8/14/2555

มาเลย์ร่วมมือไทยแก้ไฟใต้อย่างสันติ




มาเลเซียและไทย นอกจากมีความใกล้ชิดในสภาพ ภูมิศาสตร์พื้นที่ชายแดน ติดต่อกันแล้ว ความสัมพันธ์ ระหว่าง ๒ ประเทศ ยังแน่นแฟ้น ด้วยดีตลอดมา โดยที่ ผ่านมาทั้ง ๒ ประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ทั้งราชวงศ์ ชั้นสูง รัฐบาลและประชาชนในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการไปมาหาสู่กันในฐานะเครือญาติและ เพื่อนฝูง ซึ่งนนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งในด้านการค้า และด้านอื่นๆ


นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังอนุญาตให้ คนถือสัญชาติของอีกฝ่ายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ชายแดนใช้บัตรผ่านแดน ซึ่งออกให้โดยหน่วยงาน ปกครองท้องถิ่นของแต่ละฝ่ายแทนการใช้หนังสือ เดินทางเพื่อผ่านด่านพรมแดนกันได้ จากการเดินทางเยือนประเทศมาเลเซีย อย่างเป็นทางการของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้หารือ ข้อราชการเต็มคณะกับนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรี มาเลเซีย จากนั้นได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงว่าไทยและมาเลเซียจะร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานและความกินดีอยู่ดีในพื้นที่ภาคใต้กับรัฐทางตอนเหนือและตะวันออกของมาเลเซีย ในกรอบคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (เจดีเอส) ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียโดยจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ๒ แห่ง ที่ อำเภอสุไหงโก-ลก และ อำเภอตากใบ และสนับสนุนมาเลเซียในข้อเสนอที่จะส่งเสริมธุรกิจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างภาคเอกชนของ ๒ ประเทศ ใน ๖ สาขาสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ยางพารา น้ำตาล ข้าวและการท่องเที่ยว


ในการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า “มาเลเซีย สนับสนุนการแก้ไข ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทยอย่างสันติและไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบ ทั้งการก่อเหตุและการปราบปราม สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ของไทย มีความจงรัก ภักดีและเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์” และหากเป็นไปได้ต้องการให้รัฐบาลเข้าใจความรู้สึกของ คนในพื้นที่ โดยส่งเสริมบทบาทด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมให้มากขึ้น รวมถึงให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับตัวเองและรัฐบาลต้องยึดหลักความไว้เนื้อเชื่อใจด้วย “ยืนยันว่ามาเลเซียไม่สนับสนุน ให้มีการแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ของไทย” แต่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทั้ง ๒ ประเทศและสนับสนุนให้ประชาชนของ ๒ ประเทศไปมาหาสู่กันได้สะดวก ด้วยการเชื่อม ต่อเส้นทางคมนาคม แต่จะต้องมีการแก้ไขปัญหาบุคคล ๒ สัญชาติ โดยใช้การพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ถือสัญชาติเดียวและยืนยันว่า พร้อมช่วยเหลือไทยโดยเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้


นายกรัฐมนตรี มาเลเซียกล่าวว่า “เรายอมรับว่าปัญหาชายแดน ภาคใต้เป็นเรื่องภายในของไทย เชื่อว่า คนในภาคใต้คงไม่คิดแยกดินแดนแน่นอน” การที่รัฐบาลไทยเดินทางเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการเพื่อแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ดี ถึงดีมากจะสังเกตได้จากการที่นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ,ปัญหาบุคคล ๒ สัญชาติและยังกล่าวอีกว่า “มาเลเซียสนับสนุนการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทยอย่างสันติและไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงไม่สนับสนุนให้มีการแบ่งแยก ดินแดนทางภาคใต้ของไทย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น