9/22/2555

93 Disturbants Defect. A Quake to Separatist Groups. A Pivot Point that requires follow-ups.




            Up until now, the situation in southern Thailand is of much interest to all involved, whether it be the government security sector, the Southern Border Province Administration Center (SBPAC) and the general public, both in the area and outside. And, certainly, the movement would follow up closely on the situation, too. This is an important pivot point of the situation, whether for the better or worse.

          On the better side, we see a cooperation between the operational core leaders of the movement and the government security sector, even though a cooperative resolution is not certain of, yet. However, it is believable that the violence will lessen, although other insurgency groups may not agree with this cooperation and may continue their operations against officials and the innocent people. At the very least, operations by "Jeh Ali" or Waeali Copter Waji's group in its area of responsibility will lessen. However, the situation may worsen due to those leaders high up in the policy-making level may disagree and may order other groups to accelerate violence to demonstrate that they still have the potential. This is a matter of concern.

           However, the decision made by "Jeh Ali" and the 93 members has certainly resulted in significantly troubling the propaganda machine of the movement. Twisted information has been quickly transmitted through various media, especially through web sites and the social media, including the "ambranews.com" web site. This site is owned by a treacherous Thai person, renting a server in Malaysia, and specifically spreading information against the Thai security sector and government. All the while the Malaysian side is keeping a blind eye. The twisted information has repainted "Jeh Ali" and his other comrades who reported themselves in, calling them rubber plantation workers. While, in reality, "Jeh Ali" was a commanding leader in Narathiwat Province, a criminal against national security, a co-planner in the arms heist at the 4th Development Battalion in Narathiwat on January 4, 2004 which resulted in the deaths of four military officials. The information has twisted the once brothers-in-arms to adversaries.

            The web site has further cooked-up information that the 93 persons who reported in for the benefit of peace have been paid by the security sector to start a drama. This clearly demonstrates the deceptive ideology of the movement, insincere towards anyone, even going against those who have shared the same ideals, for fear that they might lose their hold on the masses.

         This is the struggle by the separatists in trying to gain the masses. For it is clear that whoever loses the hold on the masses in the region, defeat would be near.

         The PULO has also joined in, as usual. This "money-hungry, paper tiger" group collectively posts the operations of other groups on their web site and twists the information for their own benefits. This allows them to shamelessly gain funds from abroad.

        The humor lies in the fact that the PULO had nothing to do with the 93 defectors and yet made their appearance.

       The actual reason for the 93 defectors of its core leaders and united front members reporting in was a result of networking that led to a discussion between the security sector and members of the network, who mainly are local politicians, religious leaders, owners of religious-schools, past members of Ramkhamhaeng PNYS and past Indonesia-educated students, who are against violence and want to bring peace to their homeland. This opens up the opportunity for the pro-violence fighters to turn towards peaceful means through a middle-link cooperation. As a result, a political party named Party Kita was established, proclaiming "Melayu Party for the people of Melayu". The party leader was Mukhtar Kila.

         However, such move resulted in a split amongst the movement's public affairs people, especially the pro-violence group. This group uses violence to gain funds from other Muslim nations, claiming to fight for their ideals, which, in reality, these funds were distributed amongst the members for their personal gains. As a result, Mukhtar Kila was killed on December 15, 2011. The killing was staged as though it was to be the work of government officials. Luckily the hitman was killed by the village security team and it was found that he was from Tanyong Limo village, Chalerm sub-district, Ra-ngae district, Narathiwat Province, the same village that assaulted the teacher Juling Pongkanmun to death. As a result, the evil plan of putting the blame on the nation's security sector was foiled.

          Although Mukhtar was killed, the members of the peaceful ideals pushed on and have thus made contact with the group leaders to report themselves to the government, in order to proceed with peaceful means. This has eventually resulted in the defection of these 93 people.

            The reporting-in of the core leaders and united front members is considered a success of the Thai government in striving to fight peacefully. Moreover, this defection has caused a big quake in the whole insurgency operations, all the way from leaders/united front body and personnel/organization, domestically and internationally. This also shook the underground businesses that supported violence, which, together, benefited mutually. Also affected are some local NGO's which supported the dark movements in the southern provinces.

           The resolution of the reporting-in of the movement’s core leaders and its united front members on the 11th day of the 9th month, which was comparatively referred to as 911 by the 4th Army Area Commander, is still difficult to fathom. Yet, this is a good starting point for the people of the three southernmost border provinces who can now begin to see a glimpse of peace at the end of the tunnel, instead of the darkness under the tyranny and fear of the insurgents. Isn't it?

                I'm here with you.

9/19/2555

เปิดใจ"อาร์เคเค"กลับใจ "ลูก-เมีย"เงื่อนไขนักรบวางปืน


cc1
          "ลูกเราเกิดมาอนาคตจะเป็นอย่างไร เราก็เข้าๆ ออกๆ หนีบ้าง อยู่บ้าง งานการก็ไม่ได้ทำ" เป็นคำพูดเปิดใจของ "มะนาวี" มือประกอบระเบิดซึ่งมีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ที่ได้อธิบายเหตุผลของการตัดสินใจหันหลังให้ขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน ซึ่งก่อความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างต่อเนื่องมานานเกือบ 9 ปี
          เหตุผลของ "มะนาวี" ไม่ต่างอะไรกับ "บักรี" หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธผู้รับผิดชอบหนึ่งในสามโซนของ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส "ทุกคนอ่อนที่ครอบครัวทั้งนั้น พอได้แฟน ได้ลูก เราก็จะกลับมาคิด"
          "เรามองชีวิตที่เป็นอยู่แล้วไม่สบายใจ เห็นคนอื่นซื้อไอศครีมแท่งละ 25 บาทให้ลูก เราต้องซื้อลูกชิ้นไม้ละ 5 บาทมี 4 ลูก ช่วงรายอต้องหลบๆ ซ่อนๆ พาลูกไปหาปู่ย่าตายายก็ไม่ได้ ส่วนลูกคนอื่นใส่ชุดหล่อไปเที่ยว เราพาไปไม่ได้ สายตาของลูกที่ผิดหวังทำให้เราคิดหนัก" บักรี บอก
          มะนาวี กล่าวเสริมว่า ทำหน้าที่ประกอบระเบิดมาหลายปี ไม่เคยมีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ วันหนึ่งก็ล้มป่วย อาการหนักมาก แต่พอเข้าโรงพยาบาลแล้วรอดกลับมาได้ จึงรู้สึกเหมือนตายแล้วเกิดใหม่
          "ขบวนการเคยบอกว่าเกิดอะไรขึ้นจะดูแลทุกอย่าง แต่พอเกิดจริงๆ กลับไม่ได้ดูแล ตรงนี้ทำให้เราคิดหนัก ผมหายป่วยกลับมาก็โดนหมาย พ.ร.ก. (ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) เมื่อปีที่แล้ว ถูกจับอยู่ 6 วัน ออกมาได้ผมก็เลยหนีไปมาเลย์ ตอนหลังผมได้แฟน และแฟนก็ท้องด้วย ก็เลยเห็นใจเขาและอยากเลิกทำงานให้ขบวนการเสียที" 
           นอกจากผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวแล้ว สิ่งที่ทั้ง "มะนาวี" และ "บักรี" พูดออกมาตรงกันก็คือ ความรู้สึกของพวกเขาที่เหมือนถูกขบวนการหักหลังและหลอกใช้
          "ใครถูกจับ ขบวนการบอกว่าเท่ากับไปพักผ่อน ไม่ต้องทำอะไร แต่ใครล่ะจะอยากพักผ่อนแบบนี้ และตลอดมาขบวนการไม่เคยช่วยเหลืออะไรเลย" มะนาวี ระบุ
          ขณะที่ "บักรี" ตั้งคำถามว่า ไหนบอกทำเพื่อศาสนา เคยถามคนในขบวนการด้วยกันว่าเพื่อศาสนาอย่างไร ให้พาคนที่เหนือกว่ามาคุยก็ตอบไม่ได้ ที่สำคัญพรรคพวกที่ติดคุก กลับบอกให้ไปพักผ่อน ทั้งๆ ที่คุกมันไม่ใช่สถานที่พักผ่อน
          "การกระทำของเราไม่ได้ยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้าน วางระเบิดตูม ชาวบ้านกรีดยางไม่ได้ 2 อาทิตย์ แล้วเราได้อะไร เราเองก็ไม่ได้อะไร ชาวบ้านก็ไม่ได้ ถ้าเราไม่ระเบิด ไม่ยิง ชาวบ้านก็กรีดยางได้" บักรี บอกพร้อมกับบทสรุปในความคิดของเขา
          "ที่ขบวนการเคยบอกพวกเรามันไม่จริงสักอย่าง แล้วผมจะพาลูกน้องไปไหน ขบวนการจะพาเราไปที่ไหน เราจะรบไปถึงเมื่อไหร่ และสุดท้ายคงไม่พ้นถูกจับ ถ้าไม่ถูกจับก็ตาย"
          ด้วยเหตุผลดังว่านี้เองที่ทำให้ "มะนาวี" และ "บักรี" กับเพื่อนๆ อีกราว 80 ชีวิตซึ่งฝ่ายความมั่นคงจัดกลุ่มพวกเขาว่าเป็น "นักรบ" ในฐานะผู้ที่คิดเห็นแตกต่างจากรัฐ พร้อมใจกันออกมาแสดงตัวและพบปะกับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันอังคารที่ 11 ก.ย.2555 เพื่อพูดคุยถึงแนวทางในการกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขหลังวางปืน
           แน่นอนว่าสิ่งที่เป็นความปรารถนาขั้นพื้นฐานก็คือ ให้รัฐถอนหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และหมายจับตาม ป.วิอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) ดูแลความปลอดภัยหลังจากออกจากป่ากลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวแล้ว และหางานให้ทำ
          อย่างไรก็ดี นั่นเป็นเพียงความรู้สึกจาก "นักรบอาร์เคเค" วัยไม่ถึง 30 ปีที่โดนเพียงหมาย พ.ร.ก. แต่สำหรับอดีตนักต่อสู้ผู้สูงวัยกว่าและผ่านเรื่องร้ายๆ มามากกว่านั้นอย่าง อับดุลรอซะ การ์เดซึ่งถูกจับกุมในคดีความมั่นคงหลายคดี และใช้ชีวิตในเรือนจำมานานกว่า 3 ปี เขาย่อมมีข้อเสนอในใจมากกว่า "มะนาวี" กับ "บักรี" เป็นแน่
          "ในสามจังหวัด สิ่งที่ต้องมาอันดับต้นๆ คือความจริงใจ รัฐต้องจริงใจก่อน ทุกคนพอถึงจุดนี้ต้องการความยุติธรรม ผมติดคุกมาแล้ว ผมเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมมีจริง แต่ปัญหาอยู่ในช่วงก่อนจะถึงกระบวนการยุติธรรม นั่นก็คือกระบวนการสรรหาพยานหลักฐานว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ มีการใส่ร้ายหรืออาศัยเพียงคำซัดทอดหรือเปล่า"
          "ผมได้พิสูจน์แล้วว่าถ้าคดีถึงศาล ศาลมีความยุติธรรมจริง ศาลพิจารณาตามพยานหลักฐาน ฉะนั้นปัจจัยของความเป็นธรรมคือกระบวนการก่อนถึงศาลยุติธรรม"
          เขาขยายความอีกว่า หลายคดีเจ้าหน้าที่มีแค่คำซัดทอดก็ออกหมายจับ เมื่อออกหมายแล้วก็ต้องจบด้วยการจับ อายุความ 20 ปี ทำให้คนที่ถูกออกหมายหนีไปมาเลย์ เพราะจะไปจ้างทนายก็ไม่มีเงิน แต่ข่าวออกว่าหนีไปกบดาน
          "พอเกิดเหตุปุ๊บ ชื่อออกมาแล้วว่าคนโน้นทำ คนนี้สั่งการ สังคมสื่อเขาแย่งกันขายข่าว แต่คนที่อ้างถึงไม่มีพื้นที่ที่จะชี้แจง"
          อับดุลรอซะให้น้ำหนักกับเรื่องความเป็นธรรมเป็นพิเศษ เพราะเขาถูกจับกุมดำเนินคดีไม่ต่ำกว่า 5 คดี ทั้งในพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุไหงปาดี และ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องหมด เขาเพิ่งได้อิสรภาพเมื่อ 2 เดือนเศษที่ผ่านมา โดยระหว่างอยู่ในเรือนจำ เขาได้รับการยอมรับเสมือนหนึ่ง "ผู้นำ" และเคยเป็นตัวแทนเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อครั้งจลาจลในเรือนจำนราธิวาสเมื่อปีก่อน
          3 ปีในเรือนจำเปลี่ยนแปลงความคิดของอับดุลรอซะไปมากทีเดียว...
          "เราต้องพลัดพรากจากครอบครัว ทุกคนต้องเอาครอบครัวไว้ก่อน เมื่อมีครอบครัวก็ต้องมีงานทำ ฉะนั้นเราจะอยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้ ถ้าให้เรากลับไปอยู่ในสังคม สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือความปลอดภัย ไม่ได้ต้องการ 100% แต่ถ้าเรามีปัญหาอะไรต้องได้พูดคุย และต้องได้รับการตอบรับที่ดี อีกเรื่องคืออาชีพการงาน อย่างผม 3 ปีที่ผ่านมา คดียกฟ้องไปหมด แต่ถามว่ากระบวนการที่พลาดพลั้งไปนี้ ผมจะได้อะไร"
          อับดุลรอซะ ยังฝากไปถึงระดับนโยบายที่แก้ไขปัญหาภาคใต้กันมา 7 รัฐบาลแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น
          "ที่ผ่านมานโยบายรัฐบาลมาทีก็เปลี่ยนที ทั้งๆ ที่เราทำโครงการต้องมีความต่อเนื่อง แต่นี่รัฐบาลโน้นการเมืองนำการทหาร รัฐบาลนี้ทหารนำการเมือง ทหารเองก็เหมือนกัน พอนายเปลี่ยนคนก็เปลี่ยนนโยบาย ฉะนั้นกว่าจะเริ่มทำงานได้ก็สาย ก็ตามฝ่ายขบวนการอีกก้าว"
          "สิ่งที่อยากเห็นก็คือรัฐบาลเปลี่ยน ไม่มีปัญหา แต่นโยบายต้องสอดคล้องกับที่ตั้งต้นมา ใครจะเป็นนายกฯ เป็นแม่ทัพไม่มีปัญหา แต่นโยบายเป็นอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น ว่ากันตรงๆ"
          อับดุลรอซะ คาดหวังว่า การพบปะกับแม่ทัพภาค 4 เมื่อวันที่ 11 ก.ย.จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นนิมิตหมายที่จะนำพาสถานการณ์กลับสู่ความสันติ
          กิจกรรมพบปะระหว่างกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐกับแม่ทัพภาคที่ 4 เที่ยวนี้ บุคคลที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ แวอาลีคอปเตอร์ วาจิ ซึ่งตามข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคงระบุว่า เป็นแกนนำคนสำคัญใน จ.นราธิวาส ร่วมในเหตุการณ์ปล้นปืนทหารเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547
          แวอาลีคอปเตอร์ ไม่ยอมพูดภาษาไทย โดยบอกว่าพูดไทยไม่ได้ ข้อมูลจากเขาและหน่วยงานรัฐตรงกันว่า เขาไม่ได้ร่วมก่อเหตุรุนแรงมาหลายปีแล้ว แต่กลับยังมีชื่อร่วมในเหตุการณ์ที่เกิดใน จ.นราธิวาส จากการอ้างของบางหน่วยแทบทุกครั้ง
          แวอาลีคอปเตอร์ บอกว่า ก่อนถูกติดตามจับกุม เขาเป็นลูกจ้างถ่ายเอกสารอยู่ที่ อ.เจาะไอร้อง ต่อมาหนีเข้ามาเลเซีย ไปรับจ้างกรีดยางพารา
          "ตัวผมเหมือนกระสอบใบหนึ่ง มีอะไรเขาก็ยัดใส่" แวอาลีคอปเตอร์ กล่าว และว่าชื่อแวอาลีคอปเตอร์ เป็นชื่อแปลก และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นแกนนำคนสำคัญของขบวนการแบ่งแยกดินแดนทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็น! 

ที่มา   สำนักข่าวอิศรา   http://www.isranews.org/south-news/special-talk/53-2009-11-15-11-15-38/16296-qq-q-q.html

9/17/2555

93 ป่วนใต้กลับใจ อาฟเตอร์ช๊อคถึงขบวนการ จุดพลิกผันที่ต้องเร่งสานต่อ


ถึงชั่วโมงนี้การติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกำลังเป็นที่สนใจของทุกฝ่ายทั้งฝ่ายความมั่นคง  ศอ.บต.  และประชาชาชนทั่วไปในทั้งและนอกพื้นที่  และแน่นอนว่าฝ่ายขบวนการเองก็ต้องติดตามความเป็นไปนี้ในลักษณะเกาะติด  เพราะนี่จะเป็นจุดหักเหสำคัญของสถานการณ์ว่าจะดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไปอีก 

ที่ว่าดีขึ้นคือ  ความร่วมมือระหว่างแกนนำระดับปฏิบัติการของขบวนการกับฝ่ายความมั่นคงครั้งนี้  แม้ว่าจะยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดว่าจะพบทางออกร่วมกันหรือไม่  แต่เชื่อได้ว่าระหว่างนี้สถานการณ์ความรุงแรงจะเบาบางลง  แม้ว่าจะยังมี ผกร. กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยและยังคงปฏิบัติการจองเวรกับเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ต่อไป  แต่อย่างน้อยๆ  ความเคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่ม “เจ๊ะอาลี” หรือ นายแวอาลี  คอบเตอร์  วาจิ  ก็น่าจะลดน้อยลง  และที่ว่าจะเลวร้ายลงก็เพราะแกนนำระดับนโยบายที่อาจไม่เห็นด้วยจะสั่งการให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงกลุ่มอื่นๆ  เร่งก่อเหตุรุนแรงเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในการเข่นฆ่าประชาชนต่อไป   ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วง

แต่ที่แน่ๆ จากผลของการตัดสินใจของ “เจ๊ะอาลี”และสมาชิกรวม 93 คนครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการดิ้นทุรนทุรายของฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการขนานใหญ่  กระแสการบิดเบือนข่าวสารชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าถูกส่งผ่านสื่อชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสื่อเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศราวห่ากระสุนซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ http://www.ambranews.com  ซึ่งเป็นของคนไทยขายชาติบางคนที่ไปเช่าSever ของประเทศมาเลเซีย  ที่คนในวงการสื่อรู้ดีว่ามักจะเสนอข่าวเผาบ้านตัวเองโดยมุ่งโจมตีฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะในขณะที่ข้างฝ่ายมาเลเซียแสร้งทำไม่รู้ไม่เห็น  ด้วยการสร้างภาพของ “เจ๊ะอาลี” แกนนำระดับสั่งการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส   ผู้ก่อคดีความมั่นคงมาอย่างโชกโชน  และเป็นผู้ร่วมวางแผนสั่งการให้แนวร่วมนำกำลังเข้าปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 เมื่อ 4 ม.ค.47  ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตไป 4 นาย และเพื่อนร่วมขบวนการที่ออกมารายงานตัวพร้อมกันครั้งนี้ให้กลายเป็นชาวสวนยาง  เรียกว่าจากสหายร่วมรบกลายเป็นศัตรูในทันทีเลยที่เดียว 

ขณะเดียวกันก็กุข่าวว่าทั้ง 93 คนที่มาพบปะพูดคุยเพื่อสร้างแนวทางสันติในวันนั้นได้รับค่าจ้างจากฝ่ายความมั่นคงมาแสดงละคร    นี่ย่อมแสดงถึงทาสแท้ในอุดมการณ์จอมปลอมของขบวนการที่ไม่เคยให้ความจริงใจกับใครแม้คนที่เคยร่วมอุดมการณ์  ด้วยความกลัวว่าจะเสียมวลชน 
นี่จึงเป็นการดิ้นรนของขบวนการเพื่อรักษามวลชนไว้ให้มากที่สุด  เพราะรู้กันอยู่ว่าการต่อสู้ในพื้นที่นี้ใครเพลี่ยงพล้ำงานด้านมวลชน  ประตูแพ้ก็อยู่ไม่ไกล

ด้านกลุ่มพูโลก็เข้าร่วมผสมโรงกับเค้าด้วยแบบไม่ทิ้งลาย “เสือกระดาษหิวเงิน” ตั้งหน้าตั้งตาเก็บเกี่ยวการปฏิบัติของกลุ่มอื่นๆ มานำเสนอแบบบิดเบือนตามถนัดผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม   เพื่อแอบอ้างหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องโดยการแบมือขอเงินจากต่างประเทศเหมือนขอทานที่ไร้ยางอายต่อไป 

และที่น่าขำคือ  งานนี้พูโลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยสักนิด ไม่รู้จะออกมาเสนอหน้าทำไม

ในข้อเท็จจริงการเข้ารายงานตัวของ 93 แกนนำ/แนวร่วมนั้น  เกิดขึ้นจากการดำเนินการเครือข่ายสานเสวนาระหว่างฝ่ายความมั่นคงกับสมาชิกเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น  ผู้นำศาสนา เจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา  อดีตนักศึกษาชมรม PNYS รามคำแหงและอดีตนักศึกษาอินโดนีเซีย ผู้ซึ่งไม่นิยมความรุนแรงและต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข   เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ต่อสู้ด้วยอาวุธหันมาใช้แนวทางสันติวิธีด้วยการตัวกลางเชื่อมประสาน  อันเป็นเหตุให้มีการตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พรรคประชาธรรม” ซึ่งชูธงว่าเป็น  “พรรคของคนมลายูเพื่อคนมลายู” โดยมีนายมุคตาร์  กีละ เป็นหัวหน้าพรรค 

แต่การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความแตกแยกให้กับกลุ่มมวลชนของขบวนการ  โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องการสร้างความรุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ในการเรียกร้องเงินบริจาคจากประเทศในโลกมุสลิมโดยอ้างว่าเอามาใช้ในการต่อสู้  แต่ในความเป็นจริงกลับนำไปใช้จ่ายบำรุงความสุขกันเฉพาะพวกพ้อง  ทำให้นายมุคตาร์  กีละ ต้องถูกกำจัดด้วยการลอบยิงเมื่อ 15 ธ.ค.54  พร้อมๆ กับการเตรียมสร้างสถานการณ์ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่  แต่โชคยังดีที่โจรที่ยิงนาย  มุคตาร์ฯ ถูกชุดคุ้มครองหมู่บ้านยิงตายซะก่อน  และตรวจสอบภายหลังก็พบว่าก็เป็นคนในหมู่บ้านตันหยงลิมอ  ต.เฉลิม อ.ระแงะ นราธิวาส  บ้านเดียวกับที่รุมทำร้ายครูจูหลิง  ปงกันมูล ครูสาวผู้เสียสละจนเสียชีวิตนั้นเอง  ส่งผลทำให้แผนชั่วสาดโคลนใส่ฝ่ายความมั่นคงต้องพังทลายลง

แต่แม้ว่านายมุคตาร์ฯ จะถูกลอบสังหารไปแล้ว  กลุ่มสมาชิกก็ยังคงดำเนินการเพื่อสานต่ออุดมการณ์ต่อไป  โดยการติดต่อกับแกนนำให้เข้ามาแสดงตนต่อทางราชการเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อสู้ตามแนวทางสันติ  จนนำมาสู่การรายงานตัวของ 93 แกนนำ/แนวร่วมในที่สุด

          การเข้ามารายงานตัวของแกนนำ/แนวร่วมครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นความสำเร็จจากความพยายามบนพื้นฐานการต่อสู้ตามแนวทางสันติของรัฐบาลไทยในระดับหนึ่ง และสร้างความสั่นคลอนให้กับขบวนการทั้งต่อแกนนำ/แนวร่วม และบุคคล/องค์กรทั้งในและนอกประเทศ  รวมถึงกลุ่มธุรกิจผิดกฏหมายที่ให้การสนับสนุนการก่อเหตุรุนแรงซึ่งล้วนมีผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะต่างตอบแทน  ตลอดจนองค์กรภาคประชาชนหรือ NGOs ในพื้นที่บางองค์กรที่มีพฤติกรรมสนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเข้ารายงานตัวของ 93  แกนนำแนวร่วมในวันที่่ 11 เดือน 9   ซึ่งแม่ทัพภาค 4  เปรียบเปรยว่าเป็นเหตุการณ์ 911  จะลงเอยอย่างไรชั่วโมงนี้คงยากจะคาดเดา  แต่นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่พี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คงเริ่มมองเห็นแสงแห่งความสงบสุขที่แม้จะอยู่ลิบๆ ที่ปลายอุโมงค์  แต่ก็ยังดีกว่าอยู่แบบมืดมนภายใต้การข่มขู่ด้วยปากกระบอกปืนของขบวนการอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอย่างทุกวันนี้มิใช่หรือ

ขอเป็นกำลังให้ก็แล้วกัน

 ซอเก๊าะ   นิรนาม

9/16/2555

Army talks with 2 top separatists


 The army is negotiating with two top separatist leaders to try to convince them and their group to end their campaign of violence in the far South.
            The move follows this week's surrender in Narathiwat of 93 insurgent suspects, led by Waeali Copter Waji, alias Jeh Ali, a suspect in the Jan 4, 2004 arms heist at the 4th Development Battalion in Cho Airong district of Narathiwat.
           According to army sources, 4th Army commander Lt Gen Udomchai Thamsarorach has dispatched officers to negotiate with Sapaeing Basor and Masae Useng, leaders of the BRN Coordinate separatist group.

               A bounty on Mr Sapaeing has been set at 10 million baht with one of 3 million baht for Mr Masae.


      The officers accompanied several religious and community leaders for the secret talks. Both separatists leaders are based overseas. Mr Sapaeing hopes to be prime minister of a Pattani state and Mr Masae its defence minister or army chief in the event their goal of independence is ever achieved.
              The negotiations cover their demands relating to their possible prosecution in Thailand. The separatists are also waiting to see how the authorities will deal with the 93 former militants, the sources said.
If negotiations are successful, around 10-15 members of the BRN Coordinate could defect, they added.

Flag incident fails to sour Malaysia-Thailand ties


Flag incident fails to sour Malaysia-Thailand ties

.
Malaysian Armed Forces chief Gen Tan Sri Zulkifeli Mohd Zain assessing border activities and security in Munduk, Rantau Panjang, during his visit to areas near the Malaysia-Thailand border yesterday. Pic by Adnan Mohamad

RANTAU PANJANG: THE close ties between Malaysia and Thailand is unaffected despite attempts by certain groups to create friction by hoisting Malaysian flags on Merdeka Day in the troubled southern provinces of Thailand.
Armed Forces chief Gen Tan Sri Zulkifeli Mohd Zain said yesterday the attempts had failed to damage the good relationship enjoyed by the two Asean neighbours.
"However, the Malaysian government views the matter seriously as it might affect national security," he said.
He said the Malaysian armed forces had also conveyed to its Thai counterpart that security measures were also tightened following the incident.

9/10/2555

จับตาสื่อไร้จรรยาบรรณ “สื่อมวลชนทิ้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้”


    การรับรู้ความเป็นไปของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของคนทั่วไปทั้งในพื้นที่สามจังหวัดและพื้นที่อื่นของประเทศรวมถึงประชาคมโลกนั้น  หากไม่ใช่ผู้ที่ประสบเหตุด้วยตนเองแล้ว  ล้วนได้รับข่าวสารผ่านทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งสิ้น  ซึ่งที่ผ่านมาในประเด็นของการนำเสนอทั้งทิศทางของความรุนแรง  ความน่าสะพรึงกลัวหวาดหวั่น  ขวัญกำลังใจในการดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ของประชาชน การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของฝ่ายความมั่นคง  หรือในแง่ความร่วมมือร่วมใจในการสร้างสันติสุข  รวมถึงความเบื่อหน่ายของประชาชนจากการก่อเหตุของขบวนการ  แม้แต่การวิพากษ์วิจารณ์ตามข้อมูลที่มีของเหล่านักคิดนักเขียนคอลัมนิสต์ต่างๆ  ที่ผลิตสื่อออกไป  ล้วนสร้างความรับรู้ในมุมมองที่หลากหลายทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องให้แพร่กระจายผ่านสื่อของตนไปสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ซึ่งเป็นผู้รับสารได้ทั้งสิ้น 

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า  ภายใต้แรงขับเคลื่อนของสื่อนั้นหากนำเสนออย่างถูกต้องตรงไปตรงมาก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสารในการได้รับข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์เพื่อนำเสนออย่างถูกต้อง  และถ้าเป็นข่าวสารที่มุ่งสร้างความร่วมมือสร้างความรักความสามัคคีของคนในพื้นที่  ข่าวนั้นจะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยระดมสรรพสิ่งที่เป็นตัวแปรให้เกิดความสงบสันติได้  แต่หากเป็นการนำเสนอโดยมุ่งหวังให้เกิดภาพลบ  แอบแฝงไว้ด้วยเจตนาที่จะทำลายความน่าเชื่อถือในกลุ่มคนหรือบุคคลโดยใช้สถานการณ์ภาคใต้ที่หาทางออกได้ยากยิ่งนี้ล่ะ  เรื่องแบบนี้ย่อมส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด

 และแน่นอนว่าสื่อใดๆ ที่ประพฤติเยี่ยงนั้นย่อมมีความเลวร้ายยิ่งกว่า

9/07/2555

แค่คืนความเป็นธรรม"คำสารภาพ"โจรใต้"กลับใจ


         เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามเข้ามาแก้ไข เพื่อให้ความสงบสุขกลับคืนสู่พี่น้องชาวใต้อีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ และกำลังพลเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่สงบกลับรุนแรงขึ้นทุกขณะไม่เว้นแต่ละวันถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวถือเป็นภาระหนักอึ้งที่รัฐบาลต้องตอบโจทย์ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่ามาตรการการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเดินมาถูกทาง โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปี 2551 เพื่อให้ผู้ที่หลงผิดกระทำการก่อการร้ายกลับเป็นพลเมืองดี เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เจริญยิ่งขึ้น
            และจากมาตรการดังกล่าวทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบทยอยเข้ามอบตัว โดยล่าสุดกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวน 40  คนได้ติดต่อขอมอบตัว ผ่านทาง นายประพัฒน์ วิบูลย์สุข ทนายความอิสระผู้ประสานงานกับอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นได้เจาะลึกถึงสาเหตุ และแรงจูงใจที่ทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุในพื้นที่ พร้อมทั้งสาเหตุที่ยอมกลับใจมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่นายเต็ง(นามสมมุตติ) อดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1 ใน 40 คนที่จะเข้ามอบตัว