แบมะ
ฟาตอนี
PerMAS แตกร้าว นายสุไฮมี ดูละสะ
ประธานคนปัจจุบันเตรียมไขก๊อกลาออก เนื่องจากประสบปัญหาการบริหารจัดการภายในองค์กร
อีกทั้งโดนตำหนิจากการออกแถลงการณ์ การเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ และบุตรชาย เมื่อ 19 เม.ย.57
การปฏิบัติหน้าที่ของ นายสุไฮมี ดูละสะ ในฐานะประธาน PerMASที่ผ่านมาได้วางแผนการปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากการทำหน้าที่ของนายฮาเต๊ฟ
โซ๊ะโก ประธาน PerMAS คนก่อนอย่างสิ้นเชิง นำองค์กรและบรรดาสมาชิกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของพี่น้องปาตานีหลายต่อหลายเหตุการณ์ด้วยกัน
การตัดสินใจที่ผิดพลาดนำมาซึ่งได้รับคำตำหนิจากที่ปรึกษาองค์กร
อย่างกรณีล่าสุดการออกแถลงการณ์การเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ
และบุตรชาย
|
จากการตั้งข้อสังเกตในการบริหารงานภายในองค์กรของกลุ่ม PerMAS เริ่มมีปัญหามาตั้งแต่
นายสุไฮมี ดูละสะ เข้ารับตำแหน่งประธาน
อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ได้อยู่ที่ตัวนายสุไฮมี
ตัวจริงเสียงจริงที่คอยขับเคลื่อนกลุ่ม PerMAS คือ นายฮาเต๊ฟ
โซ๊ะโก ต่างหาก และเป็นผู้ที่ดึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่ม PerMAS มาจากเงินรายได้ในการค้ายาเสพติด ซึ่งมีพ่อตาและญาติภรรยาดำเนินการอยู่
นายสุไฮมี เป็นแค่หุ่นเชิดที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาด
เมื่อความอัดอั้นตันใจไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ จึงมีการดื้อเพ่งแหกกฎกระทำการบางอย่างลงไปโดยไม่ผ่านคณะที่ปรึกษา
นำมาซึ่งการโดนตำหนิถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจแถลงการณ์อื้อฉาว
ความร้าวฉานจึงเกิดขึ้นภายในองค์กร รอวันแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ทางใครทางมัน
BRN เดินเกม ใช้ PerMAS เป็นเครื่องมือ
การรุกทางทหารของ BRN
และใช้กลุ่ม PerMAS ในการปลุกระดมมวลชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อทุกรูปแบบ
ซึ่งระยะหลังมานี้รูปแบบการเคลื่อนไหวของ PerMAS เหมือนได้รับใบสั่งมาจาก
BRN ที่ทำงานสอดคล้องกันในทุกมิติ นายสุไฮมี ประธาน PerMAS เหมือนโดนกดดันในการทำหน้าที่ เดินทางลงพื้นที่ความขัดแย้งที่มีการสูญเสียทำการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติทางทหารของ
BRN จากการสร้างข้อมูลเท็จขึ้นมาจนนำไปสู่ความเกลียดชังของผู้ที่รู้เท่าทัน
อีกทั้งถูกจับตามองจากหน่วยงานภาครัฐที่มีการล้ำเส้นสร้างความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ
มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน ประจานการทำงานในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง
แถลงการณ์ PerMAS : กรณีคนร้ายกราดยิงที่บันนังสตา
คือต้นเหตุความขัดแย้ง
แถลงการณ์สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานีเรื่องกรณีคนร้ายกราดยิง
ด.ช.ลุกมาน อภิบาลแบ อายุ 6 ปี 2 เดือนและบิดา นายมุกตาร์
อาลีมาม ะซึ่งในแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของการตำหนิ นายสุไฮมี ดูละสะ จากกลุ่มที่ปรึกษา
PerMAS มาดูกันว่าการเรียกร้อง 3 ข้อ
มีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
ข้อที่
1 รัฐไทยควรยอมรับว่าที่นี้คือสงครามที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนและควรเปิดพื้นที่ให้องค์กรสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ ภาคประชาสังคม
ภาคประชาชนที่ประชาชนไว้ใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่ละเมิดหลักมนุษยธรรม
ข้อที่
2 รัฐไทยควรเอาจริงเอาจังกับยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการสร้างสันติภาพแก่ประชาชนที่แท้จริง
ข้อที่ 3 รัฐไทยควรถอดถอนทหารออกจากพื้นที่ให้หมดเพราะพิสูจน์แล้วว่าตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีมีทหารเต็มพื้นที่ก็ไม่สามารถรักษาความสงบสุขแก่ประชาชนได้รังแต่สร้างความคลางแคลงสงสัยตลอดจนสร้างเงื่อนไขใหม่เพิ่มเติมตลอดเวลา
การออกมาแถลงการณ์ของกลุ่มและองค์กรต่างๆ
ในระยะหลังมานี้ส่วนใหญ่มุ่งเป้ามาที่หน่วยงานความมั่นคง
ทั้งที่จริงแล้วบางเหตุการณ์เป็นเรื่องของความขัดแย้งส่วนตัว
อย่างเช่นกรณีการเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ และบุตรชาย ประเด็นแรก อาจมาจากสาเหตุการหักหลังกันเองในกลุ่ม
RKK ประเด็นที่สอง
อาจจะเกิดจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มค้าไม้เถื่อน
เป็นชนวนนำไปสู่ความตายเนื่องจากขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ไม่ลงตัว
ซึ่งหากดูท่าทีที่ปรึกษาของ
PerMAS ที่ไม่พอใจต่อการออกแถลงการณ์ของ นายสุไฮมี ดูละสะ
ประธาน PerMAS เบื้องลึกจริงๆ น่าจะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งของแกนนำ
RKK ในพื้นที่เอง
ปัญหาภายในของกลุ่ม PerMASมาจากส่วนตัวของ นายสุไฮมี
ดูละสะ ประธาน PerMAS เองที่เกิดความเบื่อหน่วย
โดนสังคมในสื่อสังคมออนไลน์โจมตีอย่างหนัก
บวกกับโดนตำหนิจาการออกแถลงการณ์บิดเบือนความจริง การไม่มีเอกภาพและไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กร
นำมาซึ่งความล้มเหลวในด้านต่างๆ และที่สำคัญ นายสุไฮมี
มีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไปเข้ารับการศึกษาต่อในต่างประเทศ อาจเป็นประเด็นนำไปสู่การคิดวางมือจากการเป็นประธานกลุ่ม
PerMAS ต้องจับตามองกันต่อไปว่าบทบาท PerMAS ซึ่งเป็นปีกของขบวนการ BRN จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นภายในองค์กร
ที่แน่ๆ ณ วันนี้ความขัดแย้งได้ก่อตัวขึ้นเงียบๆ
ภายใน PerMAS เปรียบเสมือนแก้วที่มีรอยร้าวยากที่จะประสานรอวันแตกสลาย
ไม่มีใครคิดทำลายองค์กร PerMAS ได้แต่คนภายในองค์กรเองกลับทำลายกันเอง
@@@@@@@@@@@
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น