11/11/2562

อดีตนักสิทธฯ กลุ่มPerMAS หัวหน้าพรรคประชาชาติ "คนละบ้าน แต่มุ้งเดียวกัน"


      จากเหตุการณ์สลด คนร้ายไม่ทราบจำนวน  ยิงใส่จุดตรวจ ชรบ. ม.5 ต.ลำพะยา และจุดตรวจ อส.ชุด ชคต. บ้านทุ่งสะเดา ม.5 ต.ลำพะยา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 15 ราย ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 4 ราย เมื่อ 5 พ.ย.2562 เวลา 22.15 น.  น่าเชื่อว่า เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ จชต. หลายฝ่ายประณามเหตุรุนแรงครั้งนี้ และกดดันกลุ่มการเมือง ภาคประชาสังคมให้ออกมาแสดงจุดยืนหรือร่วมประณามกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง จนปรากฏการออกมาแถลงการณ์ดังนี้

       คุณอังคณา นีละไพจิตร อดีตนักสิทธิมนุษยชน  เหตุการณ์ยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)ทำให้มีผู้เสียชีวิต15 ศพและบาดเจ็บอีก 4 คน ที่ลำพะยาเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจอย่างยิ่งต่อคนทั่วประเทศ ชรบ. อรบ. และ อส. ถือเป็นกองกำลังติดอาวุธฝ่ายพลเรือน ที่จัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย โดยคาดหวังให้ประชาชนปกป้องตัวเอง ทำหน้าที่คุ้มครองหมู่บ้าน รวมถึงเป็นกำลังเสริมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ต้องยอมรับว่ากองกำลังพลเรือนเหล่านี้เป็นอาสาสมัคร ได้รับการฝึกฝนน้อยทั้งเรื่องการใช้อาวุธ  และขาดอุปกรณ์ต่างๆในการปฏิบัติหน้าที่ เรื่องนี้ทุกฝ่ายคงต้องถามตัวเองว่า #นอกจากการออกมาประณามผู้ก่อเหตุ และสร้าง #FakeNews #เพื่อสร้างความเกลียดชังต่อนักปกป้องสิทธิการสร้าง #IOเพื่อสร้างความเกลียดชังนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการโยนความผิดให้คนทำงานสิทธิ ทั้งที่ #รัฐเองมีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิในชีวิตของบุคคลทุกคน  (รัฐดูแลประชาชนทั้งประเทศ คุณอังคณา ดูแลใคร )

         กลุ่มนักศึกษา PerMAS  ขอเรียกร้องให้การเมืองนำการทหารและทบทวนการติดอาวุธให้พลเรือน ตลอดระยะเวลา 15ปี ตราบใดที่แนวนโยบายเป็นไปตามแนวคิดความมั่นคง การทหารนำการเมืองนั้นไม่สามารถแสวงหาทางออกของความขัดแย้งได้ ทั้งยังปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน และจำเป็นที่รัฐไทยต้องทบทวนแนวนโยบายและเปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยคำนึงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ในการนี้ทาง PerMAS จึงขอเสนอข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

           1.รัฐไทยต้องทบทวนการติดอาวุธให้พลเรือน การพยายามดึงพลเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางอาวุธ และขอให้คู่ขัดแย้งหลักคำนึงถึงหลักกฎหมายมนุษยธรรมสากล (International Humanitarian Law)

          2.ให้รัฐไทยและคู่ขัดแย้งหลักทบทวนปฏิบัติการที่อาจเป็นเงื่อนไขขยายเวลาการทำสงคราม และให้กลับสู่การแสวงหาทางออกของความขัดแย้งด้วยวิธีการทางการเมือง เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและเพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองอย่างเสรี

         3.ขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆร่วมกันผลักดันให้เกิดการเจรจาเป็นวาระแห่งชาติ ที่อยู่บนหลักการสากลและเคารพเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง (นักศึกษากลุ่มนี้ พยายามจะแบ่งแยกดินแดนไทยตลอดเวลาโดยใช้คำว่า รัฐไทย  ที่จริงควรจะเรียกว่าประเทศไทย )

        วันมูหะมัดนอร์   มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ผู้ก่อเหตุจงใจทำลายกระบวนการสันติสุข ซึ่งรัฐบาลเองต้องเดินหน้าต่อไปเรื่องการเจรจาสันติภาพและความสงบให้เกิดขึ้น  แต่ ยืนยันว่ากฎหมายความมั่นคง เช่น กฎอัยการศึกหรือ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควร ได้รับการทบทวนพิจารณาค่อยๆ ยกเลิกออกไปอย่างมีขั้นตอน และกำลังที่เสริมก็ควรเป็นกำลังในพื้นที่ (ขึ้นต้นดูดีลงท้ายก็ให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงซึ่งกฎหมาย 3 ฉบับนี้มีไว้ปราบโจร ไม่ใช่หรือ)

         นี่เป็นคำแถลงการณ์ ของคนที่อยู่คนละบ้าน  แต่มุ้งเดียวกัน  อยู่กันคนละที่  ทำหน้าที่คนละอย่าง  แต่คำพูดที่ออกสื่อ เหมือนกันยังกับแพะชนแกะ เหมือนเป็นพวกเดียวกัน   พยายามยกสถานการณ์ในพื้นที่ให้ดูเป็นสงครามทั้งๆ ที่เป็นแค่เหตุรุนแรงและกลุ่มผลประโยชน์ในพื้นที่ การกล่าวอ้าง กำลังประชาชนที่เป็นจิตอาสา รักษาความปลอดภัยหมู่บ้านให้กลายเป็นกองกำลังติดอาวุธ พยายามเชื่อมโยงกฎหมายมนุษยธรรมสากล (IHL)เข้าใช้ในพื้นที่ จชต.และจะขอยกเลิกกฎหมายความมั่งคง เพื่อให้โจรใต้ก่อเหตุสะดวกโยธิน  อยากจะบอกว่า แผ่นนี้ดินเป็นของประชาชนคนไทย จะมาแบ่งแยกไม่ได้  ประชาชนทั้งประเทศไม่มีวันยอม  คนไทยพุทธ ไทยมุสลิม ในพื้นที่ ส่วนใหญ่ ประกาศไปแล้วว่า ไม่ต้องการยกเลิกกฎหมายความมั่นคงและต้องการให้คงกำลังทหารไว้ เพื่อดูแลพื้นที่ให้ความอบอุ่น ปลอดภัยกับพี่น้องต่อไป จำไว้นะทั้ง ๓ กลุ่ม ที่อยู่มุ้งเดียว


*******************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น