5/19/2557

NGOs จอมลวงโลกใส่ร้าย จนท.รัฐ ซ้อมทรมาน

บินหลา ปัตตานี
ตามที่กลุ่ม ผกร. ได้ลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.เมือง จว.ยะลา เมื่อ ๖ และ ๗ เม.ย.๕๗ รวม ๗ จุด นั้น ทำให้ประชาชนเสียชีวิต ๑ ราย บาดเจ็บ ๒๖ ราย ได้สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก         เกิดความหวาดกลัวและไม่มั่นใจในการลงทุนประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ นอกจากกระทบต่อเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ อีกด้วย อาทิ การท่องเที่ยว ด้านสังคมจิตวิทยา, การปฏิบัติทางการ และการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่โดยรวม   ซึ่งสร้างความเดือดร้อนและเสียหายอย่างมากกับประชาชนในพื้นที่ทั้งคนไทยพุทธ คนไทยเชื้อสายจีนและคนไทยมุสลิมอีกด้วย


            จากเหตุการณ์ดังกล่าวต่อมา จนท.   สามารถติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยมีส่วนร่วมในการก่อเหตุได้จำนวน   ๕  คน คือ
            ๑. นายซาพูดิง    ชาและ ยอมรับว่าเป็นคนดูต้นทางให้กับทีมระเบิดในวันก่อเหตุโดยเฝ้าอยู่ที่ห้างโคลีเซี่ยมร่วมกับ นายอิสมาแอ   มูซอ
            ๒. นายอับดุลเลาะ   แวหะมะ ยอมรับว่ารับจ้างซื้อซิมการ์ดโทรศัพท์ให้กับ ผกร. ที่ร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิด
            ๓. นายอับดุลเลาะรอเซะ   กะดอง ผู้ต้องสงสัยมีส่วนร่วมในการก่อเหตุลอบวางระเบิดนครยะลา เมื่อ ๖-๗ พ.ค.๕๗
            ๔. นายรอมมือลี   เจ๊ะเมาะ ผู้ต้องสงสัยมีส่วนร่วมในการก่อเหตุลอบวางระเบิดนครยะลา เมื่อ ๖ - ๗ พ.ค.๕๗
            ๕. นายอาดีล   สาแม ยอมรับสนับสนุนซิมการ์ดให้กับ นายอิสมาแอ มูซอ และนายซาพูดิง สาและ ซึ่งทำหน้าที่ดูต้นทางให้กับทีมวางระเบิด ที่บริเวณหน้าห้างโคลีเซี่ยม

            ในการจับกุมนายอาดีล    สาแม เมื่อ ๒๖ เม.ย.๕๗ มารดาของนายอาดีลฯ ได้ให้ข้อมูลกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า จนท.รัฐ           ซ้อมทรมาน นายอาดีลฯ   ในขณะเข้าติดตามจับกุมเป็นเหตุให้ นายอาดีลฯ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและสลบก่อนที่ญาติจะนำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา และอ้างว่า จนท. โรงพยาบาลได้ออกใบรับรองแพทย์ว่าถูกทำร้ายร่างกาย โดยนางสาวพรเพ็ญ   คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้เสนอข้อมูลผ่านสื่อเว็บไซต์ และสังคมออนไลน์ และทำหนังสือเปิดผนึกถึงแม่ทัพภาค ๔/ผอ.รมน.ภาค ๔ เมื่อ ๒ พ.ค.๕๗ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคม และสื่อต่างๆ ได้นำไปเผยแพร่ข้อมูลตามที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้วนั้น
            เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสิ่งผิดปกติและน่าสงสัยในหลายเรื่อง

            ประการแรก ในการจับกุมนายอาดีล   สาแม ประกอบด้วย จนท. หลายฝ่ายทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง     ผู้นำชุมชน ไม่ใช่เรื่องง่ายในการใช้ความรุนแรงหรือซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย นโยบายของผู้บังคับบัญชาให้ใช้แนวทางสันติวิธี เน้นย้ำโดยตลอดไม่ให้ใช้ความรุนแรงและไม่สร้างเงื่อนไขในพื้นที่ ซึ่งถ้าใครฝ่าฝืนจะลงโทษสถานหนัก จึงเป็นไปไม่ได้ที่ จนท. จะใช้ความรุนแรงต่อนายอาดีลฯ  และที่กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ประมาณ ๓๐ คันรถเกือบ ๑๐๐ นาย มาปิดล้อมตรวจค้นจับกุมเป็นการกล่าวที่เกินความจริง เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลัง ๔ ชุด ปฏิบัติการซึ่งมีกำลังประมาณ ๕๐ คน เท่านั้น การที่ต้องใช้กำลังมากเพื่อป้องกันการหลบหนี ซึ่งนายอาดีลฯ ได้ให้ความร่วมมือในการจับกุมด้วยดี จนท. ไม่ได้ใช้ความรุนแรง
            ประการที่สอง นายอาดีล   สาแม    มีโรคประจำตัว ภาษาแพทย์เรียกว่าไฮเปอร์เวนติเลชัน ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่               มีความเครียดทางจิตใจ ทำให้เกิดอาการทางกายในลักษณะของการหายใจลึกและเร็วเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และปอดลดลงจึงทำให้เกิดอาการหายใจขัด, แน่นหน้าอก, มือจีบ, เป็นลมไม่ได้เกิดจากการทำร้ายร่างกายซึ่งอาการดังกล่าวได้เกิดกับ นายอาดีลฯ หลายครั้งแล้ว       ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เนื่องจากนายอาดีลฯ เกรงกลัวความผิดที่มีส่วนร่วมในการลอบวางระเบิดที่ อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อ ๖ - ๗ เม.ย.๕๗ เมื่อเกิดอาการชัก จนท. ได้เรียกรถมูลนิธิเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมานำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลาโดยไม่ได้จับหรือพันธนาการตามที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, องค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กร และสื่อบางกลุ่มเสนอข่าวแต่อย่างไร
            ประการที่สาม การนำเสนอว่าเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธจี้บังคับนายอาดีล ฯ เป็นตัวประกันขึ้นไปตรวจค้นสิ่งของภาย   ในบ้าน โดยให้คนในบ้านลงจากบ้านให้หมดและได้ซ้อมนายอาดีล ฯ เช่นต่อยหน้าท้องหลายๆ ครั้ง และเอาเสื้อมัดที่คอและบีบคอทำให้นายอาดีล ฯ หายใจไม่ออกและสลบไปหลังจากนั้น แม่ที่อยู่ข้างล่างบ้านได้ขึ้นมาเห็นนายอาดีล ฯ     นอนสลบอยู่ และน้ำลายออกจากปาก เป็นการบิดเบือนและกุเรื่องขึ้นมาอย่างไม่สมเหตุสมผล ตามภาพ ขณะนายอาดีล  ฯ     มีอาการชัก จนท. และ ญาตนายอาดีล ฯ อยู่ด้วย และช่วยกันจับไม่ได้ขึ้นมาตอนที่สลบแล้ว จากภาพนายอาดีล ฯ  ไม่ได้สวมเสื้อจะเห็นร่างกายปกติ ไม่มีร่องรอยที่ผิวหนังที่แสดงให้เห็นว่าถูกทำร้ายถ้าถูกต่อยจะต้องมีรอยแดงให้เห็น และในเมื่อกล่าวว่านายอาดีล ฯ อยู่กับเจ้าหน้าที่ตามลำพังแล้วรู้ได้ยังไงว่าถูกทำอย่างไรบ้างเพราะตัวนายอาดีล ฯ เองยังให้การกับเจ้าหน้าที่ในภายหลังว่าไม่ได้ถูกซ้อม ที่ตัวเองเกิดอาการเกร็งชักเนื่องจากความเครียดที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการก่อเหตุ ผู้ที่แต่งเรื่องขึ้นมานำเสนอไม่รู้มีวัตถุประสงค์ใด แต่เป็นการปั้นเรื่องแบบหน้าด้านๆ คิดว่าสาธารณชนเขาจะโง่หรือ
            ประการที่สี่ ในการตรวจค้นพบโทรศัพท์ของนายอาดีล ฯ แต่ถูกถอดซิมออกโดยนายอาดีลบอกว่าอยู่ที่แม่       เมื่อให้แม่หา แม่ก็หาไม่พบ เป็นเรื่องที่มีพิรุจอย่างมาก คงกลัวว่าถ้า จนท. ได้ซิมไปตรวจสอบเบอร์ในซิมจะเชื่อมโยงกับกลุ่ม ผกร. จึงพยายามช่วยกันปิดบัง และซ่อนซิมดังกล่าว และยอมรับในภายหลังว่าเห็นรถ จนท. เข้ามาในหมู่บ้านด้วยความกลัว จนท. ได้เอาซิมให้มารดาไปซุกซ่อนไว้
            ประการที่ห้า กรณีที่กล่าวว่า จนท. โรงพยาบาลออกใบรับรองแพทย์ว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง หน้าท้องช้ำ นายแพทย์เขียนใบรับรองมาและให้ยากลับไปกินนั้นในความเป็นจริงแล้ว เมื่อผู้ป่วยเข้าไปเพื่อรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะต้องไปผ่าน จนท. คัดกรอง ซึ่ง จนท. จะสอบถามผู้ป่วยและลงข้อมูลอาการขั้นต้น ตามที่ผู้ป่วยแจ้งในใบประวัติหรือโอพีดีการ์ด เพื่อแยกส่งให้แพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยรักษาต่อไป การที่ จนท.โรงพยาบาลลงในบันทึกการตรวจผู้ป่วยว่าถูกตำรวจกระทืบหน้าอก รู้สึกตัวดีปวดแน่นหน้าอกซึ่งไม่ตรงกับที่ปล่อยข่าวว่าถูกชกซึ่งมือกับเท้ามันคนละเรื่องกันและปฏิเสธ โรคประจำตัว จริงแล้วมีโรคประจำตัวซึ่งเป็นการบันทึกของเจ้าหน้าที่ตามคำบอกของผู้ป่วยหรือญาติไม่ใช่การวินิจฉัย หรือกำหนดอาการป่วยของ แพทย์ ในเรื่องนี้ จนท. ที่บันทึกควรมีวิจารณญาณ และไตร่ตรองข้อเท็จจริงบ้าง ไม่ใช่เขียนตามคำบอกของผู้ป่วย ทุกอย่างจะต้องมีการลงโทษว่ากล่าวตักเตือน จนท. ดังกล่าว สำหรับใบรับรองแพทย์มี นายแพทย์ รุสกี  เจ๊ะแอ รับรองนั้น เขียนว่ากล้ามเนื้อบริเวณลิ้นปี่อักเสบ และให้ข้อมูลต่อพนักงานตำรวจ สภ.เมืองยะลา ต่อหน้า พ.ต.อ.กรณ์ณพัชญ์   กิตติพิบูลย์ รอง ผบก.งานสืบสวนคดีสำคัญ ศชต. และ นพ.พิพัฒน์ มงคลฤทธิ์ รอง ผอ.รพ.ศูนย์ยะลา เพิ่มเติมว่า นายอาดีลฯ มีอาการสลึมสลือ สามารถพูดคุยโต้ตอบได้ รู้สึกตัวดี ระบบหายใจเป็นปกติ ผลการตรวจร่างกายโดยทั่วไปปกติ ตรวจพบว่ามีจุดกดเจ็บตรงบริเวณลิ้นปี่ ไม่มีอาการแสดงปวด, บวม, แดง, ร้อน หรือจุดเลือดออก ไม่พบบาดแผล รอยจ้ำ, รอยช้ำใดๆ จากการส่งตรวจทางรังสีวิทยา (เอ็กซ์เรย์) บริเวณหน้าอก ผลการตรวจไม่พบการแตกหักของกระดูกช่องอก ไม่พบอันตรายของเนื้อเยื่อของปอด และไม่พบลมหรือน้ำในช่องปอด เสื้อผ้าไม่มีร่องรอยของการถูกทำร้าย ร่องรอยรองเท้าหรือฝ่ามือแต่อย่างใด สรุปการวินิจฉัยแล้ว เชื่อว่าเกิดจากการใช้งานมากเกินปกติ ซึ่งเกิดจากการชักเกร็งบริเวณลิ้นปี่ของนายอาดีล ฯ และจากการตรวจของ จนท. เสนารักษ์ของ ฉก.ทพ.๔๑ เมื่อ ๒๖ เม.ย.๕๗  ไม่พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายแต่อย่างใด ตามภาพ ผลการตรวจของ  นพ.ณัฐมนต์  ศรีสุข แพทย์เวรห้องฉุกเฉิน รพ.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๗ ไม่พบบาดแผลและร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย และแพทย์วีรชัย สมัย แพทย์แผนกนิติเวชรพ.สงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อ ๑ พ.ค.๕๗  ไม่พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย

            ประการที่หก  จากการที่ จนท.ฉก.ทพ.๔๑ พูดคุยกับนายอาดีล   สาแม ซึ่งตอบด้วยความสมัครใจ จนท. ไม่มีการบังคับข่มขู่แต่อย่างใด คำให้การของนายอาดีลฯ มีความขัดแย้งกับการร้องเรียนของ NGOs อย่างสิ้นเชิง หลักฐานตาม ลิงค์VDO นี้ http://youtu.be/88d02pSPHWg โดยสรุปคือ.-

                        * ยืนยันว่า จนท. ไม่ได้ซ้อมทรมานในระหว่างที่ ฉก.ทพ. ๔๑ ควบคุมตัวได้รับการดูแลเป็นอย่างดีให้ญาติเข้าเยี่ยม และสามารถละหมาดหรือปฏิบัติศาสนกิจได้ตามปกติ
            * ยอมรับว่าถอดซิมโทรศัพท์ให้มารดาในวันเกิดเหตุไปซ่อนจริง
            * อาการลมชักในวันเกิดเหตุเกิดจากความเครียดที่ถูก จนท.ตร.กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการก่อเหตุลอบวางระเบิดและเรื่องซิมโทรศัพท์ที่ส่งให้มารดานำไปซุกซ่อน ซึ่งเป็นการซ่อนพยานวัตถุ
            * ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคลมชัก และที่ผ่านมาเกิดขึ้นหลายครั้งที่จำได้ ปี ๕๖ จำนวน ๑ ครั้ง และปี ๕๗ จำนวน ๑ ครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเรื่องทะเลาะกับมารดาและพี่สาว
            * ยอมรับว่ากลุ่มทนายมุสลิมแจ้งกับมารดาว่าไม่ให้ส่งมอบซิมโทรศัพท์ให้กับ จนท. โดยบอกว่าหากหาพบให้บอกว่าไม่พบและหากเก็บไว้ก็บอกว่าหาไม่พบ
            ประการที่เจ็ด  ความไม่ชอบมาพากลของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กร เช่น สำนักสื่อ watani ที่เสนอข่าวที่บิดเบือนความเป็นจริง มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่อ้างว่าดำเนินโครงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชนใน จชต. แต่พฤติกรรมมีนัยยะแอบแฝง การที่ได้รับข้อมูลแล้วไม่มีการตรวจสอบรีบนำเสนอผ่านสื่อ สู่สาธารณชนและองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งที่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนได้ ซึ่งสร้างความเสียหายกับ จนท.รัฐ ลดความน่าเชื่อถือการปฏิบัติงานของ จนท.รัฐ สร้างความแตกแยกและหวาดระแวงระหว่าง จนท.รัฐ กับประชาชนซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงของประเทศชาติและทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศในเวทีสากลและที่ผิดสังเกต และน่าสงสัยอีกประการหนึ่งคือ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเสนอข้อมูลถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๗ เพื่อเสนอคณะกรรมาธิการต่อต้านการซ้อมทรมานแห่งสหชาติ (Uncat) ในการประชุมคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสใน ๒๗ เม.ย. – ๓ พ.ค.๕๗ แต่ส่งหนังสือเปิดผนึกถึงแม่ทัพภาค ๔ หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ที่หลังใน ๒ พ.ค.๕๗ แทนที่จะส่งให้ทาง จนท.รัฐ ก่อนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแสดงถึงความจงใจในการปฏิบัติ ซึ่งไม่บริสุทธิ์ใจ และไม่ยุติธรรม    เสมือนว่ามีผลประโยชน์หรืออะไรแอบแฝงอยู่
          การที่นางยีซะ    สาแม   มารดาของ นายอาดีลฯ บิดเบือนข้อเท็จจริงก็พอเข้าใจ และให้อภัยได้ที่ทำเพื่อลูกด้วยความรัก และเป็นห่วงเพื่อความอยู่รอดแต่องค์กรภาคประชาสังคม ที่ยึดถือความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนไม่ควรที่จะเสนอข้อมูลโดยขาดการตรวจสอบอย่างรอบคอบอีกทั้งมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเป็นผู้ถือกฎหมาย และรู้กฎหมายดี ควรมีจรรยาบรรณในวิชาชีพไม่ควรยุยงหรือแนะนำให้ประชาชนกระทำในสิ่งที่ผิดเสมือนเป็นองค์กรแนวร่วมของกลุ่ม ผกร. ซึ่งในห้วงที่ผ่านมามีหลายองค์กรที่พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ภายหลังความจริงปรากฏองค์กรเหล่านี้ก็นิ่งเฉยไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ ประเทศเราควรมีมาตรการที่เด็ดขาดในการจัดการกับองค์กรที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ จึงขอเรียกร้องให้องค์กรที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ตรงไปตรงมาตามจุดประสงค์ขององค์กรที่ตั้งไว้ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ใช้ความรอบคอบในการนำเสนอ มิเช่นนั้นท่านจะเป็นแนวร่วมของฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ตั้งใจหรือแนวร่วมมุมกลับ ในเหตุการณ์นี้จะตั้งใจหรือผิดพลาดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตามมูลนิธิผสานวัฒนธรรมจะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ การกระทำของตนมิเช่นนั้น สังคมจะเครือบแครงสงสัยในพฤติกรรมขององค์กรท่านว่าเป็นแนวร่วมของกลุ่มขบวนการ ซึ่งผมคิดว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น