หน้าเว็บ

11/08/2560

“เหลือบ ริ้น ไร”แมลงร้ายชายแดนใต้

"แบดิง โกตาบารู"


ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมาสิบกว่าปี รัฐต้องใช้งบประมาณมากมายในการแก้ปัญหาขับเคลื่อนด้วยโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น มีการส่งกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ลงมาปฏิบัติหน้าที่ เพิ่มอัตรากองกำลังประจำถิ่น อาสาสมัครทหารพราน กองอาสาสมัครรักษาดินแดน ชรบ. และ อรบ. ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในพื้นที่ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับพี่น้องด้วยกันเอง ในขณะที่กลุ่มโจรใต้ยังคงคอยหาจังหวะทีเผลอลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ทำลายเสาไฟฟ้า เสาสัญญาณโทรศัพท์ กล้อง cctv เผาโรงเรียน ลอบยิง ลอบระเบิดที่ชุมชนซึ่งมีคนหมู่มากโดยไม่มีการแยกแยะเป้าหมาย กระทำการอย่างไร้อุดมการณ์เพียงเพื่อเอาใจนายใหญ่ที่สั่งการอยู่ต่างแดน..

หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มโจรใต้นอกจากไร้อุดมการณ์แล้ว ยังทำการก่อเหตุเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่ยึดโยงกับขบวนการค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อน สินค้าลักลอบหนีภาษี ซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงชั้นดีที่คอยเติมเชื้อไฟใต้ไม่ให้มอดดับ นอกจากกลุ่มโจรใต้ที่มีผลประโยชน์แอบแฝงแล้ว ยังมีกลุ่ม “เหลือบ ริ้น ไร” กลุ่มต่างๆ  ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนมากกว่า 521 องค์กร ครอบคลุมพื้นที่แทบจะเดินชนกันตาย ถามว่า!! ด้วยเหตุใดองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงโตไวและเพิ่มปริมาณแบบก้าวกระโดดเช่นนี้!! คงหนีไม่พ้นในเรื่องของผลประโยชน์ เป็นอาชีพที่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นซึ่งมีไอดอลที่ประสบความสำเร็จจากอาชีพนี้เป็นต้นแบบ ร่ำรวยตามๆ กัน ข่าวเชิงลึกมีแกนนำองค์กรบางคนซื้อที่แถวถนนลพบุรีราเมศร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ราคาร้อยกว่าล้านบาท อีกรายเป็นผู้นำองค์กรผู้หญิงซื้อที่ดินในตัวเมืองจังหวัดยะลาราคาแปดสิบกว่าล้าน แอ๊ะ!! ชักสงสัยไปร่ำรวยจากไหนมา ถึงมีเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาแพงขนาดนี้

องค์กรภาคประชาสังคมที่มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม มีจุดยืนของตัวเองในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ข้อนี้ผู้เขียนจะไม่ขอก้าวล่วงขอยกย่องเชิดชูด้วยใจจริง แต่สำหรับบางท่านกล้าที่ประกาศบนเวทีต่อหน้าสาธารณชนว่าตนเองประกอบอาชีพ NGOs ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กๆ ถึงแม้ว่าลึกๆ แล้วพ่อแม่อยากให้เป็นข้าราชการที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีรับใช้ชาติบ้านเมืองก็ตามที แต่ในเมื่อรับราชการแล้วไม่รวยก็ไม่เอาดีกว่า.. สู้เรียนลัดชีวิตเป็นนักสิทธิฯ เป็น NGOs ได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง แถมได้ท่องเที่ยวบินลัดฟ้าไปต่างประเทศเป็นว่าเล่น..ก็ไม่ได้ไปว่าใครหรอกนะ!! คนเราห้ามความคิดกันไม่ได้หรอก หากประกอบอาชีพสุจริต  ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็น และตามล่าความฝันของตนเอง แต่ที่อดกล่าวถึงไม่ได้กับพฤติกรรมขององค์กรภาคประชาสังคมส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นหน้าเดิมๆ บางคนไต่เต้ามาจากอาชีพเด็กล้างรถแล้วเขยิบยกฐานะตนเองมาเป็น NGOs ที่ยอมรับไม่ได้คือ.. หลงลืมตนเอง เตะต้องไม่ได้ ดั่งเป็นวัวลืมตีน ประกาศเดี้ยนคือ “นักสิทธิ” ผู้ทรงเกียรติ แต่กลับเคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มโจรใต้ ลืมจรรยาบรรณของอาชีพ เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในคอมพิวเตอร์ ซึ่งไร้การตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อมุ่งโจมตีหน่วยงานภาครัฐเพียงอย่างเดียว ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ไม่เคยหลาบจำ.. เพื่ออะไร?


ฝ่ายรัฐและองค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนเสริมและเกื้อหนุนการแก้ปัญหาไฟใต้มีหรือไม่? ก็ต้องบอกตามตรงเลยว่าในจำนวน 521 กว่าองค์กรที่เคลื่อนไหวอยู่ บางองค์กรได้รับสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยหวังว่าองค์กรภาคประชาสังคมคงจะช่วยเหลือแสดงออกในบทบาทชัดเจนในการหนุนเสริมร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหาไฟใต้ ซึ่งความจริงแล้วก็มีองค์ภาคประชาสังคมบางองค์กรคอยซ้ำเติมปัญหาไฟใต้มิหยุดหย่อน ... เป็นแค่ “เหลือบ ริ้น ไร” แมลงร้ายชายแดนใต้ที่คอยดูดเลือดหากินงบประมาณที่สนับสนุนจากรัฐ โดยอ้างทำเพื่อประชาชน แท้จริงเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนกลุ่มโจรใต้ และเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน ต้องการดึงเม็ดเงินงบจากภาครัฐและต่างชาติ หากรัฐบาลไม่ทบทวนหรือมีมาตราการตรวจสอบองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้ ก็เสมือนว่ารัฐบาลเองนั้นแหละที่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณเติมเชื้อไฟใต้โดยไม่รู้ตัว  
------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น