12/30/2561

เจาะลึกเหตุระเบิดชายหาดสมิหลา จ.สงขลา



 แบมะ  ฟาตอนี

กรณีกลางดึกของวันที่ 26 ธันวาคม 2561 เวลาประมาณ 22.00 น. ได้เกิดเสียงระเบิดดังขึ้น 2 ครั้ง ในเวลาไล่เลี่ยกันบริเวณชายหาดแหลมสมิหลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของ จ.สงขลา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลา โดยจุดที่เกิดระเบิดอยู่ตรงบริเวณรูปปั้นนางเงือกทอง และรูปปั้นหนูกับแมว ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 200 เมตร และเป็นสัญลักษณ์ของชายหาดแหลมสมิหลารายละเอียดตามรายงานข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงที่นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว
หากวิเคราะห์เจตนาของคนร้ายในการก่อเหตุระเบิดดังกล่าว ต้องการกระทำต่อเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์โดยไม่หวังผลต่อชีวิต เพื่อเรียกราคาให้ BRN ในเวทีการพูดคุยกับรัฐบาลไทย อีกทั้งยังต้องการแสดงศักยภาพในการใช้กำลังความมีตัวตนของขบวนการ ที่สำคัญหวังผลทำลายเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวและ บรรยากาศปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึง
ในรูปของคดีเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบจากพยานวัตถุในที่เกิดเหตุ อีกทั้งยังมีการสืบสวนข้อมูลเชิงลึก  พบข้อมูลว่าเป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่เคลื่อนไหวในพื้นที่บ้านควนหรันและอำเภอหนองจิกเข้ามาก่อเหตุลอบวางระเบิดดังกล่าว ส่วนการตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ระเบิดที่ใช้ในการก่อเหตุเป็นระบบตั้งเวลาด้วยนาฬิกาข้อมือ Casio มีรายละเอียดเฉพาะที่สอดคล้องกับรูปแบบที่เคยใช้ก่อเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ปัตตานี
          การก่อเหตุในครั้งนี้ยังแอบแฝงการเชื่อมโยงกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของหะยีสุหลง พร้อมกับนายอาหมัด โต๊ะมีนา บุตรชายคนโตวัย 15 ปี และพวกอีก 2 คน รวมเป็น 4 คน ก่อนที่ทั้งหมดจะหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย บริเวณเกาะหนู เกาะแมว ตามความเชื่อของกลุ่มมวลชน ผกร. อาจเป็นสาเหตุว่า  BRN ถึงได้ทำการก่อเหตุลอบวางระเบิดรูปปั้นนางเงือกทอง และรูปปั้นหนูกับแมวให้ได้รับความเสียหายโดยไม่หวังผลต่อชีวิต เพื่อสร้างให้มวลชนได้ระลึกถึงอุดมการณ์ของหะยีสุหลงในอดีต
การกระทำของ BRN ในการลอบวางระเบิดในครั้งนี้ BRN หวังผลทำลายแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างความหวาดกลัว และทำลายบรรยากาศการเฉลิมฉลองในห้วงปีใหม่ หลายครั้งในการก่อเหตุที่ผ่านมาไม่ต้องการให้พี่น้องประชาชนมีความสุข ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้สร้างสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จชต. และ อ.หาดใหญ่ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนบริสุทธิ์ ไทยพุทธ-มุสลิม, เด็ก-สตรี บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
จังหวัดสงขลาเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมสันติสุข มีประวัติศาสตร์การอยู่ร่วมกันของพี่น้องไทยพุทธ-มุสลิมที่สวยงามมาช้านาน ซึ่งความหลากหลายด้านเชื้อชาติศาสนาดังกล่าวมิได้เป็นอุปสรรคหรือปัญหาของการอยู่ร่วมกันแต่อย่างใดต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีแต่ความรักสมัครสมานสามัคคีคอยช่วยเหลือเจือจุนกันภายใต้ความแตกต่าง โดยเฉพาะหาดสมิหลาแล้วถือได้ว่าเป็นชายหาดแห่งพหุวัฒนธรรม และเป็นแหล่งทำกินที่สุจริตของพี่น้องไทยพุทธมุสลิม แต่ BRN ที่เป็นแกนของกลุ่มแนวคิดรุนแรง พยายามแบ่งแยกสังคม ศาสนา และทำลายระบบเศรษฐกิจร่วมกันของคนพุทธ-มุสลิมในพื้นที่ดั้งเดิม
อยากเรียกร้องไปยังสังคม คนไทยที่รักชาติไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหน สัญชาติใด ร่วมกันเรียกร้องความรับผิดชอบจากการกระทำดังกล่าวของ BRN ไปยังตัวแทนการพูดคุยฯ ฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ และที่สำคัญผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติสุขในฐานะคนกลางช่วยกันกดดัน BRN หยุดพฤติกรรมป่าเถื่อน หยุดกระทำความรุนแรงต่อผืนแผ่นดินไทยเสียที สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้ กลุ่มคนร้ายมุ่งหวังเพื่อสร้างสถานการณ์ก่อกวนให้เกิดความวุ่นวาย สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว และยังทำลายบรรยากาศในการท่องเที่ยวห้วงเทศกาลปีใหม่ใกล้มาถึง ทำลายภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ร่วมกันประณามการกระทำที่สุดโต่ง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม  จึงสมควรต้องได้รับการประณามจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวาง….ต่อไป

12/25/2561

"ฮากิม พงตีกอ" เป็นเครื่องมือในกล่าวปาฐกถาให้ใคร?



ผู้ที่ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองว่าด้วยการกำหนดชะตากรรมตนเอง" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมซึ่งตรงกับ "วันสิทธิมนุษยชนสากล (International Human Right Day)" ซึ่งสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS ได้จัดกิจกรรมในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองกับทางออกสงครามปาตานี" ที่ร้านหนังสือบูคู จ.ปัตตานี
นักเคลื่อนไหวฝีปากกล้ากับการอ่านโผที่มีคนจดให้อ่านคนนั้น คือ นายฮากิม พงตีกอ หรือ นายฮากิมบินอับดุลเลาะห์ พงตีกอ คณะกรรมการกำกับยุทธศาสตร์ The Patani มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 29/33 บ้านทุ่งไทรแจ้ หมู่ที่ 5 ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา จบการศึกษา  ปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายฮากิม ฯ เป็นแกนนำของกลุ่มนักศึกษาใน พื้นที่ จชต. ที่เคลื่อนไหวในปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน จชต. โดยมีตำแหน่งต่าง ๆ ห้วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย ผู้ประสานงานภาคใต้ สนนท. รองเลขาธิการ สนนท./กรรมการบริหาร สนนท. แกนนำสหพันธ์นิสิตนักศึกษา 3 จชต. และผู้ประสานงานกลุ่ม PERMAS /รองประธานคนที่ 1 กลุ่ม PerMAS
การกล่าวปาฐกถาของนายฮากิมฯ ที่สำคัญเช่น....เพราะสิทธิทางการเมืองต่อการนิยามตัวเอง (Right to identification) คือสิทธิขั้นโคตรพื้นฐานที่สุดแล้ว ที่เรียกร้องให้ “คนอื่น” ยอมรับและมองว่าเราเป็นชาวปาตานี...
เราอยากมีธงชาติของตัวเองเหมือนสหายนักสู้คาตาลันที่มีธงชาติของตัวเอง...เราเชื่อว่าเราสามารถชวนเพื่อนที่ติดอาวุธใน PULO, B.R.N. หรืออื่นๆ มาเป็นสมาชิกแล้วหันมาใช้แนวทางทางการเมืองร่วมกันภายใต้หลักการสภาประชาธิปไตย ภายใต้หลักการสิทธิเสรีภาพทางการเมือง RSD และอยากแสดงให้คนปาตานีเห็นว่าแนวทางทางการเมืองมันก็ต่อรองแทนแนวทางอาวุธได้......
ที่กล่าวมาคือบางส่วนในการกล่าวปาฐกถาของนายฮากิมฯ ปัจจุบันพฤติกรรมเป็นเช่นไร ต้องการอะไร อนาคตจะได้หรือไม่? สรุปแล้วก็เป็นการชี้นำให้ความหวังกับแนวร่วมเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ความรู้สึกที่อึดอัดที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่พอใจกับการถูกกดดันจากรัฐบาลทหารภายใต้ยุค คสช. ในปัจจุบัน แต่อย่าลืมว่า Road Map การเลือกตั้งจะคืนสู่ประชาชนในการออกเสียง เพื่อเลือกตั้ง สส. ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศอย่างเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
เขาก็คงเป็นหุ่นชูโรงให้ฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐมาทดสอบความเป็นผู้นำในการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มขบวนการนั่นเอง เขามาจากไหน เขามีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม ผกร. ที่ผ่านมาด้วยการใช้บ้านพัก ณ ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เป็นสถานที่พักพิงของสมาชิก ผกร. มาโดยต่อเนื่อง เนื่องจากบ้านพักติดกับหลักเขตแดนไทย–ประเทศมาเลเซีย เขาเคยให้การสนับสนุนที่พักพิงกลุ่ม ผกร. ที่ทำการก่อเหตุแล้วหลบหนีข้ามพรมแดนไปยังประเทศมาเลเซีย หรือผู้ที่เดินทางมาจากมาเลเซียมายังประเทศไทยเพื่อเตรียมตัวก่อเหตุ นี่คือความเชื่อมโยงเบื้องต้นเท่านั้น


----------------------------------------

12/21/2561

ทิศทางขับเคลื่อนของ "กลุ่มเปอร์มาส" ณ วันนี้




กรณีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมซึ่งตรงกับ "วันสิทธิมนุษยชนสากล (International Human Right Day)" สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS ได้จัดกิจกรรมในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองกับทางออกสงครามปาตานี" ได้มีการปาฐกถาในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองว่าด้วยการกำหนดชะตากรรมตนเอง" โดย นายฮากิม พงตีกอ คณะกรรมการกำกับยุทธศาสตร์ The Patani อีกทั้งยังมีการเสวนาในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองกับทางออกสงครามปาตานี" มีนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนิธินูซันตารา Nusantara Patani นายรอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep South Watch นายฮาฟิส ยะโกะ ประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS เป็นวิทยากรร่วมเสวนา
การเคลื่อนไหวชองสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานีหรือ PerMAS ในครั้งนี้ ต้องการประกาศให้แนวร่วมในพื้นที่รับรู้ถึงจุดยืนในการเดินหน้าขับเคลื่อนในเรื่อง การกำหนดใจตนเอง ( Right to Self Determination - RSD) ที่มีเป้าหมายคือ "เอกราช" หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นเขตปกครองพิเศษในอนาคต อีกทั้งยังมีความเกี่ยวโยงงานการเมืองหนุนสร้างพรรคมลายูมุสลิมให้เป็นตัวแทนของคน จชต. อย่างแท้จริง
การโฆษณาชวนเชื่อมีการปลุกกระแสมวลชนโดยใช้ "RSD" เป็นตัวล่อขุดหลุมพรางให้เยาวชนตกเป็นแนวร่วม ซี่งการกำหนดใจตนเองในประเทศไทยไม่สามารถกระทำได้เป็นที่ทราบกันดี แต่กลุ่ม PerMAS ยังเดินหน้าใช้เป็นเครื่องมือ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์โจมตี ลดความน่าเชื่อถือของกฎหมายไทยและกฎหมายพิเศษใน จชต. โดยเฉพาะเหตุวิสามัญฆาตกรรมที่มีความเคลือบแคลงสงสัยต่อสายตาประชาชน รวมทั้งเหตุฆ่ากันตายรายวันมีการโยนผิดว่าเป็น "ทีมงูเต๊ะ" ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐออกล่าทำร้ายประชาชน
ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่ผ่านมาของกลุ่ม PerMAS ในการจุดกระแส "RSD" จากการส่งผ่านรุ่นสู่รุ่นผลัดกันขึ้นมาบริหารกำหนดยุทธศาสตร์ต่อสู้กับรัฐไทยด้วยการเดินเกมเคลื่อนไหวงานการเมือง มีการชิงไหวชิงพริบหยิบยกเหตุการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อความรู้สึก จี้ให้รัฐไทยยอมรับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (IHL) พร้อมเปิดเวทีเรียกร้องในการขอคืนดินแดนมลายูปาตานีคืน
นั่นคือยุทธศาสตร์และแนวทางที่กลุ่ม PerMAS พยายามขับเคลื่อนหาแนวร่วมในพื้นที่เพื่อเดินไปสู่จุดหมายโดยใช้ RSD แต่ในขณะเดียวกันบรรดาแกนนำและสมาชิก PerMAS ในเบื้องลึกกลับมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างแยกกันไม่ออก หรือตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาในพื้นที่ จ.ยะลา สมาชิก PerMAS กลับเป็นผู้ลงมือทำการก่อเหตุลอบระเบิดทำร้ายประชาชน เช่นตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2558 จำนวน 44 จุด รวม 56 ลูก ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บรวมทั้งหมด 18 ราย ในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในการก่อเหตุ จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย นายอับดุลฟาริด สะกอ, นายไซดี ทากือแน, นายซอบรี กาซ และนายแยสฟรี หะยีปูต๊ะ นำไปสู่การจับกุมตัวส่งดำเนินคดีฟ้องต่อศาล
นั่นคือยุทธศาสตร์และแนวทางที่กลุ่ม PerMAS พยายามขับเคลื่อนหาแนวร่วมในพื้นที่ เพื่อเดินไปสู่จุดหมายโดยใช้ RSD แต่ในขณะเดียวกันบรรดาแกนนำและสมาชิก PerMAS ในเบื้องลึกกลับมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างแยกกันไม่ออก

----------------------