หน้าเว็บ

4/04/2562

ทำไมต้องตรวจ DNA ใน จชต.



การโพสต์ภาพและข้อความของเพจ:ประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในดินแดนปาตานีและสื่อแนวร่วม #ความไม่มาตรฐานในสาธรภาพทางการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ที่มีแต่พื้นที่ภาคใต้เท่านั้น ที่ละเมิดสิทธิได้ทุกอย่าง ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ปี 62 เยาวชนที่ไปเกณฑ์ทหารจะถูกตรวจเก็บ DNA

          การออกมาเคลื่อนไหวการตรวจ DNA ของผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกทหารในพื้นที่ จชต. กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดเหตุความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน แต่จะต้องยึดหลักความยุติธรรมเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ซึ่งจะต้องตอบคำถามของสังคมได้อย่างไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัย หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการตรวจ DNA

ที่ผ่านมากลุ่มภาคประชาสังคมยื่นหนังสือให้หน่วยงานความมั่นคงชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใน 2 ประเด็น กล่าวคือ การตรวจ DNA โดยมิชอบ การใช้กฎหมายโดยไม่สุจริต และการโจมตีใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาอย่างเสียหายในสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ล้วนตั้งข้อสงสัยถึงการปฏิบัติของภาครัฐต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

คำถาม!! ทำไมเจ้าหน้าที่ต้องเก็บ DNA ของบุคคลต้องสงสัยหรือบุคคลทั่วไปนั้นกระทำได้หรือไม่  อย่างไร?  และมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ในการตรวจ DNA ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นที่ถกเถียงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเจ้าหน้าที่บอกว่ากระทำได้ ฝ่ายที่ถูกกระทำออกมาเคลื่อนไหวกล่าวหาว่าเป็นการละเมิด

ที่ผ่านมา ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยจะต้องคำนึงถึงหลักสัดส่วนของกฎหมายมหาชน กล่าวคือ ชั่งน้ำหนักการคุ้มครองสิทธิของประชาชน กับอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ให้อยู่ในระดับพอดี ซึ่งพื้นที่ จชต. เหตุการณ์ความไม่สงบได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เจ้าหน้าที่รัฐจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เข้มข้นมากกว่าปกติ อาจไปกระทบสิทธิของประชาชนบ้างแต่ก็ใช้อย่างระมัดระวัง เช่นการตรวจเก็บ DNA บุคคลหรือการไม่ได้รับความสะดวกในการตรวจค้น

การใช้อำนาจในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มาจากไหน? ก็มาจากกฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศอยู่แล้ว ในมาตรา 17 กล่าวคือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อจะทราบรายละเอียดแห่งความผิดหลังเกิดเหตุ ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้ แต่อาจไปกระทบสิทธิของบุคคลบ้าง ต้องสมเหตุสมผล ไม่ใช่การที่เจ้าหน้าที่รัฐลุแก่อำนาจ ไปจับตัวใครก็ได้มาทำประวัติตรวจ DNA โดยไม่มีเหตุผล

เจ้าหน้าที่อาจมีการใช้กฎหมายมาตรา 131/1 ป.วิ.อาญา ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของพนักงานสอบสวน ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา หากผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้ตรวจ DNA ให้สันนิษฐาน ว่าผลเป็นไปตามที่ตรวจพิสูจน์ คือเป็นผลร้ายต่อผู้ต้องหา ซึ่งจะเห็นได้ว่า มาตรา 17 เป็นเรื่องของการรักษาความสงบเรียบร้อย (ก่อนเกิดเหตุ) ส่วนมาตรา 131/1 เป็นเรื่องของการสอบสวน (หลังเกิดเหตุ)

การเก็บ DNA ไว้ในฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่ดี ที่ผ่านมาแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐเองก็มีการเก็บ DNA ไม่มีการยกเว้นทุกคนจะต้องตรวจ ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครทหารพราน อาสาสมัครรักษาดินแดน และหน่วยงานอื่นๆ อีกทั้งยังมีการจัดเก็บหลักฐานจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทุกกระบอกไว้เป็นหลักฐาน การที่ภาครัฐจัดเก็บข้อมูล ดีเอ็นเอของเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา หรือบางเหตุการณ์ที่มีการกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้ทันทีว่าเป็นการกระทำของใคร?

เช่นเดียวกันกับการตรวจ DNA ของผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่มีการตรวจ มีแต่ผลดีมากกว่าผลเสีย เช่นหากเราตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความ ซึ่งตัวเราเองไม่ได้กระทำความผิด ฐานข้อมูล DNA ที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บไว้สามารถตรวจสอบพิสูจน์ยืนยันความบริสุทธิ์ของเราได้ในทันที

สำหรับการตรวจเลือกทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเด็นการตรวจ DNA ของผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกเป็นไปตามความสมัครใจและยินยอม อยากจะถามผู้ที่ออกมาเรียกร้องว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตรงไหน และเป็นการเรียกร้องเพื่อใคร เรียกร้องเพื่ออะไร หรือกลัวว่าจะมีกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนจะถูกตรวจพบ การตั้งข้อระแวงสงสัยกล่าวหาเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในการตรวจ DNA นั้นเป็นความบริสุทธิ์ใจหรือไม่!! และผู้ที่เคลื่อนไหวจุดประเด็นดังกล่าวเคยกระทำความผิดมาหรือเปล่า? จึงร้อนรนไม่อยากให้มีการตรวจ หากบริสุทธิ์ใจจริง ไม่เคยกระทำความผิดแล้วจะไปกลัวทำไม!!  ดังนั้นผู้ที่ถูกตรวจ DNA ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน และไม่คิดไม่มีแผนที่จะกระทำความผิดก็สบายใจได้ หากท่านเป็นคนดีไม่เคยทำความผิด ใครก็ไม่สามารถยัดเหยียดข้อหาให้ท่านได้
--------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น