จับตาทหารเข้าคุมเจรจาดับไฟใต้
|
การพูดคุยสันติภาพดับไฟใต้ระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยนำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับขบวนการบีอาร์เอ็นกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ ต้องสะดุดไปโดยปริยายจากปัญหาการเมืองภายในของประเทศไทย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาขัดแย้งภายในของบีอาร์เอ็นและขบวนการที่อ้าง อุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญด้วยเช่นกัน |
จนถึงขณะนี้ มีการคาดการณ์กันไปหลายแนวทาง บ้างก็ว่าการพูดคุยสันติภาพในช่องทางนี้ ซึ่งหมายถึงช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นกลุ่มนายฮัสซัน ซึ่งมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก น่าจะถึงทางตันแล้ว บ้างก็มองแง่ร้ายว่าโต๊ะพูดคุยถือว่าล้มไปแล้ว ขณะที่บางกระแสก็ยังมองแง่ดีว่าการพูดคุยยังคงมีอยู่ เพียงแต่อยู่ในช่วง "พักยาว" ประเมินกันว่าหากจะมีการพูดคุยกันในช่องทางนี้อีก ก็ต้องรอหลังเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557 แต่นั่นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ต้องเกิดขึ้น และพรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกรอบ โดยระหว่างทางไม่มีการเปลี่ยนตัว พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร บนเก้าอี้เลขาธิการ สมช.ด้วย จะเห็นได้ว่าโอกาสของการพูดคุยกันต่อในช่องทางเดิม แม้จะยังมีอยู่ แต่ก็มีเงื่อนไขประกอบเยอะเหลือเกิน รวมทั้งท่าทีของบีอาร์เอ็น เนื่องจากเพิ่งมีการเผยแพร่แถลงการณ์ที่อ้างมติ "สภาปฏิวัติ" เมื่อช่วงต้นเดือน ธ.ค.ว่าจะไม่มีการส่งตัวแทนร่วมพูดคุยกับรัฐบาลไทยอีก เพราะไทยยังไม่นำข้อเรียกร้อง 5 ข้อเข้าขอคำรับรองจากรัฐสภา อีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ประกาศเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ (ปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบไปแล้ว และนายกฯก็มีสถานะเพียงนายกฯรักษาการ) ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้หลายคนเชื่อว่าโต๊ะพูดคุยที่ริเริ่มอย่างเปิดเผยเป็นทางการเมื่อ 28 ก.พ.2556 นั้น เสมือนหนึ่ง "ล้มไปแล้ว" แต่สิ่งที่สมควรให้ความสนใจมากกว่าก็คือ จะมีการพูดคุยใน "ช่องทาง" อื่นอีกหรือไม่ ความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา คือ บทบาทของกองทัพผ่าน พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ประสานงานชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กองทัพบก ในฐานะเพื่อนนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 12 (ตท.12) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ซึ่งมีประสบการณ์การพูดคุยเจรจาทั้งกับกลุ่มพูโล และโจรจีนคอมมิวนิสต์ (จคม.) โดยเฉพาะกลุ่มหลัง ได้ช่วยมาเลเซียเจรจาจนกระทั่ง จคม.ยอมวางปืน พล.อ.อกนิษฐ์ ออกสื่อบ่อยครั้งในช่วงหลัง (ก่อนยุบสภา) แต่ละครั้งก็ย้ำถามหาความจริงใจของมาเลเซียในการช่วยไทยแก้ไขปัญหาชายแดนใต้ ท่าทีของ พล.อ.อกนิษฐ์ ถูกจับตาจากหลายฝ่ายว่าเป็นการแสดงบทบาทแทน ผบ.ทบ.ที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการพูดคุยแบบเปิดของรัฐบาล ที่เสมือนเป็นการยกระดับบีอาร์เอ็นขึ้นมาเป็นคู่เจรจากับไทยในสถานะเท่า เทียมกันหรือเปล่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พ.ย.2556 จู่ๆ ก็มีความเคลื่อนไหวที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ติดตามปัญหาภาคใต้ คือ การปรากฏกายของ ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมัน อดีตประธานเบอร์ซาตู ขึ้นเวทีปาฐกถา "10 ปีปัญหาภาคใต้" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีหน่วยข่าวทั้งไทย เทศ และผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาภาคใต้ในมิติต่างๆ ไปรอรับฟังกันแน่นห้องประชุม เพราะสถานะของดร.วันกาเดร์ คือผู้ที่เคยพยายามรวบรวมขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บีอาร์เอ็น พูโล บีไอพีพี และจีเอ็มไอพี ให้มาอยู่ใต้ร่มเดียวกัน คือ เบอร์ซาตู เพื่อความเป็นเอกภาพและเพิ่มอำนาจต่อรองกับรัฐบาลไทย แม้แนวทางของ ดร.วันกาเดร์ จะไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นบุคคลที่อยู่ใน "ยุทธจักร" คนหนึ่ง ทัศนะ ของ ดร.วันกาเดร์ ที่ได้แสดงปาฐกถาและให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไทยบางสำนักคือ คู่เจรจาบนโต๊ะพูดคุยสันติภาพที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการอยู่นั้น ยังไม่ใช่ตัวจริง หากแต่ตัวจริงอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ จึงไม่ควรไปให้น้ำหนักกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว อย่างบีอาร์เอ็นในการพูดคุย ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ยังปรากฏภาพ ดร.วันกาเดร์ เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) ถึงที่ทำเนียบรัฐบาล และยังมีการระบุจากผู้รับผิดชอบว่า หลังจากนี้ ดร.วันกาเดร์ จะมาร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางพูดคุยเจรจากับผู้เห็นต่างจากรัฐ หรือกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง และในวันที่ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา ดร.วันกาเดร์ จะไปขึ้นเวทีพูดถึงปัญหาภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา งานนี้จัดโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ทั้งๆที่ ดร.วันกาเดร์ แสดงท่าทีคัดค้านการพูดคุยในช่องทางของรัฐบาล ระหว่างสมช.กับบีอาร์เอ็นกลุ่มนายฮัสซันอย่างชัดเจน นี่คือสาเหตุ ที่นำมาสู่ข้อสังเกตที่ว่า "กองทัพ" หรือ "ทหาร" กำลังรุกคืบเข้ามาเพื่อ "เทคโอเวอร์" กระบวนการพูดคุยเจรจาดับไฟใต้หรือไม่ จากที่เคยให้น้ำหนักกับฝ่ายพลเรือน นำโดย สมช. และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับภาควิชาการและภาคประชาสังคม หากใครได้ฟังทัศนะของ ดร.วันกาเดร์ แบบเต็มๆ ก็จะพอมองเห็นทิศทางของการพูดคุยเจรจาในช่องทางใหม่
////////////////////////////////
|
เจรจาสันติภาพ “กลุ่มป่วนใต้” อาจสะดุด
การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็นกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ ส่อเค้าล่ม หลังจากมีเอกสารคำแถลงอ้างเป็น "สภาปฏิวัติบีอาร์เอ็น" ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยกับรัฐบาลไทยอีกต่อไป เพราะยังไม่ได้นำข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อเสนอรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีไม่ได้ประกาศให้การพูดคุยสันติภาพเป็น"วาระแห่งชาติ"นั้น ถูกมองจากพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่าเป็นความเคลื่อนไหวปกติของกลุ่มผู้เห็นต่าง จากความขัดแย้งแตกแยกกันภายใน
"เราก็รับฟังสิ่งที่เขาพูดหรือออก แถลงการณ์มา แต่ต้องเข้าใจว่านี่เป็นการสื่อสารโดยไม่ผ่านผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูด คุยสันติภาพ คือทางการมาเลเซีย ฉะนั้นถือว่าไม่เข้ากติกา เราจึงไม่หยิบมาพิจารณา แค่รับฟังเท่านั้น เพราะกติกาที่เราตกลงกัน คือต้องสื่อสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก"
เป็นคำกล่าวจากพล.ท.ภราดร ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายรัฐบาลไทย ที่ว่าสถานะของเอกสารคำแถลงการณ์ที่อ้างว่ามาจาก"สภาปฏิวัติบีอาร์เอ็น" ทางการไทยแค่รับรู้ และที่ผ่านมาก็ได้ติดต่อประสานงานกับนายฮัสซัน เรื่องกำหนดวันพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการครั้งต่อไป แต่ยังไม่ตกผลึกว่าจะเป็นวันใด
ก่อนหน้านี้ นายฮัสซัน ได้เผยแพร่คลิปวีดิโอคำแถลงของตนผ่านเว็บไซต์ YouTube เนื้อหาคล้ายกับในแถลงการณ์ คือเรียกร้องให้รัฐบาลไทยนำข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อของบีอาร์เอ็นผ่านมติของรัฐสภา แต่พล.ท.ภราดร บอกว่า สถานะของคลิปวีดีโอก็เหมือนกับเอกสารคำแถลงการณ์ คือถือว่าไม่ใช่ข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการ เพราะไม่ได้สื่อสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก
"ผมคิดว่าจนถึงขณะนี้ทั้ง สองฝ่ายมีความเห็นตรงกัน คือรัฐบาลเองก็เห็นว่าแนวทางการพูดคุยเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจะแก้ไขปัญหาได้ ทางฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐก็เช่นกัน และยืนยันในเรื่องนี้ เพียงแต่มีความไม่ลงตัวกันภายใน ทำให้มีการสื่อสารลักษณะนี้ออกมา"
หากถึงที่สุดแล้วบีอาร์เอ็น ส่งเอกสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก และเรียกร้องตามที่มีแถลงการณ์หรือเผยแพร่คลิปมาก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามหรือนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการเสนอมาตามช่องทางที่ตกลงกัน รัฐบาลก็จะนำมาพิจารณา ซึ่งมีกลไกอยู่แล้ว คือ ศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) คงไม่สามารถนำเสนอรัฐสภาได้ทันที เพราะไม่ใช่เรื่องที่ระดับรัฐบาลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะตัดสินใจได้
เรื่อง นี้พล.ท.ภราดร ระบุว่าการพูดคุยยังเดินหน้าต่อไป อาจจะหยุดชะงักบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ถือเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยที่ย่อมมีการต่อรองหรือมีอะไร ที่ไม่ลงตัวกันบ้างของแต่ละฝ่าย
สำหรับแถลงการณ์ที่อ้างว่าเป็นของ ขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น เนื้อหาเป็นภาษาไทย ความยาว 1 หน้ากระดาษเศษ ระบุว่า การพูดคุยสันติภาพจะไม่เกิดขึ้นหากข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ ที่บีอาร์เอ็นเสนอไม่ได้รับการยอมรับโดยผ่านมติจากรัฐสภาไทย และบีอาร์เอ็นก็จะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพอีก
นอกจากนั้น หากรัฐบาลไทยยังไม่ประกาศให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแถลงการณ์อย่างชัดเจนจากนายกรัฐมนตรี ความพยายามของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ก็จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากทั้งบีอาร์ เอ็น พูโล และ บีไอพีพี รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ
แถลงการณ์ ยังอ้างถึงมติที่ประชุมสภาปฏิวัติของบีอาร์เอ็น ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ YouTube เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2556 คลิปการแถลงของคน 3 คน มีหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้า ถือปืน สวมเสื้อผ้าสีโทนดำและลายพราง ที่ยืนยันจุดยืนว่าการพูดคุยสันติภาพจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อีก หากข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ ยังไม่ได้ถูกเสนอเพื่อผ่านมติของรัฐสภาไทย ฉะนั้นกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับจุดยืนนี้ แม้ดำเนินการภายใต้ชื่อของบีอาร์เอ็น ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการโดยบีอาร์เอ็น
ตอนหนึ่งของ แถลงการณ์ยังอ้างว่า เป้าหมายของบีอาร์เอ็นคือ "ปาตานีเอกราช" และสร้างสันติภาพที่แท้จริง ไม่ใช่สันติภาพภายใต้เงื่อนไขและการยึดครองของจักรวรรดินิยมสยาม แต่การเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการพูดคุยสันติภาพเมื่อ 28 ก.พ.2556 มีการลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ระหว่าง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับ นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น เป็นความจำเป็นทางการเมือง และต่อมาเมื่อ 26 ส.ค.2556 บีอาร์เอ็นจึงเสนอข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ เพื่อผลักดันให้กระบวนการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้นได้ในที่สุด แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลไทย
บีอาร์เอ็น ยังย้ำว่า เป้าหมายของการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ มิใช่เพื่อหวังให้การต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่ออุดมการณ์ปลดปล่อยปาตานียุติลง เท่านั้น ทว่ายังต้องรวมถึงการสร้างสันติภาพที่ประกอบด้วยหลักประกันที่ครอบคลุมรอบ ด้าน เพื่อความมีศักดิ์ศรีและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวปาตานี ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติที่ 1514 (xv) ลงวันที่ 14 ธ.ค. 1960 ว่าด้วย "การให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม"
สำหรับเอกสาร แถลงการณ์ที่อ้างว่าเป็นของบีอาร์เอ็นนั้น ใช้กระดาษที่มีหัวกระดาษเป็นตราสัญลักษณ์บีอาร์เอ็น พร้อมชื่อองค์กรเป็นภาษามาเลย์ ภาษาอังกฤษ และยาวี ส่วนย่อหน้าสุดท้ายเขียนว่า "เอกราช เอกราช เอกราช" แต่ใช้คำลงท้ายว่า "ด้วยความเคารพ" พร้อมลงชื่อ BRN มีตราประทับ แต่ไม่ระบุชื่อบุคคล
อนึ่ง ที่ผ่านมารัฐบาลไทยปฏิเสธที่จะนำ 5 ข้อเรียกร้องของบีอาร์เอ็นเข้าสู่การรับรองของรัฐสภา เพราะเห็นว่ายังไม่ใช่ขั้นตอนที่เหมาะสม โดยรัฐบาลไทยเพียงแต่ทำหนังสือตอบบีอาร์เอ็นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2556 ว่าได้รับข้อเรียกร้อง 5 ข้อไว้พิจารณาแล้ว และจะพูดคุยกันต่อไป ฉะนั้นหากบีอาร์เอ็นยื่นคำขาดว่าจะไม่มีการเจรจาถ้าทางการไทยไม่ส่งข้อเรียก ร้อง 5 ข้อให้รัฐสภาพิจารณารับรอง ก็มีโอกาสสูงที่กระบวนการพูดคุยสันติภาพอาจต้องสะดุดหยุดลง
การข้าม ขั้นตอนโดยให้รัฐสภารับรองจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะการเจรจายังไม่ได้ตกผลึกของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นการเรียกร้องทางฝ่ายบีอาร์เอ็นเป็นการลัดขั้นตอน ต้องการรุกไล่บีบกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งไม่ใช่วีธีการที่ถูกต้อง
ที่มา ฟาตอนีออนไลน์
"เราก็รับฟังสิ่งที่เขาพูดหรือออก แถลงการณ์มา แต่ต้องเข้าใจว่านี่เป็นการสื่อสารโดยไม่ผ่านผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูด คุยสันติภาพ คือทางการมาเลเซีย ฉะนั้นถือว่าไม่เข้ากติกา เราจึงไม่หยิบมาพิจารณา แค่รับฟังเท่านั้น เพราะกติกาที่เราตกลงกัน คือต้องสื่อสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก"
เป็นคำกล่าวจากพล.ท.ภราดร ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายรัฐบาลไทย ที่ว่าสถานะของเอกสารคำแถลงการณ์ที่อ้างว่ามาจาก"สภาปฏิวัติบีอาร์เอ็น" ทางการไทยแค่รับรู้ และที่ผ่านมาก็ได้ติดต่อประสานงานกับนายฮัสซัน เรื่องกำหนดวันพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการครั้งต่อไป แต่ยังไม่ตกผลึกว่าจะเป็นวันใด
ก่อนหน้านี้ นายฮัสซัน ได้เผยแพร่คลิปวีดิโอคำแถลงของตนผ่านเว็บไซต์ YouTube เนื้อหาคล้ายกับในแถลงการณ์ คือเรียกร้องให้รัฐบาลไทยนำข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อของบีอาร์เอ็นผ่านมติของรัฐสภา แต่พล.ท.ภราดร บอกว่า สถานะของคลิปวีดีโอก็เหมือนกับเอกสารคำแถลงการณ์ คือถือว่าไม่ใช่ข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการ เพราะไม่ได้สื่อสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก
"ผมคิดว่าจนถึงขณะนี้ทั้ง สองฝ่ายมีความเห็นตรงกัน คือรัฐบาลเองก็เห็นว่าแนวทางการพูดคุยเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจะแก้ไขปัญหาได้ ทางฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐก็เช่นกัน และยืนยันในเรื่องนี้ เพียงแต่มีความไม่ลงตัวกันภายใน ทำให้มีการสื่อสารลักษณะนี้ออกมา"
หากถึงที่สุดแล้วบีอาร์เอ็น ส่งเอกสารผ่านผู้อำนวยความสะดวก และเรียกร้องตามที่มีแถลงการณ์หรือเผยแพร่คลิปมาก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยจะปฏิบัติตามหรือนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการเสนอมาตามช่องทางที่ตกลงกัน รัฐบาลก็จะนำมาพิจารณา ซึ่งมีกลไกอยู่แล้ว คือ ศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) คงไม่สามารถนำเสนอรัฐสภาได้ทันที เพราะไม่ใช่เรื่องที่ระดับรัฐบาลหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะตัดสินใจได้
เรื่อง นี้พล.ท.ภราดร ระบุว่าการพูดคุยยังเดินหน้าต่อไป อาจจะหยุดชะงักบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ถือเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุยที่ย่อมมีการต่อรองหรือมีอะไร ที่ไม่ลงตัวกันบ้างของแต่ละฝ่าย
สำหรับแถลงการณ์ที่อ้างว่าเป็นของ ขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น เนื้อหาเป็นภาษาไทย ความยาว 1 หน้ากระดาษเศษ ระบุว่า การพูดคุยสันติภาพจะไม่เกิดขึ้นหากข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ ที่บีอาร์เอ็นเสนอไม่ได้รับการยอมรับโดยผ่านมติจากรัฐสภาไทย และบีอาร์เอ็นก็จะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพอีก
นอกจากนั้น หากรัฐบาลไทยยังไม่ประกาศให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีแถลงการณ์อย่างชัดเจนจากนายกรัฐมนตรี ความพยายามของรัฐบาลไทยในเรื่องนี้ก็จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากทั้งบีอาร์ เอ็น พูโล และ บีไอพีพี รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ
แถลงการณ์ ยังอ้างถึงมติที่ประชุมสภาปฏิวัติของบีอาร์เอ็น ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ YouTube เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2556 คลิปการแถลงของคน 3 คน มีหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้า ถือปืน สวมเสื้อผ้าสีโทนดำและลายพราง ที่ยืนยันจุดยืนว่าการพูดคุยสันติภาพจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อีก หากข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ ยังไม่ได้ถูกเสนอเพื่อผ่านมติของรัฐสภาไทย ฉะนั้นกิจกรรมทางการเมืองใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับจุดยืนนี้ แม้ดำเนินการภายใต้ชื่อของบีอาร์เอ็น ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการโดยบีอาร์เอ็น
ตอนหนึ่งของ แถลงการณ์ยังอ้างว่า เป้าหมายของบีอาร์เอ็นคือ "ปาตานีเอกราช" และสร้างสันติภาพที่แท้จริง ไม่ใช่สันติภาพภายใต้เงื่อนไขและการยึดครองของจักรวรรดินิยมสยาม แต่การเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการพูดคุยสันติภาพเมื่อ 28 ก.พ.2556 มีการลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ระหว่าง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับ นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น เป็นความจำเป็นทางการเมือง และต่อมาเมื่อ 26 ส.ค.2556 บีอาร์เอ็นจึงเสนอข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ เพื่อผลักดันให้กระบวนการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้นได้ในที่สุด แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลไทย
บีอาร์เอ็น ยังย้ำว่า เป้าหมายของการพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ มิใช่เพื่อหวังให้การต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่ออุดมการณ์ปลดปล่อยปาตานียุติลง เท่านั้น ทว่ายังต้องรวมถึงการสร้างสันติภาพที่ประกอบด้วยหลักประกันที่ครอบคลุมรอบ ด้าน เพื่อความมีศักดิ์ศรีและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวปาตานี ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติที่ 1514 (xv) ลงวันที่ 14 ธ.ค. 1960 ว่าด้วย "การให้เอกราชแก่ดินแดนอาณานิคม"
สำหรับเอกสาร แถลงการณ์ที่อ้างว่าเป็นของบีอาร์เอ็นนั้น ใช้กระดาษที่มีหัวกระดาษเป็นตราสัญลักษณ์บีอาร์เอ็น พร้อมชื่อองค์กรเป็นภาษามาเลย์ ภาษาอังกฤษ และยาวี ส่วนย่อหน้าสุดท้ายเขียนว่า "เอกราช เอกราช เอกราช" แต่ใช้คำลงท้ายว่า "ด้วยความเคารพ" พร้อมลงชื่อ BRN มีตราประทับ แต่ไม่ระบุชื่อบุคคล
อนึ่ง ที่ผ่านมารัฐบาลไทยปฏิเสธที่จะนำ 5 ข้อเรียกร้องของบีอาร์เอ็นเข้าสู่การรับรองของรัฐสภา เพราะเห็นว่ายังไม่ใช่ขั้นตอนที่เหมาะสม โดยรัฐบาลไทยเพียงแต่ทำหนังสือตอบบีอาร์เอ็นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2556 ว่าได้รับข้อเรียกร้อง 5 ข้อไว้พิจารณาแล้ว และจะพูดคุยกันต่อไป ฉะนั้นหากบีอาร์เอ็นยื่นคำขาดว่าจะไม่มีการเจรจาถ้าทางการไทยไม่ส่งข้อเรียก ร้อง 5 ข้อให้รัฐสภาพิจารณารับรอง ก็มีโอกาสสูงที่กระบวนการพูดคุยสันติภาพอาจต้องสะดุดหยุดลง
การข้าม ขั้นตอนโดยให้รัฐสภารับรองจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะการเจรจายังไม่ได้ตกผลึกของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นการเรียกร้องทางฝ่ายบีอาร์เอ็นเป็นการลัดขั้นตอน ต้องการรุกไล่บีบกระบวนการเจรจาสันติภาพ ซึ่งไม่ใช่วีธีการที่ถูกต้อง
//////////////////////////////////
เจรจาดับไฟใต้ส่อวุ่น – ขวาง ”กัสตูรี” ร่วมวง อดีตประธานพูโลจ่อพักโทษ-พ้นคุก
อนาคตของการพูดคุยสันติภาพระหว่าง ตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็นกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะกำหนดกรอบเวลาคร่าวๆ ในการนัดพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้งที่ 4 ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.นี้แล้วก็ตาม
เมื่อวันพุธที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา มีข่าวว่า ดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาซิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ทำเนียบรัฐบาล และได้หารือร่วมกับพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รวมทั้ง พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะแกนนำในคณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทย ถึงกำหนดนัดการพูดคุยครั้งต่อไปซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราวๆ ต้นเดือน ธ.ค. เลื่อนจากกำหนดเดิมคือสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ต.ค.ออกไปนานพอสมควร
ในการหารือดังกล่าว ดาโต๊ะซัมซามิน ยังแจ้งว่าจะมีตัวแทนจากองค์การพูโลและขบวนการบีไอพีพี เข้าร่วมการพูดคุยครั้งต่อไปด้วย โดย พล.ท.ภราดร ระบุว่าจะมีที่นั่งสำหรับองค์การพูโล 2 ที่นั่ง และบีไอพีพี 1 ที่นั่ง
อย่างไรก็ดี ล่าสุดมีข่าวจากกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐว่า การจัดสรรที่นั่งในส่วนขององค์การพูโลยังไม่ลงตัว เนื่องจากพูโลแตกออกเป็นหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโต๊ะพูดคุยอยู่แล้วตั้งแต่ครั้งแรกๆ คือ ”พูโลเก่า” นำโดยนายลุกมัน บิน ลิมา ขณะที่พูโลใหม่หนึ่งในสองกลุ่มที่แยกตัวออกไปจากกลุ่มเก่า นำโดย นายกัสตูรี มาห์โกตา อ้างกับคณะผู้สื่อข่าวท้องถิ่นชายแดนใต้ในการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า เขาได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพกับรัฐบาลไทย และมีแนวโน้มว่าเขาจะเข้าร่วมวงพูดคุยด้วยตนเอง
ท่าทีของนายกัสตูรี ไม่ได้รับการยอมรับจากแกนนำกลุ่มพูโลเก่า โดยมีข่าวว่าทางกลุ่มจะมีการหารือเพื่อประกาศท่าทีในเรื่องนี้เร็วๆ นี้
มีข่าวว่าการดึงนายกัสตูรีเข้าร่วมโต๊ะพูดคุย เป็นความต้องการของทางการไทยผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาใน พื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งมีการส่งคณะเดินทางไปพบปะกับแกนนำกลุ่มพูโลใหม่รายนี้ถึงประเทศสวีเดน ขณะที่พูโล่ใหม่อีกกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ นายซัมซูดิน คาน ยังคงสงวนท่าที
มีรายงานว่า กลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ และบางส่วนแสดงตัวเป็น ”กลุ่มเคลื่อนไหวต่อสู้กับรัฐไทย” หรือที่เรียกเป็นภาษามลายูว่า ”จูแว” ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ได้เปิดเฟซบุ๊คชื่อ Patani Voice n Opinion เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นเกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น ตลอดจนกลุ่มอื่นๆ ที่อาจเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยด้วย
ขณะเดียวกันมีข่าวจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ว่า ทาง ศอ.บต.และกรมราชทัณฑ์ ได้ร่วมกันดำเนินการเรื่อง ”พักการลงโทษ” ให้กับนักโทษเด็ดขาดในคดีความมั่นคงจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ เพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ โดยนักโทษที่เข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษเป็นรายแรกและมีข่าวว่าจะได้รับการ ปล่อยตัวในเร็วๆ นี้ คือ นักโทษชาย บาบอแมบือโด เบตง อายุ 74 ปี อดีตประธานขบวนการพูโล ซึ่งถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตในคดีกบฏแบ่งแยกราชอาณาจักร เมื่อปลายปี 2554
สำหรับหลักเกณฑ์การพักการลงโทษ เป็นไปตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ โดยการพักการลงโทษ หมายถึง การปลดปล่อยออกไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไขคุมประพฤติ ที่กำหนด อย่างไรก็ดี การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่ทางราชการให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
ทั้งนี้ อายุของผู้ต้องขังก็เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขของการพักการลงโทษ โดยหากผู้ต้องขังมีอายุเกินกว่า 70 ปี หรือมีอาการป่วยเรื้อรัง ก็อยู่ในเกณฑ์ได้รับการพิจารณา
สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ เป็นนักโทษเด็ดขาด (ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว) หากเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 3 ถ้าเป็นนักโทษชั้นดีมาก ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 4 หากเป้นนักโทษชั้นดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 5
ช่วงระหว่างการคุมประพฤติ จะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยมที่บ้านของผู้ที่ ได้รับการปล่อยตัว เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ผู้ถูกคุมประพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อที่กำหนดไว้ หากประพฤติผิดเงื่อนไขจะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิม และจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย
เงื่อนไข 8 ข้อ ได้แก่ 1.จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับเรือนจำ 2.ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก 4.ประกอบอาชีพโดยสุจริต 5.ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา 6.ห้ามพกพาอาวุธ 7.ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไม่ใช่ญาติ 8.ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
สำหรับปี 2556 นี้ มีผู้ต้องขังทั่วประเทศกว่า 1,000 คนที่เข้าข่ายได้รับการพักการลงโทษ และบางรายได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว เช่น นายชลอ เกิดเทศ หรืออดีต พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ ซึ่งถูกคุมขังในคดีสังหารสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ อันเป็นคดีสืบเนื่องจากคดีเพชรซาอุฯ
ส่วนผู้ต้องขังคดีความมั่นคงในปีนี้มีเพียงคนเดียวที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ บาบอแมบือโด เบตง โดยก่อนหน้านี้ ศอ.บต.และกรมราชทัณฑ์ ได้ร่วมการดำเนินการย้ายนักโทษเด็ดขาดคดีความมั่นคงกลับไปคุมขังยังเรือนจำ ตามภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อให้ครอบครัว ญาติพี่น้องสามารถเดินทางไปเยี่ยมได้อย่างสะดวก ลดค่าใช้จ่าย โดยนักโทษเด็ดขาดชุดแรกเฉพาะคดีความมั่นคงจำนวน 2 รายที่ได้ย้ายกลับเรือนจำตามภูมิลำเนาของตน คือนักโทษชาย สะมะแอ สะอะ หรือ หะยีสะมะแอ ท่าน้ำ หรือ นายอิสมาแอล กัดดาฟี อายุ 61 ปี หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธขบวนการพูโล กับ นักโทษชาย บาบอแมบือโด เบตง ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งคู่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวางและเรือนจำกลางสงขลาตามลำดับ
/////////////////////////////////////////////////
เลขาฯสมช.เผย ถกรอบ 5 มีหัวข้อ “เขตปกครองพิเศษ” คาดแนวโน้มปี 57 ก่อเหตุรุนแรงลดลง
“เลขาฯ สมช.” ย้ำ ให้บีอาร์เอ็นเปิดทางทุกกลุ่มสู่โต๊ะเจรจาสันติภาพ เชื่อรอบ 5 เกิดขึ้นได้ในช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ พร้อมเผยประเด็นร้อน ข้อเสนอที่ 4 ของกลุ่มเคลื่อนไหวสนใจ “เขตปกครองพิเศษ” ระบุข่าวดีปีใหม่ 2557 เชื่อการก่อเหตุรุนแรงมีแนวโน้มลดลง
ในงานสัมมนาเรื่องการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดโดยสโมสรซูรอ ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ ย่านรามคำแหง พล.ท.ภราดร พัฒนาถาบุตร เลขาธิการสมช.เปิดเผยกับ "พับลิกโพสต์" ถึงแนวทางการเจรจาสันติภาพในรอบ 5 ที่จะเกิดราวสัปดาห์ที่ 3 -4 ของเดือนนี้ (พ.ย.) ว่า "เบื้องต้นจะยังคงยืนยันการเจรจาในเงื่อนไข 5 ข้อที่พูดคุยกันไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยทางสมช.จะยึดหลักนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลเป็นสำคัญโดยยังมีเงื่อนไขเดิมคือต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของไทย และไม่มีการแบ่งแยกดินแดนเด็ดขาด และจะไม่ปิดกั้นกับการเปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆ เข้าร่วมโต๊ะเจรจาโดยจุดเริ่มต้นเปิดโอกาสให้ทางบีอาร์เอ็นเป็นผู้ประสานไป ”
“โดยในการเจรจารอบนี้จะมีการหารือกันในประเด็นข้อที่ 4 ของการเจรจารอบใหม่เกี่ยวกับแนวคิดของเขตปกครองพิเศษที่ทางบีอาร์เอ็นเสนอมา โดยเบื้องต้น ทางสมช.คงไม่มีอำนาจที่จะตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่คงจะหารือกันถึงและแนวทางร่วมกันว่าจะสามารถนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้ไปพิจารณา โดยเรื่องของเขตปกครองพิเศษจะเป็นหัวข้อสำคัญบนโต๊ะเจรจาสันติภาพรอบใหม่ที่คงจะเป็นเพียงการพูดคุยกันถึงกรอบและความเป็นได้เท่านั้น แต่ในรายละเอียดคงเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา”
นอกจากนี้พล.ท.ภราดร ยังคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในพื้นที่ในปี 2557 ที่จะมาถึง โดยระบุว่า แนวโน้มสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ หลังเปิดให้มีการเจรจา แต่ยอมรับว่ายังคงมีการก่อเหตุในพื้นที่บ้างซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เชื่อว่าเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ในพื้นที่จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2557 ที่กำลังจะมาถึงนี้
อนึ่ง ข้อเสนอ 5 ข้อของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (BRN) คือ
1.การเจรจาสันติภาพครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างตัวแทนนักต่อสู้ปาตานีที่นำโดย BRN กับรัฐบาลไทย
2. BRN เห็นด้วยที่จะแต่งตั้งรัฐบาลมาเลเซียเป็นคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งมีส่วนรวมโดยตรงในการเจรจา
3. ตลอดช่วงการเจรจาต้องมีตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน องค์กรโอไอซี และองค์กรเอ็นจีโอต่างๆ เป็นพยาน
4.รัฐบาลไทยจำเป็นต้องยอมรับว่าชาว (เชื้อสาย) มลายูปาตานีมีสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนปาตานี
5. BRN เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยผู้ที่ถูกควบคุมตัว (นักโทษทางการเมือง/ผู้ต้องสงสัย)
///////////////////////////////////
ตั้ง "สนง.อัยการพิเศษ" สั่งคดีไฟใต้... 9 ปีตากใบรัฐทุ่มงบสร้างสะพาน
อัยการตั้งสำนักงานพิเศษรับผิดชอบคดีไฟใต้ ทั้งก่อการร้าย วินาศกรรม ความมั่นคง หวังแก้ปัญหาฟ้องซ้ำซ้อน สั่งคดีไม่เป็นเอกภาพ หรือฟ้องไปก่อนเพื่อลดแรงกดดัน ขณะที่นราธิวาสทุ่มงบ 30 ล้านสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแห่งใหม่ที่ตากใบ พร้อมปรับภูมิทัศน์ใหม่เป็นตลาดน้ำ-ถนนคนเดิน ด้านนักศึกษาปาตานีจัดเวที 9 ปีตากใบจี้รัฐหาคนผิด
วันศุกร์ที่ 25 ต.ค.2556 เป็นวันครบรอบ 9 ปีของเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส และเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมกว่า 1 พันคนไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 85 ราย เหตุการณ์ดังกล่าวแม้ยังไม่ผ่านกระบวนการทางศาลจนถึงที่สุดเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญ ทว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมมากพอสมควร
ในส่วนของอัยการซึ่งถูกตั้งคำถามอย่างมากจากคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของอัยการสูงสุดในคดีอาญาที่มีการเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมมากถึง 85 รายนั้น ล่าสุดได้มีการปรับโครงสร้างของสำนักงานอัยการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ โดยเปิดสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 9 เพื่อรับผิดชอบคดีความมั่นคง ก่อการร้าย คดีก่อวินาศกรรม และคดีตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการเฉพาะ
สำนักงานใหม่ตั้งอยู่ที่ จ.ปัตตานี เพิ่งเริ่มงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยคดีความมั่นคงทุกคดีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา จะถูกส่งมายังสำนักงานอัยการพิเศษฯแห่งนี้ โดยจะมีอำนาจสั่งคดีในฐานความผิดดังกล่าวแทนอัยการจังหวัด
แก้ปัญหาฟ้องซ้ำ-สั่งคดีไม่เป็นเอกภาพ
นายโสภณ ทิพย์บำรุง อดีตอัยการจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดูแลสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 9 ที่ตั้งขึ้นใหม่ กล่าวว่า จุดประสงค์สำคัญของการตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฯ ก็เพื่อป้องกันการฟ้องซ้ำซ้อน ซึ่งที่ผ่านมาเกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้ง เช่น คดีอั้งยี่ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท) ฟ้องที่ จ.ปัตตานี แล้วพบว่าผู้ต้องหารายเดียวกันกระทำความผิดอีกใน จ.ยะลา ก็ฟ้องคดีอั้งยี่กับผู้ต้องหาคนเดิมที่ จ.ยะลาด้วย ทั้งๆ ที่ความผิดฐานนี้ดำเนินคดีซ้ำกันไม่ได้ จะถือเป็นการฟ้องซ้อนทันที เนื่องจากการเป็นสมาชิกองค์กรปิดลับเพื่อกระทำความผิดที่เรียกว่า "อั้งยี่" เมื่อเข้าเป็นสมาชิกแล้วก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ และเป็นไปตลอดจนกว่าการกระทำจะสิ้นสุด
"ตำรวจเขาทำงานยึดท้องที่เป็นหลัก ก็จะเกิดปัญหาลักษณะนี้ได้ ฉะนั้นอัยการจึงต้องนำข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน เพื่อพิจารณาให้ถูกต้องและเป็นธรรมมากที่สุด"
นายโสภณ กล่าวต่อว่า การตั้งสำนักงานอัยการพิเศษฯ จะช่วยให้การสั่งคดีเกี่ยวกับความผิดฐานก่อการร้ายเป็นเอกภาพมากขึ้น เนื่องจากการสั่งคดีและมุมมองทางกฎหมายเป็นเรื่องความเห็น อัยการจังหวัดนราธิวาสเห็นอย่างหนึ่ง อัยการจังหวัดปัตตานีอาจจะเห็นอีกอย่างหนึ่ง อาจทำให้สับสนได้ การดึงคดีมาอยู่ที่สำนักงานเดียว จะช่วยให้มีความเป็นเอกภาพในการสั่งคดีมากขึ้น
นอกจากนั้น ต้องยอมรับว่าคดีก่อการร้ายมีแรงกดดันจากหลายหน่วยงาน อัยการจังหวัดที่แบกรับแรงกดดันไม่ไหวก็อาจจะใช้วิธีฟ้องคดีไปก่อน ทั้งที่ตามนโยบายของอัยการสูงสุดต้องพิจารณาที่หลักฐานเป็นสำคัญ หากหลักฐานไม่พอฟ้องต้องสั่งไม่ฟ้อง เพราะคดีมีอัตราโทษสูง ฟ้องไปจำเลยก็ต้องติดคุก เนื่องจากไม่ได้รับการประกันตัว ฉะนั้นการส่งสำนวนให้สำนักงานอัยการพิเศษฯ สั่งคดีแทน น่าจะมีความเหมาะสมกว่า
ทุ่มงบ 30 ล้านสร้างสะพานใหม่ตากใบ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมแล้ว ในปีนี้จังหวัดนราธิวาสยังมีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่ อ.ตากใบ พร้อมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอด้วย
สะพานดังกล่าวเดิมมีอยู่แล้ว แต่เป็นสะพานไม้ ข้ามจากฝั่งตลาดใกล้ๆ สภ.ตากใบ ไปยังเกาะยาว ชาวบ้านเรียกว่า "สะพานรอคอยร้อยปี" หรือ "สะพานเกาะยาว" ที่ผ่านมาทางจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณปี 2556 เป็นเงิน 16 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสะพานใหม่ เป็นสะพานคอนกรีต แต่ข้ามได้เฉพาะจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือเดินเท้าเหมือนสะพานไม้
ขณะเดียวกันก็จะมีงบอีก 11 ล้านบาทสำหรับปรับภูมิทัศน์รอบๆ เพื่อทำเป็นถนนคนเดิน โดยจะพัฒนาพื้นที่ไปจนถึงหน้าวัดชลธาราสิงเห หรือวัดพิทักษ์แผ่นดินไทย ตั้่งอยู่หมู่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอด้วย เนื่องจากเป็นวัดไทยที่ใช้เป็นหลักฐานยืนยันกับอังกฤษว่าจุดนี้เป็นผืนแผ่นดินไทย จนทำให้นราธิวาสได้อยู่ในเขตไทยในยุคล่าอาณานิคม
นอกจากนั้นในปีงบประมาณ 2557 ได้ตั้งงบเพิ่มอีก 3.8 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อเรือ และสร้างห้องน้ำ เพราะตามแผนของทางจังหวัดจะสร้างตลาดน้ำขึ้นในบริเวณดังกล่าวด้วย โดยพิธีเปิดสะพานใหม่จะมีขึ้นช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้ อาจเป็นคืนเคาท์ดาวน์ (นับถอยหลังสู่ปีใหม่) และจัดงานรื่นเริงจนถึงเช้าเพื่อร่วมกันดูพระอาทิตย์ขึ้นในวันใหม่ของปี 2557
นศ.ชายแดนใต้จัดเวที 9 ปีตากใบจี้รัฐหาคนผิด
วันครบรอบ 9 ปีตากใบปีนี้ค่อนข้างเงียบเหงา มีการจัดกิจกรรมค่อนข้างน้อย มีเพียงสหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี หรือ PERMAS เท่านั้นที่จัดเสวนาในประเด็น "ไร้ซึ่งสันติภาพ ตราบใดที่เสรีภาพและความเป็นธรรมยังไม่เห็น" โดยมีนิสิต นักศึกษา และเยาวชนจากหลายสถาบันรวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับฟังจนเต็มห้องโถงชั้นล่างของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี
นายตูแวตานียา ตูแวแมแง ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพ (LEMPAR) กล่าวว่า ประชาชนในสามจังหวัดเจ็บปวดมาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ตากใบ เรื่องร้ายๆ เกิดมาตั้งแต่ก่อนปี 2547 เรื่องของประชาธิปไตยและนโยบายทางการเมืองของรัฐเป็นความปวดร้าวของพี่น้องมาจนทุกวันนี้ เยาวชนในพื้นที่ได้มีบทเรียนและได้เรียนรู้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อร่วมมือกันในหนทางที่ถูกต้อง รัฐยังไม่ทำให้เกิดความจริงและความยุติธรรม ปัญหายังไม่ได้รับการคลี่คลาย เราต้องการความยุติธรรมและความจริงใจจากรัฐบาล
ขณะที่ นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก ที่ปรึกษา PERMAS บอกว่า สาเหตุที่ไม่มีต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้เพราะต่างประเทศคิดว่ารัฐบาลได้ตกลงและพูดคุยกับประชาชนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่รู้ความจริงว่าชาวบ้านในพื้นที่ยังคงค้างคาใจ
"ในด้านคดีแพ่งได้จบลงไปแล้ว เหลือแต่คดีอาญาที่ศาลมีคำสั่งในสำนวนชันสูตรพลิกศพว่าผู้ที่เสียชีวิตในวันนั้นมาจากการขาดอากาศหายใจ ซึ่งต้องมีคนรับผิด จนถึงวันนี้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่อยากรื้อฟื้นแล้ว แต่การจัดกิจกรรมในวันครบรอบก็เพื่อให้คนที่อัดอั้นตันใจ อยากระบาย ได้พูดคุยเปิดใจกันเพื่อร่วมกันรับรู้ถึงความรู้สึกของพี่น้องร่วมชะตากรรม"
เยียวยาด้วย "เงิน" ไม่เพียงพอ
น.ส.วรพรรณ กูนา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ที่ไปร่วมรับฟังการเสวนา กล่าวว่า ตอนเกิดเหตุการณ์ตากใบเธอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ยังไม่รู้เรื่องอะไรมาก ได้แต่ดูตามข่าวว่ามีคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้เกือบร้อยคน กระทั่งโตขึ้นเรื่องนี้ก็ยังติดอยู่ในความคิด
"จนเข้ามาเรียนใน ม.อ.ปัตตานี ได้รับทราบเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งจากผู้ประสบเหตุในวันนั้นและผู้ได้รับผลกระทบ จึงยิ่งมองเห็นความไม่เป็นธรรมที่รัฐกระทำต่อชาวบ้านในพื้นที่ และเมื่อมีการเยียวยาด้วยเงิน คิดว่ายังไม่พอกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือชีวิตปกติสุขเหมือนเดิม"
ออกแถลงการณ์ขอ ตปท.ร่วมพิสูจน์ความจริง
โอกาสนี้ สหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี ออกแถลงการณ์เรื่อง รำลึก 9 ปีตากใบ บทเรียนเพื่อยุติสงคราม โดยเรียกร้องให้ "คู่สงคราม" ซึ่งทางสหพันธ์ฯหมายถึงรัฐไทยกับบีอาร์เอ็น กระทำการสงครามภายใต้กฎระเบียบกติกาที่เป็นสากล (Geneva Conventions)
นอกจากนั้น ยังขอให้มีการตรวจสอบเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อพลเรือนที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงคราม โดยให้องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพและสิทธิมนุษยชนสากล และรัฐมาเลเซียซึ่งปัจจุบันมีฐานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในทางนิตินัยและมีฐานะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในทางพฤตินัยต่อกระบวนการพุดคุยสันติภาพปาตานี ได้แสดงบทบาทในการพิสูจน์ความจริงและผลักดันนำไปสู่การดำเนินการลงโทษต่อผู้กระทำผิดตามกระบวนการที่เป็นสากลต่อไป โดยเริ่มที่เหตุการณ์ตากใบเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อยุติวงจรวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งเรียกร้องให้คู่สงครามและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพให้ความสำคัญกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของชะตากรรมในครั้งนี้ มีสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเองตามหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยสากล (right to self-determination)
////////////////////////////////////////////////////////
สิ้นชื่อ! “เปเล่ดำ” แกนนำ RKK และพวกถูกวิสามัญในเหตุปะทะที่รือเสาะ ดับคาที่ 4 นราธิวาส – “เปเล่ดำ” ถูกวิสามัญพร้อมสมาชิก RKK ดับคาที่ 4 ราย ขณะปะทะกับเจ้าหน้าที่ใน อ.รือเสาะ รวบตัวอีก 7 เค้นสอบ ส่วนเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย เจ็บเล็กน้อยอีก 1 เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (5 ต.ค.) พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบช.ศชต. หน.ชุดสืบสวนคดีสำคัญ ศชต. พ.ต.อ.อโณทัย จินดามณี ผกก.สภ.รือเสาะ พ.ท.สฐิรพงษ์ อาจหาญ ผบ.ฉก.นราธิวาส 30 พ.อ.คมกฤช รัตนฉายา ผบ.กรมทหารพรานที่ 41 ร่วมสนธิกำลังกว่า 50 นาย ใช้กฎอัยการศึกปิดล้อมตรวจค้นบ้านพักต้องสงสัยในหมู่บ้านสะแนะ หมู่ 1 ต.เรียง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังสืบทราบว่า กองกำลังติดอาวุธกลุ่มนายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ ฉายา “เปเล่ดำ” แกนนำ RKK ผู้ต้องหาในคดีความมั่นคง และยังตกเป็นผู้ต้องสงสัยนำกำลังก่อเหตุลอบวางระเบิดและยิงถล่มเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด นปพ.ภ.จ.นราธิวาส เหตุเกิดบนถนนสายทางลัดบนเทือกเขายือราแป บ้านบลูกาสนอ ม.4 ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา พร้อมพวกหลบซ่อนตัวอยู่ในหมู่บ้านเพื่อเตรียมประชุมก่อเหตุ เมื่อถึงพื้นที่เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังกันโอบล้อม และเข้าตรวจค้น แต่ไม่พบสิ่งผิดปกติ จนกระทั่งถึงบ้านพักไม่มีเลขที่ เมื่อกองกำลังติดอาวุธ RKK ที่อยู่ในบ้านพักเห็นเจ้าหน้าที่ก็ได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่เจ้าหน้าที่จนเปิดฉากปะทะกันเป็นระลอกๆ นานกว่า 15 นาที สิ้นเสียงปืน พบเจ้าหน้าที่ถูกกระสุนปืนของคนร้ายเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย ทราบชื่อผู้เสียชีวิตคือ พ.ต.ท.อติพัฒน์ สุพรรณวิวัฒน์ สว.กก.สส.ศชต. หรือ “สารวัตรโส” นรต.รุ่น 55 และ จ.ส.ต.วิชิต อดทน ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 1 นาย คือ ส.ต.อ.โยธิน จันทรเดช ถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้คนร้ายที่อยู่ในบ้านพักออกมามอบตัว กองกำลังติด อาวุธ RKK จำนวน 7 คน จึงยอมเดินออกจากบ้านมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ และจากการตรวจสอบภายในบ้านพัก พบร่องรอยถูกกระสุนปืนจนเป็นรูพรุนไปทั้งหลัง และที่บริเวณห้องโถงชั้น 2 พบศพคนร้ายนอนจมกองเลือดอยู่จำนวน 2 ศพ ทราบชื่อคือ นายอับดุลรอฮิง ดาอีซอ หรือ “เปเล่ดำ” และนายมะสุเพียน สาและ ใกล้กับศพพบอาวุธปืนพกขนาด 11 มม. และ 9 มม. รวม 2 กระบอก พร้อมกระสุนปืนกว่า 100 นัด และอุปกรณ์ในการประกอบระเบิดจำนวนหนึ่งตกอยู่ เจ้าหน้าที่จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน และที่บริเวณระเบียงชั้น 2 พบศพคนร้ายอีก 1 ราย ทราบชื่อคือ นายอุสมาน เด็งสาแม นอกจากนี้ ภายในสวนยางหลังบ้านพักเจ้าหน้าที่พบศพคนร้ายอีก 1 คน ทราบชื่อคือ นายซุนกิฟรี แมแล พร้อมอาวุธปืนสงครามอาก้า อีก 1 กระบอก จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน และนำศพผู้เสียชีวิตส่งโรงพยาบาลรือเสาะ เพื่อให้แพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพอย่างละเอียด ส่วนผู้ที่ยอมมอบตัวทั้ง 7 ราย ได้แก่ 1.นายมะนูรดิน เฮงตาแกะ 2.นายมะรอกิ มะนุ 3.นายรุสมาน มาแน 4.นายรูฟิอิง มะลี 5.นายปรีชา เจ๊ะแม 6.นายสือมาน บาเฮง 7.นายบัสซอรี ตันหยงอูตง |
///////////////////////////////////////
ทหารพรานเล่านาทีถูกยิงถล่ม-เพื่อนดับ 3
"พวกคนร้ายมาเร็วมาก จอดรถแล้วก็ยิงเพื่อนเสียชีวิตไปก่อน 3 นาย ผมก็เลยวิ่งไปเอาปืนยิงโต้แล้วหาที่หมอบ จากนั้นก็ยิงปะทะกันจนกระสุนผมหมดไปหนึ่งแม็ก คนร้ายรีบขึ้นรถขับถอยไป ผมยิงถูกคนร้ายน่าจะไม่ต่ำกว่า 1 คน"
เป็นปากคำของ อาสาสมัครทหารพราน (อส.ทพ.) อนิวัฒน์ จันทร์มล สังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 2208 (ร้อย ทพ.2208) หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 ขณะนอนพักรักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลปัตตานี ภายหลังย้ายจากโรงพยาบาลยะรัง เขาเล่าให้ฟังถึงนาทีหฤโหด คนร้าย 5-6 รายใช้อาวุธสงครามกระหน่ำยิงเพื่อนทหารพรานของเขาขณะกำลังช่วยกันก่อสร้างห้องน้ำให้กับมัสยิดบ้านกอตอรานอ ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยเขาเป็นเพียงหนึ่งเดียวที่รอดชีวิตมาได้
เหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 11.20 น.วันพฤหัสบดีที่ 12 ก.ย.2556 อส.ทพ.อนิวัฒน์ บอกว่า งานก่อสร้างห้องน้ำให้กับมัสยิดถือเป็นภารกิจหลักของหน่วยในด้านงานมวลชนสัมพันธ์ ก่อนเกิดเหตุเขากับเพื่อนๆ รวม 4 นายกำลังช่วยกันทำงาน ส่วนใหญ่เป็นงานก่ออิฐฉาบปูน โดยเขารับหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับเพื่อน
จู่ๆ ก็มีรถกระบะสีดำขับมาจอดใกล้ๆ คนบนรถมีประมาณ 6 คนพร้อมอาวุธสงครามครบมือ จากนั้นคนร้ายที่นั่งในกระบะหลัง 3 คนได้ยืนขึ้นแล้วใช้ปืนกราดยิงใส่เพื่อนของเขาแบบกระชันชิด ทำให้เสียชีวิตทันทีทั้ง 3 นาย
"ส่วนผมได้กระโดดหลบกระสุน แล้วใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับคนร้าย" อส.ทพ.อนิวัฒน์ เล่าถึงนาทีระทึก
ทหารพรานใจเด็ด เล่าต่อว่า ห้องน้ำมัสยิดบ้านกอตอรานอนี้ สร้างมาแล้วหลายวัน อีก 2 วันก็จะครบสัปดาห์ และใกล้เสร็จเต็มที
"ปกติทุกๆ วันจะมีชาวบ้านมาช่วยตลอด แต่วันนี้ชาวบ้านมาไม่ถึง 5 นาทีแล้วก็ไป ผมก็เลยไม่ได้สังเกต พวกคนร้ายมาเร็วมาก จอดรถแล้วก็ยิงเพื่อนผมเสียชีวิตไปก่อน 3 นาย ผมก็เลยวิ่งไปเอาปืนยิงโต้ แล้วหาที่หมอบ จากนั้นก็ยิงปะทะจนกระสุนผมหมดไปหนึ่งแม็ก คนร้ายรีบขึ้นรถขับถอยไป คนร้ายน่าจะมีประมาณ 6 คน ผมยิงถูกคนร้ายน่าจะไม่ต่ำกว่า 1 คน"
"แม้ผมจะรอดชีวิตมาได้ แต่ก็รู้สึกสงสารเพื่อนๆ ที่ต้องเสียชีวิต บางคนกำลังจะแต่งงาน แต่ต้องมาเสียชีวิตไปก่อน" อส.ทพ.อนิวัฒน์ บอก
สำหรับทหารพรานที่เสียชีวิตทั้ง 3 นาย ได้แก่ ส.ท.ชุติมันต์ การฟุ้ง อายุ 35 ปี ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 7 ต.ดอนจาน กิ่งอำเภอดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ อส.ทพ.รินทร์ดา แก้วหอม อายุ 24 ปี อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ 3 ต.บ้านจารย์ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ และ อส.ทพ.ฉัตรชัย จิตหนักแน่น อายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38 หมู่ 1 ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์
///////////////////////////////////////////
จับคนไทยฯสงสัยโยง"พูโลใหม่" สมช.นัดถก BRN
เลขาฯสมช.แย้มจับ 3 คนไทยพร้อมอาวุธสงครามล็อตใหญ่ในรัฐเคดาห์ มาเลเซีย โยงกลุ่มพูโลใหม่ เผยเคยปฏิบัติการรุนแรงช่วงหยุดยิงรอมฎอน ระบุบีอาร์เอ็นส่งเอกสารคำอธิบาย 5 ข้อเรียกร้องมาแล้ว เป็นภาษาอังกฤษยาว 30 หน้า อ้างอยู่ใต้รัฐธรรมนูญไทย พร้อมนัดคุยรอบใหม่เร็วๆ นี้ ดึง "บีไอพีพี-พูโลอีก 2 กลุ่ม" ร่วมวง ฝ่ายทหาร ชี้ พูโลบางปีกตั้งกองกำลัง PLA สร้างสถานการณ์ต่อรองร่วมโต๊ะเจรจา
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยืนยันกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียสามารถจับกุมบุคคลสัญชาติไทยพร้อมอาวุธสงครามล็อตใหญ่ได้ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์ หนึ่งใน 4 รัฐทางตอนเหนือของมาเลเซียที่มีอาณาเขตติดต่อกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยจริง พร้อมระบุว่าบุคคลดังกล่าวน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "กลุ่มพูโลใหม่" ที่เคลื่อนไหวก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในระยะหลัง โดยเฉพาะช่วงที่มีการพูดคุยสันติภาพกับบีอาร์เอ็นกลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ
"เจ้าหน้าที่มาเลเซียจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 4 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 3 คน ขณะนี้ตำรวจสันติบาลของไทยกับสันติบาลมาเลเซียกำลังร่วมกันสืบสวนสอบสวนอยู่ รายงานในชั้นต้นระบุว่าคนไทยกลุ่มนี้อาจเป็นบุคคลสองสัญชาติ ช่วงที่ผ่านมาทางการมาเลเซียร่วมมือกับเราดีมาก เข้มงวดกับคนที่ครอบครองอาวุธหรือกระทำผิดในพื้นที่ของมาเลเซีย หรือข้ามแดนไปยังพื้นที่ของเขา ก็มีการจับกุมทั้งหมด" เลขาธิการ สมช.ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมาฝ่ายความมั่นคงไทยบางหน่วยมีการพูดถึง "กลุ่มพูโลใหม่" มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลที่ถูกจับกุมในครั้งนี้หรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า จากข้อมูลข่าวสารในชั้นต้นก็มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะในห้วงเวลาที่มีข้อตกลงหยุดยิง หรือลดเหตุรุนแรงร่วมกัน 40 วันช่วงเดือนรอมฎอนของทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นนั้น ทางฝ่ายบีอาร์เอ็นก็แจ้งข้อมูลมาว่า ปฏิบัติการความรุนแรงบางเหตุการณ์ไม่ใช่ฝีมือของพวกเขา แต่เป็นฝีมือของกลุ่มพูโลใหม่ ซึ่งหลังจากที่มีการนัดพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้งต่อไปคงจะได้สอบถามกัน
คาดนัดคุยบีอาร์เอ็นรอบใหม่เร็วๆ นี้
ทั้งนี้ พล.ท.ภราดร ยังกล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการพูดคุยสันติภาพกับบีอาร์เอ็นกลุ่มนายฮัสซัน ตอยิบ ว่า ล่าสุดเพิ่งมีการประสานงานผ่านผู้อำนวยความสะดวก คือทางการมาเลเซีย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 ก.ย.) ว่าจะเดินหน้าพูดคุยต่อไป โดยฝ่ายบีอาร์เอ็นได้ส่งคำอธิบายข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อมาแล้ว เป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ความยาวกว่า 30 หน้า ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการแปลถ่ายมาเป็นภาษาไทย เบื้องต้นทราบว่ามีการระบุในคำอธิบายว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญไทย และสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาในรายละเอียดว่าจริงตามที่อ้างหรือไม่ หรือเป็นการเข้าใจผิดของบีอาร์เอ็น
นอกจากนั้น ทางบีอาร์เอ็นยังประสานผ่านผู้อำนวยความสะดวกมาว่า ในการพูดคุยกันครั้งต่อไปซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราวๆ ปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า จะดึงกลุ่มพูโลใหม่ 2 กลุ่ม และกลุ่มบีไอพีพีมาร่วมโต๊ะพูดคุยด้วย
ส่วนข่าวที่ว่ามีการตั้งคณะทำงานชุดเล็กประสานพูดคุยในทางลับนั้น เลขาธิการ สมช.กล่าวว่า เป็นการเสริมทีมพูดคุย ซึ่งในลำดับต่อไปจะลงลึกในแง่ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และประเด็นทางวิชาการมากขึ้น จึงต้องดึงบุคลากรมาเสริม แต่คณะพูดคุยชุดใหญ่ยังอยู่ในกรอบเดิม คือไม่เกิน 15 คน และฝ่ายบีอาร์เอ็นก็ยังมีนายฮัสซันเป็นหัวหน้าคณะเช่นเดิม
พูโลตั้งกองกำลัง PLA กดดันร่วมโต๊ะเจรจา
แหล่งข่าวจากฝ่ายทหาร เปิดเผยว่า กลุ่มพูโลใหม่เป็นกลุ่มที่แตกตัวออกไปจาก "องค์การพูโล" หรือพูโลเก่า โดยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของ นายกัสตูรี มาห์โกตา อดีตโฆษกองค์การพูโล สัญลักษณ์ของกลุ่มนี้จะเป็นรูปนก อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของ นายซำซูดิง คาน สัญลักษณ์เป็นรูปกริช สองกลุ่มนี้ถือว่าเป็น "พูโลใหม่" ที่ไม่ได้ร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพกับทางการไทยพร้อมกับฝ่ายบีอาร์เอ็น แต่โต๊ะพูดคุยดังกล่าวทางบีอาร์เอ็นดึงตัวแทนกลุ่มพูโลเก่าเข้าร่วม คือ นายลุกมาน บิน ลิมา
แหล่งข่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่กลุ่มพูโลใหม่พยายามก่อเหตุรุนแรงในช่วงที่รัฐบาลไทยริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพกับบีอาร์เอ็นกลุ่มนายฮัสซัน ตอยิบนั้น เป็นเพราะกลุ่มพูโลใหม่ตกขบวนการพูดคุย ไม่ได้ร่วมอยู่ในโต๊ะพูดคุยด้วย ทั้งๆ ที่แสดงท่าทีพร้อมพูดคุยมาตลอด และยังพูดคุยทางลับกับหน่วยงานความมั่นคงไทย ตลอดจนองค์กรอื่นๆ มาอย่างยาวนานหลายปี ทำให้มีสมาชิกบางส่วนที่รู้สึกไม่พอใจ รวมตัวกันฝึก "กองกำลังรุ่นใหม่" ตระเวนก่อเหตุรุนแรงเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง
กองกำลังรุ่นใหม่เหล่านี้บางรายถูกจับกุมได้และยอมรับว่าเป็นสมาชิกกลุ่มพูโลใหม่ แต่ข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงบางแหล่งระบุว่า กลุ่มใหม่เรียกตัวเองว่า "พีแอลเอ" (PLA) ย่อมาจาก Patani Liberation Army
"ประชา"ล่องใต้ส่งผู้แสวงบุญฮัจญ์ที่สนามบินบ้านทอน
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ย.2556 และได้ไปส่งผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่ท่าอากาศยานนราธิวาส (สนามบินบ้านทอน) จ.นราธิวาส ซึ่งนับเป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของพี่น้องประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นครั้งแรกที่ผู้แสวงบุญสามารถขึ้นเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนราธิวาส โดยไม่ต้องเดินทางไกลไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ จ.สงขลา
จากนั้นเวลา 13.30 น. รองนายกรัฐมนตรีได้เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากกลุ่มเกษตรกร ภาคประชาชน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ โดยมี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. พล.ต.กิตติ อินทสร รองแม่ทัพภาคที่ 4 และ พล.ต.ต.อนุรุต กฤษณะการะเกตุ รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เข้าร่วมหารือด้วย โอกาสนี้ได้มีการเชิญ นายทรงวุฒิ ดำรงกุล ประธานเครือข่ายยางพาราเขต6 (ยะลา นราธิวาส เบตง) และเครือข่ายเกษตรกร เข้าชี้แจงถึงปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดย พล.ต.อ.ประชา เพิ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหายางพารา
///////////////////////////////
'นิมุ' ตำหนิ 'ฮัสซัน' พูดโยนความผิดให้ฝ่ายไทย
ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ตำหนิ "ฮัสซัน" พูดโยนความผิดให้ฝ่ายไทย ชี้ สูญเสีย "ยะโก๊บ" ทำให้ผู้มีความรู้เกิดความหวาดระแวง ส่งผลกระทบการพูดคุยสันติภาพ
นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หลังจากที่มีกระแสข่าวการปลด นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ออกจากหัวหน้าการพูดคุยสันติภาพ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสับสนและไม่สบายใจ โดยคนในพื้นที่ต้องการบุคคลที่มีความพร้อมเพื่อการพูดคุยสันติภาพ ทั้งของฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็น
ทั้งนี้ นายนิมุ กล่าวตำหนิ นายฮัสซัน หลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นจากฝ่ายไทย ว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกลุ่มบีอาร์เอ็นเอง เป็นฝ่ายที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
สำหรับการสูญเสีย นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานีนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ระบุว่า ทำให้ผู้มีความรู้เกิดความหวาดระแวง และจะกระทบต่อการพูดคุยสันติภาพอย่างแน่นอน
นายนิมุ มะกาเจ ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หลังจากที่มีกระแสข่าวการปลด นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ออกจากหัวหน้าการพูดคุยสันติภาพ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสับสนและไม่สบายใจ โดยคนในพื้นที่ต้องการบุคคลที่มีความพร้อมเพื่อการพูดคุยสันติภาพ ทั้งของฝ่ายไทยและกลุ่มบีอาร์เอ็น
ทั้งนี้ นายนิมุ กล่าวตำหนิ นายฮัสซัน หลังออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นจากฝ่ายไทย ว่า เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกลุ่มบีอาร์เอ็นเอง เป็นฝ่ายที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
สำหรับการสูญเสีย นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานีนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิจังหวัดยะลา ระบุว่า ทำให้ผู้มีความรู้เกิดความหวาดระแวง และจะกระทบต่อการพูดคุยสันติภาพอย่างแน่นอน
//////////////////////////////////////////////////////
เลขาธิการโอไอซี ยินดีกับแนวทางหยุดยิงช่วงรอมฎอน ในภาคใต้ของไทย
ทำเนียบรัฐบาล นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำสัปดาห์ ว่า ในที่ประชุมครม. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เล่าถึงความสำเร็จในการเยือนสาธารณรัฐตุรกี และพบกับนายเอคเมเลดดิน อิห์ซาโนกลู เลขาธิการองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ “โอไอซี” โดยมีพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม และพล.ต.ท.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ร่วมคณะไปด้วย ซึ่งโอไอซีออกแถลงการณ์ชื่นชมรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ของโอไอซี http://www.oic-oci.org/ ได้รายงานข่าวการหารือระหว่างคณะของน.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายอิห์ซาโนกลู เลขาธิการโอไอซี ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยวันที่ 7 ก.ค. รายงานข่าวหัวข้อ "Secretary General Discusses Muslims in Southern Thailand with Thai Prime Minster" หรือ "เลขาธิการหารือกับนายกรัฐมนตรีไทยถึงประเด็นชาวมุสลิมทางภาคใต้ของไทย" มีเนื้อหาโดยสรุปว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์อธิบายเพิ่มเติมถึงกระบวนการสร้างสันติภาพกับชาวมุสลิมภาคใต้ว่า รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างพูดคุยกับชุมชนเพื่อพิจารณาการยกเลิกพระราชกำหนดฉุกเฉินในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมย้ำว่ามีความประสงค์ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างสงบ และหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากโอไอซีเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งหลังจากรัฐบาลหารือหลายรอบร่วมกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ทั้งสองฝ่ายตกลงว่าจะยุติความรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอน
ด้านนายอิห์ซาโนกลู กล่าวขอบคุณน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่เป็นห่วงสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทั้งยังผลักดันให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยพยายามหาต้นตอของปัญหา ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเคารพต่อวิถีวัฒนธรรมของมุสลิม นอกจากนั้น เลขาฯ โอไอซียังแสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยร่วมมือกับมาเลเซียเปิดโต๊ะเจรจากับขบวนการบีอาร์เอ็น หนึ่งในกลุ่มเคลื่อนไหวทางภาคใต้ เพื่อกำหนดแผนแก้ไขอย่างสันติ
โอไอซีหวังว่าการหารือดังกล่าวจะมีความคืบหน้าและเปิดช่องให้ขบวนการอื่นๆ ในพื้นที่สามารถเข้าร่วมหาทางออกได้เช่นกัน และโอไอซีพร้อมที่จะสนับสนุนการเจรจาอย่างสันติ รวมถึงเสริมสร้างความมั่นคง และการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม และหน่วยงานในเครือข่ายความร่วมมือของโอไอซี ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กล่าวทิ้งท้ายขอบคุณที่เลขาธิการโอไอซีรับปากให้ความช่วยเหลือ พร้อมสัญญาว่าจะสานสัมพันธ์อันดีกับโอไอซีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับประกันความมั่นคงและสันติสุขของประเทศ รวมถึงทั่วทั้งภูมิภาคในอนาคต
ต่อมาวันที่ 8 ก.ค. เว็บโอไอซีรายงานข่าวหัวข้อ "Secretary General welcomes Ramadan ceasefire initiative in Southern Thailand." หรือ เลขาธิการแสดงความยินดีกับการริเริ่มแนวทางหยุดยิงช่วงรอมฎอนในภาคใต้ของประเทศไทย" เนื้อหาระบุว่า นายอิห์ซาโนกลู เลขาธิการโอไอซี แถลงว่า ยินดีกับการที่รัฐบาลไทยและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ พร้อมใจกันใช้นโยบายหยุดยิงช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป้นช่วงเวลาที่สำคัญในการอุทิศจิตวิญญาณเพื่อเข้าถึงความรู้สึกอดทนอดกลั้น และเข้าถึงการเทิดทูนบูชาความสงบทางจิตวิญญาณ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายยุติการโจมตีกันเป็นการชั่วคราว และหวังว่าแผนการนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อสร้างสันติภาพ และสร้างความเชื่อมั่นในการหาทางออกสำหรับความขัดแย้ง
นายอิห์ซาโนกลู กล่าวด้วยว่า โอไอซีพร้อมที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ให้กับประชาชนทุกคนที่อยู่ในภาคใต้ของไทย
/////////////////////////////////////////////////////
โต๊ะสันติภาพไทย-BRN เห็นร่วมลดเหตุรุนแรงเดือนรอมฏอน
เลขา สมช.เผยผลการพูดคุยสันติภาพไทย-BRN ราบรื่น ทั้ง 2ฝ่ายเห็นร่วมลดเหตุรุนแรงช่วงเดือนรอมฏอน ให้แต่ละฝ่ายเสนอมาตรการที่ชัดเจน ยัน ‘ปกครองพิเศษ’ เป็นเรื่องปลายทาง ยังไม่ถึงเวลาคุย
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.56 เวลา 21.30 น. (ตามเวลาในประเทศมาเลเซีย) ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล (INTERCONTINENTAL) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มแกนนำบีอาร์เอ็นว่า บรรยากาศในการพูดคุยเป็นไปอย่างดีมาก ราบรื่น ได้รับความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า ประเด็นหลักๆ ที่มีการพูดคุยคือ เรื่องที่ทางบีอาร์เอ็นมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ จึงได้ชี้แจงไปถึงการดำเนินการสืบสภาพข้อเท็จจริง แสวงหาคำตอบของ 5 ข้อนั้น และปัญหาที่ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ เพราะความชัดเจนของข้อเรียกร้องที่เป็นภาษาต่างๆ ยังไม่ชัดเจน ซึ่งทางขบวนการรับข้อนี้ไป เพื่อที่จะส่งรายละเอียดชี้แจงแถลงไขของเนื้อหา 5 ข้อ ให้มีความชัดเจนก่อนเดือนรอมฎอน มาให้คณะฝ่ายไทยเพื่อที่จะทำความเข้าใจ และแสวงหาคำตอบร่วมกันต่อไป
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า ประเด็นที่สอง คือเรื่องลดเหตุความรุนแรง ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดนของชาวมุสลิมจะลดเหตุความรุนแรง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะกลับไปเตรียมมาตรการเพื่อมาเสนอร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรในช่วงเดือนรอมฎอน
“ขั้นตอนคือ จะให้ศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ดำเนินการไปให้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน เพื่อให้ได้คำตอบมาในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่ง แต่จะรีบดำเนินการ เพราะอย่างน้อยควรจะมีคำตอบในชั้นต้นซึ่งกันและกัน” พล.ท.ภราดร กล่าว
พล.ท.ภราดร เปิดเผยว่า สำหรับเดือนรอมฎอนเป็นเดือนสำคัญ เป็นเดือนแห่งความประเสริฐ จึงเป็นคำตอบร่วมกันว่าในเดือนนี้ จะเป็นรูปธรรมในการลดเหตุความรุนแรง และได้มีการนัดพูดคุยอีกครั้งหลังเดือนรอมฎอน แต่ยังไม่กำหนดวันที่ชัดเจน โดยฝ่ายมาเลเซียเป็นผู้ประสานงาน
“การพูดคุยในครั้งนี้เมื่อเทียบกับ 2 ครั้งที่ผ่านมา ถือว่ามีความคืบหน้าสูง มีตัวชี้วัดว่าจะลดความรุนแรงก็คือเดือนรอมฎอน โดยให้ทั้งสองฝ่ายเสนอมาตรการมาว่า ฝ่ายเราจะลดการปฏิบัติการอย่างไร ฝ่ายขบวนการจะลดการปฏิบัติการอย่างไร แต่แน่นอนว่ามาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้พี่น้องประชาชนก็คงต้องมีอยู่ ซึ่งมาตรการฝ่ายเราท่านแม่ทัพภาค 4 มีแผนเตรียมเอาไว้แล้ว” พล.ท.ภราดร กล่าว
พล.ท.ภราดร กล่าวด้วยว่า เป้าหมายของเดือนรอมฎอนก็คือจะต้องไม่มีเหตุ แต่ถ้ามีเหตุเกิดขึ้น ก็จะต้องไปลงลึกว่า มูลเหตุจากเรื่องใด เพราะมีการสื่อสารร่วมกันแล้วว่าจะลดเหตุรุนแรง ส่วนมาตรการฝ่ายเจ้าหน้าที่นั้น ในช่วงเดือนรอมฎอนก็คงจะต้องเพลาลงหรือหยุดลงไป แต่มาตรการในการรักษาความปลอดภัยพี่น้องประชาชน สถานที่ต่างๆก็ยังคงมีอยู่ ไม่ได้หยุดไปทุกอย่าง
หลังจากการแถลงข่าว พล.ท.ภราดร ได้นำแถลงการณ์ร่วมหลังการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น มาเปิดให้บรรดาสื่อมวลชนดู โดยมีเนื้อหาดังนี้
การประชุมหารือเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย คณะผู้เข้าร่วมฝ่ายไทย นำโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทย และฝ่ายบีอาร์เอ็น นำโดยอุสตาซฮาซัน ตอยิบ หัวหน้าสำนักงานประสานงานต่างประเทศของกลุ่มบีอาร์เอ็นในมาเลเซีย โดยมีดาโต๊ะ ซรี อาหมัด ซัมซามิน ฮาซิม ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการหารือ ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลมาเลเซีย
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในหลักการเพื่อลดเหตุการณ์ความรุนแรงตลอดเดือนรอมฏอนอันประเสริฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้ สอดคล้องกับคุณค่าอันประเสริฐของเดือนรอมฏอน และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจริงใจ ความตั้งใจ และความเชื่อถือของทั้งสองฝ่าย ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ให้ปลอดจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตลอดเดือนรอมฏอน ทั้งสองฝ่ายจะได้นำเสนอรูปแบบและวิธีการในเวลาอันใกล้นี้
ฝ่ายบีอาร์เอ็นจะส่งคำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอ 5 ข้อ ตามที่ได้มอบให้ฝ่ายไทยแล้ว หลังจากที่ได้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากฝ่ายบีอาร์เอ็นแล้ว ฝ่ายไทยรับที่จะตัดเตรียมข้อมูลป้อนกลับเสนอไปยังฝ่ายบีอาร์เอ็น ผ่านผู้อำนวยความสะดวกในโอกาสแรกต่อไป
การประชุมหารือเพื่อสันติภาพครั้งที่ 4 นี้ ได้ดำเนินการท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นมิตร และได้ดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์ทั้งสองฝ่ายได้แสดงถึงความรับผิดชอบร่วมกัน ที่มีต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เพื่อความก้าวหน้าในอนาคต
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการพูดคุยครั้งต่อไปหลังจากเดือนรอมฎอน
ยันยังไม่ถึงเวลาคุย ‘ปกครองพิเศษ’
ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้าวันเดียวกัน (13 มิ.ย.56) ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียว่า คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทยนำโดย พล.ท.ภราดร ได้ร่วมประชุมคณะฝ่ายไทยที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเน็นต้อล เพื่อเตรียมความพร้อมในการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับคณะผู้แทนฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ที่จะมีขึ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 15 คน
โดยประชุมเสร็จในเวลาประมาณ 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 09.30 น.ตามเวลาไทย จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ของมาเลเซียนำคณะผู้แทนฝ่ายไทยออกเดินทางไปร่วมพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็นทันที ซึ่งเป็นสถานที่ลับห้ามผู้สื่อข่าวติดตามไปด้วย
พล.ท.ภราดร ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการประมวลข้อมูลต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็น โดยมีสัญญาณบวกหลายอย่างระหว่างการเตรียมตัว คาดว่าจะได้ผลคืบหน้าบางอย่างที่เป็นรูปธรรมจากทั้งสองฝ่ายหลังการพูดคุยเพื่อสันติภาพในวันนี้
พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ในการพูดคุยกับฝ่ายบีอาร์เอ็น ฝ่ายไทยต้องการที่จะให้มีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในเรื่องของการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่ โดยจะนำผลการสำรวจความเห็นและการจัดเวทีต่างๆในพื้นที่มายืนยัน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่
ส่วนข้อเสนอที่ให้ลดการก่อเหตุรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิมนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า เป็นข้อเสนอแนะจากพื้นที่ ซึ่งจะนำเสนอในการพูดคุยครั้งนี้ด้วย
ส่วนข้อเสนอ 5 ข้อของฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า คาดว่าฝ่ายบีอาร์เอ็นจะหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาคุยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยจะต้องถามให้ชัดเจนว่า แต่ละข้อมีความหมายว่าอย่างไร
ส่วนเรื่องเขตปกครองพิเศษนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า การปกครองพิเศษเป็นเรื่องปลายทาง ยังไม่น่าจะถึงเวลาที่จะคุยเรื่องนี้ ประเด็นหลักๆ วันนี้ จะเป็นเรื่องของการลดเหตุรุนแรง
พล.ท.ภราดร ยังได้ตอบคำถามในประเด็นที่จะพูดคุยเรื่องการตั้งกลไกการตรวจสอบเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ด้วยหรือไม่ ว่า ประเด็นหลักๆ ของการพูดคุยในวันนี้ คือต้องให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมในเรื่องของการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่
ส่วนผลสำรวจของสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ออกมาว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้แก้ปัญหายาเสพติดสูงมากด้วยนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ก็จะต้องนำไปพูดคุยด้วย เนื่องจากเป็นความต้องการของคนในพื้นที่
ส่วนผู้ที่จะร่วมคณะพูดคุยในครั้งนี้ พล.ท.ภารดร กล่าวว่า ยังอยู่ในกระอบเดิมคือ ไม่เกินฝ่ายละ 15 คน
ทั้งนี้มีรายงานว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ มีทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย พล.ท.ภราดร ในฐานะหัวหน้าคณะ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
ดร.มะรอนิง สาลามิง รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4
//////////////////////////////
ผ่าเบื้องหลัง "มหานครปัตตานี" ซ่อนผลประโยชน์แผนยึดชายแดนใต้
แม้ล่าสุด พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)จะกลับลำพลิกลิ้นหลังออกมาแบไต๋ยอมรับว่าเป้าหมายสูงสุดในปาหี่เจรจากับแกนนำโจรใต้กลุ่มบีอาร์เอ็นก็คือการจัดตั้ง “มหานครปัตตานี” อันเป็นเขตปกครองพิเศษซึ่งจะนำไปสู่การดับไฟใต้แต่คอการเมืองกลับเชื่อว่าแนวคิด “มหานครปัตตานี” เป็นเรื่องจริง
แนวคิด “มหานครปัตตานี” นั้นมีมานานแล้วโดยเป็นแนวคิดของอดีต สส.กลุ่มวาดะห์ ซึ่งเป็นชาวไทย-มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งเป็นแนวคิดที่รับการสนับสนุนจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันทั้ง พล.อ.ชวลิต อดีตสส.กลุ่มวาดะห์ต่างได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลในการวางแนวทางดับไฟใต้
ก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีบารมีเหนือรัฐบาลหุ่นเชิดชุดนี้ เคยเจรจาลับกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งการหารือครั้งนั้นมีข่าวการเสนอเงื่อนไขการจัดตั้ง “มหานครปัตตานี”
แม้แต่พรรคเพื่อไทยก็เคยเสนอร่างพ.ร.บ.นครปัตตานีในการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด โดยมีสาระสำคัญให้จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษโดยรวมจ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสเข้าด้วยกัน และมีผู้ว่าราชการนครปัตตานี 1 คน รองผู้ว่าฯไม่เกิน 3 คน มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน
นอกจากนี้ ให้มีสภานครปัตตานีมีสมาชิกสภาซึ่งประชาชนเลือกตั้งโดยตรงอำเภอละ 1 คน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ทั้งนี้นครปัตตานีอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
“มหานครปัตตานี” แม้จะไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน แต่ก็มีโครงสร้างการปกครองเป็นกึ่งรัฐอิสระ
แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตาก็คือเป้าหมายเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่หลังแผนการผลักดัน “มหานครปัตตานี” โดยระบอบทักษิณซึ่งทำเป็นขบวนการใหญ่ภายใต้การบัญชาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต และอดีตสส.กลุ่มวาดะห์ เป็นตัวจักรในการขับเคลื่อน
ทั้งนี้มีการวิเคราะห์เป้าหมายสำคัญในการจัดตั้ง “มหานครปัตตานี” ของระบอบทักษิณว่ามี 2 ประการคือ
ประการแรกเป็นเป้าหมายทางการเมืองหวังเจาะทำลายและยึดครองฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มจากจังหวัดชายแดนภาคใต้และขยายไปทั่วภาคใต้ในอนาคตด้วยการอาศัยผลงาน “มหานครปัตตานี” เป็นจุดขาย ขณะเดียวกันก็ผลักดันคนในเครือข่ายระบอบทักษิณหรือแนวร่วมเข้าไปยึดครองตำแหน่งผู้บริหารใน “มหานครปัตตานี” ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งเคยมีรายงานข่าวว่ามีการวางตัว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมและขณะนี้เป็นแนวร่วมระบอบทักษิณในคราบฝ่ายค้านให้ลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ “มหานครปัตตานี” โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายระบอบทักษิณ ขณะที่อดีตสส.กลุ่มวาดะห์อาจลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้บริหารในตำแหน่งอื่นๆและอาจเป็นไปได้ด้วยซ้ำไปที่ นายฮัสซันตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็นที่เป็นตัวแทนลงนามในสัญญาสันติภาพกับ พล.ท.ภราดร ที่ประเทศมาเลเซียเมื่อไม่นานมานี้อาจเข้าสู่สังเวียนการเมืองในนามพรรคเพื่อไทย
ส่วนเป้าหมายประการที่สองก็คือ ผลประโยชน์มหาศาลจากแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและมาเลเซียจากการฮั้วกันของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับ นายนาจิบราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่ร่วมอยู่ในขบวนการปาหี่สัญญาสันติภาพดับไฟใต้ครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตามแผนตั้ง “มหานครปัตตานี” อาจจะไม่ง่ายอย่างที่ระบอบทักษิณคิดเพราะกองทัพดูเหมือนจะไม่เห็นด้วย ซึ่งท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ส่งสัญญาณ “ฮึ่ม” ออกมาแล้วน่าจะเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งปาหี่สัญญาสันติภาพกับโจรใต้ถูกจับได้ว่าเป็นของปลอมเพราะทุกวันนี้โจรใต้ตัวจริงยังปฏิบัติการท้าทายอำนาจรัฐก่อเหตุร้ายแทบจะรายวัน
ผ่าปฏิบัติการเดือด หน่วยนาวิกโยธิน ดับโจรใต้-16ศพ หัวใจจากการข่าว
ถือเป็นความรุนแรงและดุเดือดที่สุดในรอบ 10 ปีก็ว่าได้ กับปฏิบัติการของคนร้ายที่บุกจู่โจมฐานทหารนาวิกโยธิน อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อกลางดึกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ทั้ง 2 ฝ่ายเปิดฉากยิงปะทะกันอย่างหนัก
แต่เพราะเจ้าหน้าที่ทหารเตรียมพร้อมและรู้จากการข่าวล่วงหน้าว่าอาจตกเป็นเป้าโจมตี จึงวางกำลังป้องกันไว้อย่างดี
ผลที่ตามมาทำให้คนร้ายถูกยิงเสียชีวิต 16 ราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ไม่เกิดความสูญเสียแม้แต่นายเดียว!??
เปิดเบื้องหลังพิชิตโจรใต้
เหตุการณ์การปะทะอย่างหนักและรุนแรงคราวนี้เหลือเชื่อว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว
ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ หรือมีพระดีคุ้มครอง หากแต่ก่อนถูกจู่โจม เจ้าหน้าที่ได้รับการข่าวที่เชื่อถือได้ว่ากำลังตกเป็นเป้าโจมตีนั่นเอง
น.ท.ธรรมนูญ วรรณา ผบ.ฉก.นราธิวาส 32 หัวหน้าหน่วยนาวิกโยธิน ระบุว่าเจ้าหน้าที่ทราบข่าวล่วงหน้าว่าอาจเป็นเป้าหมายของคนร้าย จึงเตรียมป้องกันไว้ล่วงหน้า!??
ข่าวสายหนึ่งมาจากมวลชนที่เริ่มเข้าใจการทำงานและเป็นมิตรกับเจ้าหน้าที่มากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากแนวทางของรัฐบาลผ่านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่มีพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็นเลขาธิการ ศอ.บต. ซึ่งใช้ไม้นวมแทนไม้แข็ง
ในช่วงปีเศษๆ ที่ผ่านมา ศอ.บต.เน้นทำกิจกรรม ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และมีสัมพันธ์อันดีกับทั้งผู้นำศาสนา และผู้นำท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธ หรือไทยมุสลิม
เมื่อมวลชนทราบเบาะแสสำคัญ จึงพร้อมให้ข้อมูลและความร่วมมืออย่างเต็มที่
อีกการข่าวหนึ่งมาจากนายสุไฮดี ตาเห อายุ 31 ปี ครูฝึกกองกำลังติดอาวุธหนึ่งในคนร้ายที่บุกสังหารครูชลธี เจริญชล ครูโรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา
จัดทีม"ซีล"เสริมทัพรับมือ
นายสุไฮดีไม่ได้เจตนาให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ เพียงแต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ครูฝึกกลุ่มโจรใต้ถูกเจ้าหน้าที่จับตายในพื้นที่จ.ปัตตานี
เจ้าหน้าที่พบหลักฐานสำคัญเป็นแผนผังและเอกสารต่างๆ ที่เตรียมโจมตีฐานปฏิบัติการของทหารในพื้นที่นราธิวาส!!!
ทีมงานคัดกรองและหาข้อมูลความน่าจะเป็น ก่อนให้น้ำหนักไปที่หน่วยนาวิกโยธิน กองร้อยปืนเล็กที่ 2 ฉก.นราธิวาส 32 ว่าจะเป็นเป้าหมายของคนร้าย
เนื่องจากในช่วงระยะหลังๆ หน่วยนาวิกโยธิน ปะทะกับคนร้ายอยู่เนืองๆ ทั้งจับเป็น จับตายแนวร่วมได้หลายราย
ด้วยการข่าวที่น่าเชื่อถือทำให้หน่วยนาวิกโยธิน เตรียมรับมือได้ทันท่วงที
ที่สำคัญนอกจากทหารนาวิกโยธิน ที่ตามปกติถือว่าเป็นหน่วยรบที่เหนือกว่าทหารทั่วไปแล้ว ยังเสริมทัพทีม "ซีล" หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษของนาวิกโยธินเข้ามาอีกด้วย
โดยในทีมซีลมีหน่วยแม่นปืนหรือ "สไนเปอร์" ติดกล้องมองเวลากลางคืน จัดมาเพื่อการนี้
ด้วยความพร้อมขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อคนร้ายบุกเข้ามา จะพบการต้อนรับอย่างหนักหน่วงและรุนแรงยิ่ง!!!
ปะทะเดือดจับตาย 16 ศพ
สำหรับเหตุการณ์จู่โจมหน่วยนาวิกโยธิน อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส คนร้ายราว 50-60 คนแบ่งกำลังออกเป็น 2 ชุด ใช้พาหนะรถกระบะ 2 คัน แล้วเคลื่อนตัวเข้าทั้งด้านหน้าและหลังค่ายทหาร
ขณะเดียวกันคนร้ายอีกชุดก็วางกับดักทั้งตะปูเรือใบ ตัดต้นไม้ขวางถนน และซุกระเบิดแสวงเครื่อง เพื่อถล่มเจ้าหน้าที่ซึ่งจะยกกำลังมาช่วย
จนราวตี 1 เศษๆ คนร้ายเริ่มคืบคลานเข้าใกล้เป้าหมาย โดยหารู้ไม่ว่านาวิกโยธินที่มีกำลังมากกว่านั้นเตรียมพร้อมอยู่ก่อนแล้ว
เจ้าหน้าที่ทหารกว่า 100 นาย แบ่งออกเป็น 2 ทีมหลักๆ ชุดหนึ่งเฝ้าเตรียมพร้อมอยู่ภายในค่าย ส่วนอีกชุดแฝงตัวอยู่รอบนอก
เมื่อคนร้ายล่วงลึกเข้าสู่โซนอันตราย และเริ่มเปิดฉากกระหน่ำยิง เจ้าหน้าที่ซึ่งเตรียมพร้อมและตื่นตัวอยู่แต่แรก จึงตอบโต้กลับไปอย่างหนักหน่วง!!!
ราวครึ่งชั่วโมงของการปะทะคนร้ายตายคาที่บริเวณรอบๆ ฐานถึง 14 ศพ ที่เหลือล่าถอยหลบหนี โดยทหารนาวิกโยธิน ออกไล่ล่าและตามเช็กบิลอีก 2 ศพ ก่อนเข้าเคลียร์พื้นที่โดยใช้เวลาทั้งหมดราว 1 ชั่วโมง
ห่างจากถนนเข้าฐาน ประมาณ 50 ม. พบรถยนต์กระบะยี่ห้อ โตโยต้า สีบรอนซ์ ทะเบียน บค-7968 ยะลา ของคนร้ายจอดอยู่ สภาพรถพรุนจากกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ ในกระบะหลังพบเป้สนาม 8 ใบ ภายในบรรจุอาวุธปืนพกสั้น ระเบิดแสวงเครื่องชนิดขว้าง โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า และเครื่องยังชีพในป่าของคนร้าย
หลังเคลียร์สิ่งกีดขวางได้แล้วก็เข้าสำรวจจุดปะทะพบคนร้ายแต่งกายเลียนแบบทหารสวมเสื้อเกราะ สวมหมวกไหมพรม มีอาวุธปืนอาก้า และเอ็ม 16 นอนตายกระจัดกระจาย!!!
เช็กบิลแกนนำอาร์เคเค
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าระบุว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 16 รายประกอบด้วย 1.นายมะไพดี ปูเต๊ะ 2.นายมะรอโซ จันทรวดี 3.นายซอบือรี โดตาเยะ 4.นายกาสมัน มะเด็ง 5.นายปรือกิ นิมิง 6.นายสะอุดี อาลี 7.นายรอมือลี ซาเระ
8.นายมะสักกรี สะสะ 9.นายฮาเซ็ม บือราเฮง 10.นายมะนัง บือราเฮง 11.นายอาหะมะ โซะกุนิง 12.นายมะตอเฮ แฉะ 13.นายอับดุลเลาะ โต๊ะม๊ะ 14.นายมะยุดดิน รีรา 15.นาย มัสลัน มะลี และ 16.นายอัสรี รอเป็ง
ทั้งหมดเป็นกลุ่มอาร์เคเค เคลื่อนไหวก่อเหตุร้ายในพื้นที่ อ.บาเจาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี
ในจำนวนนี้มีระดับแกนนำถึง 5 คน แต่ตัวใหญ่สุดคือนายมะรอโซ จันทรวดี มีค่าหัวสูงถึง 2 ล้านบาท เพราะก่อคดีความมั่นคงหลายคดี อาทิ ลอบวางระเบิดรถยนต์เจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.นราธิวาส 32 เสียชีวิต 3 นาย ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 48
คดีลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านบือเจาะ หมู่ 1 ต.บาเจาะ อ.บาเจาะ เมื่อเดือน พ.ค. 50 คดียิงชาวไทยพุทธเสียชีวิต 4 ศพ ในพื้นที่หมู่บ้านฮูแตยือลอ อ.บาเจาะ
ล่าสุดเป็นผู้ร่วมก่อเหตุและสั่งการบุกสังหารโหดนายชลธี ครูโรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ ต่อหน้านักเรียนขณะพักทานอาหารกลางวัน
ส่วนแนวร่วมที่เสียชีวิตครั้งนี้ เช็กประวัติแล้วพบว่าไม่ธรรมดาเลย หลายคนเรียบจบระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ สถาบันยอดฮิตของคนในพื้นที่ภาคใต้ ที่นิยมมาเรียนกัน
จึงนับเป็นปัญญาชนที่มีแนวคิดอุดมการณ์อย่างชัดแจ้ง
เยียวยาช่วยครอบครัว
พร้อมกับการเสียชีวิตของคนร้าย เจ้าหน้าที่เร่งเตรียมพร้อม 3 แนวทางด้วยกัน
ทางหนึ่งเจ้าหน้าที่ออกตามล่าตัวพรรคพวกที่เหลือ
ทางหนึ่งเสริมกำลังป้องกันจุดเสี่ยงต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ จ.สงขลา เพราะเกรงว่าคนร้ายจะล้างแค้น
และสุดท้ายคือมาตรการ "เยียวยา"
แต่พลันที่คำว่าเยียวยาพูดขึ้นมา ทั้งพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มที่ยังไม่ทันฟังความก็เรียงหน้าออกมาถล่ม โวยวายใส่รัฐบาลทำนองว่าจะจ่ายเงินให้กับคนร้าย ถึงกับเปรียบเทียบว่าดูแลโจรใต้ ที่ถูกยิงตาย มากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐด้วยซ้ำ!??
ทำให้รัฐบาลและศอ.บต.ต้องชี้แจงว่า การเยียวยาหมายถึงการดูแลครอบครัวของแนวร่วมที่หลงผิดในระดับหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงได้สิทธิประโยชน์เทียบเท่าผู้บริสุทธิ์ที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
การช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม และเป็นแนวทางเดิมของศอ.บต.ในการดึงมวลชนเข้ามาอยู่กับรัฐ
แม้พวก "สายเหยี่ยว" รวมถึงพวกที่อยากให้ใช้มาตรการรุนแรงจะไม่เห็นด้วย แต่ตัวอย่างจากเหตุการณ์ล่าสุด แสดงให้เห็นถึงแนวทาง "สายพิราบ" ที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน และศอ.บต.เดินอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงได้การข่าวที่แม่นยำช่วยลดการสูญเสียของเจ้าหน้าที่รัฐไปได้
ที่สำคัญในอดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นเด่นชัดว่า การใช้ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมาเลย!??
////////////////////////////////////////////////////////////////
‘เจ๊ะอาลี’มอบตัวสู้คดีป่วนใต้แกนนำค่าหัว1ล้านพร้อม100แนวร่วม
ร่อนจม.เรียกร้องรัฐเดินหน้าสู่สันติภาพ
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มอาร์เคเค 80 คน เข้าพบ พล.ท.อุดมชัยธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 โดยมีเงื่อนไขยอมวางอาวุธหากได้รับประกันความปลอดภัยในชีวิตและจัดหางานเพื่อประกอบอาชีพ ว่า ถือเป็นหนทางที่ดีในการเปิดการเจรจากันอย่างสันติ แม้กลุ่มที่เข้าพบไม่ใช่หน่วยปฏิบัติการทั้งหมด โดยนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อสันติชายแดนใต้ พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ซึ่งจะหารือร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และ รมว.ยุติธรรม
บิ๊กอ๊อดเผย RKK, มอบตัว มทภ.4
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางแม่ทัพภาคที่ 4 มีโครงการพาคนกลับบ้าน เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ เข้ามาเจรจากัน ซึ่งกลุ่มอาร์เคเค 80 คน ที่เข้าพบจะมีการหางานเพื่อประกอบอาชีพ ส่วนความผิดทางคดีอาญา ต้องดูว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง
ผบ.ทบ.ไม่ค้านเลือกตั้งผู้ว่าฯ 3 จว.
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ว่า เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ไม่คิดว่าถูกหรือผิด ต้องดูว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ประชาชนในพื้นที่ต้องการอย่างไร ส่วนตนทำงานฝ่ายความมั่นคงคงต้องดูว่ามีผลดีหรือผลเสีย คุ้มหรือไม่ที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ตนไม่ได้ขัดแย้งกับรัฐบาล แต่เราต้องมีทุกมาตรการในการป้องกันเหตุร้าย
ชี้เห็นผลการทำงานโจรใต้มอบตัว
ต่อข้อถามกรณีกลุ่มอาร์เคเค 80 คน เข้ามอบตัวกับแม่ทัพภาคที่ 4 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นความก้าวหน้าที่เราทำงานแต่ไม่สามารถพูดได้ก่อน เรามีการติดต่อและพยายามพูดคุยกันมาตลอด ภาคประชาสัมคม พ่อ แม่ ญาติพี่น้องเขามีอยู่ กองทัพเปิดโอกาสให้ตลอด ขึ้นอยู่กับรัฐว่าจะสามารถดูแลผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน อีกประการ คือ เขาเห็นความโหดร้ายของฝ่ายผู้ก่อเหตุ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จึงมอบตัว ส่วนอีกฝ่ายก็คงพยายามไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้มอบตัว เขาจึงใช้ความรุนแรง วันนี้ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งเรื่องอื่นๆ คงจะตามมา
อ้างตรวจชื่อแล้วล้วนเป็นตัวจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้ง 80 คน ที่มอบตัวเป็นตัวจริงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการตรวจสอบแล้ว ทั้งหมดมีรายชื่อในทำเนียบกำลังรบของผู้ก่อความไม่สงบที่กองทัพจัดทำขึ้น ก็ต้องมาพิสูจน์ความจริงใจต่อกัน ถ้าไม่ใช่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาให้จับทำไม ยืนยันว่าเราทำงานตามหลักการ ตรวจสอบละเอียดว่าคนเหล่านี้ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ ถูกหลอกจริงหรือไม่ ทุกอย่างต้องตรวจสอบก่อนเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา
แกนนำโจร-พวก 100 คนมอบตัว
เวลา 13.30 น.ที่ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จ.นราธิวาส พล.ท.อุดมชัย เป็นประธานรับการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ หรือ “เจ๊ะ อาลี” ที่ทางการเคยตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้านบาท โดยพบว่าเป็นตัวการวางแผนและสั่งการให้แกนนำระดับปฏิบัติการนำกำลังเข้าปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 จนมีทหารเสียชีวิต 4 นาย ซึ่งนายแวอาลีคอปเตอร์ ได้นำผู้หลงผิด 100 คน เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทย ตามแผนพาคนกลับบ้าน โครงการประสานใจเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
ร่อนจม.เปิดผนึกขอคำมั่นฝ่ายรัฐ
ทั้งนี้ การแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ กับพวก ครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนามกลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายูปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน คือ 1.เข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำ ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง รัฐกำหนดนโยบายที่สร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่ พร้อมกับขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อข้อเรียกร้อง
สำหรับประเด็นข้อเรียกร้อง คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อผู้ที่ยุติบทบาทการใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราคาดหวังคำตอบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างสังคมให้มีความสันติสุขยุติความรุนแรงโดยสิ้นเชิง แม้มีบางกลุ่มยังเคลื่อนไหวด้วยวิธีรุนแรง แต่ที่สุดก็จะเป็นส่วนน้อยในทรรศนะของมวลชนส่วนใหญ่
ชี้ดูแลดีมีหัวโจก 2 รายรอมอบตัว
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐบาลดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์ และพวก อย่างดี อีกไม่นาน นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ก็จะประสานออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้กับรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่คงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและกองทัพ ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนเรื่องคดีความ
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า การขอเจรจากับรัฐบาลเรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยังนายกรัฐมนตรี ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 4กันยายนที่ผ่านมา แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไปจึงเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่ทำให้แนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบยังไม่กล้าออกมามอบตัว และยังคงทำให้ภาคใต้มีสถานการณ์ความรุนแรงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้
แม่ทัพ 4 เผยเป็นจุดเริ่มที่ดี แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย
ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวกับผู้ที่แสดงตนทั้ง 93 คนว่า ทุกคนที่มาในวันนี้เพื่อแสดงจุดยืนในอุดมการณ์การต่อสู้เชิงสันติ และเป็นไปตามนโยบายสานใจสู่สันติของกองทัพภาคที่ 4 เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายยอมรับในความแตกต่าง แต่ยอมรับไม่ได้ในการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ ในส่วนของผู้ที่มีหมาย พรก.เมื่อเข้ามาแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ ถือว่า พรก.ยุติและจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ส่วน ป.วิอาญาก็จะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่เอื้อต่อผู้ที่หลงผิดที่กลับใจ อย่างไรก็ตาม นโยบายของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้กำหนดกรอบไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้มีการต่อสู้เชิงสันติ ทั้งการสร้างความเข้าใจรวมทั้งการเปิดพื้นที่เพื่อให้มีการพูดคุยของผู้หลงผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปรับแนวทางเข้าหันให้มากที่สุด แต่ย้ำว่าทุกคนมีทางออก ไม่มีใครแพ้หรือชนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงตนในครั้งนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายในการต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป
|
////////////////////////////////////////////////////
ปัตตานีมหานคร ต่อสู้ในแนวทางสันติหรือกอบกู้เอกราช
ประเด็นแนวความคิดในการจัดตั้ง
“นครรัฐปัตตานี” หรือ “ปัตตานีมหานคร”
เคยเป็นประเด็นร้อนในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา โดยได้มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งยกขี้นมาเป็นนโยบายเพื่อหาเสียงกับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งติดตามมาด้วยการวิพากษ์มากมายหลายกระแสทั้งจากนักวิชาการต่างๆ
จนถึงชาวบ้านในร้านน้ำชาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมรวมถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือประชาชนในพื้นที่ว่าต้องการที่จะปกครองตนเองในรูปแบบเขตปกครองพิเศษหรือไม่
แต่แล้วเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาว่าพรรคการเมืองพรรคนั้นพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างราบคาบ
ซึ่งผลการเลือกตั้งดังกล่าวอาจสามารถบ่งชี้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ว่าไม่ได้ต้องการปกครองตนเอง เรื่อง “ปัตตานีมหานคร” จึงมีอันพับเก็บไป
แม้ว่าพรรคการเมืองนั้นจะได้เสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลก็ตาม
อย่างไรก็ดีถึงวันนี้แม้ว่าเรื่องปัตตานีมหานครยังคงคลุมเครืออยู่ แต่ในความคลุมเครือนั้นยังมีความเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนในหลายรูปแบบทั้งการจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ การจัดเวทีสัมนารวมทั้งการร่าง
พรบ.ปัตตานีมหานครไว้แล้วเรียบร้อย
โดยกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทำงานสอดคล้องกันเป็นเครือข่ายภายใต้การนำของ
พต.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม หรือชาวบ้านเรียกกันว่า
“โต๊ะกู”
อดีตนายตำรวจมือปราบซึ่งรับราชการอยู่ในพื้นที่มาทั้งชีวิตและรู้ปัญหาดี กับ นายมันโซ
สาและ
รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลาม
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้ พร้อมด้วยนายวันมูหัมหมัด นอร์
มะทา
อดีตนักการเมืองใหญ่ที่ยังคงมีบทบาทกำหนดความเป็นไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใครๆ
ต่างทราบดีว่าเขาอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนพื้นที่นี้ให้เป็น”ปัตตานีมหานคร”
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด
ความจริงเรื่องหนึ่งที่ทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายความมั่นคงหรือ
ศอ.บต. ทราบดีคือ
ขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่ว่ากลุ่มใดซึ่งเป็นตัวการของปัญหาความรุนแรงไม่ต้องการเขตปกครองพิเศษไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด สิ่งเดียวที่ต้องการคือ
การแบ่งแยกดินแดนเพื่อกอบกู้เอกราช
และแน่นอนว่าเมื่อขบวนการไม่ต้องการในพื้นที่นี้เป็นเขตปกครองพิเศษ
ยุทธการปัดแข้งปัดขาโดยการดิสเครดิตผู้ที่พยายามขับเคลื่อนปัตตานีมหานครก็เกิดขึ้น
โดยการออกมากล่าวอ้างผ่านสื่อในความควบคุมของตนทำนองว่า เคยกวาดล้างนักสู้เพื่อเอกราชมามากมายบ้าง ไม่รู้ปัญหาในพื้นที่จริงบ้าง ไม่ได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่บ้าง พร้อมกับยกประเด็นเรื่องเก่าๆ ของบุคคลนั้นๆ มาใส่ความในลักษณะให้ข่าวสารด้านเดียว (http://patanimerdeka.wordpress.com/ ปัตตานีมหานครเหมือนเตะมุมเข้าปากหมา) ซึ่งขบวนการนั้นมีทีมงานที่มีความถนัดในเรื่องการสาดโคลนใส่ผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งหากพิจารณาถึงสาเหตุความไม่ต้องการเป็นเขตปกครองพิเศษของขบวนการก็พอจะมีอยู่สองประเด็น
ประเด็นแรกเป็นเรื่องของความกลัว
กลัวว่าหากปัตตานีมหานครถูกจัดตั้งขึ้นได้จริง ขบวนการจะต้องถูกลดความสำคัญลงไป เพราะการจัดตั้งในขั้นตอนหนึ่งจะต้องมีการคัดสรรบุคคลโดยวิธีการใดๆ
ขึ้นมาเป็นส่วนงานต่างๆ ในรูปแบบของเขตปกครองพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าบุคคลนั้นๆ
จะต้องเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่
ที่สำคัญต้องเป็นบุคคลที่มีเชื้อสายมลายูเข้ามาขับเคลื่อนบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษที่มีปัญหาเฉพาะนี้ในทุกด้าน
ภายใต้ความร่วมมืออย่างดีจากประชาชนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อสายมลายูที่เห็นดีเห็นงามด้วย
ผลที่ตามมาคือ
ความสงบสันติจะเกิดขึ้นได้อย่างมีทิศทาง และหากเป็นเช่นนั้นจริงขบวนการก็จะหมดทางหากิน และไม่มีข้ออ้างไปแบมือขอเงินจากกลุ่มประเทศมุสลิมต่างๆ เพราะประเทศเหล่านั้นเมื่อเห็นว่าสถานการณ์ดีขึ้นก็จะหันไปให้ การสนับสนุนกลุ่มอื่นๆ
ในประเทศอื่นๆ
ที่ยังมีปัญหาความรุนแรง
แน่นอนว่าด้วยเงินจำนวนมหาศาลที่เคยได้นำมาแบ่งสรรค์กันระหว่างแกนนำ เพื่อใช้เสพสุขกันอย่างสะดวกสบายก็จะหายไป นี่เป็นประเด็นหลักที่ขบวนการต้องออกมาขัดขวางและพยายามสร้างสถานการณ์ความรุนแรงฆ่าคนบริสุทธิ์โยนความผิดให้เจ้าหน้าที่
แล้วอ้างว่าพี่น้องมุสลิมถูกรังแกเพื่อขอเงินสนับสนุนต่อไป
ประเด็นที่สองยังเป็นเรื่องความกลัวเหมือนเดิม แต่คราวนี้กลัวว่าหากปัตตานีมหานครถูกจัดตั้งขึ้นได้จริง ผู้ที่จะเข้ามาบริหารต้องไม่ใช่คนในขบวน การอย่างแน่นอน หากแต่จะเป็นนักการเมืองที่มีอิทธิพลสูง
หรือผู้นำที่เคยมีบทบาทนำในการบริหารพื้นที่ตามแนวทางการบริหาร หรือบุคคลใดๆ ที่มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิไตย
ต้องไม่ใช่คนที่มือเปื้อนเลือดฆ่าพี่น้องมลายูมุสลิมเหมือนผักปลาอย่างขบวนการ
แล้วพวกเขาจะนั่งอยู่ตรงส่วนใดในตำแหน่งใดของมหานครนี้
และเมื่อคาดการณ์เป็นอย่างนี้แล้วจะยอมให้เกิดเขตปกครองพิเศษทำไม การแบ่งแยกดินแดนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะทำให้พวกเขาเข้ามานั่งชูคอในฝ่ายบริหาร มีตำแหน่งใหญ่โตได้ เพราะหากแบ่งแยกดินแดนได้สำเร็จจริงขบวนการยังมีกองกำลังติดอาวุธที่พร้อมกุดหัวใครก็ได้ที่เข้ามาขวางเส้นทางการเป็นใหญ่เป็นโตของพวกตน
ดังนั้นการปล่อยให้เกิดปัตตานีมหานครจึงไม่เป็นผลดีต่อขบวนการด้วยประการทั้งปวง
แม้ว่าการจัดตั้งเขตปกครองยังมองเห็นอยู่ลิบๆ
ข้างหน้า แต่กลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ก็ยังคงพยายามกันต่อไป
ด้วยหวังว่าแนวทางนี้จะช่วยให้เกิดสมดุลย์ทางการกระจายอำนาจ และเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่เพื่อการแบ่งแยกดินแดน แต่ที่สำคัญที่สุดหากมองว่าบุคคลสองกลุ่มนี้คือ
กลุ่มนักต่อสู้เพื่อปัตตานีมหานคร
กับกลุ่มนักต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชปัตตานี กำลังต่อสู้เพื่อบ้านเมืองอันเป็นที่รัก เพื่ออนาคตลูกหลานแล้ว
การต่อสู้ของกลุ่มต่อสู้เพื่อปัตตานีมหานครถือเป็นการต่อสู้ในแนวทางสันติ
เสนอแนวทางที่พวกเขาเชื่อว่าจะช่วยให้ปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานลดลงหรือหมดไป
โดยถือเอาเสียงใหญ่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยอมรับได้
แต่การต่อสู้ของกลุ่มนักต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชปัตตานี ที่ดีแต่ฆ่าผู้บริสุทธ์ถือปืนไปขู่ให้ชาวบ้านกลัวไปวันๆ ใครไม่ยอมทำตามก็ยิงทิ้ง แล้วมาอ้างว่าทำเพื่อผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก ทำเพื่ออนาคตของประชาชนและลูกหลาน แล้วไอ้ที่ตายๆ ไปน่ะเกือบครึ่งหนึ่งไม่ใช่ลูกหลานมลายูหรือ...ทุเรศ
ซอเก๊าะ
นิรนาม
///////////////////////////////////////
โจรใต้ถล่มฐานเจอซ้อนแผนถูกสอยดับ 2 ศพ ที่รือเสาะ นราธิวาส
วันพฤหัสบดี ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, 14.13 น.
////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น