หน้าเว็บ

11/27/2557

ศาลตัดสินประหารชีวิต 5 โจรใต้


     แบมะ ฟาตอนี

          เมื่อ 26 พ.ย.57 เวลา 13.30 น. ที่ศาลจังหวัดปัตตานีได้มีการนัดไต่สวนพิพากษาผู้ต้องหา คดีคนร้ายใช้รถกระบะเป็นพาหนะไล่ยิงถล่มเจ้าหน้าที่ทหารชุดร้อย ร.15323 สังกัดหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 ขณะลาดตระเวนเส้นทางด้วยรถจักรยานยนต์ 3 คันในพื้นที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตทันที 4 นาย


          โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ขณะเจ้าหน้าที่ทหาร ร้อย ร.15323 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 จำนวน 6 นาย ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 3 คัน เป็นพาหนะออกจากฐานปฏิบัติการ บ้านกระหวะ ต.กระหวะ อ.มายอ จ.ปัตตานี เพื่อลาดตระเวนเส้นทางดูแลความปลอดภัยให้กับครู และประชาชน ช่วงถนนสาย มายอ - บ้านปาลัส ม.3 บ้านดูวา ต.ถนน อ.มายอ จ.ปัตตานี

          ในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่นั้น ได้มีคนร้ายจำนวน 18 คน มีอาวุธปืนครบมือ ใช้รถกระบะเป็นพาหนะ จำนวน 3 คัน ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ขับตามประกบรถจักรยานยนต์ของเจ้าหน้าที่ทหารทั้งสามคัน จากนั้นได้ใช้อาวุธปืนสงครามหลายกระบอก กราดยิงเข้าใส่ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 4 นาย ส่วนอีก 2 นายได้รับบาดเจ็บสาหัส ก่อนขึ้นรถหลบหนีไปกลุ่มคนร้ายได้ขโมยอาวุธปืนเอ็ม 16 จำนวน 4 กระบอก พร้อมกับวิทยุ เสื้อเกราะของเจ้าหน้าที่ทหารไปด้วย


          เจ้าหน้าที่ทหารที่เสียชีวิต 4 นาย ได้แก่ สิบเอกลือชัย จุลทอง, พลทหารเบญจรงค์ สีแก้ว, พลทหารเอกลักษณ์ สีดอกไม้ และ พลทหารภาคิน หงส์มาก ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส จำนวน 2 นาย สิบเอกปรีดา นพคุณ และ พลทหารอาคม ชูกล่อม

        ภายหลังจากที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดปัตตานีได้ขึ้นนั่งบัลลังค์อ่านคำพิพากษา ร่วม 4 ชั่วโมง ต่อหน้าโจทก์และจำเลย รวมไปถึงพยาน และญาติที่มาร่วมรับฟังอยู่ในห้องพิจารณาคดีกว่า 20 คน ซึ่งปรากฏว่า ศาลได้ตัดสินพิพากษาลงโทษด้วยการประหารชีวิต จำเลยทั้ง 5 คน ดังนี้
          1.นายอิสมาแอ ดาโอง
          2.นายมะซาฮาฟี มีทอ
          3.นายกอเดร์ เจะแต
          4.นายนิมูหัมหมัด นิเซ็ง
          5.นายฮิสบุลลอฮ บือซา

          เมื่อสิ้นสุดการอ่านคำพิพากษาของศาล ถึงกับทำให้ญาติ และเพื่อนของจำเลยทั้ง 5 คนที่มาร่วมฟังคำตัดสินของศาล มีสีหน้าที่เคร่งเครียด บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับคำตัดสินของศาล เป็นไปตามพยานหลักฐาน และกระบวนของศาลสถิตยุติธรรม

          นี่คือผลของกรรม ผลจากการกระทำ เนื่องมาจากการหลงผิดเข้าร่วมบวนการโจรใต้ทำการก่อเหตุเข่นฆ่าผู้คนโดยไม่กลัวเกรงต่อบาป มีความหย่ามใจเพราะโดนปลุกระดมให้ลงมือก่อเหตุแล้วไม่ถูกลงโทษ แต่ในความเป็นจริงกฎหมายมีไว้บังคับใช้สำหรับผู้ที่กระทำความผิด และจะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ตัวเองได้ก่อกรรมทำชั่วไว้

          หากท่านผู้อ่านจำเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 กันไม่ได้ ผู้เขียนขอย้อนรอยเรื่องราวในวันนั้นกันอีกสักครั้ง ทั้งที่ในความรู้สึกส่วนตัวไม่อยากรื้อฟื้นความทรงจำที่ไม่ควรจะจดจำ กับการกระทำที่อุกอาดป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม ของขบวนการโจรใต้ ซึ่งได้มีการวางแผนเตรียมการมาเป็นอย่างดี กำหนดจุดในการลงมือก่อเหตุประกบยิง ใช้กล้องวงจรปิดในบริเวณดังกล่าวบันทึกการกระทำเหมือนรู้เห็นเป็นใจกัน เพื่อต้องการสื่อภาพชั่วร้ายให้สังคมเกิดการรับรู้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่เกินชั่วโมงคลิปวีดีโอดังกล่าวได้หลุดออกไปเผยแพร่ในฟรีทีวีทุกช่อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มขบวนการ

          เหตุการณ์ในวันนั้น มีกลุ่มขบวนการ ผกร.ร่วมทำการก่อเหตุ จำนวน 18 คนด้วยกัน มีอาวุธปืนครบมือ ใช้รถยนต์กระบะ 3 คัน เป็นยานพาหนะในการก่อเหตุสังหารเจ้าหน้าที่ และวันนี้ผลของการกระทำดังกล่าวได้ย้อนกลับมาลงโทษประหารชีวิต 5 โจรใต้ด้วยการตัดสินของศาล

           ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ร่วมก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารเหตุการณ์ข้างต้น ให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5 แห่ง พรบ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 จำนวน 4 คน คือ นายปาตะ ลาเต๊ะ, นาย อาหาหมัด ดือราแม, นายอับดุลฮาดี ดาหาเล็ง และ นายระรูดิน ตาเฮ

4 ผกร.บึ้มเทพากลับลำไม่เข้าร่วม ม.21 เจอคุก

          อีกคดีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ คดีลอบวางระเบิดตลาดนิคมเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งมีผู้ต้องหา 8 ราย ถูกจับกุมเมื่อเดือน เมษายน 2554 และมี 4 ราย ที่แสดงความจำนงเข้ารับการอบรมแทนการฟ้องคดี อันเป็นกระบวนการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ที่ฝ่ายความมั่นคงเดินหน้าใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยประกาศนำร่องในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ด้วยการเปิดโอกาสให้บุคคลที่ถูกต้องหาว่ากระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคง แต่กลับใจยอมเข้ามอบตัว หรือกระทำไปเพราะหลงผิด ได้เข้ารับการฝึกอบรมจากรัฐเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน แทนการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

          ผู้ต้องหา 4 รายนี้ ถือเป็น 4 รายแรกที่เข้าร่วมกระบวนการตามมาตรา 21 ทว่าเมื่อถึงขั้นตอนที่ต้องขึ้นศาลจังหวัดนาทวี เพื่อให้ศาลสั่งเข้ารับการอบรมแทนการฟ้องคดี ช่วงเดือนธันวาคม 2554 ปรากฏว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 คนดังกล่าวกลับลำ ไม่ยอมเข้าร่วมกระบวนการ โดยอ้างว่าถูกบังคับ ถูกซ้อมทรมาน และถูกข่มขู่ ขณะที่หน่วยงานด้านความมั่นคง ยืนยันว่ากระบวนการเป็นไปตามความสมัครใจ และได้บันทึกภาพวีดีโอไว้ทุกขั้นตอน

          ทั้งนี้ ท้ายที่สุดผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการตามมาตรา 21 และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติร่วมกับผู้ต้องหาคนอื่นๆ กระทั่งเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2557 ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลย 4 คน เป็นเวลา 35 ปี และจำคุก 2 ปี 8 เดือนกับจำเลยอีก 1 คน ส่วนอีก 3 คน ศาลพิพากษายกฟ้อง

          สำหรับจำเลย 4 คน ที่โดนลงโทษจำคุกคนละ 35 ปีนั้น เป็นคนที่เคยตัดสินใจเข้ากระบวนการตามมาตรา 21 เพื่ออบรมแทนการฟ้องคดี แต่เปลี่ยนใจในภายหลัง ซึ่งนับเป็นโครงการที่ดีที่หน่วยงานภาครัฐได้เน้นโครงการนี้มาก เพราะเป็นโอกาสของการเอาชนะทางการเมืองเหนือกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ทำให้ฝ่ายขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนกระทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้กระบวนการนี้ประสบความสำเร็จ จึงมีการส่งคนไปข่มขู่ตัวผู้ต้องหาและญาติเพื่อไม่ให้เข้าร่วมกระบวนการมาตรา 21

      "ผลคำพิพากษาของศาลทำให้พิสูจน์ได้ว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการบังคับขู่เข็ญให้ใครเข้าร่วมกระบวนการตามที่มีการกล่าวหา แต่เจ้าหน้าที่มองประโยชน์ที่ตัวผู้กระทำผิดแล้วกลับใจเป็นหลัก เพราะการดำเนินคดีมีพยานหลักฐานชัดเจน เมื่อผู้ต้องหาเปลี่ยนใจไม่ยอมเข้ารับการอบรมแทนการฟ้อง และเดินหน้าต่อสู้คดีเอง ผลก็ปรากฏออกมาอย่างที่เห็น" ส่วนจำเลย 3 คน ที่ศาลยกฟ้อง ทางอัยการจะยื่นอุทธรณ์ต่อไป

       อยากให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เป็นบทเรียนกับญาติ และตัวผู้หลงผิดที่ได้เข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการ ไม่อยากให้เหตุการณ์ซ้ำรอยครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อศาลตัดสินประหารชีวิต จะต้องมานั่งเศร้าโศกเสียใจ มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้คนรอบข้าง ผู้หลงผิดสามารถเลือกแนวทางของตัวเองได้ด้วยการหยุดกระทำชั่ว หยุดการก่อเหตุ หันหลังให้กับกลุ่มขบวนการ หันหน้ามารายงานตัวแสดงตนร่วมกันพัฒนาแผ่นดินถิ่นเกิด กลับมาใช้ชีวิตเฉกเช่นคนปกติสุขกับครอบครัว....และในวันนี้เป็นที่ประจักษ์แจ้งแน่ชัดแล้วว่าเมื่อสมาชิก ผกร.โดนจับกุมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แกนนำแนวร่วมกลับทอดทิ้งลอยแพให้มวลสมาชิกต่อสู้อยู่เพียงลำพัง..มีเพียงญาติและครอบครัวเท่านั้นที่คอยให้กำลังใจ..แล้วจะท่านจะทำการต่อสู้เพื่อขบวนการไปทำไม? กลับมาต่อสู้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวลูกเมียไม่ดีกว่าหรือ....!

---------------------

11/26/2557

การเคลื่อนไหวของ มูลนิธิประสานวัฒนธรรม เพื่ออะไร?


การเคลื่อนไหวของมูนิธิประสานวัฒนธรรม เพื่ออะไร?

แบมะ ฟาตอนี

จากการก่อเหตุของคนร้ายที่ทำการลอบวางเพลิง 6 โรงเรียน ในอำเภอทุ่งยางแดง และอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นที่มาของนโยบายทุ่งยางแดงโมเดล ที่มีการพูดกันจนติดปาก รัฐเตรียมทุ่มเงินลงไป 2 หมื่นกว่าล้าน เพื่อให้ครอบคลุม 37 อำเภอของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

          ในขณะที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาโดยการนำนโยบาย ทุ่งยางแดงโมเดล ไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ให้มีความเหมาะสม โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน ชุมชนของตนเอง

          แต่ในอีกฝากหนึ่งนักเคลื่อนไหวอย่าง นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่จัดอบรมความรู้เรื่องกฎหมายให้กับชาวบ้านประมาณ 100 คน ที่ทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 15 พ.ย.57 ที่ผ่านมา

          นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ได้ไปจัดการอบรมเสริมความรู้ในเรื่องกฎหมาย ให้กับชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณที่มีเหตุการณ์การเผาโรงเรียนหกโรงในเขตอำเภอมายอและอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี เมื่อ 11 ต.ค.57 เป็นความตั้งใจ หรือเหตุบังเอิญที่ไปจัดอบรม หลังจากเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยเหตุลอบเผาโรงเรียน

          อีกทั้งยังเป็นความหวังดีต่อชาวบ้านด้วยการชี้แนะในการตอบคำถามเจ้าหน้าที่ การปฏิบัติในการรักษาสิทธิของตนเองในยามที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้าน เมื่อมีบุคคลในบ้านถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปจะสามารถติดตามตัวพวกเขาได้จากที่ไหน อย่างไร โดยเฉพาะในยามที่การทำงานของเจ้าหน้าที่บกพร่องไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย ชาวบ้านจะสามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง
          นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ในเมื่อได้ลงพื้นที่คลุกคลีกับชาวบ้านน่าจะเป็นสื่อกลางในการช่วยชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีไม่ดีกว่าหรือ? ชี้ให้เห็นผลกระทบที่ตามมาของการทำลายสถานศึกษา การเสียโอกาสทางการศึกษาของบุตรหลานเยาวชนของพี่น้องในพื้นที่เอง จากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ไม่กล้าพอ หากไปเคลื่อนไหวดังกล่าว แล้วกลัวความปลอดภัยถูกกลุ่มขบวนการหมายเอาชีวิต เลยต้องกระทำตัวเป็นแม่พระผู้ใจดีคอยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด

          ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม น่าจะทำการศึกษาวิธีการการเชิญตัวผู้ต้องสงสัย ขั้นตอนการรวบรวมวัตถุพยานหลักฐานต่างๆ แล้วเข้าสู่กระบวนการซักถามเขาทำกันอย่างไร? แล้วนำข้อมูลที่เป็นจริงเหล่านั้นมาสร้างความกระจ่างให้ปรากฏต่อสังคม ไม่ใช่ให้ความรู้ที่ผิดๆ แก่ชาวบ้าน จนหลงทิศหลงทาง และยังได้กล่าวว่าชาวบ้านได้ไปเยี่ยมญาติที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว ให้เยี่ยมในเวลาที่สั้นมากกล่าวคือเพียงสองสามนาทีเท่านั้น

          การนำข้อมูลที่เป็นเท็จมาเปิดเผยโดยไม่มีการตรวจสอบ คุณกล้ามากที่ใช้ตำแหน่ง ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่คุณอุปโลกน์ขึ้นมาเองโดยไม่มีใครแต่งตั้ง เพื่อสร้างผลงานในการเรียกร้องขอรับเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ

          การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอยู่ภายใต้อำนาจตามกฎอัยการศึก หน่วยงานภาครัฐมีความรัดกุมทั้งข้อมูล จะต้องมีความมั่นใจ และแม่นจริงในการเชิญตัวบุคคลดังกล่าวมาดำเนินการซักถามหากผู้ต้องสงสัยนั้นไม่มีข้อมูลเชื่อมโยงในการกระทำความผิดจะมีการปล่อยตัวโดยเร็ว

          ตามที่ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ได้กล่าวถึงมาตรฐานในการควบคุมตัว คือมีการตรวจรับตัวบุคคล ตรวจร่างกายเพื่อให้ชัดเจนว่าไม่ได้ถูกทำร้ายมาก่อนนั้น กรณีเช่นนี้คงจำกันได้ที่เคยตกเป็นข่าวอื้อฉาว กรณีออกมาให้ข่าวมีการซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในจังหวัดยะลา นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ท่านนี้แหละที่ออกมาเคลื่อนไหวกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมผู้ต้องสงสัย แต่เมื่อความจริงปรากฏกลับไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนที่ได้สร้างความเสื่อมเสียต่อหน่วยงานภาครัฐ

          เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 กองทัพไทยแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาต่อนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (มูลนิธิผสานฯ) จากกรณีที่มูลนิธิผสานฯ เรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว โดยแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาททำให้กรมทหารพรานที่ 41 จังหวัดยะลา ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง

          การออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันวิธีการหลีกเลี่ยงความผิดให้กับตนเองด้วยการโยนให้กับญาติผู้ถูกควบคุมตัว โดยการตั้งข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่อาจมีการทำร้ายร่างกายบุคคลในครอบครัวหรือไม่ระหว่างการสอบปากคำที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยญาติของผู้ถูกควบคุมตัวตั้งข้อสังเกตว่าพบเห็นร่องรอยที่หน้า มีสภาพอิดโรย มีอาการซึมเศร้า นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ใช้ลูกไม้เดิมๆ ตีหัวแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านอีกตามเคย

          สุดท้าย ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เหมือนตบหัวแล้วลูบหลัง ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า คดีการเผาโรงเรียนที่ทุ่งยางแดงนับว่าเป็นกรณีที่หลายฝ่ายติดตามอยากเห็นผล แต่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ต้องทำคดีด้วยความรอบคอบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการคลี่คลายความขัดแย้งที่ยั่งยืนมากกว่า...

          ผู้เขียนอยากฝากท่านผู้อ่านช่วยกันตรวจสอบการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรที่มีนัยแอบแฝงในการลงพื้นที่ทำกิจกรรม แล้วสร้างกระแสข่าวเพื่อองค์กรของตัวเองบนความทุกข์ร้อนของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้นมีการปลุกเร้ากระแสสร้างความเกลียดชัง สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน..มีการออกมาเคลื่อนไหวให้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่มีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว ซึ่งเป็นการกล่าวให้ร้ายทั้งๆ ที่ไม่มีมูลความจริง.....แล้วองค์กรเหล่านี้เคลื่อนไหว..เพื่อวัตถุประสงค์อะไร?...และเพื่อใคร?

----------------------------

11/24/2557

وهذا ينطبق على لنكا سوكاء- فطاني .

 
ومنذ وقت طويل في العصر الحجري. هناك أناس يعيشون في سوالمبوم. (شبه جزيرة الهند الصينية أو مالايا) الناس في المقام الأول من خلال مزيج من الأعراق بين منغولي (ولاية مون، ميانمار، لاوس، كمبوديا، فيتنام) وسيريتوس الجديد (سماني ساكاي بابوان) وأنهاجماعه أجزاء عنق الرحم استالويس ( بويد جاوة وسومطرة وبالي والفلبين وماليزيا)




 هؤلاء الناس معا لفترة طويلة. ومع ذلك، يتم ترك أدوات كدليل، بما في ذلك الفؤوس الحجرية أو الفأس الحجرية (باتو ليتا) والنسيج مستطيلة ويتم العثور على الكتف عادة من جنوب الصين. وصولا الى منزل قديم كانشانابوري وفي أنحاء شبه الجزيرة على وجه الخصوص، مجال كربون الغابات.حافطة خوكافومدينة فطاني الحجرية وجدت، وكثير
     

 


وبعدذلك برات تاويه او تان جاو كون جاوكوم ام تامء تاهتتوه واتسومنات راتس شاورء ويهان ذكر أيضا في كتاب".بوت تاسات سيوانلابوم باكون  راتشابوري وات توه كاتاه تمنان مغين كون تاهي" "ان كنت قد بحثت وجمعت تاريخ شعوب تايلاند يلعب الطبق الأساسي. (بلاط الشحوم) وجدت أن تايلاند قد مأهولة منذ ما قبل عصر شبه الجزيرة. تايلاند لبناء منزل والديه في الكتاب. والثقافة باعتبارها ملكا لهم منذ زمن طويل.


بنتوه دامنين ليكاء كون المذكورة في فطاني على طول ساحل نهر فطاني واصطف أدلة القديمة.على المجتمع هناك بان نيانغ - وات ناتام في يالا. يدل على أن لوحات ما قبل التاريخ وجدت في كهف كوها فيموق في الرعية المنطقة كانت مرة واحدة على إقامة شخص عصور ما قبل التاريخ          




مع مرور الوقت من قبل الهجرة التجارة مع الناس من الخارج. الظروف الجغرافية جعلت الحرب الناس في هذه المنطقة يكون الدم في المزيج العرقي الصينية والهندية والعربية والفارسية واليونانية والرومانية، وتايلاند، وميانمار، الإثنين، الخمير، والناس ماني الملايو والسكان الأصليين في ساكاي. تجدر الإشارة إلى أن أي مجموعة من الناس في هذه الأرض مع سباقات دمائهم الطاهرة




السكان من تايلاند (التايلاندية) وهناك العديد من النظريات معا. في الأكاديمية الحالية ويعتقد أن تايلاند هي أصلية في الجزء الجنوبي من الصين. وإلى الشمال من البر الرئيسى جنوب شرق آسيا. وكذلك ولاية آسام في الهند. فكرة تشابه اللهجة والتقاليد الثقافية الصليين




الدكتورسوت سين ويتيان التشريح المرضي وخبير علم الآثار تايلاند لدعم هذه النظرية. دراسة تقارن رجل الكهف الذي اكتشفت في كانشانابوري، راتشابوري وبان تيانغ، أودون ثاني. الهيكل العظمي من تايلاند اليوم. وجد نفسه كل شيء



            
في الأصل أرض التي يعيش فيها الناس في تايلاند. الشعب في الأراضي يدعون أنفسهم. أن يطلق عليه من قبل قبائل أخرى باسم " جاوسيم- صيام - شامو - شان – تاي- تهي " واسم دولة أو إقليم إلى إقليم العاصمة أو رأت تاني  مسل انا جاك قيهن تيانغ سيهن انا جاك شكوتهي او انا جاك ايوه تاياه
حتى من أمر استخدام اسم عهد الملك راهتاناء كوشين دولة "سيام"  راما رسميا في المعاهدات الكتب لتطويرعلاقات الصداقة والتجارة مع الغرب





في وقت لاحق أعيدت تسميته "تايلاند" حسب مفهوم القومية في 24 يونيو 2482 في عهد تشوم فون بيبلسونغرام رئيس الوزراء وللمواطنين ورعايا "سيام" إلى "تايلاند" يعني الحرية لا العبودية وكان يستخدم حتى الوقت الحاضر.
           

  


وقال أن هناك العديد من الأدلة التاريخية. حصلت الجزيرة سيامي على أراضي هذا منذ زمن طويل. كما محفوظات الصينية أسرة شينغ سجلت في 2311 قبل الميلاد عندما أرسل الملك سومديد باجاو تاكسين ماهارات والانتباه الإمبراطور تشيان لونغ الإمبراطور. رئيس المراسم من التقرير الصين. "سيم لوكوك" أو الأمة التي استمرت منذ عهد أسرة سوي. (1124-1161 م) وأسرة تانغ (1161-1451 م)





ثم دعا ريسيب المتحدة أباتاو أو تشى جولة (قاعدة البيانات الجديدة التي تقع في مدينة كيدا ناخون سي ثامارات. أو في سورات تاني تاهي  بولري سورة) خطة الأرض ريسيب أباتاو. البوذيين عشيرة مع بوذا المدلى بها من عصبة هو الأمة على غطاء محرك السيارة أو الجذع. يقع (اناجك فونان) على طول منطقة الشاطئ الجنوبي.
                  



في فرح، وهو دواء أو الدواء، فن الملايو بريتاني إبراهيم رحيم سوكري هو السجل التاريخي الفطاني ذلك. في هذه المنطقة، وكانت المنطقة مع سيامي البرية أصلا. ثم هندوسي من الهند وصلت. الملايو هم شعب مرة أخرى إلى السكن



         
  أن فطاني أساطير انتقلت المهاجرين سيامي في عالم صافي ساموي الدوري قرن بين 10-11 والاستيعاب الثقافي للسكان الأصليين. أصبح سيامي الطبقة الحاكمة والمسيطرة الأراضي الدوري ساموي تيم الملايو
أسطورة راما – فطاني وونغ وقالت مها التنين اللهمرون مهاوين. باشا مع هذه وخدم من الهند لبناء مدينة كيدا. (ولاية كيدا في ماليزيا اليوم) وجدت سيم سيامي أو رئيس. يدل على أن الأشياء بأسمائها الحقيقية قد عاش في مالايا لفترة طويلة. الثقافة والازدهار للشعب سيم المستمر على القبائل الأصلية. تم الاعتراف وتكريم كزعيم المجتمع.



للشعب الملايو سيدي، انها حالة بورين (توي عبد الله) الحاكم السابق لساتون. وقد جمعت في كتاب من سجلات التاريخ والكتب الملايو خلص إلى أن العنصرية ولدت من حجم الملايو أورانغ من الماء، أو أبناء المدينة عرقية مختلطة من تايلاند شركة (سي) شومفون، سورات ثاني وجافا في وقت لاحق.
              


لقد عاش أهل الأرض أو شبه جزيرة الملايو الجزيرة معا. هذا المزيج العرقي وتوحيد كمجتمع يحكمه رؤساء أنفسهم كقادة. وقد وصل الهنود إلى التجارة وتطورت ثقافة تبشيرية إلى مجتمع المدينة والإقليم ككل. كما، فونان الآلاف ورد في الوثائق التاريخية مثل ل  انا جاك فونن تتاوراوادي سيرءساي بنبن تاتكولاء تمكولين"لنكا سوك" من مؤشر البناء، استنادا إلى الروابط، واحد منهم هو


القرن وقال أستاذ التخلل السعادة  في الأصل موجودة في جزيرة سومطرة. حتى حوالي 111 عاما في وقت لاحق الملك على الملكية صنم مملكة الطريق حارة الملك براميت ناريسوان شايلين  في ماجاباهيت في جاوة جاء أول دولة على طرف شبه جزيرة الملايو، مدينة ملقا منذ عام 1946، مع مملكة سيام كأمة (عهد جلالة الملكةسمديدبرء برومراسي تيرات  ملككروم شي ايوتاياه المقالات استراتيجية)
المهاجر" أو "الجانب  الآخر "  " مصطلح

...............................................................