หน้าเว็บ

8/08/2560

เสียงสะท้อนหญิงสาวมุสลิม ทำไม??ต้องรับกรรมจากสามี ผกร.

แบคอลี  ลังกาสุกะ

    ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และ อ.ยะหา จ.ยะลา จากการลงพื้นที่สอบถามพบว่า หญิงสาวมุสลิมจะไม่เลือกแต่งงานชายหนุ่มที่ เป็น ผกร.หรือครอบครัวที่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มขบวนการเป็นอันขาด โดยหญิงสาวรายหนึ่งใน อ.เรือเสาะ ได้ให้เหตุผลว่า สำหรับตนได้แต่งงานตั้งแต่อายุ 18 ปี ซึ่งขณะนี้มีลูกด้วยกัน 2 คนลูกสาวทั้งที่สองคน สำหรับสามีทำงานรับจ้างในร้านแห่งหนึ่งใน อ.รือเสาะ ซึ่งหญิงสาวรายนี้ได้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งเมื่อ ปี 53 ซึ่งเหตุการณ์ความไม่สงบในขณะนั้นรุนแรงมาก และได้มีบุคคลในพื้นที่ได้เข้ามาหาสามีของตน เพื่อจะให้สามีตนเองสาบานตนเข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการแต่สามีของตนเองได้ปฏิเสธไป หลังจากสามีได้เล่าให้ฟังตนรู้สึกดีใจมากที่สามีของตนเองตัดสันใจแบบนี้ เพราะถ้าสามีตนเองเข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการครอบครัวของตนต้องเดือดร้อนอย่างแน่นอน  เพราะถ้าเข้าร่วมแล้วก็มีแต่ความเดือนร้อน ครอบครัวต้องยากลำบาก ต้องอยู่แบบลบๆซ่อนๆ ตนต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัวคนเดียวซึ่งคิดดูแล้วคงจะต้องลำบากมาก ๆ  สิ่งที่สามีตนได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมขบวนการคือเหตุการณ์ที่ผ่านมาสร้างความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล และที่สำคัญคือลูกสาวทั้งสองคนจะอยู่อย่างไรเมื่อไร้พ่อ ปัจจุบันครอบครัวของหญิงสาวรายนี้ได้สร้างครอบครัวอย่างมีความสุขโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน ทั้งนี้ผู้เขียนได้ลิ่มลองปลาทับทิมเลี้ยงรสเด็ดจากฝีมือของครอบครัวนี้อีกด้วย

  ขณะที่ความรู้สึกคงไม่ต่างหญิงสาวมุสลิมอีกหลายคนในพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งผู้เขียนได้สอบถามเด็กมุสลิมซึ่งเป็นนักเรียน ม.ปลาย ซึ่งเรียนอยู่ในตัวเมืองปัตตานี ซึ่งได้ให้ข้อมูลดังกล่าวต้องขอขอบคุณคุณครูและนักศึกษา ม.อ.ที่ได้จัดกิจกรรม ทำให้ผู้เขียนได้สอบถามเกี่ยวกับความรู้สึกในการเลือกคู่ครอง ผู้เขียนจึงถามว่า ถ้าให้เลือกคู่ครองเราจะเลือกแบบไหน สิ่งแรกที่เด็กสาวหลายคนตอบคือหน้าตา อาชีพ ความมั่นคงทางฐานะ  หนุ่มๆ ในเครื่องแบบ  ความเป็นคนดี ความเอาใจใส่ใจครอบครัวสำหรับข้อมูลที่ได้แตกต่างกันออกไป ต่อมาผู้เขียนได้ถามว่าแล้วสุมมติว่าแฟนหรือหนุ่มที่เราจะแต่งงานด้วยเป็น ผกร. แล้วเราพึ่งรู้  เด็กสาวได้ตอบตรงกันทันทีว่า จะไม่เลือกแฟนหรือสามีที่ใช้ความรุนแรงหรือครอบครัวที่ยุงเกี่ยวกับกลุ่มขบวนการเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ครอบครัวไม่ปลอดภัย  รวมถึงอนาคตของตนเองคงต้องลำบากแน่ ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวได้ทำให้รู้ว่าเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่จะเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้านั้นคิดอย่างไรกับการมีคู่ครอง ซึ่งคงไม่มีใครที่อยากมีผู้ร้ายเป็นคู่ครองอย่างแน่นอน

  หลังจากได้ข้อมูลมาเยอะแล้วสำหรับการเลือกคู่ครองของหญิงสาวมุสลิมในพื้นที่  แต่ผู้เขียนอยากรู้ถามความรู้สึกของผู้ที่เกิดจากภาวะจำยอม สภาพแวดล้อม เมื่อทราบว่าสามีของตนเองเป็นสมาชิก ผกร.รวมทั้งหากอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดตั้ง สภาพความเป็นอยู่ได้บังคับให้ต้องเข้าร่วมหรือสนับสนุนขบวนการโดยปริยาย  ผู้เขียนจึงได้ขอความช่วยเหลือจากแบท่านหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ใน อ.ยะหา จ.ยะลา ซึ่งแบก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีต้องขอขอบคุณมากๆ  สำหรับข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยผ่านเสียงโทรศัพท์ของกะรายหนึ่ง หญิงสาวมุสลิมวัย 36 ปี ที่ต้องเผชิญหน้าเป็นเสาหลักของครอบครัวเพียงคนเดียวต้องเลี้ยงลูก 4 คน โดยลำพัง  กะได้เล่าความในใจให้ฟังว่า ตนต้องกลายมาเป็นเสาหลักของครอบครัว ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ใน อ.ยะหา จ.ยะลา ตนได้แต่งงานกับสามีมานานแล้วและมีลูกด้วยกัน 4 คน คนโตอายุ 10 ขวบ คนที่ 2 อายุ 8 ขวบ คนที่ 3 อายุ 6 ขวบ และคนที่ 4 อายุ 3 ขวบ ก่อนหน้านี้มีความสุขดีกับสามี แต่หลังจากปี 56 เป็นต้นมา สามีอาชีพที่ไม่แน่นอน ต้องเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อย ๆ จึงต้องไปทำงานต่างถิ่นตลอดแต่ก็มีเงินมาให้ใช้ตลอด ซึ่งตนก็สงสัยสามีและเคยถามเหมือนกันว่าไปทำงานหาเงินมาจากไหน  ซึ่งสามีตนก็ตอบว่าใช้ๆ ไปเถอะ มีเงินมาให้ใช้ ไม่ต้องถามอะไรมาก  ซึ่งกะเองก็รู้สึกไม่สบายใจแต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก หลังๆมาสามีก็หายไปเป็นเดือนสองเดือน กลับมาครั้ง แต่ก็มีเงินก้อนมาให้ทุกครั้ง ซึ่งบวกกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้คืนนั้นตนเองและสามีทะเลาะกันอย่างหนัก  เมื่อตนได้ถามเกี่ยวกับการทำงานและเงินที่ได้มา ในที่สุดความจริงได้เปิดเผย สามียอมรับว่าเข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการเมื่อปี 55 โดยจำใจเข้าร่วมขบวนการเพราะถูกข่มขู่จากสมาชิกระดับแกนนำในหมู่บ้าน

   หลังจากทะเลาะกันและบอกความจริงสามีของตนก็ได้ออกจากบ้านไป  ตนรู้สึกตกใจและเสียใจมาก เพราะเหตุการณ์ความรุนแรงบ่อยครั้งที่เกิดในพื้นที่ อ.ยะหา ทำให้มีเด็กเสียชีวิตซึ่งตนก็สะเทือนใจกับเหตุการณ์และประณามผู้กระทำ แต่สิ่งที่เลวร้ายและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุดในชีวิต เมื่อรู้ว่าหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสามีตนเองร่วมเป็นผู้กระทำ ถึงแม้ว่าความเจ็บปวดที่ได้รับไม่อาจเท่ากับผู้ที่ได้รับความสูญเสีย แต่ความละอายความเสียใจทุกวันนี้ยังอยู่ในใจกะตลอดเวลา ขณะที่ลูกๆ ร้องไห้หาพ่อและถามว่าพ่อไปไหนทำไมไม่มาหาสักที ตนไม่รู้จะทำอย่างไรกลุ้มใจสุดๆ  ต้องแบกรับภาระเป็นเสาหลักของครอบครัวเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ขณะที่ก็มีเจ้าหน้าที่มาสอบถามเกี่ยวกับสามีของตน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้ตนเกลี่ยกล่อมให้สามีตนมอบตัวหรือเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้านซึ่งตนก็เข้าใจดี แต่ตนไม่สามารถติดต่อสามีได้ ต้องรอให้เขาติดต่อกลับมาเองเพราะเขาจะเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็บอกเขาให้เข้ามอบตัวหรือเขาโครงการพาคนกลับบ้าน แต่กลับถูกปฏิเสธเพราะกลัวกลุ่มขบวนการมาทำร้ายครอบครัว   ทุกวันนี้สามีตนก็ต้องหลบหนีอยู่และก็เป็นห่วงเขา  ปัจจุบันกะเองก็ต้องดูแลรับผิดชอบลูกทั้ง 4 คน ซึ่งลำบากมาก เพราะรายได้จากการขายกับข้าวไม่เพียงพอต่อรายจ่ายของลูกๆทั้ง 4 คน ขณะที่ญาติแท้ๆ ก็ตีตัวออกห่างไม่มีใครให้การช่วยเหลือเลย เพราะกลัวติดรางแหไปด้วย  นี้ถ้าสามีกะไม่เข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการ ชีวิตครอบครัวคงไม่เป็นเช่นนี้ ชีวิตครอบครัวกะคงจะมีความสุขไม่ลำบากอย่างแน่นอน 

   ท้ายสุดนี้ ผู้เขียนได้ก็ให้กำลังใจให้กับกะให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้โดยเร็ว และขอบคุณสำหรับกะที่เล่าความในใจที่ถูกเก็บไว้ให้ฟัง ถึงแม้จะมีเสียงสะอื้นก็ตาม ขอบคุณมาก ๆนะครับ 

   จากข้อมูลข้างต้นมีทั้งความโชคดีแล้วความโชคร้ายปะปนกันไป นี้คงเป็นความต่ำตม ความชั่วร้าย ความลำบากแฝงด้วยความเจ็บปวดที่กลุ่มขบวนนการได้มอบให้กับหลายครอบครัวของพี่น้องมุสลิม  ที่เกิดจากความเกรงกลัวจากการข่มขู่ของสมาชิกระดับแกนนำในหมู่บ้านที่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ จนนำไปสู่ความเดือนร้อนทำให้คนครอบครัวของตนเองต้องตกระกำลำบากโดยเฉพาะภรรยาและลูกของตนเอง 


    หญิงสาวที่จะแต่งงานคงต้องกำหนดกฏเกณฑ์การเลือกคู่ครองให้รอบคอบ  ความผิดพลาดในการเลือกคู่ครอง ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบด้านร่างกาย  ทรัพย์สิน  ศักดิ์ศรี จิตใจและชีวิต แต่อาจเป็นต้นเหตุของการสูญเสียและกลายเป็นที่มาของความโศกเศร้าไปจนถึงวันแห่งการตัดสิน (วันอาคิเราะฮ์)

----------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น