หน้าเว็บ

5/25/2557

“กฎอัยการศึก”กับการดำเนินชีวิตคนจังหวัดชายแดนใต้

แบมะ ฟาตอนี

คนชายแดนใต้รู้ดี...ว่าการถูกปกครองโดยทหารมันเป็นยังไงชีวิตที่ถูกบังคับโดยกฎหมายพิเศษเป็นยังไง
ทั้งกฎอัยการศึก,พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,พ.ร.บ.ความมั่นคง ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปภายใต้กฎอัยการศึก กองทัพสามารถสั่งปิดสื่อ ห้ามนักวิชาการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ห้ามวิจารณ์ ห้ามเถียง ห้ามสงสัย ห้ามขายหนังสือบางเล่ม และห้ามอื่นๆ อีกมากมายเพราะไม่ยอมรับว่าความคิดเห็นที่หลากหลาย คือเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตยข่าวสารที่อยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ จึงถูกบอกเล่าผ่านการตัดแต่งเปลี่ยนโดยผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งสิ่งไหนที่ไม่อยากให้ประชาชนรู้ ประชาชนก็จะไม่ได้รู้
ที่มาเพจ:Patani Peace สันติภาพปาตานี
          ข้อความข้างต้นคือความเคลื่อนไหวในการประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้บางส่วนที่นำมาเสนอ สาระสำคัญของการประกาศใช้ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่พลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร


การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีการใช้กฎหมาย 3 ฉบับด้วยกัน ฉบับที่ 1 พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เป็นกฎหมายที่เน้นความรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้สงบโดยเร็ว ฉบับที่ 2  พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548  เป็นกฎหมายที่เน้นการป้องกันและปรับเปลี่ยนทัศนคติให้กับผู้หลงผิด ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการขยายผล ให้ข้อมูลกลุ่ม เครือข่ายและแนวร่วม ผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ และที่สำคัญจะเป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมโดยให้อำนาจทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร และอยู่ในอำนาจการควบคุมของศาลยุติธรรม และฉบับที่ 3  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2551เป็นกฎหมายที่เน้นการเปิดโอกาสให้คนที่กระทำความผิดสามารถกลับตัวกลับใจเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศได้ ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการนำมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องใช้การผสมผสานกฎหมายทั้งข้อดีและข้อเสียเข้าด้วยกัน


          รัฐบาลไทยมีนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ด้วยสันติวิธีอย่างชัดเจน และในห้วงที่ผ่านมา หน่วยงานในจังหวัดชายแดนใต้ ได้ใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างระมัดระวังและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ รวมทั้งเลือกใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ประโยชน์ต่อการสร้างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่เป็นหลัก
          การประกาศใช้ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้หากเปรียบเทียบกับการประกาศของกองอำนวยการรักษาความสงบ (กอ.รส.) ที่สำคัญๆ คือ ฉบับที่ 1 การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ ฉบับที่ 2 การประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ฉบับที่ 3 ห้ามออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 22.00 น.- 05.00 น.กฎอัยการศึกที่นำมาใช้ในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาไฟใต้ ไม่ได้มีความเข้มงวดและสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่เลย มีการนำกฎหมายเพียงบางส่วนมาบังคับใช้กับผู้ที่กระทำความผิด และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานเท่านั้น
          เมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ มีกลุ่มองค์กร NGOs บางกลุ่ม นักวิชาการอิสระ และผู้ที่ต่อต้านอำนาจรัฐที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้ออกมาโจมตีพยายามหยิบยกผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าว กล่าวหาว่าโดนลิดรอนสิทธิเสรีภาพต่างๆ นาๆ นำไปขยายผลเป็นเรื่องเป็นราวให้ผู้ที่อยู่นอกพื้นที่เห็นคล้อยตาม ทั้งที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เป็นความพยายามที่ต้องการสื่อไปยังต่างประเทศให้เข้ามาแทรกแซงตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงประเด็นการซ้อมทรมานที่มีการบิดเบือนความจริงดั่งเช่นมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ที่เป็นข่าวอื้อฉาว มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐร้องเรียนไปยังผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และสื่อมวลชน



          ในส่วนตัวผู้เขียนเองที่เป็นคนพื้นที่ลังกาสุกะแห่งนี้ เดินทางไปไหนมาไหนไม่เคยคิดเลยว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเรามีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ยิ่งชาวบ้านทั่วไปที่ตั้งหน้าทำมาหากินเลี้ยงชีพหาเช้ากินค่ำแทบไม่มีผลกระทบใดๆ เลย ไปถามไม่รู้จักด้วยซ้ำอะไรคือกฎอัยการศึก ในนามส่วนตัวอาจจะมีผลกระทบหน่อยตรงที่มีการตั้งด่านเหมือนกับดอกเห็ด ในการตรวจตรารถราที่ผ่านไปมาของของเจ้าหน้าที่ทหาร แต่ชาวบ้านทั่วไปต่างยอมรับได้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมโดยรวมและเป็นภาพชินตาไปแล้วที่ด่านเหล่านี้อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวบ้าน



          ประชาชนต่างรอคอยและเรียกหาในการนำพาสันติสุขกลับคืนมา ณ ดินแดนปาตานีแห่งนี้ ดินแดนแห่งพหุวัฒนธรรม ภาพแห่งการอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้องของพี่น้องต่างศาสนา ทุกคนต่างอดทนและได้รับความเดือดร้อนจากการก่อเหตุของกลุ่มโจรใต้ พร้อมสนับสนุนการใช้กฎหมายพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนำตัวผู้ก่อเหตุมาลงโทษตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อก้าวไปสู่ฝัน..สันติสุข ร่วมกัน

@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น