หน้าเว็บ

6/27/2555

"อดีตบีอาร์เอ็น" เล่าปัญหาในขบวนการป่วนใต้ กับทางสองสายเมื่อเกิดประชาคมอาเซียน


วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2012 เวลา 16:45 น. เขียนโดย ทีมข่าวอิศรา 
          ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอดหลายปีของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามักมองปัญหาผ่านสายตาและข้อมูลของภาครัฐ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงเท่านั้น แต่แทบจะไม่เคยฟังข้อมูลจากฝ่ายผู้ก่อการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนโดยตรงเลย
          ประกอบกับองค์กรของผู้ก่อความไม่สงบยังคงเป็น "องค์กรลับ" แม้จะปฏิบัติการก่อความรุนแรงในทางเปิดมากว่า 8 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่ "เสียลับ" ทำให้สังคมไทยมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบน้อยมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าพวกเขากำลังคิดอะไร มียุทธศาสตร์ในการก้าวไปข้างหน้าอย่างไร จะพาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปทางไหน และมีปัญหาภายในองค์กรของพวกเขาบ้างหรือเปล่า

          แม้ที่ผ่านมาจะมีการนำตัวผู้ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุมหรือกลับใจยอมเข้ามอบตัวมาบอกเล่าข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนบ้าง แต่หลายๆ ครั้งก็เหมือนเป็นการ "จัดฉาก" ของฝ่ายรัฐ

6/26/2555

'Thai Muslims reject violence'


UNHOLY: Unrest in southern provinces tarnishes Islam

Yala Islamic Affairs Council president Ismael Abd Latif Haree says insurgency cannot be accepted as a form of jihad

KOTA BARU: THE majority of Malay Muslims in Thailand's southern region are against the killings of their fellow citizens in the name of Islam.
Yala Islamic Affairs Council president Ismael Abd Latif Haree said those who had caused unrest in the south had tarnished the image of Islam by linking their struggles with the religion.
"Violence is not the way of life of Thai Muslims as we prefer to live in harmony with others. Most of us do not accept extremist activities," he said in a statement yesterday.
Since the insurgency escalated in 2004, more than 4,500 people, comprising civilians, soldiers and monks, have been killed in bombings, drive-by shootings and murders in Yala, Pattani and Narathiwat.

6/22/2555

ภาคประชาสังคมใน จชต. “ด้วยจิตอาสาหรือเพื่อสิ่งใด”


              ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย นับตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน นอกจากสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่แล้วยังส่งผลเสียหายต่อสังคม เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  เป็นเหตุให้องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจ  รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงกลุ่มต่างๆ ได้รวมตัวเคลื่อนไหวหาทางเป็นตัวกลางระหว่างรัฐและประชาชนเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตามลักษณะองค์กร  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการให้ความช่วยเหลือนี้เกิดจากจิตอันเป็นกุศลเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ

            หากสืบสาวถึงประสบการณ์ของกระบวนการสร้างสันติภาพในโลกแล้วเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า บทบาทของประชาชนเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสันติภาพที่ไม่อาจมองข้ามได้ และเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัวสืบเนื่องมาเป็นเวลากว่า 8 ปี

6/17/2555

จากเด็กนักเรียนถึงผู้ก่อเหตุรุนแรง "เผาโรงเรียนหนูทำไม"


               ขณะที่โรงเรียนแทบทุกแห่ง ทั่วประเทศ  เปิดภาคเรียนใหม่กันไปแล้ว ซึ่งบรรยากาศอบอวลไปด้วย กลิ่นอายเสื้อผ้าใหม่ ... หนังสือใหม่... เพื่อนใหม่ .... เด็กหลายคนตื่นเต้นกับการได้ย้ายโรงเรียนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็พลอยยินดี ไปกับลูกหลานที่ได้เลื่อนชั้นเรียนที่สูงขึ้น แต่สำหรับเด็กๆ  ที่โรงเรียนบ้านต้นมะขาม   อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานีในวันนี้กลับไม่มีอาคารเรียน  เนื่องจากถูกผู้ก่อการร้ายเผาจนวอดวายหมดสิ้นไปเมื่อคืนวันที่ 3 มิ.ย.55 ที่ผ่านมา   แม้ความรู้สึกของเด็กที่น่าสงสารที่นี่ในวันนี้ จะต่างกันยิ่งนักกับเด็กนักเรียนในภูมิภาคอื่นๆ แต่ก็คงไม่ต่างจากเด็กในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากที่ต้องประสบเคราะห์กรรมที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ที่ไหนในโลกนี้   จึงมีคำถามจากเด็กๆว่า "เผาโรงเรียนหนูทำไม"  
            เผาโรงเรียน ฆ่าครู เพื่อให้เด็กไม่มีการศึกษา หรือย้ายไปเข้าโรงเรียนปอเนาะ  ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าโจรเหล่านี้ใช้สมองส่วนไหนคิด
               ตั้งแต่ปี 2547  จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกเผาไปไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง พอๆกับชีวิตครูที่ถูกปลิดชีวิตไปเป็นร้อย สำหรับคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติ  แต่สำหรับคนในพื้นที่อื่น รวมถึงในเวทีโลก  เรื่องนี้ได้ถูกนำมาประณามอย่างรุนแรงถึงการกระทำเยี่ยงสัตว์ป่าที่ไม่มีผู้ก่อการร้ายกลุ่มใดในโลกก่อเหตุในลักษณะเช่นนี้

6/14/2555

ลมปากนักการเมืองที่ดีแต่พูด....“ให้ชาวบ้านลำบาก”



              ปัญหาการก่อเหตุรุนแรงพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครรินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อ 4 มกราคม 2547 ทำให้รัฐบาล และหน่วยงานความมั่นคงรีบดำเนินการค้นหาต้นตอ และสาเหตุที่แท้จริงรวมถึงกลุ่มขบวนการที่สร้างสถานการณ์ ความรุนแรง ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพื่อหาวิธีและดำเนินการหยุดยั้งปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยุติโดยเร็ว และยั่งยืน
จากความพยายามของรัฐไทยทุกสมัยจนถึงปัจจุบันในสมัยของพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล และมีนายกยิ่งลักษณ์   ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยเป็นนายกรัฐมนตรีและการทำงานของฝ่ายความมั่นคงพร้อมด้วยหน่วยงานทุกส่วนที่พยายามหาสาเหตุและรากเหง้าของกลุ่มขบวนการ

6/12/2555

ควันหลง “โอไอซี” ใครว่าปาหี่ดับไฟใต้




ถึงชั่วโมงนี้ข่าวการเดินทางเยือนไทยของ นายซาเยด คาสเซม เอล มาสรี ที่ปรึกษาและผู้แทนพิเศษของเลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ โอไอซี ระหว่างวัน ๗ – ๑๒ พ.ค.๕๕ ที่ผ่านมา กำลังเป็นที่จับตาของประชาคมโลก  โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในโลกมุสลิม เพราะการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก ๒ หน่วยงานคือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้าและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชน และเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก