เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามเข้ามาแก้ไข เพื่อให้ความสงบสุขกลับคืนสู่พี่น้องชาวใต้อีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ และกำลังพลเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่สงบกลับรุนแรงขึ้นทุกขณะไม่เว้นแต่ละวันถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวถือเป็นภาระหนักอึ้งที่รัฐบาลต้องตอบโจทย์ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่ามาตรการการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเดินมาถูกทาง โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปี 2551 เพื่อให้ผู้ที่หลงผิดกระทำการก่อการร้ายกลับเป็นพลเมืองดี เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เจริญยิ่งขึ้น
และจากมาตรการดังกล่าวทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบทยอยเข้ามอบตัว โดยล่าสุดกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวน 40 คนได้ติดต่อขอมอบตัว ผ่านทาง นายประพัฒน์ วิบูลย์สุข ทนายความอิสระผู้ประสานงานกับอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นได้เจาะลึกถึงสาเหตุ และแรงจูงใจที่ทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุในพื้นที่ พร้อมทั้งสาเหตุที่ยอมกลับใจมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่นายเต็ง(นามสมมุตติ) อดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1 ใน 40 คนที่จะเข้ามอบตัว
เปิดใจต่อ "ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่น" ว่าเข้าร่วมขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548 โดยการชักชวนจากเพื่อนในกลุ่มพื้นที่ จ.ปัตตานี ส่วนสาเหตุที่เข้าไปร่วมในขบวนการเป็นเพราะความโกรธแค้นที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม และสังหารเพื่อนญาติทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิด เมื่อย้อนถามไปถึงพฤติกรรมการก่อเหตุในพื้นที่นั้น ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นถึงกับอึ้ง เมื่อได้รับคำตอบว่าหลังจากเข้าร่วมขบวนการเคยก่อเหตุมาแล้ว 6 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการยิงสายข่าว เจ้าหน้าที่รัฐ หรือตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่งลอบวางระเบิดในพื้นที่โดยในแต่ละครั้งหากเป็นการยิงสายข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐจะได้เงิน 400-500 บาท แต่ต้องทำงานสำเร็จ คือ "ฆ่าให้ตาย" ส่วนการวางระเบิดจะได้ครั้งละ 1 หมื่นบาท ขึ้นไปแล้วแต่ความยากง่ายของงานคือ กลุ่มแรก จะเป็นคนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา กลุ่มที่สองจะเป็นคนประกอบระเบิด ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะเป็นคนนำระเบิดไปวางยังจุดที่ได้รับมอบหมาย ผมอยู่ในกลุ่มสุดท้ายคือนำระเบิดไปวางตามเป้าหมายที่ต้องการก่อเหตุโดยการวางระเบิดแต่ละครั้งจะอำพรางตัวเองเป็นชาวบ้านเมื่อก่อเหตุเสร็จจะหลบหนีไปอยู่บ้านเพื่อน 4-5 วัน หรือบางครั้งอยู่ในบ้าน เมื่อเรื่องเงียบจะออกมาใช้ชีวิตตามปกติ" อดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลับใจกล่าว
เปิดใจต่อ "ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่น" ว่าเข้าร่วมขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548 โดยการชักชวนจากเพื่อนในกลุ่มพื้นที่ จ.ปัตตานี ส่วนสาเหตุที่เข้าไปร่วมในขบวนการเป็นเพราะความโกรธแค้นที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม และสังหารเพื่อนญาติทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิด เมื่อย้อนถามไปถึงพฤติกรรมการก่อเหตุในพื้นที่นั้น ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นถึงกับอึ้ง เมื่อได้รับคำตอบว่าหลังจากเข้าร่วมขบวนการเคยก่อเหตุมาแล้ว 6 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการยิงสายข่าว เจ้าหน้าที่รัฐ หรือตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่งลอบวางระเบิดในพื้นที่โดยในแต่ละครั้งหากเป็นการยิงสายข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐจะได้เงิน 400-500 บาท แต่ต้องทำงานสำเร็จ คือ "ฆ่าให้ตาย" ส่วนการวางระเบิดจะได้ครั้งละ 1 หมื่นบาท ขึ้นไปแล้วแต่ความยากง่ายของงานคือ กลุ่มแรก จะเป็นคนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา กลุ่มที่สองจะเป็นคนประกอบระเบิด ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะเป็นคนนำระเบิดไปวางยังจุดที่ได้รับมอบหมาย ผมอยู่ในกลุ่มสุดท้ายคือนำระเบิดไปวางตามเป้าหมายที่ต้องการก่อเหตุโดยการวางระเบิดแต่ละครั้งจะอำพรางตัวเองเป็นชาวบ้านเมื่อก่อเหตุเสร็จจะหลบหนีไปอยู่บ้านเพื่อน 4-5 วัน หรือบางครั้งอยู่ในบ้าน เมื่อเรื่องเงียบจะออกมาใช้ชีวิตตามปกติ" อดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลับใจกล่าว
อย่างไรก็ตามในมุมมองของนายเต็ง ได้กล่าวถึงสาเหตุของความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเพราะการแย่งผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเถื่อน หรือยาเสพติด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนหรือสงครามศาสนารวมถึงความไม่เข้าใจ ภาษาการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่ทำให้เกิดการดูถูกเหยียดหยาม ชาวบ้านจึงเกิดความคับแค้นเข้าร่วมกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ทำให้กลุ่มก่อการ้ายขยายเป็นวงกว้าง ขณะเดียวกันผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแยกออกว่า "ใครเป็นคนก่อเหตุตัวจริงกันแน่"
นอกจากนี้นายเต็ง มองถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้สงบลงว่า ควรให้ทหารดูแลพื้นที่โดยตรง ควรยกเลิกกลุ่มอาสาทหารพรานเพราะอาสาทหารพรานบางคนไม่เข้าใจปัญหา บางคนเคยทำผิดมาก่อนเมื่อฝึกอบรมออกมามีตำแหน่งกลับมาถืออาวุธข่มขู่ชาวบ้าน บางครั้งถึงขนาดจับคนในพื้นที่ไปติดคุกทั้งที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ต่างจากทหารเพราะทหารได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี
สุดท้ายนายเต็ง ได้เปิดใจถึงสาเหตุที่ออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่รัฐว่า ที่ผ่านมาหลงผิดกับสิ่งที่ทำไป ส่วนตัวอยากให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบสุขเหมือนเดิม ผมอยากจะช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับไปคุมขัง ทั้งที่ไม่ได้ทำความผิด พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำวันนี้ผมอยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่เพื่อนที่ถูกฆ่า และถูกยัดข้อหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
ขณะเดียวกัน ทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่นได้ประสานผ่าน นายประพัฒน์ ผู้ประสานงานอย่างอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเข้าไปพูดคุยกับนายยา (นามสมมุติ) กลุ่มผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2544 นายยาเปิดใจว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2544 เคยเป็นอดีตทหารพรานทำงานให้รัฐในหน้าที่ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนและเป็นสายข่าว ต่อมากลับมาถูกจับยัดข้อหาในคดีฆ่าปาดคอ โดยขณะนั้นมีพยานเพียงเด็ก 7 ขวบ ลูกชายของผู้ตายชี้รูปว่าใครเป็นก่อเหตุเท่านั้น เมื่อถูกจับกุมไป การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนไม่มี ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบออกอาละวาดประกอบกับในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ ทำให้มีประชาชนที่เป็นมุสลิมในพื้นที่ถูกเจ้าหน้าที่ยัดข้อหา และวิสามัญฆาตกรรม เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงโกรธแค้นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเข้าไปร่วมกลุ่มพูโล หรืออาร์เคเค ในปัจจุบัน แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแย่งชิงผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
"ถ้าต้องการให้ชายแดนใต้สงบ เจ้าหน้าที่ต้องคืนความเป็นธรรม ให้แก่ชาวบ้านที่ถูกจับกุม หรือถูกสังหารในคดีที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น และทำตามข้อเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างการแก้ปัญหาได้ที่อดีตผู้ก่อความไม่สงบ 40 คนได้เสนอไปปัญหาเหล่านี้จะจบลงอย่างแน่นอน" นายยากล่าวปิดท้ายอย่างน่าสนใจ
"แสงสว่างปลายอุโมงค์ นโยบายการนำคนกลับบ้าน และส่งเสริมรับฟังผู้มีความคิดต่าง ไม่ยอมรับผู้ใช้อาวุธทุกกรณีบวกการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ของขุนทัพยี่ห้ออุดมชัย ของทัพภาค 4 คนปัจจุบัน คือขวากหนามที่ กลุ่มขบวนการต่อกรด้วยยากจริงๆ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น