หน้าเว็บ

3/11/2562

สนธิสัญญาแองโกล-สยามกับการเปิดประเด็น PATANI 110


ย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 110 ปีที่แล้ว ฝรั่งได้ล่าอาณานิคมทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส หลายประเทศตกเป็นเมืองขึ้นไม่เว้นแต่ประเทศในแถบเพื่อนบ้านของไทยเราโดยเฉพาะมาเลเซีย มีการรุกคืบของอังกฤษ เพื่อนำมาสู่การค้าขายและตักตวงทรัพยากรในแถบนี้จนนำไปสู่การกดดันนำไปสู่การต่อรองกับผู้มีอำนาจของสยามและมลายู จนในที่สุดมีการตกลงใจในการลงนามสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ (Anglo-Siames Treaty of 1909) หรือ "สนธิสัญญาบางกอก" ลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2452 และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมปีเดียวกัน หรือตรงกับปี พ.ศ.2452 ถ้าหากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ช่วงนั้น การลงนามในยุคนั้นเพื่อการลงตัวของผลประโยชน์ทางการเมืองของทุกฝ่าย หากไม่ลงตัวทางการเมืองต้องใช้มาตรการทางทหารกดดันต่ออาจนำไปสู่สงครามได้ จะเห็นได้ว่าการทำสนธิสัญญาทั่วโลกเกิดจากการต่อรองเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา อาจจะมีปัญหาความขัดแย้งทำให้เกิดสงครามรบราฆ่าฟันกัน
สนธิสัญญานี้ทำให้สยามต้องสูญเสียดินแดน 4 รัฐตอนเหนือของมลายูไป (กลันตัน, ตรังกานู, เคดาห์, ปะลิส รวมทั้งรัฐเปรัคบางส่วน) โดยขณะนั้นอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช หรือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พยายามต่อรองกับอังกฤษเพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งใหญ่โต จนนำไปสู่สงครามระหว่างกันได้ ผลของสนธิสัญญา ทำให้ "ปาตานี" ตกอยู่ใต้อธิปไตยของสยามอย่างสมบูรณ์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และมีสถานะเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย
ย้อนมองพื้นที่ จชต. ในปัจจุบันฝ่ายเห็นต่างจากรัฐกลับมองอีกแง่มุมหนึ่งของสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ แต่ไทยพยายามรักษากฎกติกาเดิมในอดีตที่มีการทำสนธิสัญญากันระหว่างมาเลย์-อังกฤษ-สยาม แม้ว่าจะเสียดินแดน 4 รัฐ แต่ฝ่ายคิดต่างปลุกกระแส RSD โดยอ้างรัฐปาตานีเพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าฝ่ายเห็นต่างพยายามที่จะชูประเด็น PATANI 110 เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเองเท่านั้น แบบนี้เขาเรียกว่าคัดลอกประวัติศาสตร์บางแง่มุมเท่านั้น
--------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น