หน้าเว็บ

2/10/2561

ไร้สำนึก 4 องค์กรสิทธิฯ บิดเบือนข้อมูล กดดันรัฐถอนฟ้องสื่อ(แนวร่วมอาชญากรใต้)



กะกันดา
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, กลุ่มด้วยใจ, เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และ เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันออกแถลงการณ์ การรายงานข่าวไม่ใช่อาชญากรรม และขอให้ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ถอนแจ้งความสำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์

            สืบเนื่องมาจาก เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ รายงานข่าวชาวบ้านแฉถูกซ้อมทรมาน ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 ทางเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์นั้น ในเวลาต่อมาหน่วยงานความมั่นคงได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและสร้างความเสื่อมเสีย และสร้างความเสียหายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อเป็นการเอาผิดต่อผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้มอบอำนาจให้ พ.อ.หาญพล เพชรม่วง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 และทนายความ เป็นผู้แทนร้องโทษกล่าวทุกข์ เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อบรรณาธิการผู้จัดการออนไลน์ตามที่ได้เป็นข่าวและในเวลาต่อมาได้มีกระแส 4 องค์กรร้อง กอ.รมน.ให้ถอนแจ้งความดังกล่าว ชี้เป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงจากประชาชน

            หากรื้อฟื้นคดีเก่าๆ ที่หน่วยงานความมั่นคงมีการฟ้องร้องเอาผิดต่อผู้ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นั้น กอ.รน.ภาค 4 สน. เคยดำเนินคดีฟ้อง 3นักสิทธิฯ (นายสมชาย หอมลออ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ)  มาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งในครั้งนั้นมีการรายงานข้อมูลสถานการณ์ซ้อมทรมาน เมื่อปี 57-58 อันเป็นเท็จ อีกทั้งได้มีการรายงานสู่เวทีสาธารณะ และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ สร้างความเสียหายให้กับหน่วยงานความมั่นคง แต่ในเวลาต่อมาได้มีการถอนฟ้อง 3 นักสิทธิ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุยสันติสุข อีกทั้งให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลับมาสงบสุข แต่หลังจากหน่วยงานความมั่นคงถอนฟ้องแล้ว ผู้ที่เรียกตนเองว่านักสิทธิไม่เคยที่จะเคลื่อนไหวสนับสนุนแนวทางสันติสุขแต่อย่างใด หนำซ้ำกลับเคลื่อนไหวด้อยค่าการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่รัฐ ทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐ
             จึงไม่แปลกใจและเกินความคาดหมายสักเท่าไหร่ต่อกรณี กอ.รมน.ภาค 4 สน. แจ้งความดำเนินคดีต่อสำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ ว่านักสิทธิฯ หน้าเดิมๆ จะออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, กลุ่มด้วยใจ, เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี และเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกมากดดันให้ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ถอนแจ้งความ “ผู้จัดการออนไลน์”


            เมื่อส่องพฤติกรรมของนักสิทธิฯ ที่ไม่เคยมีความละอายแก่ใจและสำนึก ตลอดจนสื่อกระแสหลัก หรือแม้กระทั่งสื่อทางเลือกหลายๆ สำนักมีการนำเสนอข่าวสารที่บิดเบือน สร้างความแตกแยก ตลอดจนการปลุกระดมให้มีการเกลียดชังหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งหากปล่อยปะละเลยให้มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ต่อไป จะนำมาสู่ภัยอันตรายต่อความมั่นคง ความสงบสุขของประชาชนเป็นส่วนรวม การฟ้องร้องดำเนินคดีสำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ เป็นการดำเนินการเพื่อเตือนสติให้ระลึกถึงจรรยาบรรณของความเป็นสื่อที่ดีและป้องปราม การนำเสนอข่าวสารที่ไร้การตรวจสอบ ไร้ข้อเท็จจริง และไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับสำนักสื่ออื่นๆ ในอนาคต

            การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ เป็นการจงใจสร้างความเสื่อมเสียให้หน่วยงานความมั่นคงในสายตาประชาชน และจะเป็นเงื่อนไขต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่กับกลุ่มคิดต่างและขบวนการ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเคยเกิดขึ้นซ้ำๆ มีการแจ้งเตือนให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวเสียแต่สื่อและองค์กรกลับเพิกเฉย จึงขอให้สื่อและนักสิทธิมนุษยชนทำหน้าที่ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณในอาชีพของตนเอง และมิได้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่สะท้อนข้อเท็จจริงแต่ประการใด จึงขอเรียกร้องไปยังสื่อและนักสิทธิฯ ดังนี้.-
1.    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุผลต่อการฟ้องร้องเอาผิด ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถตรวจสอบได้ ไม่ควรใช้0สื่อหรือความเป็นนักสิทธิฯ กระทำตัวอยู่เหนือกฎหมายร่วมกันสร้างกระแส กดดันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ
2.    สื่อมวลชนจะต้องมีจรรยาบรรณ ทำหน้าที่สะท้อนข้อเท็จจริง ที่อยู่ในพื้นฐานแห่งความจริง มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชน มิใช่ใช้ความเป็นสื่อชี้นำสังคมให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความเกลียดชัง โดยไร้สำนึกความรับผิดชอบชั่วดี เมื่อกระทำความผิดก็ควรยอมรับผิดและแก้ไขให้ดีขึ้น และจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันไม่มีการละเว้นแม้กระทั่งสื่อและนักสิทธิฯ เมื่อกระทำความผิด
3.    กฎหมายมีไว้บังคับใช้ ให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติตาม หากกฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีความยุติธรรม ความไม่เท่าเทียม และเลือกปฏิบัติ ความอยุติธรรมก็จะบังเกิดขึ้น เมื่อนั้นกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อีกต่อไป
4.    การแจ้งความเอาผิดต่อสำนักนักสื่อผู้จัดการออนไลน์ จะเป็นบรรทัดฐานและไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่สำนักสื่ออื่นๆ ในอนาคต เพราะการกระทำและพฤติการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเสียหายแก่ทางราชการ อีกทั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหา จชต. ในภาพรวม เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้มีการกระทำในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก กอ.รมน.ภาค 4 สน. จึงมีความจำเป็นจะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อเอาผิดตามกฎหมายต่อ สำนักสื่อผู้จัดการออนไลน์ต่อไป
            ท้ายสุดนี้ขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันสอดส่องพฤติกรรมของสื่อ และองค์กรภาคประชาสังคมตลอดจนนักวิชาการ (แนวร่วมอาชญากรใต้) ได้กระทำหน้าที่ตามบทบาท และจรรยาบรรณต่ออาชีพของตนเองหรือไม่? อีกทั้งขอให้เสพข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติและข้อมูลรอบด้าน หากข้อมูลใดที่สงสัยว่ามีการบิดเบือนความจริง ให้ทำการตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง หยุดการส่งต่อ หยุดแชร์ มิเช่นนั้นท่านจะตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ไม่หวังดีโดยไม่รู้ตัว.
----------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น