หน้าเว็บ

10/12/2560

ความเพ้อฝันของ NGOs ปีกการเมืองโจรใต้

"แบดิง โกตาบารู"


ท่ามกลางสถานการณ์ไฟใต้ความขัดแย้งที่เกิดจากการคิดต่างนำไปสู่ความรุนแรง ตลอดระยะเวลา13 ปีที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ รัฐบาลแก้ปัญหาด้วยการเลี่ยงใช้ความรุนแรง..มุ่งแสวงหาทางออกด้วย"แนวทางสันติวิธี"ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย

การเปิดเวทีการพูดคุยด้วยการเชิญกลุ่มคิดต่างจากรัฐกลุ่มต่างๆ มาถกปัญหาเพื่อหาทางออกให้กับประเทศซึ่งที่ผ่านมานับว่าเป็นสิ่งที่ดีกับการเปิดพื้นที่ในการพูดคุยแทนการใช้กำลัง ซึ่งในระยะแรกจะเรียก"การพูดคุยเพื่อสันติภาพ"และในตอนหลังมีการเปลี่ยนมาเป็น"การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้"ก็ตามที

ตลอดระยะเวลา 13 ปีความรุนแรงชายแดนใต้ มีหนักบ้าง เบาบ้างตามสถานการณ์ กลุ่มขบวนการก่อเหตุเพื่อแสดงศักยภาพ ส่งผลให้หลายองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐเอง NGOs นักวิชาการได้จัดเวทีระดมสมอง ระดมความคิด รวบรวมปัญหาทำการศึกษาวิจัย นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปมความขัดแย้ง

หลายองค์กรมีความจริงใจร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันท่ามกลางความขัดแย้ง กลับมีองค์กรบางองค์กรฉกฉวยโอกาสจัดเวทีเสวนาโดยใช้ชื่อที่สื่อเพื่อ"สันติภาพ"เพื่อสันติสุขของผู้คนส่วนใหญ่ในพื้นที่บังหน้า เลี่ยงการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ แต่เนื้อหาในเวทีเสวนากลับมีการปลุกเร้าปลุกระดม"การกำหนดใจตนเอง" (RSD) เพื่อให้มีการลงประชามติแยกตัวเป็น"เอกราช"จากรัฐบาลไทย

หากเรามาดูคำว่า"สันติภาพ"และ"เอกราช"ความหมายของคำทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง...

ในขณะที่ "สันติภาพ" ใช้อธิบายการยุติแห่งความขัดแย้งไม่ใช้ความรุนแรง สันติภาพอาจหมายถึงสถานะแห่งความเงียบหรือความสุข อาจจะใช้อธิบายความสัมพันธ์ของผู้คนที่มีความเคารพ ความยุติธรรมและความหวังดี ความเข้าใจและคำจำกัดความของคำว่า "สันติภาพ" จะแปรผันไปตามแต่ภูมิภาค วัฒนธรรม และศาสนา 

ส่วน"เอกราช"คือ ความเป็น"อิสระ"ในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมือง หรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก หรือพูดง่ายๆ คือ "มีอิสรภาพ"เป็นใหญ่...ไม่ขึ้นตรงต่อใคร… 

เพราะฉะนั้นผู้ที่กระสันอยากได้อำนาจทั้งหลายแหล่ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ NGOs หรือกลุ่มองค์กรอีแอบสายโจรใต้ทั้งหลาย แกล้งตีหน้าใสซื่อบริสุทธิ์ทำทีต้องการ"สันติภาพ สันติสุข"แต่พฤติกรรมสวนทางกับความมักใหญ่ใฝ่สูงต้องการ"เอกราช"จนตัวสั่น

อย่างเช่นล่าสุดกับกระแสข่าวการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราช ของชาวคาตาลันในแคว้นกาตาลุญญาของสเปนเมื่อวันที่ 1 ต.ค.60 และข่าวชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ของประเทศร่วมลงคะแนนเสียงประชามติแบ่งแยกประเทศอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้นักวิชาการ NGOs กลุ่มองค์กรแนวร่วมในพื้นที่ จขต.ของไทย ทำการขยายผลปลุกกระแสสร้างการรับรู้นำประเด็นดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ทำการชี้นำปัญหาใน จชต.เป็นปัญหาความขัดแย้งที่มีรากเหง้ามาจากประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม ระหว่างรัฐบาลไทย กับกลุ่มขบวนการ ซึ่งใช้ความรุนแรงก่อความไม่สงบในพื้นที่มานาน นำไปสู่การสู้รบด้วยการใช้กำลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การแยกตนเป็น"เอกราช"โดยมีกลุ่ม BRN เป็นหลัก
 
ที่ผ่านมาเรามักจะได้รับคำตอบแบบวิชาการ แบบทฤษฎี และในแง่ของกฎหมายจากผู้หลักผู้ใหญ่ว่าเรื่องนี้ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะในทางกฎหมายและในทางทฤษฎีไม่สามารถยอมรับได้ แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเมืองสาธารณะไม่ใช่การเมืองในกรอบกฎหมายเพราะฉะนั้นหากไม่ระมัดระวัง!! ด้วยการสร้างตระหนักรู้และจับตาพฤติกรรมนักวิชาการ NGOs และกลุ่มองค์กรปีกการเมืองโจรใต้ ปล่อยให้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ ปลุกระดมและโฆษณาชวนเชื่อตามอำเภอใจ ในไม่ช้าอาจจะเป็นเฉกเช่นเดียวกับสเปนและบราซิล...

แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าการลงประชามติในผืนแผ่นดินไทยไม่สามารถทำได้ แกนนำขบวนการและปีกการเมืองสิ้นหวัง เนื่องจากรากเหง้าปัญหาแคว้นกาตาลุญญาของสเปนกับปัญหาในพื้นที่ จชต.แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฝากไปยัง NGOs องค์กรภาคประชาสังคมล้มเลิกความคิดดังกล่าว เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราชจากผืนแผ่นดินไทย..จะมีแต่กลุ่มคนส่วนน้อยที่เห็นผลประโยชน์ส่วนตนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ต้องการ...
------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น