ในทุกสังคมมักมีประชากรที่หลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
ซึ่งอาจมีข้อพิพาทกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของสัตว์สังคมไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์เมื่อรวมกลุ่มกันอาจมีความคิดเห็นที่ต่างกันหรืออาจกระทบกระทั่งกันบ้าง แม้ในครอบครัวเดียวกันสายเลือดเดียวกันยังมีการทะเลาะเบาะแว้งกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ความรุนแรงหรือการพิพาทที่ขยายวงกว้างขึ้น มักเกิดจากบุคคลที่ ๓
ที่เข้ามาแทรกแซง และยุยงให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น เหตุการณ์รุนแรงในพื้นที่
จชต. ก็เช่นกันที่เกิดขึ้น และยังคงดำรงอยู่เพราะกลุ่มขบวนการ BRN,กลุ่ม Pulo และกลุ่มอื่นๆ ซึ่งสังคมเรียกรวมๆว่าผู้ก่อเหตุรุนแรงพยายามสร้างสถานการณ์ และปลุกระดมมวลชน โดยบิดเบือนหลักศาสนา
และประวัติศาสตร์ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน และความแตกต่างใน อัตลักษณ์ ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม และเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เป็นกลไกรองในการปลุกระดม เพื่อแย่งชิงมวลชนเข้าร่วมเป็นฝ่ายตนเอง
ในการประชุมสัมมนา Conflict in Southern Thailand
ที่รัฐสภาสวีเดน เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๖ Mr.Mehmet
Kaplan หน.พรรคกรีนประเทศสวีเดนกล่าวว่าเขาพึ่งไปเยี่ยม จชต.
ของไทยสิ่งที่พบเห็นคือสังคมถูกข่มขี่ คนหนุ่มสาวไม่มีอิสระในการแสดงออก
เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความรุนแรงมีเพิ่มขึ้นมากว่า ศตวรรษที่ผ่านมาคนไทยพยายามกลืนภาษา
และวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิม หลายคนต้องหนีภัยไปประเทศมาเลเซีย และยุโรป จากคำพูดดังกล่าวของ
Mr.Kaplan ผมในฐานะนักเขียนอิสระ
ถึงแม้จะไม่ได้เป็น จนท.รัฐก็ตามแต่อยู่ในพื้นที่มา แต่เกิดรู้เห็นความเป็นไปในพื้นที่
จชต. และทราบการปฏิบัติงานของ จนท. เป็นอย่างดี ประเมินได้ว่า Mr.Kaplan รับรู้ข้อมูล ที่ผิดมีผู้ที่ไม่หวังดีให้ข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริงให้กับ
Mr.Kaplan ผู้เขียนขอเสนอความเป็นจริงประกอบการวิเคราะห์ดังนี้
ประเทศสวีเดน
มีนโยบายรับผู้อพยพชาวต่างชาติ โดยให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยการเมือง ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ
กลุ่มที่ต่อสู้แบ่งแยกดินแดนกับรัฐบาล และผู้ก่อการร้ายของประเทศต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม คนมุสลิม ในส่วนของประเทศไทยแกนนำผู้ก่อเหตุรุนแรงได้หลบหนีไปอาศัยอยู่ด้วย
เช่น นาย อาบู ยาแชร์ พิกรี
หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ซัมซูดิง คาน
อดีตประธานพูโล และประธาน GMIP มีโอกาสรู้จักบุคคลสำคัญของประเทศสวีเดน และ ในรัฐสภา เช่น Mr.Kaplan และได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีชาวมุสลิมจาก จชต. ซึ่งเป็นแนวร่วมขบวนการเข้าร่วมสัมมนาอีกกว่า ๑๐๐ คน หนึ่งในนี้มี นายยาสรี คาน บุตรชายของ นายซัมซูดิง คาน
เข้าร่วมสัมมนาด้วยซึ่งนายซัมซูดิง คาน ได้ผลักดันให้บุตรชายเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนมากขึ้น
ปัจจุบันนายยาสรี คาน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับ Mr.Kaplan จึงมีโอกาสชี้นำและให้ข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มตนได้ง่าย
ด้วยเหตุผลข้างต้นการสัมมนาโดยกลุ่มคนที่มีความคิดในแนวทางเดียวกัน มีอุดมการณ์เดียวกัน จึงให้ข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนข้อมูลไปในแนวทางเดียวกันถือเป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่ชอบธรรมตั้งแต่เริ่มต้นส่งผลทำให้
Mr.Kaplan และ
จนท.ของสวีเดนอีกหลายท่านคิดว่ารับข้อมูลจากหลายๆ คน
ในแนวเดียวกันเป็นเรื่องจริง โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการรวมกลุ่มหลอก
มามองอีกด้าน จนท.รัฐ มีการกดขี่ข่มเหงประชาชนใน จชต. จริงหรือ?
ต้องยอมรับว่าในสมัยก่อนเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา
จนท.รัฐบางส่วนมีการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะ จนท.ตร. แต่เป็นการปฏิบัติของ
จนท.บางคน ซึ่งมีจำนวนน้อยที่ละเมิดนโยบายของรัฐบาลไทย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง สร้างความเสื่อมเสียกับ จนท.รัฐโดยรวม นั่นคืออดีตแต่ในห้วง
๑๐ ปี ที่ผ่านมา หลังเหตุการณ์ปล้นปืนกองพันพัฒนา
๔ รัฐบาลไทยและผู้บังคับบัญชาทุกระดับ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาได้กวดขันเน้นย้ำ จนท. ทุกระดับ โดยกำหนดลงโทษผู้ฝ่าผืน
หรือละเมิดคำสั่งอย่างหนัก ปัจจุบันไม่พบว่า มีการกดขี่ข่มเหงประชาชน
ไม่มีการกีดกันการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณี และ อัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่แต่อย่างไร
ในทางกลับกันผมว่ามีการสนับสนุนส่งเสริมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา
การศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งผมจะนำเสนอให้ทราบต่อไป คำกล่าวของ Mr.Kaplan จึงเป็นการบิดเบือนความจริงหรือเอาเรื่องเก่าๆ
ในอดีตมาพูดซึ่งไม่สามารถจะแก้ได้แล้วมีแต่จะทะเลาะกันควรจะก้าวข้ามตรงจุดนี้ไป
เอาปัจจุบันมาพูดคุยเพื่อให้เกิดสันติสุข ผมคิดว่าน่าจะดีกว่านะ
จากคำกล่าวของ
Mr.Kaplan
ในลักษณะคำถามแสดงให้เห็นว่า เข้าใจผิดรับข้อมูลด้านเดียวจากผู้ที่มีอคติต่อประเทศไทย ผมในนามของคนไทย
คนหนึ่งขอใช้พื้นที่ตรงนี้ตอบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้.-
คำถาม
เมื่อใดจะยุติกฎหมายพิเศษ และถอนกำลังทหาร ?
คำตอบ คำถามนี้ไม่ต้องให้นักวิชาการตอบหรอก
คนธรรมดาก็ตอบได้ถ้าพวกผู้ก่อเหตุรุนแรงเลิกก่อเหตุลอบทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์เมื่อไม่มีเหตุร้าย
และความรุนแรงในพื้นที่ กฎหมายพิเศษต่างๆ ก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย อาจมีคนสงสัยว่ากฎหมายปกติไม่พอหรือ
ขอชี้แจงพอสังเขป กฎหมายปกติแม้จะมีผลบังคับใช้ได้
แต่ยังคงไม่เพียงพอในการเป็นเครื่องมือให้กับ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เหตุการณ์ไม่ปกติ
เช่น การตรวจค้นจับกุม กฎหมายปกติต้องขอหมายศาลซึ่งกระทำได้แต่ไม่ทันเวลา
และยังมีอีกหลายประการที่แสดงถึงความจำเป็นที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในโอกาสต่อไป
สำหรับกำลังทหารตามที่ทราบกันดีทหารเป็นที่พึ่งของประชาชน ผู้ที่คิดดีทำดีไม่ทำสิ่งที่ผิดกฎหมายจะไม่ได้รับความเดือดร้อน
แต่จะรู้สึกปลอดภัยขึ้นผู้ที่ได้รับผลกระทบ และเดือดร้อน คือ ผู้ร้ายและกลุ่มขบวนการที่ทำผิดกฎหมาย
เพราะทหารจะไปขัดขวางการดำเนินการที่ชั่วร้ายของเขา จึงไม่ต้องการให้ทหารอยู่ในพื้นที่
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยที่ต้องการให้ทหารอยู่ในพื้นที่ต่อไป
คำถาม
มีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ จนท. ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของ ปชช.
ในพื้นที่ ? และ จนท. ได้ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ปชช. ในพื้นที่หรือไม่
คำตอบ นโยบายของรัฐมี กฎ, ระเบียบ, ข้อห้ามผู้ที่ละเมิดคำสั่ง
และข้อห้ามไม่เพียงแค่สิทธิมนุษยชน แต่รวมถึง อัตลักษณ์, ประเพณี, วัฒนธรรมในห้วง
๒ ปี ที่ผ่านมายังไม่พบการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้ามีก็ขอให้แจ้งไปที่หน่วยงานรัฐเพื่อจะได้ตั้งกรรมการสอบสวนร่วม
๓ ฝ่าย คือ ผู้แทนจากทหาร ตำรวจ อำเภอร่วมกับผู้นำศาสนา ชุมชนเพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำถาม ขอให้เรียก ปชช. ในพื้นที่ว่า มลายู – มุสลิม แทนคำว่า ไทย
– มุสลิม เพราะมีจำนวนมากที่ไม่พอใจ ที่เรียกเขาเช่นนั้น
เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีเชื้อสายไทย
คำตอบ เรียก ไทย – มุสลิม หมายถึงคนไทยที่มีบัตรประชาชนของไทย
อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมีอัตลักษณ์ขนบธรรมเนียม
ประเพณี และภาษาเป็นการเฉพาะ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ และสัญชาติแต่อย่างใด คำว่าไทยไม่ได้หมายความว่า เชื้อชาติไทยตามที่ผู้ไม่หวังดีพยายามบิดเบือน
ปลุกกระแสในเรื่องความเป็นเชื้อชาติมาลายู
สำหรับคำว่ามลายู หมายถึง คนที่มีเชื้อชาติมาลายูอาจอยู่ในประเทศไทย
มาเลย์ หรือ อินโดนีเซีย และอื่นๆ ก็ได้ที่มีเชื้อสายมาลายู การเรียกมลายู –
มุสลิม จึงมีความหมายกว้างสำหรับใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เรียก ไทย – มุสลิมจะเจาะจงได้ชัดเจนกว่า
แต่ใครจะเรียกมาลายู – มุสลิม ก็ไม่น่าจะผิดแต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด ประเทศไหน ก็แล้วแต่ความพอใจที่จะเรียกของแต่ละบุคคล
อย่ายุยงปลุกระดมให้คนอื่นเห็นด้วยก็แล้วกันจะผิดกฎหมาย
ถึงแม้บนความวุ่นวายในความคิดที่แตกแยกในพื้นที่
จชต. แต่ก็ยังมีสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น เช่น ห้วงที่ผ่านมามีคณะผู้แทนพิเศษจาก OIC เดินทางมาเยี่ยมชมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และชมเชยการปฏิบัติของรัฐบาลไทย ตลอดจน จนท.รัฐ
ที่ปฏิบัติต่อคนที่นับถือศาสนาอิสลามดีกว่าประเทศมุสลิมใดๆ ในโลกนี้ กล่าวคือให้อิสระในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา
และกิจกรรมต่างๆ ทางขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และภาษาไม่มีการกีดกัน
และปิดกั้น ในทางกลับกันให้การสนับสนุน และส่งเสริมด้วย ซึ่งประเทศอื่นๆในโลกมุสลิมไม่ได้ให้อิสระ
และโอกาสขนาดนี้ และที่แปลกใจของคณะผู้แทน OIC อีกประการหนึ่ง
คือ รัฐมีการให้เงินเยียวยากับผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ – ศาสนา
แม้แต่ญาติของ ผกร. ซึ่งเป็นอาชญากร และผู้ร้าย
รัฐบาลก็ให้การดูแลเยียวยาโดยเสมอกัน ซึ่งประเทศอื่นๆ ไม่มีในลักษณะนี้เช่นกัน
****************************
กาลัม บีรู
ผู้แทนกลุ่มประชาชนมุสลิมปาตานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น