หน้าเว็บ

2/25/2562

องค์กรสิทธิมนุษยชนควรตรวจสอบคุณภาพชีวิตของเด็กปอเนาะ


"แบมะ ฟาตอนี"


คำถามจากแบบรัวๆ จากสังคม ณ นาทีนี้ที่ยิงคำถามต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยปละละเลยไร้การตรวจสอบสถานที่พักอาศัยเด็กหญิง ที่ถูก อดีต ขรก.ครู วัย 65 ปี กระทำอนาจาร-ข่มขืน ถึงแม้ว่า สช.จังหวัดยะลา จะออกมายืนยันสถานที่พักอาศัยเด็กหญิงดังกล่าวไม่ได้เป็นโรงเรียนตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน เป็นเพียงสถานที่พักให้กับเด็กที่อดีตครูนำมาอุปการะเลี้ยงดู

หลายคนเมื่อเห็นภาพสถานที่พักอาศัยเด็กหญิงของอาจารย์โซะ ไม่ว่าจะเป็นที่นอน ที่อาบน้ำ ห้องน้ำห้องส้วมต่างยอมรับไม่ได้ สุขอนามัยไม่ผ่าน จากคำบอกเล่าของเด็กอาหาร 3 มื้อของทุกวันคือข้าวต้ม ต้องซื้อของในสถานที่พักอาศัยเด็กหญิงเท่านั้น ของที่บ้านจัดหามาให้ต้องเททิ้ง!! ซ้ำร้ายยามค่ำคืนมีการใช้แรงงานเด็กทำงานหนักให้ขนหินขนทราย แม้กระทั่งเด็กเล็กก็ไม่เว้น!! ในการสร้างห้องน้ำเป็นแรงงานเด็กทั้งสิ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปล่อยให้อาจารย์โซ๊ะเปิดโรงเรียนเถื่อนขึ้นมาได้อย่างไรเป็นปีๆ อีกทั้งงบประมาณได้มาจากไหน?

โรงเรียนอาจารย์โซะ คือโรงเรียนเถื่อนไม่เข้าข่ายโรงเรียนตาม พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชนเป็นแค่สถานที่พักอาศัยเด็กหญิง ตามที่ สช.จังหวัดยะลาได้ออกมายืนยัน จึงอดสงสัยต่อไม่ได้ว่ายังมีโรงเรียนแบบเดียวกันนี้อีกสักกี่โรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตกสำรวจ ไม่มีการขออนุญาตให้ถูกต้องหรือจงใจปล่อยปละละเลยไม่มีการตรวจสอบปล่อยให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยมาตามแก้ทีหลัง

การจัดการเรียนการสอนที่ดีส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการต่างๆ ภายในโรงเรียนย่อมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนและครูผู้สอน คุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่รัฐอุดหนุนเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนที่มีความเท่าเทียมและเข้าถึง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลามีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันการศึกษาปอเนาะ และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) เป็นจำนวนมาก จึงอยากให้องค์กรสิทธิมนุษยชนควรเข้าไปตรวจสอบคุณภาพชีวิตของเด็กในโรงเรียนเหล่านี้มีสภาพเป็นอยู่กันอย่างไร? อีกทั้งในหอพักที่หลับที่นอน ห้องน้ำห้องส้วม เรื่องอาหารการกินถูกสุขอนามัยหรือไม่ และประเด็นการร้องเรียนในเรื่องการใช้แรงงานเด็กในยามค่ำคืนมีจริงมั๊ยและผิดกฎหมายหรือไม่!!

หากเป็นจริงจะดำเนินการอย่างไรนั้นเป็นหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนที่ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สช.จังหวัด สช.อำเภอ พัฒนาชุมชน สาธารณสุขจังหวัดหรือหน่วยงานอื่นๆ ในการเข้าไปแก้ไขปัญหาคงไม่เกินศักยภาพขององค์กรหากจะทำจริงๆ ต่างกับการตรวจสอบประเด็นการซ้อมทรมานที่กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐกระทำเกินกว่าเหตุคงจะยากกว่ากันเยอะ!! สุดท้ายโอล่ะพ่อกลายเป็นข้อมูลเท็จมีแต่เสียงก่นด่าไม่คุ้มเสีย หันมาช่วยกันตรวจสอบโรงเรียนที่มีการทุจริตโกงกินงบ โรงเรียนที่ไม่มีการพัฒนาการศึกษาเปิดขึ้นมาบังหน้า แต่เบื้องหลังเพื่อธุรกิจไม่เคยทำอะไรเพื่อครูและนักเรียนดีกว่ามั๊ย!! หากทำได้เช่นนั้นจริง องค์กรสิทธิมนุษยชนคงจะได้รับเสียงปรบมือสรรเสริญเยินยอจากพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนและคนไทยเจ้าของภาษีทั้งประเทศที่เคลื่อนไหวเพื่อส่วนรวมเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
--------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น