วันที่ 21 ก.ย.48 กรณี นย. 2 นาย คือ นาวาเอกวินัย นาคะบุตร และ นาวาตรีกำธร ทองเอียด ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบ้านตันหยงลิมอเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่วางตัวใกล้ชิดสนิทสนมชาวบ้าน ทหารทั้งสองนายนี้ได้เรียนรู้จนสามารถพูดภาษาถิ่นของชาวบ้านได้ และได้แวะเวียนเยี่ยมเยียนดูแลกิจการต่างๆ ในหมู่บ้านเป็นประจำ ในวันเกิดเหตุได้เดินทางไปช่วยเหลือคนเจ็บนำส่งโรงพยาบาล จากเหตุคนร้ายได้ใช้อาวุธสงคราม เอ็ม 16 กราดยิงเข้าไปในร้านน้ำชาในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันที่ 20 ก.ย.48 หลังจากเสร็จสิ้นการช่วยเหลือคนเจ็บ ขณะที่ นย. 2 นาย เดินทางกลับ เกิดรถเสีย จนถูกแนวร่วมที่ปะปนอยู่กับชาวบ้านใส่ร้ายว่าเป็นผู้กราดยิงชาวบ้าน และได้จับถอดเสื้อผ้า มัดมือไพล่หลัง แล้วยังใช้เชือกมัดติดกันทั้ง 2 คน และใช้ผ้าปิดตา ถูกทำร้ายทรมานอยู่ภายในศาลาที่พักในหมู่บ้าน จนประมาณเที่ยงของวัน ได้มีวัยรุ่นที่เป็นแนวร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ เข้ารุมทำร้าย พร้อมทั้งใช้มีดสปาร์ต้าฟันแทงจน นย.ทั้ง 2 นาย ต้องเสียชีวิตลงอย่างทุกข์ทรมานและเหี้ยมโหด
วันที่ 16 ต.ค.48 เกิดเหตุการณ์โหดเหี้ยมและสะเทือนความรู้สึกชาวพุทธทั่วทั้งประเทศ
เมื่อมีคนร้ายไม่ทราบจำนวนบุกเข้าไปในวัดพรหมประสิทธิ์ หมู่ 2 บ้านเกาะ
ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ฆ่าและเผาพระและเด็กวัด รวมทั้งจุดไฟเผากุฏิ
ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 3 ราย
วันที่
19 พ.ค.49 จูหลิง ปงกันมูล หรือจุ้ย
สาวน้อยจากภาคเหนือที่สอบบรรจุครูได้เป็นอันดับหนึ่งและเลือกจะเป็นครูในภาคใต้
โดยให้เหตุผลว่า "อยากช่วยเด็กๆ ที่ใต้ เพราะทุกวันนี้พื้นที่ใน 3
จังหวัดภาคใต้หาครูได้ยากเต็มที"
จนได้บรรจุเป็นครูสอนวิชาศิลปะของโรงเรียนกูจิงลือปะ ในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ
จ.นราธิวาส ถูกแนวร่วมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ปล่อยข่าวใส่ร้ายอ้างว่าครูจูหลิงเป็นสายข่าวของทางราชการ และจับเป็นตัวประกันไปคุมขังไว้ในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใกล้มัสยิดประจำหมู่บ้าน
และถูกรุมทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่สามารถช่วยครูจูหลิงได้และนำตัวส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
และส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันต่อมา
เนื่องจากเธอถูกตีจนสมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง กระทั่งเสียชีวิตไปอย่างโศกสลด
วันที่ 5 พ.ย.2562 ชาวบ้านลำพะยามีการนัดหมายให้มาประชุมกันกลางคืน
ณ จุดตรวจชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) บ้านทางลุ่ม ม.5 ต.ลำพะยา อ.เมือง
จ.ยะลา จึงมีทั้ง ชรบ. และ อรบ.
(อาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน) เข้าร่วมประชุมกัน
ระหว่างนั้นได้มีกลุ่มคนร้ายจำนวนหลายสิบคนบุกเข้าไปยิงถล่มอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน
ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตถึง 15 ศพ ได้รับบาดเจ็บอีก
5 ราย เป็นการสังหารหมู่ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์อย่างเลวร้ายเกินกว่ามนุษย์ทั่วไปจะทำได้
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545
ทำงานด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน รวมถึงความยุติธรรมฯ แต่ไม่เคยออกมาเรียกร้องช่วยเหลือให้กับผู้สูญเสียและครอบครัวในฝั่งที่เป็นเจ้าหน้าที่ หรือประชาชนผู้บริสุทธิ์ อย่างจริงจังเลยสักครั้ง (ดังที่ยกตัวอย่างในตอนต้นเพียงบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่)
ในทางตรงกันข้ามกลับคอยจ้องหาโอกาสที่จะเหยียบย่ำซ้ำเติมฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ทำงานบกพร่องผิดพลาดอยู่เสมอ
และออกหน้าให้การช่วยเหลือกลุ่มแนวร่วมที่สูญเสีย หรือถูกจับกุม แล้วแบบนี้จะให้สังคมเข้าใจกันอย่างไร ถ้าสังคมจะเรียกว่า “องค์กรสิทธิมนุษยโจร”
คงจะคู่ควรเหมาะสมกับองค์กรนี้แล้ว..ใช่หรือไม่.. ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบด้วยว่า
องค์กรในลักษณะนี้สมควรที่จะมีอยู่ในประเทศไทยอีกต่อไปหรือไม่
-----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น