"นักรัก ปัตตานี"
ขบวนการแบ่งแยกดินแดนใต้เกิดขึ้นมานานแล้ว
ตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ สมัย ร.5 ในครั้งที่
ตนกูอับดุลกาเดร์ บินตวนกู รอมารุดดิน หรือ พระยาวิชิตภักดี เจ้าเมืองปัตตานี
ในขณะนั้นไม่พอใจที่ ร.5 ส่งเจ้าเมืองคนใหม่ที่เป็นมุสลิมจากกรุงเทพมาปกครองปัตตานี
ทำให้เจ้าเมืองเดิมไม่พอใจฝักใฝ่อังกฤษ ในที่สุดพระยาวิชิตภักดี
ถูกทางการสยามจับกุมตัวในข้อหากบฏ
จากการศึกษาข้อมูลกลุ่มขบวนการที่ได้เคลื่อนไหวเพื่อต้องการเอกราชจากรัฐไทย
ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีได้แก่ ขบวนการ กัมปา (GAMPAR) หรือ “สมาคมรวมเผ่ามลายูที่ยิ่งใหญ่” ขบวนการยุคที่ 2 ขบวนการ บีเอ็นพีพี BNPP (Barisan National Pembebasar
Pattani) ขบวนการยุคที่ 3 ขบวนการ บีอาร์เอ็น หรือ
กลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี BRN (Barisan Revolusi Nasional) ซึ่งได้แยกตัวออกมาจากขบวนการ บีเอ็นพีพี ขบวนการยุคที่ 4 ขบวนการ
พูโล PULO (Patani United Liberation Organization) แยกตัวมาจาก ขบวนการ บีอาร์เอ็น ขบวนการยุคที่ 5 ขบวนการ
มูจาฮีดีน (มูจาฮีดีน ปัตตานี หรือ BBMP, มูจาฮีดีน
อิสลามปัตตานี หรือ GMIP) นอกจากนั้นยังมีขบวนการ เบอร์ซาตู
ขบวนการ เปอร์มูดอ และขบวนการ RKK
ขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือ ขบวนการปฏิวัติได้วางแผนและสั่งการอำนวยการ กำหนดให้กลุ่มแนวร่วมขบวนการรับผิดชอบในเขตพื้นที่
2 – 3 อำเภอ ที่เรียกว่า “สะกอม” ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการหลายคณะ
ทั้งฝ่ายทหาร (ระดับกองร้อย) และฝ่ายมวลชน (ระดับสะกอม) ฝ่ายเยาวชน ฝ่ายเศรษฐกิจ
ฝ่ายสตรี และฝ่ายศาสนา (อูลามา)โดยกลุ่มคนเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาจากเยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ที่คัดเลือกเยาวชนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับแนวหน้ามีความประพฤติดี
ใฝ่ใจในศาสนาอิสลาม ซึ่งขบวนการปฏิวัติได้ใช้เวลาบ่มเพาะพร้อมให้การศึกษาด้านงานปฏิวัติอีก
4-5 ปี จึงนำไปสู่การปฏิวัติ เพื่อขับเคลื่อนงานมวลชน
และงานด้านการทหารของขบวนการปฏิวัติมลายูในแต่ละเขตงาน (สะกอม)
ข้อพิจารณาในการคัดเลือกของกลุ่มคนในระดับนี้
1. กลุ่มคนในระดับนี้เป็นนักคิดนักปฏิวัติที่มุ่งมั่นต่อต้านรัฐบาลไทยทุกๆ
รัฐบาลตลอดเวลาไม่ว่ารัฐบาลจะทำถูกทำดี
ต่อประชาชนมลายูก็จะถูกต่อต้านในทุกรูปแบบด้วยแนวคิดที่คาดไม่ถึง
2.
กลุ่มนักคิดนักปฏิวัติเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นนักปลุกระดม นักจัดตั้งมวลชนซึ่งมีพื้นฐานการปลูกฝังอุดมการณ์ในการต่อสู้ทั้งด้านการทหารและด้านการเมืองดังนั้นกลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้จึงสามารถวิเคราะห์งานการเมืองและการทหารได้อย่างตรงไปตรงมาและมีคุณภาพ
3.
กลุ่มนักคิดนักปฏิวัติเหล่านี้ มีความสามารถในการบริหารองค์กรปฏิวัติให้เกิดผลงาน ด้วยการบริหารคน เวลา ทรัพยากรที่มีอยู่ใน 3 จชต. อย่างจำกัด
โดยไม่หวังผลตอบแทนเพียงเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองเป็นนักปฏิวัติในอุดมคติของขบวนการปฏิวัติมลายู
4. ในแง่ของศาสนา
กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้มีความรู้ทางด้านศาสนาสูงกว่าชั้น 10 (ซานาวี)
โดยจะแฝงตัวเข้าไปเรียนศาสนาในขั้น 11-14
ที่โรงเรียนสอนศาสนาชื่อดังในตัวเมืองยะลา และโรงเรียนสอนศาสนาในตัวเมืองปัตตานี
ทำให้กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้สามารถใช้ศาสนานำไปเป็นเงื่อนไขปลุกเร้าให้ RKK และมวลชนในหมู่บ้านจัดตั้ง (อาเจ๊าะ) พร้อมที่จะต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลไทยได้ตลอดเวลาโดยผ่านทางฝ่ายอูลามา
(ศาสนา) ในระดับสะกอม
5. กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้มักจะถูกจำกัดในเรื่องการเรียนสายสามัญ
และสายศาสนาให้อยู่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีเกือบทุกคน ทั้งๆ
ที่เป็นกลุ่มที่มีผลการเรียนดีมาตั้งแต่เด็ก ทำให้กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้ปฏิเสธการมีใบปริญญาแต่ยอมรับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานมากกว่า
ดังนั้นกลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้จะเปิดตัวมาทำงานในโลกของการแข่งขันด้วยใบปริญญาจึงมีน้อยมาก
แต่ก็ทำให้นักปฏิวัติเหล่านี้ได้คิดได้เปรียบเทียบ
และพบว่าทำไมกลุ่มผู้นำขององค์กรปฏิวัติมลายูส่วนใหญ่จึงส่งลูกหลานไปเรียนต่อในระดับสูง
จบถึง ป.โท ป.เอก ทั้งสายสามัญ และสายศาสนา ทั้งในและต่างประเทศ
ตรงกันข้ามกับกลุ่มพวกเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวบ้านมลายูธรรมดาเท่านั้นเอง
กลับไม่มีโอกาสเช่นนั้น
6.
ด้วยความเป็นนักปฏิวัติในอุดมคติของบุคคลเหล่านี้ที่ถูกสร้างมาจากองค์กรปฏิวัติมลายู
ทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้มีความฝันในอุดมคติ
เหนือกว่าความได้เป็นเอกราชของรัฐปัตตานี
นั่นคือการทำให้พี่น้องมลายูมีความสุขสันติตามแนวทางอิสลาม
ดังนั้นนักปฏิวัติเหล่านี้มักจะไม่สนใจความสุขสบายเป็นส่วนตัว ไม่หวังตำแหน่งลาภยศใดๆ
ทั้งสิ้น ทำให้นักรบเหล่านี้ถูกองค์กรนำ DPP หลอกใช้ทำงานปฏิบัติได้อย่างง่ายดายโดยปราศจากสิ่งตอบแทนใดๆ
ทั้งสิ้น
7.
กลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้
ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่บริเวณบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองเป็นหลัก
เพราะมีความคุ้นเคยกับคนกับชุมชน และกับภูมิประเทศ รวมถึงลมฟ้าอากาศเป็นอย่างดี
จึงสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นนักปฏิวัติเหล่านี้ จึงสามารถแฝงและฝังตัวอยู่ในพื้นที่ในสถานการณ์ต่างๆ
ได้ตลอดเวลาจนฝ่ายรัฐไม่คาดคิดว่าบุคคลกลุ่มนี้เป็นสมาชิกของขบวนการปฏิวัติมลายู
8.
กลุ่มนักปฏิวัติมักมีความมั่นใจในการบริหารงานในองค์กรปฏิวัติว่าสามารถต่อต้านรัฐไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะงานด้านการจัดตั้งมวลชนมลายู
เพราะด้วยการปฏิวัติตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีในทุกมิติของสังคมมลายูในพื้นที่นั้นๆ
จนเป็นที่ยอมรับของประชาชนมลายูในพื้นที่ตลอดเวลา
ดังนั้นกลุ่มนักปฏิวัติเหล่านี้มีความเชื่อว่าพวกเขาสามารถควบคุมประชาชนมลายูในพื้นที่รับผิดชอบในทุกๆ
มิติ โดยเฉพาะมิติทางการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในระดับท้องถิ่นหรือในระดับชาติ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ระดับ 3 ปฏิบัติการ
ขบวนการปฏิวัติมลายูได้สร้างสมาชิกระดับปฏิบัติการเอาไว้เป็น
2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มทหาร และกลุ่มมวลชน กลุ่มทหารที่รู้จักกันภายใต้ชื่อว่า RKK มีหน้าที่ปฏิบัติการทางทหารในรูปแบบของกองโจรและการก่อการร้าย
ส่วนกลุ่มมวลชนที่รู้จักกันในชื่อว่า อาเจ๊าะ (หมู่บ้านจัดตั้ง)
มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการรบและช่วยรบ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีข้อแตกต่างกัน คือ
กลุ่มสมาชิก RKK จะเป็นเยาวชนมลายูที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี
ส่วนมากจะเป็นเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนเสียเป็นส่วนใหญ่
ส่วนกลุ่มสมาชิกอาเจ๊าะ จะเป็นประชาชนมลายูที่อยู่ในหมู่บ้านชนบท
มีความศรัทธาในศาสนาแต่ไม่มีความรู้ในเรื่องศาสนามากนัก
ขบวนการปฏิวัติมลายูจึงฉวยโอกาสใช้ศาสนาบิดเบือนเจือปนกับงานปฏิวัติของขบวนการปฏิวัติ
เข้าไปปลุกระดมบ่มเพาะชักชวนให้เป็นสมาชิกของขบวนการปฏิวัติมลายู
ข้อพิจารณาของกลุ่มคนระดับปฏิบัติการ
1. กลุ่มปฏิบัติการทั้ง 2
กลุ่ม มีความเชื่อว่าการปฏิบัติงานของตนเองนั้น เป็นการปฏิบัติงานเพื่อศาสนา
เพื่อพระเจ้า
แต่จะเป็นการสนับสนุนงานปฏิวัติของขบวนการปฏิวัติมลายูหรือไม่นั้นยังไม่สำคัญ
เพราะกลุ่มปฏิวัติทั้ง 2 กลุ่ม มีความเชื่อว่าสถานการณ์ใน 3 จชต.
อยู่ในภาวะสถานการณ์สงครามศาสนา (ดารุลฮารบี) ซึ่งเป็นข้อบังคับ (วาญิบ)
ที่มุสลิมทุกคนใน 3 จชต. ต้องปฏิบัติถ้าไม่เชื่อจะเป็นบาป
แต่ถ้าปฏิบัติจะได้บุญมากกว่าปกติ และถ้าเสียชีวิตในการทำสงครามศาสนาจะได้สถานะฮีด
คือไปสู่สวรรค์โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสอบสวนของเทวทูต
และไม่ต้องอาบน้ำศพและไม่ต้องละหมาด เมื่อ RKK เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่จะเห็นได้ว่าญาติๆ
จะกีดกันไม่ให้โต๊ะอิหม่ามทำพิธีละหมาดและอาบน้ำศพก่อนนำไปฝังที่กุโบร์
ดังนั้นการวินิจฉัยการปฏิบัติขิง RKK ที่เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่แล้วไม่อาบน้ำศพและทำพิธีละหมาดนั้น
ถูกหรือไม่ในหลักศาสนาอิสลามซึ่งผู้รู้ศาสนาอิสลามใน 3 จชต.
ส่วนใหญ่รู้ว่าสถานการณ์ใน 3 จชต. ยังไม่เข้าสถานะสงครามศาสนา (ดารุลฮารบี)
แต่ไม่มีใครกล้าออกมาพูดเพราะกลัวขบวนการปฏิวัติมลายูจะสังหารเหมือนบาบอหรือโต๊ะครูบางท่านที่ออกมาคัดค้านจนถูกฆ่าตาย
2. ด้านการเงินสนับสนุนของขบวนการปฏิวัติมลายูกลุ่มปฏิบัติการทั้ง
2 กลุ่ม จะต้องสละเงินวันละ 1 บาท/คน สำหรับกลุ่มมวลชน (อาเจ๊าะ) และสละเงินวันละ
2 บาท/คน สำหรับกลุ่ม RKK ด้วยความเต็มใจ ซึ่งขบวนการมิได้บังคับแต่อย่างใด
จะเห็นได้ว่าตราบใดที่ขบวนการปฏิวัติมลายูยังคงสามารถสร้างสมาชิกแนวร่วม (อาเจ๊าะ)
และสมาชิก RKK ได้อยู่ตลอดเวลา
ระบบการเงินสนับสนุนของขบวนการ
ก็ยังคงมีอยู่เช่นนั้นเป็นระบบการเงินพื้นฐานของขบวนการปฏิวัติมลายูนอกเหนือจากระบบการเงินสนับสนุนวันละ
1 บาท และ 2 บาท ของกลุ่มปฏิบัติการนี้แล้ว ขบวนการปฏิวัติมลายูระดับนโยบาย (DPP) จะไปใช้จ่ายอย่างไรสมาชิกกลุ่มปฏิบัติการทั้ง
2 กลุ่ม ไม่มีสิทธิ์ไปทวงถามแต่อย่างใด
3.
กาตอบแทนการปฏบัติงานของกลุ่มปฏิบัติการทั้ง 2 กลุ่มนี้ ขบวนการปฏิวัติมลายูไม่ได้ให้ค่าตอบแทนใดๆ
ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของแต่อย่างใด
แต่จะให้ตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานปฏิวัติเท่านั้น
ซึ่งผลตอบแทนคือจะได้บุญมากกว่าบุญปกติ อย่างไรก็ตามเมื่อกลุ่มปฏิบัติการทั้ง 2
กลุ่ม มีความเบื่อหน่ายอ่อนล้าจาการปฏิบัติงานมานาน ขบวนการปฏิวัติจะใช้ฝ่ายศาสนา
(อูลามา) เข้าไปปลุกระดมด้วยเงื่อนไขศาสนา (ดารุลฮารบี) ซ้ำๆ อีก
ก็จะทำให้สมาธิปฏิบัติการทั้ง 2 กลุ่ม
มีกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของขบวนการปฏิวัติมลายูต่อไป
4. ความเป็นคนดีของสังคมมลายู
ขบวนการปฏิวัติมลายูจะคัดเลือกคนเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มปฏิบัติการด้วยคุณสมบัติของความเป็นคนดีในมิติของศาสนาอิสลามเป็นพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม
RKK หรือกลุ่มอาเจ๊าะ (หมู่บ้านจัดตั้ง) ก็ตาม
บุคคลเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นในหมู่เยาวชน หรือในหมู่ประชาชนมลายูในหมู่บ้าน เช่น
ไม่ติดยาเสพติด ชอบเล่นกีฬา ชอบละหมาด
หรือถ้าเป็นประชาชนก็จะเป็นผู้เสียสละเพื่อส่วนรวม
ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพการงานสอนศาสนา ไม่ทำตัวเป็นนักเลงอันธพาล
หรือเป็นผู้มีอิทธิพลค้ายาเสพติด
ดังนั้นขบวนการปฏิวัติมลายูจึงเลือกบุคคลเหล่านี้ในหมู่บ้านเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มปฏิบัติการเพราะโดยพื้นฐานของสังคมชุมชนมลายูแล้ว
คนมลายูทั่วๆ ไปต่างก็ยอมรับความเป็นคนดีของคนเหล่านี้อยู่แล้ว
แต่เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ได้เป็นสมาชิกกลุ่มปฏิบัติการของขบวนการปฏิวัติมลายู ก็ถูกขบวนการปฏิวัติมลายูปรับเปลี่ยนความคิดเพิ่มเติม
คือ ความคิดให้เกลียดคนไทยพุทธ และต่อต่านรัฐบาลไทยอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยถูกกล่าวหาว่าไปจับกุมคนดีของชุมชนมลายูอยู่เสมอกับการปฏิบัติการ
ลับ ลวง พราง ของขบวนการปฏิวัติมลายูทำให้ผลการดำเนินคดีต้องฟ้องหรือปล่อยตัวในที่สุุด
นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจึงต้องกลายเป็นจำเลยของสังคมโดยเฉพาะสังคมมุสลิมว่าเจ้าหน้าที่จับกุม
ทำร้ายประชาชนมลายูมุสลิมผู้บริสุทธิ์ที่มีแต่มือเปล่า
@@@@@@@@@@@@@
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น