หน้าเว็บ

12/21/2561

ทิศทางขับเคลื่อนของ "กลุ่มเปอร์มาส" ณ วันนี้




กรณีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมซึ่งตรงกับ "วันสิทธิมนุษยชนสากล (International Human Right Day)" สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS ได้จัดกิจกรรมในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองกับทางออกสงครามปาตานี" ได้มีการปาฐกถาในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองว่าด้วยการกำหนดชะตากรรมตนเอง" โดย นายฮากิม พงตีกอ คณะกรรมการกำกับยุทธศาสตร์ The Patani อีกทั้งยังมีการเสวนาในหัวข้อ "สิทธิทางการเมืองกับทางออกสงครามปาตานี" มีนายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนิธินูซันตารา Nusantara Patani นายรอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep South Watch นายฮาฟิส ยะโกะ ประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS เป็นวิทยากรร่วมเสวนา
การเคลื่อนไหวชองสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานีหรือ PerMAS ในครั้งนี้ ต้องการประกาศให้แนวร่วมในพื้นที่รับรู้ถึงจุดยืนในการเดินหน้าขับเคลื่อนในเรื่อง การกำหนดใจตนเอง ( Right to Self Determination - RSD) ที่มีเป้าหมายคือ "เอกราช" หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นเขตปกครองพิเศษในอนาคต อีกทั้งยังมีความเกี่ยวโยงงานการเมืองหนุนสร้างพรรคมลายูมุสลิมให้เป็นตัวแทนของคน จชต. อย่างแท้จริง
การโฆษณาชวนเชื่อมีการปลุกกระแสมวลชนโดยใช้ "RSD" เป็นตัวล่อขุดหลุมพรางให้เยาวชนตกเป็นแนวร่วม ซี่งการกำหนดใจตนเองในประเทศไทยไม่สามารถกระทำได้เป็นที่ทราบกันดี แต่กลุ่ม PerMAS ยังเดินหน้าใช้เป็นเครื่องมือ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์โจมตี ลดความน่าเชื่อถือของกฎหมายไทยและกฎหมายพิเศษใน จชต. โดยเฉพาะเหตุวิสามัญฆาตกรรมที่มีความเคลือบแคลงสงสัยต่อสายตาประชาชน รวมทั้งเหตุฆ่ากันตายรายวันมีการโยนผิดว่าเป็น "ทีมงูเต๊ะ" ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐออกล่าทำร้ายประชาชน
ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่ผ่านมาของกลุ่ม PerMAS ในการจุดกระแส "RSD" จากการส่งผ่านรุ่นสู่รุ่นผลัดกันขึ้นมาบริหารกำหนดยุทธศาสตร์ต่อสู้กับรัฐไทยด้วยการเดินเกมเคลื่อนไหวงานการเมือง มีการชิงไหวชิงพริบหยิบยกเหตุการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อความรู้สึก จี้ให้รัฐไทยยอมรับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (IHL) พร้อมเปิดเวทีเรียกร้องในการขอคืนดินแดนมลายูปาตานีคืน
นั่นคือยุทธศาสตร์และแนวทางที่กลุ่ม PerMAS พยายามขับเคลื่อนหาแนวร่วมในพื้นที่เพื่อเดินไปสู่จุดหมายโดยใช้ RSD แต่ในขณะเดียวกันบรรดาแกนนำและสมาชิก PerMAS ในเบื้องลึกกลับมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างแยกกันไม่ออก หรือตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาในพื้นที่ จ.ยะลา สมาชิก PerMAS กลับเป็นผู้ลงมือทำการก่อเหตุลอบระเบิดทำร้ายประชาชน เช่นตัวอย่างในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2558 จำนวน 44 จุด รวม 56 ลูก ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บรวมทั้งหมด 18 ราย ในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในการก่อเหตุ จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย นายอับดุลฟาริด สะกอ, นายไซดี ทากือแน, นายซอบรี กาซ และนายแยสฟรี หะยีปูต๊ะ นำไปสู่การจับกุมตัวส่งดำเนินคดีฟ้องต่อศาล
นั่นคือยุทธศาสตร์และแนวทางที่กลุ่ม PerMAS พยายามขับเคลื่อนหาแนวร่วมในพื้นที่ เพื่อเดินไปสู่จุดหมายโดยใช้ RSD แต่ในขณะเดียวกันบรรดาแกนนำและสมาชิก PerMAS ในเบื้องลึกกลับมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างแยกกันไม่ออก

----------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น