หน้าเว็บ

8/01/2560

ผู้หาญกล้า...ดับไฟใต้

"แบมะ ฟาตอนี"

การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมประเทศอื่นๆ และสามารถแข่งขันในเรื่องการค้าการลงทุน ผลิตสินค้าส่งออกสร้างรายได้นำเงินตราเข้าประเทศ สิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ ที่รัฐจะต้องพัฒนาคือสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง และระบบโลจิสติกส์ พร้อมรองรับการขยายตัวและเติบโตของภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ไฟฟ้าคือความจำเป็นอันดับแรกที่รัฐจะต้องหาแหล่งผลิต ระบบการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย ต้องใช้โรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ เพื่อรองรับการผลิตจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน ซึ่งโรงไฟฟ้าแบ่งเป็นประเภทได้แก่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ, โรงไฟฟ้าดีเซล, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและโรงไฟฟ้าพลังความร้อน

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าฟ้าถ่านหินเทพาซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ต้มน้ำ เพื่อสร้างไอน้ำแรงดันสูงมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนกังหัน และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเลือกถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพราะมีราคาถูกอีกทั้งเทคโนโลยีในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินสมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าและปลอดภัยจากมลพิษ

ในขณะที่รัฐกำลังเดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ได้มีการศึกษาผลกระทบรอบด้านทั้งในเรื่องมลภาวะมลพิษที่อาจจะก่อเกิดต่อชุมชน ต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทะเลชายฝั่ง ต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ซึ่งผลการศึกษาออกมาค่อนข้างน่าพอใจ ภาพรวมมีผลกระทบน้อยมาก

ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและได้มีการรวมตัวกันต่อต้านคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเกิดขึ้น ซึ่งระดับแกนนำหลักคนสำคัญได้แก่ นายดิเรก เหมนคร, นพ.สุภัทร   ฮาสุวรรณกิจ และ นายอิสดาเรส หะยีเด
เมื่อเจาะลึกประวัติของแต่ละคนไม่ธรรมดา นายดิเรก เหมนคร เป็นครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นนักเคลื่อนไหวคนสำคัญโดยเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนชายแดนใต้ ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (PERMATAMAS)



นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นข้าราชการ รับเงินเดือนกินภาษีประชาชน เป็นผู้นำองค์กรรัฐมีลูกน้องในบังคับบัญชา แต่อีกด้านหนึ่งกลับเป็นแกนนำคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา



นายอิสดาเรส หะยีเด รองนายกเทศมนตรีตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นนักการเมืองท้องถิ่น อีดทั้ง้ป็นประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดสงขลา และแกนนำเครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน



การเคลื่อนไหวของสามแกนนำมีการจัดตั้งกลุ่มมวลชนที่ไม่เห็นด้วย จัดเวทีเพื่อทำการสื่อข้อมูลด้านเดียวชี้นำทางความคิดให้เห็นผลกระทบด้านลบของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของรัฐบาล กล่าวอ้างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเป็นการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณชายฝั่งทะเล ทำลายวิถีชีวิตของผู้คนที่ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลา บิดเบือนความจริงจะมีการรื้อถอนมัสยิด กุโบร์ของพี่น้องมุสลิม

มีการขยายเครือข่ายไปนอกพื้นที่เพื่อเป็นพันธมิตรร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างโครงการใหญ่ของรัฐบาล ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่, กลุ่มต่อต้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล และกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม   ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อต้องการนำโรงไฟฟ้าถ่านหินมาผูกโยงและซ้ำเติมการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ฟังความจริง!! จากนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ที่ได้เดินทางไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปางเมื่อวันที่  21-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา กรณีมีข้อกังขาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่

ซึ่งจากคำบอกเล่าในการสัมผัสตรงจากประสบการณ์จริงของน้องนักศึกษา ในการเดินทางไปศึกษาดูงานที่โรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สาเหตุเพื่อต้องการพิสูจน์ให้เห็นกับตาตนเองว่ามีมลพิษเกิดขึ้นรอบๆ โรงงานหรือ Side Effects เกิดขึ้นต่อชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบๆ โรงไฟฟ้าตามคำกล่าวอ้างของกลุ่มผู้คัดค้านหรือไม่!! แต่พอไปเห็นสถานที่จริงกลับไม่เป็นจริงอย่างที่นักวิชาการหรือกลุ่มองค์กรอิสระที่พยายามชี้นำและคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลามาโดยตลอดเกือบ 3-4 ปีที่ผ่านมาแต่อย่างใด

จากพฤติกรรมและความพยายามของสามแกนนำคัดค้านสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ผ่านมา เป็นผู้หาญกล้า...ดับไฟ (ฟ้า) ใต้อย่างแท้จริง!! แกนนำทั้งสามนำเสนอข้อมูลด้านเดียวไม่คิดถึงผลประโยชน์โดยรวมของคนส่วนใหญ่ อีกทั้งการพัฒนาประเทศในแทบทุกด้าน


การก่อสร้างพลังงานไฟฟ้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศในพื้นที่ภาคใต้ของเราเป็นอย่างมาก และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงในเรื่องกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสนับสนุนโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ของรัฐบาล โรงงานอุตสาหกรรมฮาลาลในเขตอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และการขนส่งสินค้าชายแดนเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ว่างงานมากมาย แต่กลับมีกลุ่มคัดค้านที่คอยขัดแข้งขัดขา  ไม่เห็นด้วยกับโครงการของรัฐบาล เมื่อเป็นเช่นนี้!! แล้วเมื่อไหร่? ปักษ์ใต้บ้านเราจะเจริญเทียบเท่าภูมิภาคอื่นๆ....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น