หน้าเว็บ

2/29/2559

การเคลื่อนไหวของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพหรือเพื่อใคร?

แบมะ ฟาตอนี

ความเคลื่อนไหวของเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.) ร่วมกับสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและพัฒนา (LEMPAR), สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH/สนมท.), สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS) และชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ม.อ.ปัตตานี จัดเสวนาชุมชนสาธารณะ ครั้งที่ 3 ปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินกับข้อท้าทายบนเส้นทางสันติภาพปาตานี/ชายแดนใต้ : ถ่านหินภัยแทรกซ้อนสันติภาพปัตตานี ความไม่เป็นธรรมจากอำนาจรัฐ และ กฟผ.ที่กระทำต่อชุมชนปาตานีณ มัสยิดบ้านท่าด่าน (กือแด) บ้านท่าด่าน  ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยมี นายตูแวดานียา ตูแวแมแง เป็นผู้ดำเนินรายการ
          ทำไม? เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อกลุ่มขบวนการจึงเลือกใช้มัสยิดบ้านท่าด่าน       เป็นสถานที่เสวนา ทำไม? นายตูแวดานียา ตูแวแมแง จึงนำประเด็นโรงไฟฟ้าถ่านหินมาข้องเกี่ยว กับคำว่าสันติภาพปาตานี ถึงกับใช้คำว่าภัยแทรกซ้อนสันติภาพความไม่เป็นธรรมจากอำนาจรัฐ ผ่าน กฟผ.กระทำต่อชุมชนปาตานี

          เครือข่ายภาคประชาสังคมกำมะลอเหล่านี้เคลื่อนไหวอย่างมีนัยซ่อนเร้น ยังคงเดินหน้าหลอกหลอนให้ประชาชนมลายูปาตานีหลงเชื่อกับคำโกหกหลอกลวงมาโดยตลอด ปัญหาที่ควรจะเคลื่อนไหวเพื่อเป็นปากเสียงแทนประชาชน กลับละเลยไม่แยแสกลับมุ่งเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและองค์กรเป็นหลัก

          การใช้วาทกรรม ถ่านหินภัยแทรกซ้อนสันติภาพปัตตานี นายตูแวดานียา ผู้นี้คือผู้ที่ค้นคิดวาทกรรมใหม่ๆ มาสาธยายบนเวทีเสวนา ให้ติดปากติดหูเพื่อมุ่งทำลายสันติภาพที่ควรจะเป็น    ภัยแทรกซ้อนที่มีผลกระทบกับประชาชนรากหญ้าอย่างปัญหายาเสพติด ลูกหลานพี่น้องปาตานีทุกหย่อมหญ้าในพื้นที่ต่างตกเป็นทาสของกลุ่มนายทุนค้ายาเพื่อนำเงินเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับกลุ่มขบวนการในการก่อเหตุ  แต่น่าแปลกใจเครือข่ายภาคประชาสังคมเหล่านี้ไม่เคยกล่าวถึงและรณรงค์ต่อต้าน แถมกลับทำเงียบเฉยไม่รับรู้ปล่อยให้มหันตภัยเงียบเข่นฆ่าลูกหลาน ผู้ปกครองต้องทนทุกข์ทรมานเหมือนตายทั้งเป็นยิ่งกว่าปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นายตูแวดานียา จุดประเด็นซะอีก

          ส่วนปัญหาศาลแพ่งสั่งยึดที่ดินโรงเรียนปอเนาะญีฮาด เช่นเดียวกัน เรื่องราวต่างๆ น่าจะจบลงด้วยดีอย่างมีเหตุมีผลและสมควรแก่เหตุ แต่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อกลุ่มขบวนการ (ไม่ใช่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพที่ได้มีการกล่าวอ้าง) กลับสร้างละครดราม่าน้ำเน่าไม่ต่างจากละครช่องหลายสี ปลุกปั้นพระเอกหน้าใหม่ นายบันยาล แวมะนอ ลูกชายของ นายดอเลาะ แวมะนอ อดีตผู้ร้ายตัวจริงให้โลดแล่นบนเวทีเสวนาเป็นตัวชูโรงเรียกคะแนนสงสารกล่าวหารัฐกลั่นแกล้งประชาชน ต้องตกระกำลำบาก กลายเป็นพจมานเร่ร่อนหอบข้าวของออกจากบ้านทรายทองไม่มีที่ซุกหัวนอน

          การสร้างภาพกับข่าวสารที่ออกไปช่างแตกต่างจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง จากแหล่งข่าวในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ ความจริงครอบครัวแวมะนอไม่ได้ลำบากยากจนข่นแค้นตามที่คนทั่วไปเข้าใจกัน ลองไล่เรียงกลับพบว่ามีฐานะร่ำรวยกันหลายๆ คนในบรรดาญาติพี่น้องทั้งหมดของครอบครัวนี้

          ผู้เขียนมีความสงสัยทำไม? ต้องไปจัดเวทีเสวนาที่มัสยิดท่าด่าน เพื่อเป็นการตอกย้ำอะไรหรือเปล่า สิทธิเสรีภาพในการจัดเวทีเสวนาที่ไหนไม่มีใครว่า แต่ในขณะที่ผู้นำองค์กรทางศาสนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกำลังมีการตั้งกรรมการพิเศษขึ้นมาคณะหนึ่งในการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และตอบสนองเจตนารมณ์เดิมของเจ้าของที่ดินต่อไปให้เป็นรูปธรรม แต่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อกลุ่มขบวนการ (ไม่ใช่เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพที่ได้มีการกล่าวอ้าง) กลับตั้งศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือครอบครัวโรงเรียนปอเนาะญีฮาดเพื่อระดมทุน มีการปลุกปั่นไม่ให้รับความช่วยเหลือจากรัฐ มุ่งเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ในการเสวนา เพื่อต้องการผลทางจิตวิทยาสังคม ซึ่งส่วนมากผู้ที่เข้าร่วมเป็นกลุ่มจัดตั้งขึ้นมาโดยเครือข่ายแนวร่วม

          ฝากไปยังประชาชนปาตานีให้ช่วยกันจับตาความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่ออกมาเคลื่อนไหวสร้างกระแส กล่าวอ้างถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรมทางสังคม และยังมีความพยายามดึงองค์กรต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเรา อีกทั้งมีการปลุกกระแสต่อต้านรัฐ โดยใช้ประเด็นปัญหาโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เพื่อยกระดับความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการระดมมวลชนให้เข้าร่วม จุดกระแสสร้างภาพนำเรื่องราวที่อ่อนไหวและกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนมาเล่น แต่กลับไม่แยแสถึงความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกรทบจากภัยแทรกซ้อนด้านอื่นๆ และที่สำคัญไม่เคยเห็นองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำที่รุนแรงของกลุ่มขบวนการที่ทำการเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์รายวัน อีกทั้งมีนัยแอบแฝงในการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจริงหรือ?....หรือเคลื่อนไหวเพื่อใครกันแน่?
----------------------


2/27/2559

ปอเนาะญีฮาดวิทยา กับ‘นัยที่ซ่อนเร้น’

มุสลิมท่าด่าน


ตั้งแต่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิพากษา เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.58 ยึดที่ดินโรงเรียนญีฮาดวิทยาตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ในเวลาต่อมากลับมีกลุ่มองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและมีการก้าวล่วงกล่าวหาว่าคำพิพากษาไม่มีความยุติธรรม อีกทั้งได้มีการเปิดประเด็นที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินวากัฟ (ที่ดินที่ได้รับการบริจาค) ซึ่งเป็นการจุดกระแสเพื่อต้องการสื่อให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม ชี้ให้เห็นว่ารัฐรังแกประชาชน ไม่มีความเป็นธรรม และเป็นความผิดพลาดของรัฐในการยึดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนญีฮาดวิทยา ซึ่งถ้าเราลองมาเรียบเรียงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา ทำไม? ศาลจึงต้องทำการยึดที่ดิน และทำไม? กลุ่มองค์กรบางกลุ่มจึงอาศัยจังหวะฉวยโอกาสในการเคลื่อนไหวแสวงประโยชน์จากเหตุการณ์นี้

          ย้อนรอยไปในอดีต นายบาราเฮ็ง เจ๊ะอาแซ หรือ บาบอเฮง ได้รับมรดกที่ดินตกทอดมาจากครอบครัว ซึ่งที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน กับ 42 ตารางวา แรกเริ่มเดิมทีที่ดินตรงนี้ บาบอเฮง มีความตั้งใจที่จะสร้างโรงเรียนปอเนาะไว้ให้ลูกหลานในพื้นที่ได้มีที่ศึกษาเล่าเรียนศาสนา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ในเวลาต่อมา บาบอเฮงได้เสียชีวิตลง กิจการโรงเรียนญีฮาดวิทยาจึงเป็นมรดกตกทอดต่อกันมาให้คนในครอบครัวเข้ามาบริหารจัดการต่อ เมื่อเวลาผ่านไปมีการปรับเปลี่ยน จากปอเนาะญีฮาด เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาญีฮาดวิทยา โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการเรียนการสอน และรับเงินสนับสนุนจากรัฐในการบริหารจัดการ

          ความหายนะเริ่มตั้งเค้าเมื่อ นายดูนเลาะ แวมานอ เข้ามารับช่วงต่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนญีฮาดวิทยา เนื่องจากนายดูนเลาะเริ่มฝักใฝ่กับขบวนการ BRN มีการใช้อาคารสถานที่โรงเรียนในการฝึกการใช้อาวุธ ผลิตวัตถุระเบิด และซ่องสุมกำลัง ปลูกฝังชักนำให้นักเรียนเข้าร่วมขบวนการจึงได้ทำให้เจตนาเดิมของบาบอเฮงถูกบิดเบือน จนเป็นเหตุให้ปอเนาะสีขาวกลับกลายเป็นปอเนาะสีเทา ทรัพย์สินถูกยึด ชื่อเสียงถูกทำลายสังคมดูหมิ่นเกลียดชัง เสื่อมเสียชื่อเสียง

          มูลเหตุจากการจับกุม นายมะยุรี หนิแว และนายมะซุกี เซ็ง บุคคลทั้งสองยอมรับว่าเป็นสมาชิกหน่วยคอมมานโดของกลุ่มโจร BRN เมื่อประมาณต้นปี 2545 ได้ถูกส่งตัวไปฝึกหลักสูตรคอมมานโด หรือชุดรบขนาดเล็ก (RKK) ที่โรงเรียนญีฮาดวิทยา โดยมีนายอิสมาแอ หรือจิแอ มะเซ็ง เป็นผู้ควบคุมการฝึก และนายดูนเลาะ แวมะนอ หรือเปาะซูเลาะห์ เป็นครูใหญ่โรงเรียนญีฮาดวิทยา

          ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารได้สนธิกำลังเข้าทำการตรวจค้นโรงเรียนญีฮาดวิทยา พบสายไฟฟ้า ท่อพีวีซี เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เอกสารแผนการปฏิวัติ 7 ขั้น บริเวณหลุมขยะบรรจุในขวดโหล พลาสติคฝังดิน ซึ่งเอกสารแผนการปฏิวัติ 7 ขั้นดังกล่าวมีลักษณะเป็นเอกสารภาษามลายูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัฐปัตตานี

จากพยานหลักฐานต่างๆ ที่ได้จากการตรวจค้นโรงเรียนญีฮาดวิทยา ประกอบกับการรับสารภาพของสมาชิก RKK ในเวลาต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งปิดโรงเรียนญีฮาดวิทยา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และถูกศาลสั่งยึดที่ดินเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.58


          ขณะที่เรื่องการยึดทรัพย์โรงเรียนญีฮาดวิทยา ยังอยู่ในขั้นตอนของศาลยุติธรรม นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขา ศอ.บต. ยังมีความห่วงใยเข้าไปเยี่ยมครอบครัวแวมานอและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง ณ ขณะนั้นครอบครัวแวมานอมีความยินดีที่จะให้ ศอ.บต. ช่วยเหลือในรูปของคดี แต่ภายหลังความคิดดังกล่าวกลับหายไปเมื่อมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และองค์กรภาคประชาสังคมได้เข้ามาสอดแทรก โดยให้ความหวังกับครอบครัวแวมานอไม่ต้องให้หน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือเพราะอยู่คนละฝ่ายกัน อีกทั้งคดีนี้ทนายความมุสลิมรับผิดชอบอยู่แล้ว แนวทางในการต่อสู้มีโอกาสที่จะชนะสูง มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจะเป็นผู้ดำเนินการ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด  

          ซึ่งจากข้อมูลเชิงลึกทราบว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่อสู้คดี และเรื่องอาหารการกินที่พักจริง  แต่แค่เพียงบางส่วนไม่ใช่ให้การช่วยเหลือทั้งหมดอย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรก ส่งผลให้ครอบครัวแวมานอได้รับความเดือดร้อนต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือเองซึ่งเป็นเงินจำนวนมากอยู่สมาชิกในครอบครัวต้องลำบาก และที่สำคัญคือ การแพ้คดี ทำให้ที่ดินของปอเนาะญีฮาดถูกยึดตกเป็นของแผ่นดิน นี่หรือลมปากของคนบางกลุ่มที่เพียงต้องการแสวงประโยชน์ เมื่อไม่เห็นหนทางชนะคดีกลับถีบหัวส่งยัดเยียดความทุกข์ซ้ำเติมให้กับครอบครัวแวมานอ


          เมื่อศาลได้มีคำพิพากษา สั่งยึดทรัพย์ที่ตั้งโรงเรียนญีฮาดวิทยาครอบครัว แวมานอยอมรับในคำตัดสินของศาล และไม่ขอยื่นอุทธรณ์ทั้งๆ ที่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ โดยนายบันยาล แวมะนอ ลูกชาย นายดอเลาะ ได้กล่าวว่า อยากจะจบเรื่องเลยไม่ขอยื่นอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 14 ก.พ.59 ครอบครัวแวมะนอและได้ขนย้ายข้าวของออกจากพื้นที่ไปพักอาศัยอยู่ที่ ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดกือแด หรือมัสยิดท่าด่าน แต่ยังมีกลุ่มต่างๆ ได้หยอดคำหวานให้ความหวังกับครอบครัวแวมะนอว่าจะช่วยกันซื้อที่ดินผืนใหม่เพื่อจะสร้างโรงเรียนขึ้นมาทดแทนสนองเจตนารมณ์ของบาบอเฮง


          ล่าสุดเมื่อ 26 ก.พ.59 ผู้นำองค์กรทางศาสนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี, นราธิวาส, สงขลา ผอ.ศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาค จชต., ประธานสภาอูลามาอฟาฏอนีย์ดารุสลาม, ประธานชมรมมุสลิมภราดรภาค, นายกสมาคมสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จชต. และนายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้จัดแถลงข่าวหาแนวทางการแก้ปัญหากรณีศาลยึดที่ดินดินโรงเรียนญีฮาดวิทยาขึ้นที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ซึ่งจะได้ร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา และเห็นพ้องต้องกันให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่ง ในการพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

          จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหากรณีศาลยึดที่ดินดินโรงเรียนญีฮาดวิทยาให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น ประชาชนในพื้นที่ยังสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินผืนดังกล่าวได้ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาในการหาหาแนวทางและมาตรการในการขอใช้ที่ดินดังกล่าวต่อรัฐ ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะต้องเป็นไปตามความต้องการของชุมชน และไปตามเจตนารมณ์ในการสานต่อเจ้าของที่ดินในการบริหาร

จัดการ ซึ่งกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีต่างเรียงหน้าออกมาทำการกล่าวหารัฐอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงจะพลอยตกเป็นเครื่องมือให้กับบุคคลเหล่านี้ เพราะฉะนั้นข้อเท็จจริงคือรัฐไม่ได้รังแกประชาชน คดีความได้ว่าไปตามกฎหมาย ส่วนการยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินนั้นมิได้หมายความว่าจะห้ามการใช้ประโยชน์ใดๆทำการยึดเพื่อคืนที่ดินผืนดังกล่าวให้เป็นสาธารณะประโยชน์ให้คนในชุมชน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ได้บริหารจัดการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการจรรโลงศาสนา สานต่อเจตนารมณ์ของเจ้าของเดิมต่อไป
--------------------------------

                   

2/16/2559

“อวสาน ญีฮาดวิทยา”

ลมใต้ สายบุรี

เป็นอันสิ้นสุดของคดีเมื่อครอบครัวแวมะนอไม่มีการอุทธรณ์ กรณีศาลแพ่ง มีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ฟ.26/2556 ให้ยึดที่ดินโรงเรียนญีฮาดวิทยา ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่สนับสนุนเกี่ยวกับการกระทำการก่อการร้าย
14 ก.พ.59 ครอบครัวแวมะนอ เก็บข้าวของทั้งหมดที่มีอยู่ในบ้านที่ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ. ปัตตานี มีชาวบ้านที่อยู่รอบๆ ช่วยในการขนย้ายออกจากบ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนปอเนาะ
นายบันยาล แวมะนอ ลูกชายของ นายดอเลาะ แวมะนอ กล่าวว่า ผมเคารพการตัดสินใจของศาลส่วนเรื่องที่ว่าคนที่มีหมายจับและเป็นต้นตอของการยึดทรัพย์หนนี้ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือเป็นเจ้าของโรงเรียนนั้น เขาเชื่อว่าศาลรู้แล้วครอบครัวก็ไม่ทราบว่าพ่อไปทำอะไร แต่เรื่องที่ดินผมก็ชี้แจงไปแล้วว่ามันเป็นของคนอื่น แต่ศาลคงคิดว่ามีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เมื่อศาลตัดสินผมก็ยอมรับ ผมบอกแต่แรกแล้วว่า เมื่อเราสู้คดี ไม่ว่าแพ้หรือชนะเราก็จะยอมรับคำตัดสิน
ครอบครัวก็ไม่ทราบว่าพ่อไปทำอะไรซึ่งเป็นคำพูดที่สะดุดหูและชวนคิด มีอยู่บ่อยครั้งที่สมาชิกในครอบครัวไม่รู้ไม่เห็นกับการกระทำ แต่เมื่อเกิดเรื่องแล้วก็จะต้องยอมรับจากผลการกระทำของคนในครอบครัว


วันนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ทหารมาถาม พอเห็นเราจะย้ายไปอยู่มัสยิดก็บอกว่าทำไมไม่ไปบอกทหารก่อน ผมก็บอกว่ามีชาวบ้านที่จะช่วยเราอยู่แล้ว ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของผมบ้างนายบันยาล ได้กล่าวถึงเจ้าหน้าที่ที่มาสอบถาม
ภาพที่ชาวบ้านที่ช่วยกันขนข้าวของครอบครัวแวมะนอออกจากผืนแผ่นดินที่เคยอยู่อาศัยและใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนปอเนาะญีฮาดวิทยามานานหลายสิบปี สื่อแนวร่วมจงใจกันและพร้อมใจเผยแพร่ ไปในทิศทางเดียวกัน เสมือนหนึ่งมีการนัดหมายและได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกทางด้านจิตวิทยาสังคม โดยปฏิเสธเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าทำการช่วยเหลืออย่างไม่มีเยื่อใย
นายบันยาล ยังกล่าวต่อไปว่ามีเจ้าหน้าที่หลายคนมาพูดคุยบอกให้เราอุทธรณ์ ครอบครัวก็รู้สึกแปลก ทำไมเจ้าหน้าที่มาบอกให้พวกเราอุทธรณ์ ในเมื่อพวกเขาเองเป็นคนฟ้องร้องเรา มันเหลือจะบรรยาย ตกลงเจ้าหน้าที่จะเอายังไงกับเรากันแน่
นายโสภณ ทิพย์บำรุง อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 9 กล่าวว่า ถ้าครอบครัวแวมะนอไม่ยื่นอุทธรณ์ ก็ต้องถือว่าคดีสิ้นสุด คำพิพากษามีผลทันที โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินจะตกเป็นของรัฐ หมายถึงรัฐเป็นเจ้าของ อย่างไรก็ดี หากรัฐยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใครก็ตามสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีสิทธิครอบครอง แต่ถ้าวันใดรัฐต้องการใช้ประโยชน์ขึ้นมา ก็ต้องย้ายออกไป
แนวทางที่ดีสำหรับครอบครัวแวมะนอ คือ การต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม แต่ถ้าไม่ต่อสู้ตามกระบวนการ ก็ไม่มีช่องทางอื่นที่จะแก้ปัญหานี้ได้เลย และเห็นว่าทำแบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆอัยการโสภณ ระบุ


ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 อัยการโสภณ ทิพย์บำรุง ได้แถลงข่าวอธิบายเหตุผลของศาลแพ่งในการริบที่ดินอันเป็นที่ตั้งของปอเนาะญีฮาดให้ตกเป็นของแผ่นดินให้สาธารณชนได้รับรู้ โดยย้ำเหตุผลที่ศาลรับฟัง คือ ที่ดินผืนนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกของกลุ่มคนร้ายในขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีหลักฐานทั้งพยานบุคคล และพยานแวดล้อมอื่นๆ ครบถ้วน
หากวิเคราะห์สาเหตุที่ครอบครัวแวมะนอไม่ยื่นอุทธรณ์ น่าจะมาจากสาเหตุไม่สามารถนำหลักฐานมาหักล้างต่อศาลได้ และที่สำคัญ มูลนิธิทนายความมุสลิมที่ปรึกษาในคดีครอบครัวแวมะนอ อาจจะมีการประเมินหนทางต่อสู้แล้วว่าหากอุทธรณ์ไปก็ไม่สามารถชนะคดีความได้
ที่น่าสนใจทำไม? ครอบครัวแวมะนอจึงรีบย้ายออกจากที่ดินผืนดังกล่าวทั้งๆ ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนดังกล่าวได้อยู่ ยกเว้นรัฐต้องการใช้ประโยชน์ขึ้นมา จึงจะต้องย้ายออกไป ตามที่ทนายโสภณได้กล่าวไว้
ซึ่งจากข้อสังเกตน่าจะมีบุคคลอยู่เบื้องหลังให้ทำการย้ายออก เพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะสื่อแนวร่วมที่ได้มีการโฆษณาชวนเชื่อมาโดยตลอดว่ารัฐรังแกประชาชน และก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ มีการนำภาพพร้อม และเขียนข่าวมีการขยายผลแชร์ต่อในสื่อสังคมออนไลน์กันอย่างกว้างขวาง สร้างกระแสให้ประชาชนมลายูปาตานีรู้สึกคล้อยตาม สงสารและเห็นอกเห็นใจครอบครัวแวมะนอซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำมาโดยตลอดตามที่ นายบันยาล แวมะนอ ลูกชายของ นายดอเลาะ แวมะนอ อดีตครูใหญ่ปอเนาะญีฮาด ได้กล่าวมาโดยตลอด
ในความเป็นจริงการหาทางออกที่ดินผืนดังกล่าว รัฐมิได้ยึดมาเป็นทรัพย์สินของรัฐโดยที่ประชาชนในชุมชนไม่สามารถใช้ในการใดการหนึ่งได้เลย ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนในพื้นที่รวมทั้งชาวบ้านสามารถที่เสนอความต้องการในการใช้ที่ดินผืนดังกล่าวตามที่ตกลงกัน แล้วนำเสนอต่อรัฐเพื่อเข้าไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ในขณะที่ความเคลื่อนไหวของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่ขับเคลื่อนและใกล้ชิดประชาชนมาโดยตลอด คือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ได้มีแนวทางช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวแวมะนออยู่แล้ว โดยมีแนวความคิดในการปรับปรุงปอเนาะญีฮาดแห่งนี้ให้เป็นสถานศึกษาของชุมชนต่อไป และให้เจ้าของปอเนาะเดิมเป็นผู้จัดการบริหารสถานศึกษาอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแล้วมีทางออก และหนทางในการแก้ไขปัญหา ยกเว้นการไม่ยอมให้ความร่วมมือหันหลังให้กับปัญหา มีการตั้งแง่รังเกียจรังงอน มีอคติกับรัฐและเจ้าหน้าที่ กลายเป็นช่องว่างให้ผู้ที่ไม่หวังดีเข้ามาฉกฉวยโอกาสในการสร้างบาดแผลทางใจ ตกเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความบาดหมางจนยากจะแก้ไข ในส่วนของคดีความทุกอย่างย่อมมีเหตุและผล ตัดสินไปตามหลักฐานและพยานแวดล้อม ด้วยความสุจริตยุติธรรมให้ความเท่าเทียมและเสมอภาคกับทุกฝ่ายทุกคนอยู่แล้วโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติแบ่งแยกเชื้อชาติและศาสนา...เพราะฉะนั้นตามที่ได้มีบุคคลผู้ไม่หวังดีทำการยุยงปลุกปั่นกล่าวหารัฐกลั่นแกล้ง รัฐรังแกประชาชนไม่ได้เป็นความจริงที่ได้มีการกล่าวอ้างแต่ประการใดเลย...จะเห็นได้ว่ารัฐได้มีการอะลุ่มอล่วยยืดหยุ่นในการปฏิบัติมาโดยตลอดเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้....

---------------

2/14/2559

กลุ่มด้วยใจ-มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กับการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ

แบดิง โกตาบารู

กลุ่มด้วยใจ ร่วมมือกับ องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม” มั่วหลอกประชาชนให้หลงเชื่อ รายงานซ้อมทรมานในห้วงปี 2557-2558 มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือในระบบอำนาจรัฐ และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีสากล ส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2547 มารายงานซ้ำ เป็นการกล่าวอ้างจากคำบอกเล่าที่เลื่อนลอย โดยขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ และไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
          นับเป็นการแหกตาประชาชนครั้งมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง รวมไปถึงองค์กรต่างประเทศผู้ที่สนับสนุนในเรื่องทุนในการเคลื่อนไหวของทั้งสองนาง ในนามส่วนตัวผู้เขียนเองเข้าใจดีที่นางทั้งสองเร่งทำผลงานเพื่อดูดงบ เข้าใจดีว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำเงินมีรายได้เป็นกอบเป็นกำเข้าสู่ครอบครัว ไม่ได้เคลื่อนไหวด้วยอุดมการณ์ใดๆ เลย หรือกระทำเพื่อสังคม เพื่อประชาชนด้วยการอุปโลกน์ตัวเองขึ้นมาเป็น ผอ.โน่นนี่
          แต่ที่ประชาชนทั่วไปรับไม่ได้กับพฤติกรรมของนางทั้งสองคือ ความหน้าด้าน ไร้ยางอาย ด้วยการนำข้อมูลเก่ามาเล่าใหม่ โดยไม่มีการตรวจสอบ นำข้อมูลมาเปิดเผยต่อสาธรณชนแบบมั่วๆ กลับทำลายภาพลักษณ์ของประเทศที่คุณซุกหัวนอน โดยไร้จิตสำนึกมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน
          ในความจริงสถานการณ์การซ้อมทรมานในปัจจุบันแทบจะไม่มี ให้เห็น เจ้าหน้าที่ตระหนักดีในเรื่องสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติหน้าที่ภายในกรอบของกฎหมาย ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยด้วยความระมัดระวัง และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนกระบวนการ ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และบุคคลในครอบครัวตามแนวทางสันติวิธี ตั้งแต่ขั้นตอนของการจับกุม โดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก
          การเปิดโอกาสให้บุคคลในครอบครัวเข้าเยี่ยมได้ทุกวันตามห้วงเวลาที่กำหนด โดยไม่เคยกีดกัน หรือขัดขวางตามที่ถูกกล่าวอ้างในระหว่างที่มีการซักถาม พร้อมทั้งจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ญาติ เช่น ที่พัก (หากมีความต้องการ) มีกิจกรรมนันทนาการ และการประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนา
          การเปิดโอกาสให้เครือข่ายองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ กาชาดสากล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ทั้งใน และต่างประเทศ ตลอดจนสื่อมวลชน รวมทั้งมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจและเครือข่ายองค์กร สามารถเข้าเยี่ยมชมสถานที่ควบคุมตัว และซักถามในหน่วยทหารได้ตลอดเวลา โดยไม่เคยปิดกั้นแต่อย่างใด
          ซึ่งทุกองค์กรต่างให้การยอมรับในการพยายามปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสม และวิธีการดำเนินการตามคำแนะนำ ประเด็นการร้องเรียนจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดีขึ้นโดยลำดับ
ชำแหละรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมาน
          เมื่อผู้เขียนได้อ่านรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมานในพื้นที่ จชต. ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ โดย น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ด้วยความเคารพ ด้วยใจที่เป็นกลางกลับพบว่าเป็นการ ต้มคนอ่าน หลอกคนดู นำเสนอข้อมูลแบบมั่วๆ เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่างมิอาจทราบได้
          รายงานดังกล่าวมีการนำเสนออย่างเป็นทางการ ครั้งล่าสุดคือวันที่ 10 ก.พ.59 แต่ข้อมูลต่างๆ ในรายงานทั้งหมดเป็นข้อมูลเก่าที่เคยดำเนินการแล้วเมื่อ 28 พ.ค.55 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย และการรายงานรูปแบบการซ้อมทรมานที่เหมือนๆ เดิม
          อย่างไรก็ดี เมื่อศึกษาเนื้อหาอย่างละเอียดพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2547 มาฉายซ้ำ รูปแบบยังเป็นลักษณะเดิม คือการกล่าวแอบอ้างลอยๆ จากคำบอกเล่า เค้าเล่าว่าโดยขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ และไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้นก่อนที่จะนำมาเสนอต่อสาธารณชน
          ในรายงานทั้ง 2 ครั้ง มีการระบุนอกจากไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ยังมีข้อสังเกตในหลายประเด็นที่เป็นไปไม่ได้ หรือนางทั้งสองแค่มโนไปเอง เช่น การข่มขืน การผ่าตัดนำอวัยวะภายในออก บังคับให้ทานสารเคมี การเผาไหม้
          และประเด็นล่าสุดที่นางทั้งสองช่างกล้าอย่างหน้าด้านๆ ชนิดสัตว์บางชนิดยังอาย คือการเสนอข้อมูลกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ ให้ทหารพรานหญิงใช้นมปิดใบหน้าให้ผู้ต้องสงสัยขาดลมหายใจตาย หรือประเด็นการทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้ลำกล้องปืนกระแทกจนฟันกรามหัก ศีรษะแตก เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเรื่องจริงย่อมมีร่องรอย หรือหลักฐานให้ปรากฏต่อแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย ทั้งก่อน และภายหลังการควบคุมตัว รวมทั้งปรากฏต่อญาติ และครอบครัวที่เข้าเยี่ยมได้ทุกวัน ซึ่งเครือข่ายองค์กรเหล่านี้ต่างก็ทราบดีอยู่แล้ว แต่นางทั้งสองยังหน้าด้านนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน
       ดังนั้นจากพฤติกรรมของ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ในการเคลื่อนไหวตลอดเวลาที่ผ่านมา ถือได้ว่า เป็นการจงใจพยายามทำลายความน่าเชื่อถือในระบบอำนาจรัฐ และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีสากล สร้างความเสื่อมเสียที่ไม่น่าให้อภัย
          จากการติดตามข่าวล่าสุด ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ให้ความสนใจต่อกรณีดังกล่าว และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงของรายงานที่ถูกกล่าวอ้างอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งพิสูจน์ความจริงการให้ปรากฏต่อสาธารณชนว่าเป็นอย่างไร? มีมูลความจริงหรือไม่? หากเป็นความจริงที่มีการกล่าวอ้างให้ทำการลงโทษทางวินัยกับเจ้าหน้าที่โดยทันที พร้อมทั้งเอาผิดทางอาญาอย่างเด็ดขาด แต่หากไม่เป็นความจริง หรือมีเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง นางทั้งสองและองค์กรเหล่านี้ก็จะต้องรับผิดชอบจากสิ่งที่ได้กระทำไป
          นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เคยถูกกองทัพไทยแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา โดยแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาททำให้กรมทหารพรานที่ 41 จังหวัดยะลา ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จากกรณีที่นางสาวพรเพ็ญฯ บิดเบือนข้อเท็จจริง และเรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว
          ซึ่งในภายหลังเรื่องกลับเงียบไป จากข้อมูลเชิงลึกทราบมาว่าหน่วยงานที่ฟ้องร้องยอมถอนแจ้งความไม่อยากรังแกผู้หญิง ให้โอกาสกลับเนื้อกลับตัว แต่นางไม่เคยสำนึกกลับเคลื่อนไหวรุกหนัก จ้องจังหวะและโอกาสในการขุดคุ้ย บิดเบือนข้อมูลมาโดยตลอด แล้วอย่างนี้สมควรจะปล่อยให้ปากดีอยู่ต่อไปอีกหรือ?
          องค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรใน จชต. ใช้เพศหญิงซึ่งเป็นเพศแม่ แต่ได้เปรียบในเชิงจิตวิทยา โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ไม่กล้าเตะจะเป็นข้อครหา รังแกผู้หญิง แต่หากดูจากพฤติกรรมของทั้งสองนาง ที่มุ่งกระทำความเสื่อมเสียมาสู่ประเทศชาติอยู่บ่อยๆ ไม่สมควรที่จะไว้หน้าอีกต่อไป
          หลายองค์กรเคลื่อนไหวเรียกงบสนับสนุนโครงการจากต่างชาติจนร่ำรวย ผู้นำองค์กรหลายคน ซื้อที่ดิน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาหลายสิบล้าน มีรถยนต์หรูขับ รูปแบบการจัดกิจกรรมมีการเชื้อเชิญคนใหญ่คนโตมาเป็นประธานเปิดงานยิ่งเป็นการดี เพราะภาพดังกล่าวจะเป็นสิ่งยืนยันแนบรายงานในการแลกงบ
       อยากจะเห็นมิติใหม่ในการจัดระเบียบองค์กรภาคประชาสังคมที่มีอยู่ยั๊วเยี๊ยะเต็มพื้นที่ จชต.จัดการกับองค์กรที่บิดเบือนข้อมูลเพื่อทำลายประเทศชาติ เป็นภัยต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของผู้คนส่วนใหญ่  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้กระทำได้ตามใจชอบ รัฐต้องเชือดไก่ให้ลิงดู มิเช่นนั้นองค์กรเหล่านี้ยังเหิมเกริมมุ่งทำลายประเทศชาตินำความเสื่อมเสียมาสู่มาตุภูมิอยู่ต่อไป
          ในส่วนสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร โปรดระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ โดยขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ก่อนนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสมดุล เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังสองนางที่กำลังยืมมือสื่อมวลชนทำการเคลื่อนไหวเรียกงบอยู่ในปัจจุบันอยู่คือ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ....

---------------------

          

2/13/2559

‘ธาตุแท้’ของ นายกัสตูรี มะห์โกตา ประธาน PULO

แบดิง โกตาบารู

ไม่น่าเชื่อว่าคนอย่าง นายกัสตูรี มะห์โกตา ยอมเปิดเผยธาตุแท้ของตัวเองในการเคลื่อนไหวด้วยการยอมรับว่า จรวดแสวงเครื่องเป็นของขบวนการ PULO อีกทั้งเตือนประชาชนให้ระวัง!! ไม่รับรองความปลอดภัย อีกทั้งได้ใช้เว็บเพจส่วนตัวในการปลุกระดมแนวร่วม ให้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว และร่วมหาแนวทางเพื่อให้การต่อสู้บรรลุเป้าหมายในการแบ่งแยกดินแดน

คนอย่าง นายกัสตูรี มะห์โกตา ทำการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยยะ อีกทั้งมีเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงแพรวพราว กลับกลอกไม่น่าไว้ใจ ทุกครั้งที่มีการพูดคุยสันติสุขกลุ่มขบวนการไม่ว่า BRN หรือแม้กระทั้ง ขบวนการ PULO ของ นายกัสตูรี มะห์โกตา ได้เคลื่อนไหวชิงความได้เปรียบในเชิงจิตวิทยา

คงจะจำกันได้กรณีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร และชุดทำลายวัตถุระเบิด หรืออีโอดี ของหน่วยเฉพาะกิจอโณทัยได้เข้าทำการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยบริเวณคูน้ำกลางถนน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 หาดใหญ่-ปัตตานี ท้องที่หมู่ 6 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบวัตถุต้องสงสัย 2 ชิ้น เป็นท่อเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ปลายแหลมมน ลักษณะคล้ายหัวจรวด

และในเวลาต่อมา นายกัสตูรี มะห์โกตา ประธานขบวนการ PULO MKP ได้ทำการโพสต์สเตตัสในเฟสบุ๊กส่วนตัว ที่มีชื่อว่า Kasturi Mahkota โดยใช้ภาษามลายู อักษรรูมี (โรมัน) และภาษาอังกฤษ โดยมีใจความว่า ยอมรับ เหตุพบ จรวดแสวงเครื่อง ในวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา เป็นการก่อเหตุเนื่องจากครบรอบ 48 ปี ของการก่อตั้งองค์กร PULO แต่ระเบิดดังกล่าวถูกพบโดยเจ้าหน้าที่ก่อน จึงไม่มีเหตุร้ายใดๆ

นอกจากนี้ นายกัสตูรี มะห์โกตา ประธานขบวนการ PULO MKP ได้เตือนไปถึงประชาชนไม่ว่าจะเป็นชาวมลายู หรือไทยพุทธให้ห่างไกลจากค่ายทหาร ตั้งแต่บัดนี้ หากมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นในระหว่างนี้ POLO จะไม่ขอรับผิดชอบ

จากความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ นายกัสตูรี มะห์โกตา นี่หรือ? บุคคลที่รัฐจะพูดคุยด้วย พยายามสร้างพื้นที่ข่าวมาโดยตลอด ความมุ่งหวังเพื่ออะไรไม่ทราบ แต่พฤติกรรมของ นายกัสตูรี มะห์โกตา ถึงเวลาจะเปลี่ยนไปแต่นิสัยเดิมๆ ยังไม่เคยเปลี่ยน

หากเป็นจริงตามที่ประธานขบวนการ PULO ยอมรับ นั่นแสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ขบวนการนี้ยังนิยมความรุนแรง โดยใช้วิธีเดิมๆ ในการเรียกร้องความสนใจจากคนทั่วไป หลายต่อหลายครั้งที่พยายามสร้างบทบาทตัวเองให้โดดเด่นเพื่อที่จะขอเข้าร่วมกระบวนการพูดคุย
ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนมลายูปาตานีจะได้ตาสว่างสักทีกับการยัดเยียดความรุนแรง ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ขบวนการใด ความโหดเหี้ยมปลิ้นปล้อน หลอกลวง ตลบตะแลงตอแหล รู้สึกว่าจะเหมือนกันหมด
แล้วการก่อเหตุรายวันในการเข่นฆ่าประชาชนตาดำๆ ที่มิรู้อิโหน่อิเหน่อยู่ในขณะนี้ แสดงว่า ขบวนการ PULO ของ นายกัสตูรี มะห์โกตา เป็นผู้กระทำ!!!...ด้วยหรือไม่?

มิน่าละสันติสุขจึงไม่เกิดสักทีเพราะมีกลุ่มขบวนการเถื่อนถ่อยเหล่านี้จ้องจะใช้ชีวิตของประชาชนเป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจกัน เหยียบศพแล้วศพเล่าเป็นบันได ไม่เคยแยแสหยาดน้ำตาประชาชนที่หลั่งนองกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า...

รัฐบาลไทยมีความจริงใจในการเปิดเปิดเวทีการพูดคุยสันติสุขกับกลุ่มผู้คิดต่างจากรัฐทุกกลุ่ม ทุกขบวนการ และมีการพัฒนาสาธารณูปโภคในพื้นที่ให้มีความเจริญก้าวหน้า สร้างการอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน
ภาครัฐในพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการประชารัฐร่วมใจ สร้างอำเภอสันติสุขใน 37 อำเภอ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างรายงานตัวแสดงตนเพื่อเข้าร่วมโรงการพาคนกลับบ้าน มีการปลดหมายพันธนาการให้เพื่อกลับมาอยู่กับครอบครัว รวมทั้งเร่งสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ชีวิตประจำวันอยู่อย่างสันติสุข

แล้วกลุ่มขบวนการโจรใต้ได้ทำอะไร? ให้กับประชาชนมลายูปาตานีนี้บ้าง...มีแต่สร้างความเดือดร้อนมิหยุดหย่อน พรากชีวิต พรากคนรักไปจากครอบครัว..ทำลายระบบเศรษฐกิจจนย่อยยับ ทำลายการอยู่ร่วมพหุวัฒนธรรม ทำลายสังคมและประเทศชาติ...พอหรือยังกับความป่าเถื่อนสุดโต่ง นั่นล่ะคือแก่นแท้ของขบวนการโจรใต้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ชื่อว่า กัสตูรี มะห์โกตา ประธานขบวนการ PULO โจรใต้หน้าด้านที่หลบอยู่ยังต่างประเทศ..

--------------------------

2/12/2559

‘ตันหยงเปาว์’ชุมชนสันติธรรม ไฉน!! กลับกลายเป็นแหล่งผลิตระเบิดโจรใต้

แบดิง โกตาบารู

กลายเป็นข่าวใหญ่โตตามสื่อแขนงต่างๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดล้อมตรวจค้นบ้านตันหยงเปาว์เจอฐานปฏิบัติการกลุ่ม ผกร.ในป่าโกงกาง พบใช้กระท่อมเป็นแหล่งผลิตระเบิด ยึดอาวุธปืน กระสุน และอุปกรณ์ผลิตระเบิดเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งจับกุมโจรใต้ฟาตอนีได้หนึ่งคน อีก 5 คนไหวตัวทันหลบหนีไปได้

ส่วนผู้ที่หลบหนีพบประวัติมีความเชื่อมโยงในการก่อเหตุในพื้นที่ภาคใต้หลายจังหวัด อาทิเช่น ทำการก่อเหตุระเบิดใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ภูเก็ต

บ้านตันหยงเปาว์ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นหมู่บ้านนำร่อง 1 ใน 4 หมู่บ้านของ LEMPAR  ในการจัดตั้งเป็นเครือข่ายชุมชนสันติธรรม (Kampong Damai) โดยมี นายตูแวตานียา ตูแวแมแง ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา เป็นผู้ขับเคลื่อนเพื่อการสร้างสันติภาพกับประชาชนในพื้นที่เพื่อการบังหน้า หรือเป็นการเกื้อหนุนให้กลุ่มโจรใต้ใช้เป็นแหล่งกบดานในการผลิตวัตถุระเบิด แล้วอีก 3 หมู่บ้านที่เหลือจะเป็นเหมือนดั่งบ้านตันหยงเปาว์หรือเปล่าชักสงสัย!!..เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ช่วยตรวจสอบหน่อย!!!


โดยเมื่อวันที่ 10 ก.พ.59 เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารได้สนธิกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้น ตามแผนยุทธการตันหยงเปาว์ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และได้เกิดการยิงปะทะกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงขึ้น ผลการปะทะเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในที่เกิดเหตุได้ 1 คน คือ นายซาบาหรี เจะอาลี อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 3/3 หมู่ที่ 4 ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งบุคคลต้องสงสัยดังกล่าว คาดว่าเป็นกลุ่มของนายเสรี แวมามุ ผู้ต้องหามือระเบิดที่ก่อเหตุในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ ที่กำลังหลบหนีอยู่ในขณะนี้

ส่วนผลการดำเนินกรรมวิธีซักถาม เบื้องต้นนายซาบาหรี เจะอาลี ให้การยอมรับว่าเข้าร่วมขบวนการโดยการชักชวนจาก นายเมาลานา สาเมาะ มีหน้าที่ประกอบระเบิดร่วมกับ นายอิสยะสะ หะแย โดยระเบิดที่ตรวจพบ เป็นถังแก๊ส 15 กิโล ที่ประกอบเสร็จแล้ว และเตรียมที่จะประกอบอีก 1 ลูก เป็นถังแก๊ส 15 กิโลนั้น ซึ่งคาดว่าน่าจะนำไปก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ ส่วนบุคคลที่หลบหนีไปได้มี 5 คน คือ นายเมาลานา สาเมาะ นายจำเริญ อูมาสะ นายอิสยาซะห์ หะแย หรือยะห์ หรือฟุกร นายฟัดลาน เสาะหมาน และนายอันนุงวา กาซอ โดยทุกคนจะมีปืนพกสั้น และปืนยาว 4 กระบอก คือ อาวุธปืน M 16 จำนวน 1 กระบอก อาวุธปืน AK-47 จำนวน 1 กระบอก และปืนลูกซอง จำนวน 2 กระบอก


นอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบ พบกระท่อมที่พัก 3 หลัง เรือ 3 ลำ อาวุธปืนพร้อมกระสุนจำนวนหนึ่ง ดินระเบิด และถังก๊าซที่ประกอบระเบิดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ถัง
ทั้งนี้จากการตรวจสอบกระท่อมที่พัก 3 หลัง และเรือ 3 ลำ พบอาวุธปืนพร้อมกระสุนจำนวนหนึ่ง พบดินระเบิด และถังก๊าซที่ประกอบระเบิดเสร็จเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ในการผลิตระเบิด น้ำมันที่ใช้ผสมกับปุ๋ยยูเรีย ดินระเบิดแอมโฟผสม ball baring ดินระเบิด จำนวน 1 ลำเรือ เหล็กเส้นตัดเป็นสะเก็ดระเบิด 1 ลำเรือ ถังแก๊สหุงต้มขนาดใหญ่ มีห้องประชุมวางแผน และอุปกรณ์การดำรงชีพเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าฐานปฏิบัติการแห่งนี้ตั้งมาประมาณไม่น้อยว่า 2 ปีแล้ว
ซึ่งถ้าหากกระท่อมรังโจรใต้ท่ามกลางป่าโกงกางแห่งนี้ ตั้งมาไม่ต่ำกว่า 2 ปีจริง ลองคิดเล่นๆ ดูว่าจำนวนระเบิดที่มีการประกอบไปจากที่นี่ สมาชิกโจรใต้ฟาตอนีได้นำไปทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บล้มตายไปเท่าไหร่?

ฐานปฏิบัติการของโจรใต้บ้านตันหยงเปาว์ น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.หนองจิก อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และ อ.เทพา จ.สงขลา ส่งผลให้ประชาชนปาตานีในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของกลุ่มโจรใต้กลุ่มนี้ ยังไม่นับรวมการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ในพื้นที่อื่นๆ ใน จชต. และนอกพื้นที่อย่างเช่น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ภูเก็ต
หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการแจ้งเบาะแสจากประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่การปิดล้อมเกิดการปะทะและจับกุมตัว พร้อมทั้งทลายแหล่งผลิตระเบิดของกลุ่ม ผกร.ได้เป็นผลสำเร็จในคราวนี้ จะเกิดอะไรขึ้น!! โจรใต้ฟาตอนี กลุ่มนี้ก็ยังคงเดินหน้าผลิตระเบิดแสวงเครื่องทำลายชีวิตประชาชนอยู่ต่อไป ศพแล้วศพเล่าโดยไม่สำนึกและกลัวเกรงต่อบาป มุ่งทำลายล้างนิยมความรุนแรงเพียงแต่ตอบสนองตัณหาความต้องการของแกนนำขบวนการ

----------------------------

2/06/2559

Fakta kes sivil,melucuthakan tanah Sekolah Jihad Wittaya menjadi harta milik Negara.



Fakta kes sivil,melucuthakan tanah Sekolah Jihad Wittaya menjadi harta milik Negara.
‘Lom Tai Sai Buri’
          Kes pada 15 Dis 58 B. Mahkamah Sivil, Jalan Ratchadapisek, Penghakiman dalam kes nombor hitam F. 26/2556 B. Pendakwa Pejabat Kes Khas 3, Pejabat Peguam Negara sebagai penpetisyen kepada harta yang di bawah surat sijil (N.S. 3), No. 699, Tempat 4,Mukim Taluk Kapur,Daerah Jaring,Wilayah Pattani, Bidang 14 rai 1 ngan 42 wah, Penilaian 591,090 baht bagi milik Dullah Wan Mad Nur bekas Mudir Sekolah Jihad Wittaya atau Pondok Jihad Wittaya dan puak yang ia menjadi tempat terletak Sekolah Jihad Wittaya kepada menjadi harta milik Negara menurut Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B, kerana menjadi harta yang menyokong tindakan keganasan.
Latar Belakang.
          Sekolah Jihad Wittaya di pekik daripada mempersoalkan suspek bahawa menjadi tempat  yang terlatih untuk berperang pada tahun 2546 B, Sebelum memasuki rompakan senjata api  di Camp Pi-Leng, Batalion Pembangunan 4 Narathiwat. Daripada pegawai-pegawai menangkap Mad Juri Nik Wan dan Mad Sukri Sain yang Kedua-duanya mengaku bahawa sebagai pihak kumpulan komando penyamun BRN dengan pada awal tahun 2545 B, kedua - duanya telah dihantar  ke latihan kursus komando atau pasukan pertempuran kecil (RKK) di Sekolah Jihad Wittaya dengan ada Ismail atau Cik Il Mad Sain penkawalan latihan dan Dullah Wan Mad Nur atau Pa Su Lah Mudir Sekolah Jihad Wittaya dengan mengambil masa 28 hari untuk latihan. kebanyakan latihan digunakan hutan kelapa di belakang Sekolah Jihad Wittaya menjadi tempat latihan dan melatihkan pada waktu malam. kemudian tentera dan polis telah bekerjasama pemeriksaan Sekolah Jihad Wittaya mereka mendapati talian kuasa dan paip PVC dan dynamometer dan dokumen rancangan revolusi 7 langkah di lubang sisa yang mengandungi didalam balang plastic dan dikebumikannya dan dokumen merevolusikan 7 langkah tersebut adalah dokumen  Bahasa Melayu yang cerita tentang sejarah Pattani. Daripada pelbagai bukti dari pemeriksaan Sekolah Jihad Wittaya dan yang berdecit daripada RKK gabenor telah mengarahkan penutupan Sekolah Jihad Wittaya pada 19 Mei 2549 B, hingga sekarang.
Pertempuran undang-undang.
     Selepas Sekolah Jihad Wittaya telah ditutup oleh kerajaan. Pendakwaan semua yang terlibat dengan proses mengikut undang-undang. Dan dalam memfailkan atas tanah Sekolah Jihad Wittaya menjadi harta milik negara telah beramalan menurut Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B, kerana menjadi harta yang menyokong tindakan keganasan yang telah ada Pendakwa Bahagian Pejabat Kes Khas 3, Pejabat Peguam Negara sebagai penpetisyen dan ada pemilik tanah Sekolah Jihad Wittaya lima orang yaitu Jawahir Wan Mad Nur dan Faridah Cik Mad dan Hamiah Salih Man dan Adnan Cik Hasan dan Abdullah Cik Hasan pembangkang. Dan pempetisyen berhujah bahawa Mudir Sekolah berkelakuan sokongan pemberontak di Wilayah Sempadan Selatan dan pihak berkuasa telah menangkap Mad Juri Nik Wan dan Mad Sukri Sain sebagai penkeganasan dan Kedua-duanya mengakui bahawa menjadi kumpulan komando penyamun BRN, yang dihantar ke latihan kursus komando atau pasukan pertempuran kecil(RKK) di Sekolah Jihad Wittaya dengan ada Ismail atau Cik Il Mad Sain penkawalan latihan dan Dullah Wan Mad Nur atau Pa Su Lah Mudir Sekolah Jihad Wittaya. Dan pada masa itu Balai Polis Jaring, Wilayah Pattani telah prosiding jenayah 8/2551 B,keadaan berlakukan pada 4 Jan 47 B, berturut-turut 4 Jan 51 B,di Mukim Jembu dan Bang Pu dan Taluk Kapur, Daerah Jaring, Wilayah Pattani terlibat yang dituduh 36 orang kes bersama - sama keganasan dan mafia dan sarang penyamun dan Dullah Wan Mad Nur atau Pa Su Lah Mudir Sekolah Jihad Wittaya telah didakwa oleh Jabatan Siasatan Khas atas kesalahan pemberontak bersama-sama dan keganasan dan mafia dan sarang penyamun juga. Kemudian, telah memantau urusniaga dan asset Dullah Wan Mad Nur dan puak menurut Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B, Terdapat konsensus bahawa tanah sebanyak 14 rai 1 ngan 42 wah yang menjadi tempat terletak Sekolah Jihad Wittaya aset-aset yang berkaitan dengan keganasan di bawah Kanun Jenayah sebagai kesalahan asas di bawah seksyen 3 (8) menurut Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B.
Perjuangan pembangkang.
          Lima pembangkang telah bantahan bahawa tanah itu menjadi harta milik Barahim bapa dengan mewarisi Sekolah Jihad Wittaya, yang terbuka pengajaran pengajian Islam dan am dan lima pembangkang mempunyai pekerjaan halal yang tidak sekali-kali terlibat atau dituduh melakukan sesuatu jenayah atau kesalahan asas menurut Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B,seperti yang di dakwakan dan Sekolah terletak di sebelah jalan raya dan kawasan masyarakat dan pempetisyen penganiayaan lima pembangkang dan lima pembangkang  tidak dikenali dan tidak berkaitan dengan mana-mana orang yang dituduh sebagai pesalah dan tanah Sekolah Jihad Wittaya Bukanlah milik Dullah bekas Mudir.
Keputusan mahkamah.
          penpetisyen telah menyaksikan beberapa individu yang berkata konsisten tentang kejurulatihan dan langkah latihan dan taktikal latihan dan penyelia latihan dan tempat digunakan dalam latihan dan pensaksi pihak pempetisyen sebagai pihak berkuasa dalam siasatan dan mencari berita, Jika tiada data yang mencukupi maka tidak ada sebab untuk memeriksa dan bahan bukti daripada memeriksa dan lubang peluru dan talian kuasa dan alat - alat letupan dan rancangan revolusi 7 langkah dan lain – lainnya dan rekod pemeriksaan dan yang membawa ke tempat kejadian oleh Mad Juri dan ungkapan persoalan dan prosiding terhadap Dullah dan puak dan semua lima pembangkang tiada ada saksi untuk berhujah yang menunjukkan sebaliknya.
Perintah mahkamah sivil.
          Jadi hakikat bahawa kita mendengar bahawa Sekolah Jihad Wittaya kena kumpulan pengganas atau pemberontak sebagai tempat untuk menyokong kesalahan keganasan. Sekolah Jihad Wittaya harta yang terlibat dalam kesalahan di bawah Akta Pencegahan dan Pengubahan Wang Haram 2542 B, yang Mahkamah boleh memerintahkan supaya harta itu menjadi harta milik negara tanpa mempertimbangkan orang itu memiliki atau yang terlibat dengan harta itu menjadi yang bersalah atau tidak.
.......................................................