หน้าเว็บ

12/06/2560

Coal มหันตภัยในจินตนาการ หรือ พลังงานที่จำเป็น


“โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ไม่ใช่ของใหม่สำหรับประเทศไทย โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ถูกใช้งานมาแล้วกว่า 40 ปี โรงไฟฟ้าถ่านหิน  บีแอลซีพี  อ.มาบตาพุด  จ.ระยอง  ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ริมทะเล ก็เปิดดำเนินงานมาแล้วกว่า  20  ปีเช่นกัน ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีความปลอดภัยกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก  เช่น โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างที่อ.เทพา จ.สงขลา เชื่อว่า จะไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างที่จินตนาการกันขึ้นมาอย่างแน่นอน  เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในระดับสากล   มีศักยภาพควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ตามเกณฑ์ของ  WHO  ปี 2005   ซึ่งดีกว่าค่ามาตรฐานประเทศไทยกำหนดไว้เสียอีก และ ถ่านหินที่นำมาใช้ก็เป็นเกรดซับบิทูมินัส ที่มีกำมะถันและมลพิษต่างๆต่ำ  ในส่วนของโรงไฟฟ้าก็มีเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยสูง จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามจินตนาการที่แต่งแต้มจนเกินเลย

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เทพา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วย และต้องการให้สร้างอย่างแน่นอน  แต่เสียงของคนกลุ่มน้อยก็ดังกลบเสียงของคนส่วนใหญ่ และที่ผ่านมากรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพา ข่าวสารที่ได้ปรากฏต่อประชาชนได้รับรู้ในวงกว้าง ยิ่งไม่ใช่สาระหลัก คือความจำเป็นของการก่อสร้าง กับผลกระทบของโรงไฟฟ้าดังกล่าวแต่อย่างใด

ประเทศมาเลเซียเพื่อนบ้านของเรา สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ในปี 2538 ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินร้อยละ 10.2 ต่อมาในปีในปี 2558 ใช้ถ่านหินร้อยละ 41 ปัจจุบัน มีโรงงานฟ้าถ่านหินสำคัญๆ ที่ใช้งานอยู่ ดังนี้


โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน Sultan Salahuddin Abdul Aziz Power Station

โรงงานไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกของมาเลเซียมีชื่อว่า Sultan Salahuddin Abdul Aziz Power Station ตั้งขึ้นเมื่อปี 2528 ตั้งอยู่ในเขตเมือง Kapar ในรัฐ  Selangors ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 56 กิโลเมตร โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้ และแห่งอื่นๆ ในมาเลเซีย ล้วนตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล แสดงถึงความมั่นใจในความปลอดภัย ซึ่งการมีโรงไฟฟ้าห่างฝั่งมากไป อาจส่งผลเสียต่อต้นทุนการขนส่งถ่านหินซึ่งมาทางทะเล ซึ่งแหล่งถ่านหินใหญ่ของโรงไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ขนส่งทางเรือมาจากประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ถ่านหินเหล่านี้คือ "บิทูมินัส" ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีกว่าลิกไนต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน  Jimah power station

หลังจากการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกสำเร็จ  มาเลเซียก็ได้ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมมาตามลำดับ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน  Jimah  power station  ซึ่งได้เดินเครื่องเมื่อปี 2552 มีกำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่ยื่นออกไปในทะเล ห่างจากรีสอร์ท Avani Sepang Gold Coast  4.7 กิโลเมตร และอยู่ติดกับป่าชายเลน

ในปี 2545 ถึงปี  2560 มาเลเซียได้ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน Manjung power station โดยได้เดินเครื่องหน่วยที่ 1เมื่อปี 2545 หน่วยที่ 2 และ 3 เมื่อปี 2546 หน่วยที่ 4 และ เมื่อปี 2558 และ 2560 ตามลำดับ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ห่างจากเกาะ  Pangkor แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศและดำน้ำในเมือง Perak เป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร

ด้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเอกชนของมาเลเซีย โรงไฟฟ้า Tanjung Bin power station ได้เดินเครื่องหน่วยที่ 1 เมื่อปี 2549 หน่วยที่ 2 และ เมื่อปี 2550  หน่วยที่ 4 เมื่อปี 2559

โรงไฟฟ้าถ่านหิน Tanjung Bin Power tation

โรงไฟฟ้าถ่านหิน Tanjung Bin ซึ่งมีกำลังผลิตรวม 3,100 เมกะวัตต์ มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้กับแหล่งชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญ หรือแรมซาร์ไซต์ (ramsar site) คือ ตั้งอยู่ปากแม่น้ำ Pulai  ติดกับพื้นที่ชุ่มน้ำ Tanjung Piai  ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำ 3 แห่งในรัฐยะโฮร์  (มาเลเซียมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการขึ้นทะเบียน  จำนวน 7 แห่ง ซึ่ง  3 ใน 7 แห่งอยู่ในรัฐยะโฮร์  : Johor)  คือ  Tanjung Piai,   Palau Kkup  และ  Sungai Pulai  โรงไฟฟ้าถ่านหิน  Tanjung Bin เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยใช้ถ่านหิน  บิทูมินัส  และ ซับบิทูมินัส เป็นเชื้อเพลิง มีระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยน้ำทะเล (Sea Water FGD)  โดยทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน Jimah power station และโรงไฟฟ้าถ่านหิน Tanjung  ใช้เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง  Ultra-supercritical  และในอนาคตอันใกล้  มาเลเซียจะเดินเครื่องหน่วยที่ 1 และ ของโรงไฟฟ้า Balingian  New Power Station ซึ่งก่อสร้างขึ้นใหม่ในปี 2561 และ โรงไฟฟ้า  Jimah  East Power/Track 3B ก็จะเดินเครื่องหน่วยที่ 1 และ ในปี 2562 ตามมา

ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยมีอัตราส่วนสูงขึ้นทุกปี ความต้องการในภาคใต้เฉลี่ย  2,630 เม็กกะวัตต์ ผลิตได้ 2,225 เม็กกะวัตต์  ต้องไปดึงจากภาคกลางและซื้อจากมาเลเซียเพิ่มเติม เคยเกิดปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างเมื่อปี 2556 ตรงนี้คือข้อเท็จจริง  ซึ่งถ่านหินเป็นพลังงานที่ทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่ามีต้นทุนต่ำกว่า พลังงานทางเลือกอื่นๆ  เช่นพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมที่มีต้นทุนมหาศาล  ประเทศไทยของเรา หากเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ประชาชนของเขา รายได้ต่อหัวมากกว่าคนไทย  1 เท่าตัว  และรายได้ประชาติมากกว่าไทย 4 เท่าโดยประมาณ  แต่ก็ได้เลือกใช้พลังงานจากถ่านหิน  จากข้อเท็จจริงนี้ ชี้ให้เห็นว่าขนาดมาเลเซียที่มีแก๊สและน้ำมันเหลือเฟือในราคาถูก  ยังหันมาใช้ถ่านหินซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า  และ จากผลการศึกษาของสถาบัน MIT   (Massachusetts Institute of Technology)  สถาบันวิจัยระดับโลก ซึ่งมีการใช้นักวิจัยในระบบสหศาสตร์  พบว่า การใช้พลังงานถ่านหินมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นพลังงานหลักที่แต่ละประเทศจะใช้มากขึ้นในอนาคต หรือพลังงานแห่งอนาคตนั่นเอง


ข้อมูลที่ได้นำมาเสนอ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในอีกหลายๆด้านที่เราคนไทย จะต้องรับฟัง และใคร่ครวญถึงผลดีผลเสียของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ไม่ใช่การค้านอย่างหัวชนฝา  หรือฟังอย่างไม่ลืมหูลืมตา เสียงของกลุ่มต่อต้าน และเสียงของผู้ได้รับผลกระทบก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องรับฟัง และลงไปดูถึงผลกระทบที่จะตามมา รวมถึงการชดเชยด้วยความยุติธรรม เป็นหนทางที่รัฐควรจะต้องนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่เราทุกคน ควรจะได้คำนึงถึงประการแรกก็คือ ผลประโยชน์ของชาติ

"ดำดิ่งมหาสมุทร"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น