หน้าเว็บ

7/10/2560

ส่องพฤติกรรม พรเพ็ญ-อัญชนา...หลังหน่วยงานความมั่นคงถอนฟ้องคดีหมิ่น

"แบมะ ฟาตอนี"


สถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่จุดคบไฟใต้เมื่อต้นปี 2547 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 13 ปีของการเกิดเหตุ ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 12,538 คน และเสียชีวิต 6,847 คน

ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง มุ่งก่อเหตุด้วยการลอบยิง ลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ กลุ่มเป้าหมายอ่อนแอประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยไม่มีการแยกแยะเป้าหมาย กระทำต่อเด็ก สตรี หรือแม้แต่ผู้นำศาสนา ได้สร้างความเศร้าสลดใจแก่ชาวไทยทั้งประเทศ

ในขณะที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินอยู่ ความเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ที่ใดมีเหตุการณ์ความรุนแรงองค์กรภาคประชาสังคมย่อมก่อเกิด เป็นกลไกหนึ่งที่เกิดจากการผลักดันขององค์กรต่างชาติ ซึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากกว่า 400 องค์กร ได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนในพื้นที่ ที่ผ่านมาองค์กรหลายองค์กรเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ  การดำเนินการขององค์กรภาคประชาสังคมมีทั้งที่ส่งเสริมเกื้อหนุนรัฐบาลเป็นผลดีต่อประชาชน  แต่ในขณะเดียวกันกลับมีบางองค์กรที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหนุนหลัง เคลื่อนไหวย้อนแย้งการแก้ปัญหาของรัฐบาล หาข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานเพื่อรายงานไปยังองค์กรต่างประเทศ

การเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมในลักษณะดังกล่าว มีการจัดทำรายงานอันเป็นเท็จ โจมตีการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล นำไปเปิดเผยต่อเวทีสาธารณะ แพร่กระจายข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ จนในที่สุดหน่วยงานความมั่นคงมีการฟ้องร้องดำเนินคดี

อย่างเช่น กรณีสามนักสิทธิฯ ที่ตกเป็นผู้ต้องหาประกอบด้วย....       นายสมชาย หอมลออ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ ในความผิดร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการถอนฟ้อง และประกาศยุติการดำเนินคดีนักสิทธิฯ ทั้งสามอย่างไม่มีเงื่อนไข

การดำเนินการถอนฟ้องสามนักสิทธิฯ ของหน่วยงานความมั่นไม่ได้สร้างสามัญสำนึกใดๆ เลยต่อคนกลุ่มนี้ ยิ่งไปกว่านั้นนอกจากไม่สำนึกแล้วกลับเดินหน้าโจมตีเล่นงานเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยมิได้กลัวเกรงต่อผลการกระทำความผิด เป็นเสมือนหอกข้างแคร่คอยทิ่มแทงทีเผลอ

หากจะขุดคุ้ยพฤติกรรมของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นนักสิทธิฯ.... ใคร?..แตะต้องไม่ได้นั้น มองผิวเผินน่ายกย่องเสียสละตนเองทำงานเพื่อสังคม อุทิศแรงกายแรงใจเพื่อส่วนรวม...

ความจริงเป็นเช่นไร? น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ น่าจะรู้ตัวดีกว่าใครๆ  คำว่านักสิทธิ? เป็นเช่นไร? กระทำเพื่อตนเองหรือเพื่อส่วนรวม? เป็นอาชีพหรือแค่อุทิศแรงกาย โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ แล้วความกระสัน!! อยากได้ตำแหน่งโน่นนี่ละ!! อีกทั้งเงินทุนในการขับเคลื่อนองค์กรไหลมาเทมาใช้ชีวิตติดหรูอยู่ในปัจจุบัน เดินทางไปต่างประเทศเป็นว่าเล่น จึงไม่แปลกใจที่ใครต่อใครอยากเป็นกันนักหนาไอ้นักสิทธิฯ

ย้อนกลับไปดูผลงานชิ้นโบว์แดงของ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เคยถูกกองทัพบก โดยกรมทหารพรานที่ 41 ฟ้องหมิ่นประมาทและเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จว่ามีการซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย ถัดมาร่วมกับ นายสมชาย หอมลออ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ ถูกหน่วยงาน  ความมั่นคงฟ้องดำเนินคดี สืบเนื่องจากการเผยแพร่การรายงานการซ้อมทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเท็จ ทั้งสองกรณีในเวลาต่อมามีการถอนฟ้องเพื่อให้สำนึกผิด แต่ยังคงเดินหน้าเผยแพร่ไม่ยี่หระกลับโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐหนักกว่าเดิม กรณีเคลื่อนไหวไร้การตรวจสอบข้อเท็จจริงกับการหายตัวของ นายดาโห๊ะ มะถาวร She กลับกล่าวหาว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารอุ้มหายมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รับผิดชอบ..เมื่อความจริงปรากฏเป็นเช่นไร? กลับหงายเงิบเสียหน้าไปตามๆ กัน แต่ยังแถไปแบบหน้าด้านๆ นี่แหละ!! คือสันดานของ She

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ ยังสร้างราคาให้กับตนเองด้วยการออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยุติการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

เพราะอะไร? เพราะบุคคลเหล่านี้มีอคติต่อเจ้าหน้าที่ เคยถูกหน่วยงานรัฐฟ้องดำเนินคดี ทั้งที่เป็นความผิดของตนเองในการรายงานข้อมูลเท็จ เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ โดยไร้การตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นพวกไร้สมอง อ้างตนเป็นนักสิทธิฯ อ้างทำงานเพื่อเด็กและสตรีหากินบนความเดือดร้อนของผู้สูญเสีย ผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปูทางตนเองเพื่อไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 3-21 ก.ค.60 ไปโผล่หัวอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศฝรั่งเศส

เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้ผู้เขียนและประชาชนคิดอย่างไร?องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และไม่แสวงหาผลกำไรใดๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่จริงหรือ? ในเมื่อพฤติกรรมของผู้ที่อ้างตัวเป็นนักสิทธิฯ เป็นแบบนี้ แล้วเราจะหวังอะไรกับนักสิทธิฯ กำมะลอ การประกาศเป็นตัวแทนของประชาชน ทำงานเพื่อส่วนรวม..แท้จริงแล้วเป็นแค่ลมลวงที่ออกจากปาก..จุดหมายคือกระทำเพื่อตัวเองมาโดยตลอด....

------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น