หน้าเว็บ

5/30/2557

อยากรู้ไหมว่า ทำไมทหารกับนักสิทธิฯ ต้องไปเจอกันที่ศาล




ตามที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 เดือนพฤษภาคม 2557 ในสังคมออนไลน์เว็บไซต์ www.deepsouthwatc.org หรือศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้  โดยบล็อกของ rungraweeหรือ รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัชได้เขียนบทความในหัวข้อ ทำไมทหารกับนักสิทธิฯ ต้องไปเจอกันที่ศาล
 ต่อกรณีที่ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และทำหนังสือเปิดผนึกถึง พล.ท. วลิต  โรจนภักดี  แม่ทัพภาคที่ 4 โดยกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการซ้อมทรมาน นายอาดีลสาแม ในขณะเข้าติดตามจับกุม เมื่อ 26 เมษายน 2557 เวลา 12.30 น. เป็นเหตุให้ นายอาดีลสาแม ได้รับบาดเจ็บสาหัส จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวได้เขียนหัวเรื่องว่า ขอให้ตรวจสอบกรณีนายอาดิลสาแม ได้รับบาดเจ็บขณะถูกจับกุมและควบคุมตัว
แต่ถ้าพิจารณาถึงเหตุผลแค่นี้ทางกองทัพภาคที่ 4 ก็คงจะไม่น่าต้องฟ้องอะไรใช่ไหมครับ เพราะมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ก็คงทำหน้าที่สมเหตุสมผลที่ขอให้มีการตรวจสอบก่อน เพื่อความไม่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชน แต่มันไม่ใช่แค่นี้นะครับมันเป็นเรื่องน่าแปลกที่ น.ส.พรเพ็ญฯ ได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกให้ ทางกองทัพภาคที่ 4 ในวันที่ 2 พ.ค.57 ในขณะที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ นำเสนอข้อมูลถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อ 30 เม.ย.57 เพื่อเสนอคณะกรรมาธิการต่อต้านการซ้อมทรมานแห่งสหชาติ (Uncat) ในการประชุมคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อ 27 เม.ย. – 3 พ.ค.57 แทนที่จะส่งหนังสือเปิดผนึกถึงกองทัพภาคที่ 4 ก่อน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่นี่เป็นการกระทำให้เห็นถึงความไม่จริงใจ ไม่บริสุทธิ์ใจ และไม่ยุติธรรม เหมือนกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ กล่าวอ้างว่าเป็นองค์กรที่ดำเนินการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชนและทุกฝ่าย แต่พฤติกรรมดังกล่าวมีนัยยะแอบแฝงเป็นที่น่าสงสัยว่า การที่ได้รับข้อมูลแล้วไม่มีการตรวจสอบ โดยเฉพาะข้อมูลจากองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กร เช่น สำนักสือwatani , กลุ่ม PerMASและสื่ออื่น ๆ ที่มีพฤติกรรมช่วยเหลือผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ผ่านมาโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงใส่ร้ายเจ้าหน้าที่รัฐมาโดยตลอด แต่พอความจริงปรากฏองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้ไม่เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบแม้แต่ครั้งเดียว

 ครั้งนี้ก็เช่นกันทำไมต้องรีบนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จที่ไม่มีการตรวจสอบก่อน ที่จะนำเสนอผ่านสื่อสู่สาธารณชนทั้งองค์กรในและระหว่างประเทศอย่างครึกโครม ทั้งที่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนได้ แต่ได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกให้กองทัพฯ ที่หลังเพื่อเป็นข้ออ้างแก้เก้อเท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้เสมือนหนึ่งจงใจสร้างความแตกแยกและหวาดระแวงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ลดความน่าเชื่อถือให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญได้สร้างความเสียหายให้กับภาครัฐและทำลายความน่าเชื่อถือในเวทีสากลในระดับประเทศเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติโดยตรง
ข้อความตอนหนึ่งที่รุ่งรวีได้กล่าวถึง ข้อมูลของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม สถิติการร้องเรียนการซ้อมทรมานในช่วงปี 2551 – 2555 นั้น มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ   ในปี 2551 มีการร้องเรียนเรื่องซ้อมทรมาน 88 กรณี  ในปี 2552 จำนวน  61 กรณี ในปี 2553 จำนวน 63 กรณี ในปี 2554 จำนวน 60 กรณี และในปี 2555  การร้องเรียนในเรื่องนี้ลดลงอย่างมาก จนเหลือเพียง 38 กรณี  แต่น่าเสียดายว่าการร้องเรียนกลับเพิ่มมากขึ้นอีกในปี 2556  ซึ่งมีถึง 58 กรณี
เป็นคำกล่าวอ้างข้อมูลเชิงสถิติทางตัวเลข ที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์ในการก่อเหตุเพิ่มขึ้นในปี 2556 เพราะสถิติคดีการฟ้องร้องก็ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเป็นธรรมดา แต่ในทางเหตุผลคนชั่วเหล่านี้ที่มีหมายจับตามพยานและหลักฐาน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ก่อเหตุรุนแรงสร้างความเดือดร้อนให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างย่ามใจ เพราะมีกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม NGOs ออกมาปกป้อง โดยเฉพาะมูลนิธิผสานวัฒนธรรม, ศูนย์ทนายความมุสลิม, กลุ่ม PerMAS, HAP,insouthและอีกหลายองค์กรแนวร่วมที่มีพฤติกรรมส่อไปในลักษณะสนับสนุนเกื้อกูลปกป้องการกระทำทุกรูปแบบ โดยมีการติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิและการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมาน
เหตุการณ์ยิงสตรี, เด็ก, พระสงฆ์ หรือเป้าหมายอ่อนแอในห้วงที่ผ่านมา แต่องค์กรเหล่านี้กลับมองไม่เห็น ทำไมไม่ประณามหรือช่วยเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของมูลนิธิตามที่กล่าวอ้าง แต่ในทางตรงข้ามกลับพยายามหาช่องทางที่เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นำมาเป็นข้ออ้างชูประเด็นเป็นเรื่องใหญ่ อีกทั้งบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียง และให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งต่างกับเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในห้วงที่ผ่านมา องค์กรเหล่านี้กลับนิ่งเฉยทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนธุระไม่ใช่  ก็การทำงานของมูลนิธิฯ ที่ช่วยเหลือกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเหล่านี้มิใช่หรือ? ที่มีส่วนผลักดันและสนับสนุนให้ตัวเลขเชิงสถิติตามที่กล่าวอ้างในการก่อเหตุรุนแรงสูงขึ้น

ข้อความอีกตอนหนึ่งที่รุ่งรวีได้กล่าวถึงว่า  กอ.รมน. ได้เรียกร้องในการแถลงข่าวว่าให้มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ตรงไปตรงมาและตรวจสอบได้ และแสดงความรับผิดชอบต่อเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง และนำเสนอเรื่องราวอันเป็นเท็จไปสู่การรับรู้สาธารณะ ดังเช่นเหตุการณ์ครั้งนี้ และที่ผ่านๆ มาเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรม และเจตนาที่แท้จริงไปมากกว่านี้”  โดยระบุว่าทางกอ.รมน. ยังคงให้ความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม ให้การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน และไม่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทำงานขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่มีเจตนาบริสุทธิ์ ในการเข้ามาตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ในทุกกรณี
แต่ รุ่งรวีได้แสดงความเห็นว่า เหตุการณ์นี้อาจจะ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดแบบเดิมๆ ของกองทัพต่อการทำงานของนักสิทธิฯ  ที่ยังคงเชื่อว่าพวกเขามีเจตนาแอบแฝง มองไม่เห็นว่าพวกเขาทำอะไรที่เป็นประโยชน์ นอกจากคอยจับผิดทหารและขัดขวางการจับกุม  ผู้ก่อเหตุรุนแรง”  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว  การร้องเรียนให้ทางกองทัพตรวจสอบ  การนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้กับสาธารณชน ทั้งในและต่างประเทศเป็นบทบาทปกติขององค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหว รณรงค์เพื่อหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอารยะทั้งหลายต่างก็มีเครือข่ายขององค์กรเอกชนที่ทำงานในลักษณะนี้อยู่มากมาย    พวกเขาควรจะได้ทำหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระและไม่ถูกข่มขู่คุกคาม
การที่รุ่งรวีได้พูดว่า เหตุการณ์นี้อาจจะ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดแบบเดิมๆ ของกองทัพต่อการทำงานของนักสิทธิฯ  ก็อยากถามกลับว่าถ้าการทำงานของนักสิทธิฯ เป็นไปตามอุดมการณ์ตามที่กล่าวอ้างด้วยความสุจริตยุติธรรม โปร่งใส ต่อทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติก็เป็นการสมควร แต่เหตุการณ์นี้และที่ผ่านมาการทำงานของนักสิทธิฯ นั้นเหมือนกับไม่ลืมหูลืมตาที่จะพิจารณาถึงข้อเท็จจริง แต่ดูเหมือนกับจะมีธงปักไว้แล้วจะต้องช่วยเหลือโจรชั่วให้พ้นผิดให้ได้ โดยใช้วิธีบิดเบือนข้อเท็จจริงรีบกล่าวประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่โดยไม่มีการตรวจสอบ แล้วจะให้คิดอย่างไร?
ผู้เขียนในฐานะเป็นคนไทยที่รักชาติคนหนึ่งคิดว่าการกระทำด้วยความจงใจเช่นนี้ ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างร้ายแรง เป็นการลดความน่าเชื่อถือจากองค์กรต่างประเทศ มองให้เห็นเจตนาของมูลนิธิที่ต้องการจะให้องค์กรภายนอกเข้ามาแทรกแซงเรื่องภายในประเทศซึ่งถือว่าเป็นผลเสียของประเทศอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมออกมาแสดงความรับผิดชอบอย่างไรก็หาไม่ และที่สำคัญมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ก็ไม่มีองค์กรใดตรวจสอบการทำงานว่าโปร่งใสบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ ก็เป็นการสมควรและยุติธรรมแล้วมิใช่หรือ?
ดาวะปูเต๊ะ.. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น