"Ibrahim"
จากกรณีการอ่านแถลงการณ์และให้สัมภาษณ์ของ นายอับดุลการิม คาลิบ
(Abdul
Karim Kuhalib) หรือ นายรอมลี แบเลาะ
รอมือลี/มือลี อดีตครูสอนวิชาสามัญ โรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งอ้างตนเป็นโฆษก BRN ผ่านสำนักข่าว BBC ไทย
นายอับดุลการิม คาลิบ มีแนวความคิดหัวรุนแรงและสุดโต่ง
ในอดีตเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 นายอับดุลการิม เป็นหนึ่งในคณะผู้แทน BRN ในการพูดคุยสันติภาพซึ่งใช้ฐานะผู้แทนสภาเยาวชน BRN ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2556 ได้ร่วมกับ
นายฮาซัน ตอยิบ ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ BRN ในขณะนั้นได้ออกแถลงการณ์ยื่นเงื่อนไขข้อเรียกร้อง
5 ข้อต่อรัฐบาลไทย ผ่านทางคลิปวีดีโอเผยแพร่ทาง Youtube ถัดมาในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันได้ร่วมกับ
นายฮาซัน ตอยิบ แถลงผ่านทางคลิปวีดีโอ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ Youtube เช่นกัน กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยอยู่เบื้องหลังเหตุลอบยิงชาวบ้านเสียชีวิต
6 ศพ ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี รวมทั้งเหตุการณ์อื่นๆ
การอ่านแถลงการณ์และให้สัมภาษณ์ของ นายอับดุลการิม คาลิบ โฆษก
BRN
ผ่านสำนักสื่อ BBC ไทย เนื้อหาในแถลงการณ์มีการสื่อถึง 3 ภาษาด้วยกัน เป็นความตั้งใจต้องการที่จะสื่อต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแนวร่วม
อีกทั้งต้องการสื่ออะไรบางอย่างที่ลึกไปกว่านั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
หากจับประเด็นใจความสำคัญการให้สัมภาษณ์ต่อสำนักสื่อ BBC ไทย ของ นายอับดุลการิม มีการแสดงออกถึงท่าทีที่ไม่ได้คาดหวังกับมาเลเซียอีกต่อไป
และมองรัฐบาลไทยสมรู้ร่วมคิดกับมาเลเซีย รวมทั้ง BRN ไม่ไว้วางใจ มาราปาตานี
องค์กรร่มของฝ่ายขบวนการปลดแอกเอกราชปาตานี เนื้อหาการอ่านแถลงการณ์และให้สัมภาษณ์ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อนั้น
ตั้งใจเจตนาในการแถลงการณ์ โดยข้อมูลเนื้อหาน่าจะมีการกลั่นกรองจากองค์กรนำแล้ว ซึ่งสอดคล้องและสอดรับกับแนวทางการขับเคลื่อนของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่จัดตั้งโดย BRN และกลุ่มที่เป็นแนวร่วมในการต่อสู้เพื่อไปสู่การกำหนดใจตนเองแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐบาลไทย
การออกแถลงการณ์ของโฆษก BRN มีความพยายามขับเคลื่อนให้เป็นไปตามหลักสากล
ต้องการสื่อในเรื่องการขัดกันด้วยอาวุธซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ มีความพยายามผลักดันไปสู่นานาชาติ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กร จะเห็นได้ว่าท่าทีของ BRN ที่ยึดฐานที่มั่นในประเทศมาเลเซียคอยบัญชาการในการก่อเหตุในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
ในห้วงขณะที่มาเลเซียประสบปัญหาเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศ
BRN อาศัยช่วงเวลานี้ในการเคลื่อนไหวเพื่อเปิดช่องให้ประเทศอื่น
หรือองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาแทนที่มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติสุขกับรัฐบาลไทย
หากวิเคราะห์เจาะลึกต่อท่าทีของ BRN จากการเปลี่ยนปัจจัยเกื้อหนุนในการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในขณะที่ ดร.มหาธีร์ นายกมาเลย์ ได้แต่งตั้ง ตัน สรี อับดุล ราฮิม บิน โมห์ด นูร์
(Tan Sri Abdul Rahim bin Mohd. Noor) อดีตผู้บัญชาการตำรวจ และผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลมาเลเซีย
เป็นผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่แทน ดาโต๊ะ สรี อะหมัด ซัมซามิน ฮาซิม ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียอ้างว่าหมดวาระการทำหน้าที่
ในขณะที่รัฐบาลไทยได้แต่งตั้ง พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายไทยแทน พล.อ.อักษรา
เกิดผล
จากการเปลี่ยนองคาพยพที่มีผลต่อทิศทางการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ดังกล่าวเบื้องลึกเบื้องหลัง
BRN อาจจะถูกกดดันจาก
ดร.มหาธีร์ นายกมาเลย์ และตำรวจสันติบาล เพื่อขับเคลื่อนการพูดคุยเดินหน้าแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแทนการใช้กำลัง
ทิศทางบวกจะเห็นได้จากการที่ ดร.มหาธีร์ นายกรัฐมนตรีมาเลย์ได้เดินทางมาเยือนรัฐบาลไทยเข้าพบ
พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีของไทยอย่างเป็นทางการ และอาจมาจากปัญหาเดิมที่ BRN
เป็นคนละพวกกับกลุ่ม มาราปาตานี ตั้งแต่ต้น จะเห็นเค้าลางของการแย่งชิงองค์กรนำในการพูดคุยกับรัฐบาลไทย
การอ่านแถลงการณ์และให้สัมภาษณ์ของ
นายอับดุลการิม คาลิบ โฆษก BRN หากสังเกตให้ดีจะสอดรับกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมนักศึกษา
เยาวชนในพื้นที่ในการแสดงออกถึงจุดยืนและความต้องการของกลุ่มนั่นคือ Merdeka ด้วยการก่อกวนทำการพ่นสีบนท้องถนน
ป้ายและสถานที่สำคัญๆ
การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ของรัฐบาลไทยกับกลุ่มคิดต่างจากรัฐ
ต้องยอมรับว่ามีหลากหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่ม มาราปาตานี กลุ่ม Pulo หรือกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่มีนโยบายทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ใช้แนวทางการเมืองในการเรียกร้อง
แต่ยังคงมีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ Merdeka ซึ่งแตกต่างกับแนวทางการต่อสู้ของ BRN ที่มุ่งใช้ความรุนแรงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่
รัฐบาลไทยจึงต้องให้ความสำคัญเดินหน้าพูดคุยกับทุกกลุ่ม ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นพิเศษ
ตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา BRN ยังคงมุ่งก่อเหตุทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์
สร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงความมีตัวตน ทำการโฆษณาชวนเชื่อว่า BRN ยังคงมีศักยภาพในการก่อเหตุ แต่ BRN กลับปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นการกระทำของ ผกร. มุ่งบิดเบือนเพื่อโยนผิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ
พร้อมทั้งคอยจ้องจับผิดหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ใช้องค์กรภาคประชาสังคมแนวร่วมทำการโฆษณาชวนเชื่อไปยังประชาชนในพื้นที่และองค์กรระหว่างประเทศ
ส่วนการพูดคุยกับรัฐบาลไทย BRN ต้องการที่จะตัดขาดจาก มาราปาตานี โดยพยายามจะแยกโต๊ะเจรจาและพูดคุยกับรัฐบาลไทยโดยตรง
ซึ่ง BRN
ไม่ใช่ตัวแทนประชาชนแต่กลับใช้เงื่อนไขเรียกร้องเอกราช ใช้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการต่อรองให้กลุ่มตนเอง
ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าวของ BRN มาเลเซียในฐานะให้ที่พักพิงควรพิจารณาและรับผิดชอบก่อนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้รอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในเร็ววัน
----------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น