ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
นับตั้งแต่ปี 47 จนถึงปัจจุบัน
นอกจากสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่แล้วยังส่งผลเสียหายต่อสังคม
เศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก
เป็นเหตุให้องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจ
รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงกลุ่มต่างๆ ได้รวมตัวเคลื่อนไหวหาทางเป็นตัวกลางระหว่างรัฐและประชาชนเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตามลักษณะองค์กร
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการให้ความช่วยเหลือนี้เกิดจากจิตอันเป็นกุศลเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
หากสืบสาวถึงประสบการณ์ของกระบวนการสร้างสันติภาพในโลกแล้วเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า
บทบาทของประชาชนเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสันติภาพที่ไม่อาจมองข้ามได้
และเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัวสืบเนื่องมาเป็นเวลากว่า 8 ปี
ท่ามกลางปัญหาวิกฤติ ประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อปัญหาตั้งแต่การมีปฏิกิริยาต่อต้านความรุนแรง การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย การพัฒนาท้องถิ่น รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบนโยบายตลอดจนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และรณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพในสังคมส่วนใหญ่
ท่ามกลางปัญหาวิกฤติ ประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อตอบสนองต่อปัญหาตั้งแต่การมีปฏิกิริยาต่อต้านความรุนแรง การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย การพัฒนาท้องถิ่น รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบนโยบายตลอดจนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และรณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างสรรค์สันติภาพในสังคมส่วนใหญ่
นั้นเป็นบทบาทที่ควรจะเป็นและสมควรได้รับการยกย่องสำหรับองค์กรที่มีความมุ่งมั่น
และมีเป้าหมายที่ดีงามตามแรงผลักดันในการจัดตั้งของแต่ละองค์กร
คำกล่าวที่ว่าทุกสังคมย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีนั้นเป็นจริงเสมอ ในท่ามกลางความเอื้อเฟื้ออารี
ในพื้นที่ที่ดูจะมีแต่ความเห็นอกเห็นใจกันระหว่างผู้ได้รับผลกระทบ ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งการแสวงหาผลประโยชน์ของบางกลุ่มบางองค์กรที่ฉวยโอกาสกอบโกยเงินทองบนความเดือดร้อนของประชาชน
หรือบางองค์กรก็ขยายความขัดแย้งให้มากขึ้นเพื่อให้พื้นที่นี้ยังเป็นแหล่งทำมาหากินต่อไป
ที่น่ากลัวกว่านั้นคือการเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมที่มีความเชื่อมโยงและมีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
ที่พยายามสร้างผลงานด้วยการสร้างภาพการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันก็หาช่องว่างแม้เพียงน้อยนิดนำเสนอผ่านการรายงานแบบให้ข่าวสารด้านเดียวหรือเรียกง่ายๆ
ว่า “บิดเบือน” ไปยังแหล่งทุนเพื่อให้ได้รับเงินบริจาคหรือสนับสนุนจากต่างประเทศ ซึ่งเหล่านี้นับเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ
และในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ก็มีองค์กรที่มีบทบาทนำในเรื่องสิทธิมนุษยชนและมีพฤติกรรมเช่นนี้อยู่
2-3 องค์กร โดยที่ภาครัฐไม่สามารถแตะต้องได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเอ่ยนามและในแวดวงองค์กรภาคประชาสังคมด้วยกันจะทราบกันดี
วิธีการนี่ดูคล้ายๆ กับวิธีของขบวนการก่อเหตุรุนแรงที่ใช้วิธีการเดียวกัน แต่ใช้การก่อเหตุร้ายเพื่อขอเงินสนับสนุนจากประเทศที่นิยมความรุนแรง เพื่อจุดประสงค์เดียวกันบนเส้นทางที่แตกต่าง
ตัวแปรสำคัญซึ่งเรียกว่า “อิทธิพลของแหล่งทุน” นั้นมีผลต่อความเป็นไปของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก เพราะสวนใหญแหลงทุนมักจะ เปนผูกําหนดรายละเอียดการทํางาน
การตรวจสอบดวยการรายงานและเปนผูกําหนดวัตถุประสงคที่ตองการ โดยเฉพาะแหลงเงินทุนที่มาจากตางประเทศมักจะมีความมุง หมายที่ไมเปนผลดีตอประเทศที่เกิดปญหา หรือที่เรียกว่า
“การบ่อนทำลาย” ซี่งแน่นอนว่าหากองค์กรภาคประชาสังคมใดๆ ที่แฝงตัวเข้ามาเพื่อผลประโยชน์และได้รับทุนมาดำเนินการก็ต้องปฏิบัติไปตามแนวทางนั้น และหากวัตถุประสงค์คือการบ่อนทำลาย
ภาพของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะมีแต่ความเลวร้ายไม่จบสิ้น
และยังจะคงต่อเนื่องไปอีกยาวนานตราบใดที่ยังมีผู้หวังผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของ ประชาชนอยู่เช่นนี้
วันนี้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีองค์กรภาคประชาสังคมอยู่เกือบๆ 300 กลุ่มองค์กรและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้น ด้วยเพราะเม็ดเงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลจากแหล่งต่างๆ
ทั้งในและนอกประเทศกำลังแพร่สะพัดรอให้ผู้ที่หวังดีนำมาช่วยเหลือสังคม และรอให้ผู้ไม่หวังดีมาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ นอกเหนือจากการดำเนินการของภาครัฐโดย ศอ.บต. และฝ่ายความมั่นคงที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยใช้ความพยายามทุกทางแล้ว จึงมีคำถามว่าองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถให้การช่วยเหลือ
ยับยั้งหรือลดระดับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มากน้อยแค่ไหนในช่วงเวลาที่ผ่านมา
เพราะนอกจากข้อเท็จจริงเรื่องการแอบแฝงข้างต้นแล้ว ยังสามารถมองเห็นความขัดแย้งทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจขององค์กรภาคประชาสังคมกับองค์กรภาครัฐอยู่เนืองๆ
ถึงเวลานี้หนทางหนึ่งที่ดูจะเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้นคือ
“การสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน” แต่การนำเครือขยายองค์กรภาคประชาสังคมให้มาร่วมคิดร่วมทำกับฝ่ายความมั่นคงนั้นถึงแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่หากได้มีการพยายามสร้างและพัฒนาให้เป็นเครือข่ายทํางานร่วมกันได้สำเร็จ จะช่วยทำให้การแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ง่ายขึ้น
ด้วยการพบปะพัฒนาสัมพันธ์เพื่อให้มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
จะนํามาซึ่งความเข้าใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล
โดยมุ่งสู่ประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล เพื่อนําความสงบสุขมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน
นี่น่าจะเป็นแนวทางที่สามารถกระทำได้หากสองฝ่ายเปิดใจให้กว้างและคำนึงถึงชาติบ้านเมือง
ส่วนขององค์กรที่แอบอ้างว่าทำเพื่อประชาชน เพื่อส่วนรวม
ที่ยังไม่ยอมเลิกพฤติกรรมของยุงที่ชอบดูดกินเลือดมนุษย์ด้วยกัน ก็อยากจะเข้าใจว่าเป็นอาชีพที่จำเป็นต้องทำเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเองและพวกพ้อง แต่หากยังต้องอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินที่ตนเองเรียกว่า “บ้านเกิดเมืองนอน” แล้วก็ควรต้องมีจิตสำนึก
อย่าหากินบนความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนเลย..... กรรมมันจะตามทัน และก่อนที่จะจบบทความจากความรู้สึกที่พวกเราเฝ้ามองติดตาม
NGO อยู่ในส่วนที่เป็นจุดลบ จุดด้อย หรือจุดไม่ดี
เราก็ขอให้พวกท่านได้ไปทบทวนวิพากษ์ แก้ไขกันเอง
แต่จุดที่ดีนั้นเราอยากจะบอกท่านว่า ท่านยังเป็นความหวังของประชาชน
ความหวังของทุกฝ่ายที่ได้รับการปฏิบัติอย่างขาดความเป็นธรรม
ท่านสามารถนำอุดมการณ์ความมุ่งมั่นมาใช้แก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
จิตวิทยา ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะมาร่วมกันแก้ปัญหาความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ของพวกเราให้สงบลงเสียทีเถิด
ประชาชนเฝ้ารอปรบมือให้แก่ท่านอยู่แล้ว
ซอเก๊าะ
นิรนาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น