หน้าเว็บ

1/18/2555

คัดค้าน พรก.ฉุกเฉิน ใครได้ประโยชน์ ความจริงที่ต้องรู้

           ปัจจุบันการใช้กฎหมายพิเศษหรือ พรก.ฉุกเฉินซึ่งเป็นกฏหมายทางเลือกที่เปิดช่องทางในการพูดคุย ทำความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือถูกพาดพิงว่าเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงเพื่อหาข้อเท็จจริง  ทดแทนการใช้ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งอาจต้องถูกดำเนินคดี   ที่รัฐบาลประกาศใช้อยู่ใน จชต. นอกจากจะช่วยให้การติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมารับโทษสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วแล้ว  ยังช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ของผู้ที่ถูกพาดพิงให้ไม่ต้องรับผิดหากพบว่าไม่เกี่ยวข้อง  โดยมุ่งหวังเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า ๒ ล้านคนเป็นหลัก  ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ทราบดีว่าไม่มีผลกระทบกับการดำรงชีวิตอย่างแน่นอนหากไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่

            แต่จากการที่องค์กรภาคประชาสังคม นำโดยมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  ได้รณรงค์ปลุกกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้    โดยจงใจนำเสนอข้อมูลบางด้านเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง  เพื่อให้ประชาชนและองค์กรนานาชาติกดดันรัฐบาลให้ยกเลิกการใช้ พรก.ฉุกเฉิน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวอ้างว่าเป็นองค์กรหลักที่ให้ความช่วยเหลือในคดีความมั่นคง  ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับขบวนการหรือผู้ก่อเหตุรุนแรงเกือบทั้งสิ้น  จากความพยายามดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายมองเห็นความสัมพันธ์กันระหว่างองค์กรเหล่านี้กับผู้ก่อเหตุรุนแรงได้อย่างชัดเจน  และทำให้เห็นว่าความจริงแล้วต้องการช่วยเหลือเฉพาะผู้กระทำผิดและผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตาม พรก.ฉุกเฉินเท่านั้น    มิได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับในฐานะผู้มีสิทธิอันชอบธรรมที่ต้องการดำรงชีวิตอย่างสงบสุขเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
             ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ต.ค.๕๔ ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนร้องเรียนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเป็นเอกสารระบุว่า มีทนายความของศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานีเรียกรับเงินจากชาวบ้านเพื่อช่วยดำเนินการทางคดี   ไม่รับผิดชอบต่อลูกความ ผิดนัดศาล และไม่ช่วยยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการทางคดีให้ลูกความ  ยิ่งเป็นสิ่งบ่งชัดขัดต่อคำกล่าวอ้างต่อสังคมว่าให้การช่วยเหลือประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  และพาดพิงถึงความล่าช้าในขั้นตอนการสอบสวนและกระบวนการศาลทำให้การให้ความช่วยเหลือของศูนย์ทนายความมุสลิมไม่สามารถทำได้   นี่ต่างหากที่เป็นธาตุแท้ที่แฝงอยู่ในอุดมการณ์แอบแฝง
             แม้การใช้ พรก.ฉุกเฉิน และกฏหมายพิเศษใน จชต. จะไม่สามารถทำให้เหตุการณ์ สงบลงได้โดยสิ้นเชิงในทันที  แต่หากลองนึกถึงภาพความเป็นไปในพื้นที่ถ้ามีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ตามกระแสของกลุ่มคนซึ่งเป็นแนวร่วมที่แอบแฝงอยู่ในองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่พยายามทุกวิถีทางที่จะสนับสนุนการปฏิบัติของผู้ก่อเหตุรุนแรงแล้ว  การเข่นฆ่าข่มขู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ตามอำเภอใจเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่กล่าวอ้างว่าทำเพื่ออุดมการณ์ย่อมสามารถทำได้อย่างเสรี  โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเข้าแก้ไขปัญหาและจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบหากยกเลิก พรก.ฉุกเฉินแล้ว  เหตุการณ์เลวร้ายลง  จะปล่อยให้ประชาชนตาดำๆ ใน จชต. ก้มหน้ารับกรรมทั้งที่สามารถป้องกันหรือบรรเทาลงได้ด้วย พรก.ฉุกเฉินหรือ  อย่ามัวแต่เห็นแก่พวกพ้องและผลประโยชน์ส่วนตนเลย  ออกมาทำรณรงค์ในทางสร้างสรรค์  สร้างความสมานฉันท์ในบ้านเมืองน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น