต่ในเชิงลึกกลับแทรกเนื้อหาในเรื่องชาติพันธุ์ปัตตานี มีการบิดเบือนคำสอนศาสนา ปลูกฝังความเป็นตัวตนของมลายูผ่าน“วาทกรรม”และ “อัตลักษณ์”โดยไม่รู้ตัว
     เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งกลุ่มขบวนการจะให้“เด็กและเยาวชน”กลุ่มเป้าหมายทำการสาบานตน  ด้วยการ“ซูมเปาะ”ทำการฝึกภาคสนามด้วยการลงมือปฏิบัติการก่อเหตุ จุดประสงค์เดียวเพียงเพื่อต้องการให้เด็กและเยาวชนกระทำผิดกฎหมาย เมื่อเข้าสู่วังวนความชั่วร้ายเต็มตัว ไม่กล้าคิดแม้  จะถอนตัวออกจากขบวนการ ซึ่งหากไม่กระทำตามจะเป็น“วาญิบ”ผิดหลักศาสนาอิสลาม อีกทั้งเป็นผู้ต้องหาคดีอาญาบ้านเมืองจะต้องคอยซ่อนตัวหลบหนีการจับกุมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ
      ในห้วงที่ผ่านมามีกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ผู้เห็นต่างจากรัฐแจ้งความประสงค์เข้ามอบตัวกับแม่ทัพภาคที่ 4 จำนวนมาก ไม่ว่าจะเข้าร่วม“โครงการพาคนกลับบ้าน” หรือเข้าสู่กระบวนการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ด้วยการรายงานตัวแสดงตน“เข้ารับการอบรมแทนการฟ้องร้อง”ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กลุ่มคนร้ายเกิดความหวั่นไหว และพยายามที่จะดำรงสถานะของตัวเองลงมือทำการก่อเหตุ

      ฝากไปยังพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนจะต้องทำหน้าที่ระแวดระวัง และเฝ้าคอยสังเกตพฤติกรรมลูกหลานเป็นพิเศษในห้วงปิดเทอม หากไม่ต้องการให้ลูกหลานเข้าสู่วังวนความชั่วร้ายเข้าร่วมเป็นสมาชิก ผกร. ต้องตกเป็นเหยื่อเป็นเครื่องมือของกลุ่มขบวนการในการก่อเหตุ ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่ พ่อแม่ผู้ปกครองละเลยไม่ใส่ใจ หลายครั้งที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือญาติมิตรไม่รู้เลยว่าคนใกล้ตัวเป็น“สมาชิกแนวร่วมกลุ่มขบวนการ”รู้อีกทีก็ต่อเมื่อถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญจากการปะทะ หรือถูกจับกุมตัวบุตรหลานดำเนินคดี ผลการซักถามยอมรับสารภาพว่าเคยทำการก่อเหตุเข่นฆ่าผู้คนกระนั้นหรือ? อย่าให้อนาคตของบุตรหลานต้องดับ ละทิ้งความฝันตัวเองด้วยการ“ซุมเปาะห์” ทำงานอยู่ภายใต้บงการของกลุ่มขบวนการ BRN และจะต้องเสียผู้เสียคน....จบสิ้นอนาคต
-------------------

4/20/2560

เหตุใด? ขบวนการ BRN…สร้างสถานการณ์ป่วนใต้ 13 จุด 12 อำเภอ

"Ibrahim"


ปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องที่ใช้ชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านมาสิบกว่าปีความรุนแรงก็ยังคงอยู่ในวังวนเดิมๆ กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงยังคงเดินหน้ายัดเยียดความเจ็บปวด ความเดือดร้อนโดยไม่แยแสต่อผลการกระทบที่ตามมา มีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย ทำลายระบบเศรษฐกิจ ทำลายระบบสาธารณูปโภคของรัฐ เช่นกรณีลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้ามากกว่า 52 ต้น   ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อคืนวันที่ 6 เมษายน 2560 และต่อเนื่องในค่ำคืนวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา

การลอบระเบิดเสาไฟฟ้าดังกล่าวของกลุ่มขบวนการส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน อย่างแสนสาหัส ไม่มีไฟฟ้า อินเตอร์เน็ตใช้ วิถีชีวิตแปรเปลี่ยนไป รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการซ่อมแซมเกือบร้อยล้าน เจ้าหน้าที่ต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อเร่งจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับเข้าสู่ระบบให้กับประชาชนโดยไว

ความเดือดร้อนจากเหตุระเบิดเสาไฟฟ้ายังไม่ทันจางหาย บางพื้นที่ประชาชนยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ด้วยซ้ำ แต่แล้วในค่ำคืนวันที่ 19 เมษายน 2560 กลุ่มขบวนการกลับซ้ำเติมด้วยการป่วนเมือง ในพื้นที่เกิดเหตุ 12 อำเภอ 13 เหตุการณ์ด้วยกัน รูปแบบวิธีการมีการวางแผน     มาเป็นอย่างดีด้วยการใช้เครื่องยิงลูกระเบิด และระเบิดแสวงเครื่องชนิดขว้าง ขว้างเข้าใส่จุดตรวจ จุดสกัด บ้านพักของ ทางราชการ แต่ที่สำคัญกลุ่มขบวนการยังใช้ระเบิดแสวงเครื่องทำการขว้างใส่บ้านเรือนพี่น้องประชาชนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่พลอยได้รับความเดือดร้อนไปด้วย จำนวน 4 หลัง ได้รับความเสียหาย เจ้าของบ้านได้รับบาดเจ็บ 2 ราย

ความรุนแรงระลอกใหม่เกิดขึ้นหากตั้งข้อสังเกตพบว่า เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการออกแถลงการณ์ของกลุ่มขบวนการ BRN ที่ต้องการให้รัฐบาลไทยยอมรับข้อเรียกร้อง 3 ข้อ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560 ซึ่งก่อนหน้าจะมีเหตุลอบระเบิด เสาไฟฟ้าวันที่ 6 และ 7 เมษายน เสมือนหนึ่งเป็นการส่งสัญญาณข่มขู่สร้างราคาให้กับกลุ่มตน 

ส่วนการก่อเหตุป่วนเมืองหลังออกแถลงการณ์ไม่ได้รับการสนใจและยอมรับจากข้อเรียกร้อง กลับสั่งการให้สมาชิกแนวร่วมในพื้นที่ทำการป่วนเมืองด้วยการ ค่ำคืนของวันที่ 19 เมษายน เมื่อไม่ได้รับการตอบรับจากข้อเรียกร้อง กลับสั่งการให้สมาชิกแนวร่วมใช้เครื่องยิงลูกระเบิด และระเบิดแสวงเครื่องชนิดขว้างทำการป่วนเมืองสร้างสถานการณ์ซ้ำพร้อมๆ กันหลายจุดในเวลาไล่เลี่ยกัน

ขอแสดงความเสียใจไปยังญาติสมาชิก ผกร. ที่ต้องจบชีวิตลงจากการขับรถจักรยานยนต์ เพื่อนำระเบิดแสวงเครื่องไปทำการก่อเหตุในพื้นที่ แต่เกิดพลาดท่าระเบิดเสียก่อนทำให้เสียชีวิตถึง 2 รายด้วยกัน คือ นายมะซากี เจะเละ และนายมะบีดี ลามะดอ

การเสียชีวิตของสมาชิก ผกร.ทั้งสองรายในครั้งนี้ หรืออีกอีกหลายชีวิตก่อนหน้านี้ เป็นความประสงค์ขององค์อัลเลาะห์ ที่ต้องการลงโทษผู้ที่ไม่ศรัทธาในศาสนา เป็นความประสงค์ที่ไม่ต้องการให้คนเหล่านี้ไปสร้างความเดือดร้อนด้วยการทำลายชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอีกต่อไป

กลุ่มขบวนการ BRN มีความโหดเหี้ยม ทารุณโหดร้าย ตลอดเวลาที่ผ่านมาหลอกใช้ผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนต้องตกเป็นเหยื่อ ด้วยการบังคับให้สาบานตนใช้วิธีการซูมเปาะ ต้องกระทำตามสั่งการของระดับแกนนำ หากไม่กระทำตามจะเป็น วาญิบผิดหลักศาสนาอิสลาม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มขบวนการ BRN อย่างชัดเจน จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำทั้งหมดที่ได้ก่อความเดือดร้อน แต่ไม่เคยมีเลยสักครั้งที่กลุ่มขบวนการยืดอกรับผิด กลับเล่นนอกเกมด้วยการออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อที่รัฐบาลไทยไม่สามารถให้ได้เมื่อไม่ได้ดั่งใจกลับ ยัดเยียดความเดือดร้อนให้กับประชาชนเพื่อเป็นข้อต่อรอง...มันถูกต้องแล้วหรือ!! ในขณะที่รัฐบาลไทยเปิดเวทีพูดคุยเพื่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่เปิดกว้างให้ทุกกลุ่มเข้าร่วม ถกปัญหากันบนเวทีเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ภายใต้การอำนวยความสะดวกของประเทศมาเลเซีย.
----------------------


4/18/2560

“งานการเมืองของกลุ่มขบวนการ”ในสถาบันการศึกษา

"Ibrahim"




สถานการณ์ไฟใต้ ในปัจจุบันสถิติความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่ดีขึ้นประกอบกับการเดินหน้าพูดคุยสันติสุขของรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่กำลังเดินหน้าและเป็นความหวังของประชาชนที่อยากเห็นพื้นที่แห่งนี้กลับมาสงบสุขอีกครั้ง

ท่ามกลางความไม่สงบที่เกิดขึ้นมีสิ่งที่ทำให้เกิดการก่อเหตุหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ปัญหาจากภัยแทรกซ้อน จากยาเสพติด น้ำมันเถื่อน การลักลอบนำเข้าสินค้าหนีภาษี ปัญหาผู้มีอิทธิพลการเมืองท้องถิ่น ความขัดแย้งในเรื่องธุรกิจผิดกฎหมาย รวมไปถึงการปลูกฝังแนวความคิดผิดๆ ให้กับเยาวชนในสถาบันการศึกษา

เมื่อกล่าวถึงสถาบันการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ไฟใต้แผดเผาและทำลายสันติสุขการอยู่ร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ชีวิตประจำวันของผู้คนแปรเปลี่ยนไปสถาบันปอเนาะเป็นสถาบันการศึกษาอันดับต้นๆ ที่มักมีการกล่าวถึงและตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสถานที่ที่มีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความไม่สงบ อุปกรณ์ผลิตวัตถุระเบิด และหลักฐานที่เชื่อมโยงไปยังกลุ่มขบวนการสถาบันปอเนาะหลายแห่งจึงถูกปิดตัวลงและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการจากรัฐ


ความเป็นจริงในปัจจุบันหากมองสถิติความรุนแรงที่ลดลง ส่งผลให้สถานการณ์ความรุนแรงดีขึ้นแต่กลุ่มขบวนการยังคงหล่อเลี้ยง ความรุนแรง” มุ่งทำการก่อเหตุยังคงอยู่เพื่อต้องการแสดงความมีตัวตนของกลุ่ม มุ่งทำลายระบบสาธารณูปโภคของรัฐได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง อย่างเช่นเหตุลอบระเบิดเสาไฟฟ้ามากกว่า 52 ต้น ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อคืนวันที่  6 เมษายน 2560 และต่อเนื่องในค่ำคืนวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา

สถิติความรุนแรงที่ลดลงจะมาจากสาเหตุใดก็ตามแต่ ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีของการแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการหาทางออกของความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธีหันหน้ามาพูดคุยแทนการใช้กำลัง


สถาบันการศึกษา คือเป้าหมายหลักของกลุ่มขบวนการ โดยเลือกใช้สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก ทำการขับเคลื่อนงานการเมืองผ่านองค์การนักศึกษา เคลื่อนไหวจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นต่อเป้าหมาย เด็ก เยาวชน นักเรียนโรงเรียนสอนศาสนา นักศึกษา และกลุ่มปัญญาชน โดยใช้อัตลักษณ์และวาทกรรมในการขับเคลื่อนขยายฐานมวลชน

ที่สำคัญองค์การนักศึกษาในสถาบันต่างๆ มีการเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมต่างๆ สอดรับกับแนวทางยุทธศาสตร์ขององค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวต่อต้าน และโจมตีการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานความมั่นคง

ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบการเคลื่อนไหวขององค์การนักศึกษาสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์หลักที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี (กลุ่ม PerMAS) ได้พยายามปลุกระดมด้วยการจัดเวทีเสวนา เคลื่อนไหวในพื้นที่และนอกพื้นที่มาโดยตลอด นอกจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วยังมีการขยายเครือข่ายไปยังสถาบันการศึกษานอกพื้นที่อีกด้วย


งานการเมืองของกลุ่มขบวนการ ในสถาบันการศึกษา ที่ขับเคลื่อนโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเยาวชนนักเรียนปาตานี หรือกลุ่ม PerMAS เป็นปีกการเมืองกลุ่มขบวนการหากมองโดยผิวเผินเป็นแค่ กิจกรรมของนักศึกษาเท่านั้นเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเปิดเสรีให้กับกลุ่มนักศึกษา และกลุ่มปัญญาชนใช้มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยใช้อัตลักษณ์และวาทกรรมในการขับเคลื่อนขยายฐานมวลชน

---------------------

4/14/2560

ความเดือนร้อนความสูญเสียที่ กลุ่มโจรใต้ ยัดเยียดให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่

"Ruslan"
  
กลุ่มโจรใต้การกระทำที่ไร้ซึ่งสำนึก ไร้อุดมการณ์ ไร้ซึ่งมนุษยธรรม ไหนว่าองค์กรตนเองเป็นนักต่อสู้เพื่อพี่น้องมลายู ก็เห็นแต่สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่เท่านั้น ความสุดโต่งของกลุ่มโจรใต้ ได้วางระเบิดเสาไฟฟ้ารวมถึงเสารับส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้รับความเสียหายทั้ง 3 ระบบ ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ใช้การไม่ได้ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก การติดต่อสื่อสารถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

          กรณี เมื่อคืนวันที่ 6 เม.ย. 60 เวลาประมาณเที่ยงคืนเศษ กลุ่มโจรใต้ได้ทำการก่อกวนด้วยการวางระเบิดเสาไฟฟ้า และเผายางรถยนต์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 19 อำเภอ 
มีเสาไฟฟ้าแรงสูงได้รับความเสียหายจำนวน 52 ต้น ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 6 อำเภอ 18 ต้น จังหวัดยะลา จำนวน 3  อำเภอ 8 ต้น จังหวัดนราธิวาส จำนวน 8 อำเภอ 20 ต้น และจังหวัดสงขลา จำนวน 2 อำเภอ 6 ต้น


          ผลจากการก่อเหตุในครั้งนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นใช้ระเบิดโดยมุ่งทำลายระบบสาธารณูปโภคของประชาชน ส่งผลทำให้ไฟฟ้าดับพี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 99,296 ราย เกิดผลโดยตรงต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพราะไฟฟ้าถือว่าเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญและเป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน ชาวบ้านเดือดร้อนกับการตระเตรียมอาหารไว้กินในครอบครัวยากลำบาก แม้แต่อาหารที่แช่ไว้ในตู้เย็นก็ยังเน่าเสีย น้ำไม่ไหลประปาใช้ไม่ได้ ทีวีก็ดูไม่ได้ อินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ทำให้การรับรู้ข่าวสารถูกตัดขาด  เครื่องใช้ไฟฟ้าก็พังเสียหาย (เพราะกระแสไฟฟ้าไม่พอ ต้องสลับแบ่งให้กับโรงพยาบาล ติดๆดับๆ) ชาวบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยใช่เหตุ  อีกทั้งชาวบ้านไม่สามารถทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวได้ตามปกติ เช่น ชาวบ้านทำกับข้าวขายไม่ได้ ร้านซักรีดเสื้อผ้าไม่ได้ เด็กๆอ่านหนังสือที่จะสอบไมได้ ชาวบ้านหมดรายได้เลี้ยงครอบครัว เคราะห์กรรมซัด โทรศัพท์เครื่องมือติดต่อสื่อสารก็ยังใช้ไม่ได้เพราะกลุ่มโจรใต้เล่นไประเบิดเสารับส่งสัญญาณโทรศัพท์ 3 ระบบ ทำให้โทรหาญาติพี่น้องไม่ได้  ทำให้คนในพื้นที่ถูกตัดจากโลกภายนอกทันที ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านเคยใช้ในชีวิตประจำวันต้องหยุดชะงักลง ชาวบ้านต้องอยู่ในความมืดมิดพร้อมกับความรู้สึกผวาหวาดกลัวกลุ่มโจรใต้



          อีกทั้งส่งผลต่อการเรียนการสอนและทำอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ 19 อำเภอ รวมถึงสถานพยาบาลในหลายพื้นที่ใน 19 อำเภอ ได้รับผลจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ผู้ป่วยหนักเสี่ยงเสียชีวิตสูง เพราะเครื่องช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยในโรงพยาบาลไม่ทำงาน (จะเป็นอย่างไรเมื่อไฟดับขณะแพทย์กำลังจะผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นวิกฤตหรือทำคลอด) ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนใต้ มีการเตรียมความพร้อมของเครื่องปั่นไฟฟ้ากันอยู่แล้ว แต่เครื่องปั่นไฟมีขนาดเล็กและไม่เพียงพอต่อการใช้งานและรองรับกับเหตุการณ์แบบนี้ ผลเสียตกอยู่กับผู้ป่วยและการทำงานของแพทย์ทั้งโรงพยาบาล เช่น ห้องฉุกเฉิน(ICU) ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องจ่ายยา ห้องเก็บวัคซีน ห้องพักฟื้น ฯลฯ การกระทำของกลุ่มโรใต้ ในครั้งนี้ ซุ่มเสี่ยงกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงมาก จะรู้สึกอย่างไร ถ้ากลุ่มโจรใต้มีญาติพี่น้องหรือพ่อแม่ที่ป่วยหนักทำการรักษาผ่าตัดอยู่ในโรงพยาบาล 19 อำเภอ แล้วไฟฟ้าดับทำให้เสียชีวิตจะรู้สึกอย่างไร ขนาดโรงพยาลบาลในอำเภอได้รับผลขนาดนี้แล้วสถานีอนามัยในพื้นที่ละ ที่ไม่มีแม้แต่เครื่องปั่นไฟจะอยู่อย่างไร ถึงแม้ว่ากลางวันจะให้บริการได้  แต่วัคซีนที่เก็บไว้ในตู้เย็นที่ก็ใช้งานไม่ได้ ก็เสียเปล่าประโยชน์ การกระทำที่ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนไม่แยแสต่อผลที่เกิดกับสถานพยาบาลสัญลักษณ์ของการช่วยเหลือชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสียเลย 
   
          ทั้งยังส่งผลต่อสถานศึกษาทั้ง 19 อำเภอ ครูนักเรียนไม่สามารถทำการเรียนการสอนและทำอาหารกลางวันได้ตามปกติ รวมถึงมีผลโดยตรงต่อมัสยิดสถานประกอบศาสนกิจของคนในพื้นที่เสียเอง เหตุระเบิดเสาไฟฟ้ายังส่งผลต่อผู้ประกอบการและสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น  ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม โรงเรียน มหาวิทยาลัย ปั้มน้ำมัน ร้านรับซื้อสินค้าการเกษตร โรงงานเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ฯลฯ ซึ่งสถานที่ดังที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นสถานประกอบการที่สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ การกระทำของกลุ่มโจรใต้ สร้างความเสียหายมากมายมหาศาลต่อเศรษฐกิจ การลงทุนพัฒนาพื้นที่  อันก่อให้เกิดรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 


          การระเบิดป่วนใต้ในครั้งนี้ สร้างความเสียหายมากว่า 76 ล้านบาท รัฐบาลไทยต้องเสียงบประมาณเท่าไหร่ในการแก้ปัญหาให้ไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ตามปกติ แทนที่จะใช้งบประมาณที่สูญเสียในครั้งนี้ ไปสร้างรายได้ความกินดีอยู่ดีของคนในพื้นที่ แต่กลับต้องสูญเสียงบประมาณโดยใช้เหตุ ซึ่งมันถูกต้องแล้วหรือ เพราะการกระทำของกลุ่มโจรใต้ แท้ๆ ที่สร้างความสูญเสียมากขนาดนี้ แล้วพวกเราคนในพื้นที่มีความสุขต่อการกระทำของกลุ่มขบวนการโจรใต้หรือ มีความสุขกับความสูญเสียความหวาดกลัวพร้อมกับเสียงระเบิด เสียงปืน ที่กลุ่มโจรใต้ยัดเยียดให้หรือ ความเดือดร้อนไปทุกย่อมหญ้า ความสูญเสียจากกระทำของกลุ่มโจรใต้ ที่มอบให้กับพี่น้องในพื้นที่พวกเรายังจะยินยอมรับอีกหรือ 



        ลุกขึ้นมาต่อสู้ 13 ปีกับความสูญเสีย กับการกระทำที่ไร้ซึ่งจิตสำนึกกับความเป็นมนุษย์ ไร้ซึ่งอุดมการณ์ ไร้ซึ่งมนุษยธรรม ความเลวทรามต่ำชั่วช้า สามานของกลุ่มโจรใต้ ที่ได้กระทำต่อพี่น้องมลายูในพื้นที่ เป็นการกระทำเพียงเพื่อหวังประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มตัวเองเป็นหลักเท่านั้น แต่ไม่เคยนึกถึงชะตากรรมความสูญเสียของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เลย

              ......แล้วพวกเราคนในพื้นที่จะยินยอมให้กลุ่มองค์กรนี้ แอบอ้างการกระทำว่าเป็นการทำเพื่อประชาชนในพื้นที่อีกหรือ…..


4/13/2560

BRN ดิ้นต่อลมหายใจ ยิ่งดิ้น ยิ่งรัดคอ

"Ruslan"
 

          โถ้ๆๆ นานๆ จะเปิดไอ้โม่งสักทีกับการออกมาแถลงการณ์ของกลุ่มขบวนการ BRN ท่ามกลางเหตุรุนแรงเสียงระเบิดควันปืนที่เกิดขึ้นหลายครั้งที่ผ่านมา เป็นก่อเหตุโจมตีเพื่อแสดงความมีตัวตนของกลุ่มขบวนการว่า “นักรบฟาตอนี” ยังคงมีอยู่อย่างกว้างขวาง ให้เห็นว่าเป็นการก่อเหตุป่วนใต้โดยกลุ่มขบวนการ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา หวังการตั้งเงื่อนไขให้ทางการไทยยอมรับ เพื่อเข้าร่วมในการพูดคุยเพื่อสันติสุข หลังจากการแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมานี้

          การแถลงการณ์ในครั้งนี้ กลุ่ม BRN เลือกที่จะสื่อสารผ่านสื่อต่างประเทศเป็นหลัก 
โดยรายงานข่าวปรากฏออกมาก่อนใน
AFP, Asia Times และอับดุลการิมได้ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย หัวใจสำคัญของแถลงการณ์อยู่ที่ข้อเสนอ 3 ข้อดังนี้
         1. การพูดคุยต้องเกิดจากความต้องการของทั้งสองฝ่ายซึ่งสมัครใจที่จะหาทางออกร่วมกันและจะต้องมีบุคคลที่สาม (ประชาคมนานาชาติ) เป็นผู้สังเกตการณ์
         2. ผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความน่าเชื่อถือและมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติ
ของนานาชาติ เช่น ต้องมีความเป็นกลาง ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องดำเนินการพูดคุยตามกระบวนการที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน
         3. กระบวนการเจรจานั้นต้องได้รับการออกแบบและได้รับความเห็นชอบจากคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายก่อนเริ่มต้น

BRN ยอมรับเหตุการณ์ความไม่สงบหลายครั้งที่คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่และชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ เป็นฝีมือของกลุ่ม BRN


          นายอับดุล การิม ยืนยันว่า เขาคือ "สมาชิก" ของ "แผนกข่าวสาร" ของ BRN
เขายอมรับว่าเหตุการณ์ความไม่สงบหลายครั้ง ที่คร่าชีวิตทหาร ตำรวจ และพลเรือน เป็นฝีมือของกลุ่ม BRN  รวมทั้งเหตุยิงถล่มจุดตรวจร่วม
3 ฝ่าย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชุมชนกลางตลาดกรงปินัง
ม.
7 บนถนนเส้นทางสาย 410 สายยะลา - เบตง ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จนเป็นเหตุให้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 10 นาย เมื่อคืนวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมาก็เป็นฝีมือของกลุ่ม BRN เช่นเดียวกัน

          รวมๆ การแถลงการณ์ของ BRN ในครั้งนี้ต้องการเรียกร้อง ให้รัฐบาลไทยแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาโดยการพูดคุย เพื่อการเปลี่ยนตัวทีมคณะพูดคุยและเปลี่ยนประเทศอำนวยความสะดวก (ผู้ไกล่เกลี่ย มาเลเซีย) เนื่องจากประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย มีผลประโยชน์ร่วมกันว่า การแถลงการณ์ในครั้งนี้ทำให้มองเห็นถึงความสัมพันธ์และความรู้สึกของกลุ่ม BRN ที่มีต่อมาเลเซีย“ทั้งรักทั้งกลัว” มาเลเซีย ทั้งที่รู้กันดีว่าผู้นำและสมาชิกของ BRN หลายคน ที่เป็นอีแอบอาศัยอยู่บ้านคนอื่นซุกหัวนอน  (ขณะตายก็ยังตายที่บ้านคนอื่น) การไม่ยอมบางเรื่อง  อาจทำให้ถูกจับกุมส่งกลับประเทศไทยได้  ทำให้มาเลเซียมีอำนาจบีบบังคับ กลุ่ม BRN ให้จำยอมบางสถานการณ์ อีกทั้งยังร้องขอให้ประชาคมนานาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์และการปฏิบัติตามหลักสากล  ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะทำให้บีอาร์เอ็นมีอิสระในการต่อรองกับทางการไทยมากขึ้น


ท่าทีของ BRN โดยการสร้างความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนที่ผ่านมา



          การก่อเหตุรุนแรงที่ผ่านมาทำต่อ ชาวบ้าน ครูและเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้านเขารู้กันทั่วไปว่าเป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการ แล้วโยนความผิดมาให้เจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้านส่วนใหญ่เขาไม่เชื่อและรู้สึกหวาดกลัว แต่เมื่อกลุ่มขบวนการ BRN ได้ก่อเหตุไว้ วันเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ชาวบ้านเขาเริ่มเบื่อหน่ายความรุนแรง หันมาให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐ เพราะเห็นผลงานที่มี ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังด้วยความยุติธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ได้เห็นความจริงใจของเจ้าหน้าที่ในการพูดคุยสันติสุข และโครงการดีๆ อย่างโครงการพาคนกลับบ้าน ด้วยเหตุนี้ BRN จึงต้องดิ้นๆ เพื่อต่อลมหายใจ แต่ยิ่งดิ้น ยิ่งเหมือนรัดตัวแน่นขึ้น เพราะการแถลงการณ์นี้ มันตอกย้ำว่า BRN เป็นผู้ก่อความรุนแรงทุกครั้งที่ผ่านมาจริงๆ


รัฐบาลไทย เมินเงื่อนไขข้อเรียกร้องของ กลุ่ม BRN  



          เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีกลุ่มบีอาร์เอ็นออกแถลงการณ์ประกาศพร้อมเข้าร่วมพูดคุยสันติสุขและตั้งเงื่อนไขต่างๆ ว่า ขออย่าขยายความการเผยแพร่ข่าวของกลุ่มต่างๆ 
ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพูดคุยสันติสุข ซึ่งไม่ว่าใครที่อยากจะออกมาพูดคุย ต้องประสานมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก เพราะรัฐบาลไม่สามารถพูดคุยกับคนที่มีรายชื่อในกลุ่มก่อความไม่สงบภายในประเทศได้ โดยกลุ่มดังกล่าวถือว่าเป็นกลุ่มเห็นต่างที่มีส่วนน้อยเท่านั้น และประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองได้ และไม่จำเป็นต้องใช้องค์กรต่างประเทศ ขอให้เชื่อถือรัฐบาลเพราะต้องทำให้สถานการณ์สงบโดยเร็ว 

          นี้ละน่า กลุ่มขบวนการที่ไร้สำนึกคุณแผ่นดิน  อยู่แผ่นดินประเทศไหนก็ทรยศแผ่นดินประเทศนั้น ขนาดอยู่แผ่นดินไทยก็หนีไปอยู่แผ่นดินมาเลเซียแอบอาศัยซุกหัวนอนคอยเป็นปลิงกินเลือดเขาอยู่ ทั่งที่แผ่นดินเขายอมเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเจรจาพูดคุยสันติสุขให้กับกลุ่มของตน แต่มาวันนี้กลับบอกว่าแผ่นดินมาเลเซียไม่เป็นกลาง ไม่น่าเชื่อถือ ไม่ปฏิบัติตามหลักสากล มีผลประโยชน์ทับซ้อน กลุ่มขบวนการ BRN ไม่เคยสำเนียกตัวเองบ้างเลยว่า ตนเองมีที่ซุกหัวนอนจากแผ่นดินมาเลเซีย กินข้าวเขา นอนบ้านเขา ขี้ใส่แผ่นดินเขา เหยียบอยู่แผ่นดินเขา แต่เมื่อกลุ่มตนเองไม่ได้ผลประโยชน์ก็พร้อมร้องขอเปลี่ยนผู้อำนวยความสะดวก เพื่อหวังผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเท่านั้น

          หยุดเถอะ อย่าพยายามดิ้นรนอีกเลย เข้าไปเสนอตัวกับประเทศมาเลเซียที่เป็นประเทศอำนวยความสะดวก เพื่อรวมเวทีพูดคุยเสีย เพราะถ้าดิ้นไปในทางอื่นทางที่รุนแรง จะทำให้เชือกรัดคอตัวเองและจบลงแบบไร้ที่ยืนอย่างแน่นอน