นักรัก ปัตตานี
เมื่อเกิดความขัดแย้งภายในองค์ PerMAS นายสุไฮมี ดูละสะ ประธานคนปัจจุบัน
บริหารงานผิดพลาดโดนตำหนิจากคณะที่ปรึกษา ถึงคราวจะต้องระหกระเหินพ้นจากตำแหน่ง
หรืออาจจะเป็นคราวเคราะห์กรรมตามซัด ทั้งๆ ที่วาระการดำรงตำแหน่งประธาน PerMAS
จะสิ้นสุดลงในปี 58 อีกประการหนึ่ง นายสุไฮมี
เพิ่งพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษา ตัวจริงเสียงจริงของคณะที่ปรึกษา
คือผู้กำหนดอนาคตของกลุ่ม PerMAS จะต้องเฟ้นหาตัวนักศึกษาและเยาวชนในพื้นที่ปาตานี
มาดำรงตำแหน่งประธานคนใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปตามทิศทางตามที่ผู้มีอำนาจตัวจริงคอยชักใยอยู่เบื้องหลัง
มูลเหตุความแตกร้าวภายในกลุ่ม
“PerMAS”
ขัดแย้งกับคณะที่ปรึกษา
ตั้งแต่ห้วงเดือนมีนาคม
- เมษายน 2557 ที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสข่าวความขัดแย้งขึ้นอย่างเงียบๆ ระหว่างนายสุไฮมี ดูละสะ ประธานกลุ่ม PerMAS กับสมาชิกและคณะที่ปรึกษา เนื่องจากนายสุไฮมี
แสดงความไม่พอใจในการจัดการบริหารองค์กร
ส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนและเกิดความล่าช้า
โดยเฉพาะการไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องขอความเห็นชอบจากกลุ่มที่ปรึกษาแทบจะทุกเรื่อง
และถูกตำหนิเรื่องการออกแถลงการณ์ กรณีการเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ
และบุตรชาย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2557
เนื่องจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานความมั่นคงต่างทราบดีว่าการเสียชีวิตของนายมุกตาร์
เป็นเรื่องส่วนตัว เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในธุรกิจไม้เถื่อน และกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่
เลยกลายเป็นประเด็นให้ฝ่ายตรงข้าม PerMAS นำไปตอบโต้ดิสเครดิสในสื่อสังคมออนไลน์
“ถังแตก” การใช้งบประมาณเกินขอบเขต
การใช้งบประมาณที่เกินขอบเขต
เนื่องจากที่ผ่านมา นายสุไฮมี ได้นำงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุน หรือจากองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร
หรือจากการฟอกเงินของขบวนการค้ายาเสพติดผู้อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนกิจกรรมไปใช้เป็นจำนวนมาก
และไม่สามารถชี้แจงได้ว่านำเงินดังกล่าวไปใช้ในการจัดกิจกรรมใดบ้าง
และส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะล่าสุดปรากฏข่าวสารออกมาว่า “มูลนิธิเอเชีย” (The Asia Foundation) จะมอบเงินสนับสนุนให้กับกลุ่ม PerMAS หลักล้าน
เพื่อนำไปใช้กิจกรรม แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับเงินทุนสนับสนุนแต่อย่างใด
อาจจะเป็นเพราะความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของกลุ่ม PerMAS
“สุไฮมี”
โดนเบรกแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษและฝ่ายบริหารเพิ่มเติม
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ยืนยันของความแตกแยกภายในกลุ่ม
PerMAS
ได้อย่างชัดเจน รอยร้าวเล็กๆ
ได้ขยายรอยแตกให้เห็นนำไปสู่ความไม่พอใจ
มีการทักท้วงและคัดค้านกันวุ่นวายในที่ประชุมสมาชิก, ที่ปรึกษา และฝ่ายบริหาร ณ
มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และไม่สามารถหาข้อสรุปได้ มีการยุติแนวคิดดังกล่าวไป
แต่นายสุไฮมี ยังคงยึดถือในแนวทางเดิม คือ
จะต้องจัดสรรคณะกรรมการและฝ่ายบริหารเพิ่มขึ้น ทำให้ภายในกลุ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์
ไม่พอใจในแนวคิดดังกล่าวเป็นอย่างมาก ฝ่ายบริหารทั้งหมดรวมตัวกันกำหนดวันประชุมหารือเพื่อให้มีการเลือกสรรหาประธานคนใหม่แทนนายสุไฮมี
“สุไฮมี” พ้นสภาพนักศึกษา เตรียมศึกษาต่อต่างประเทศ
วาระการดำรงตำแหน่งประธาน
PerMAS
ของนายสุไฮมี ดูละสะ ยังเหลืออีกหนึ่งปี ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี
พ.ศ.2558 แต่เนื่องจากได้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรอย่างรุนแรง
อีกทั้งนายสุไฮมีพ้นจากสภาพนักศึกษา จำเป็นจะต้องเป็นไปตามกฎข้อบังคับขององค์กร
ผู้ที่จะก้าวมาเป็นประธานคนใหม่เพื่อสานกิจกรรมและขับเคลื่อนองค์กร PerMAS ต่อไปจะต้องเป็นนักศึกษา เยาวชนในพื้นที่ปาตานี คาดว่านายสุไฮมี
น่าจะไปเป็นที่ปรึกษากลุ่ม PerMAS แทน
3
ตัวเต็งประธานกลุ่ม PerMAS คนใหม่
เมื่อพิจารณาดูผลงานและบทบาทผู้ที่น่าจะมาเป็นประธานกลุ่ม
PerMAS
คนใหม่ ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติในการถูกเสนอชื่อเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกประธานคนใหม่
เรามาดูชื่อชั้นของแต่ละคนในฐานะว่าที่ประธานและลองเลือกกันในใจกันเล่นๆ ดูว่าจะออกที่คนไหน
ตัวเลือกที่ 1 นายฟัรดี ซาและ เลขา PerMAS เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา บทบาทที่สำคัญ เป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงิน ที่สำคัญมีความใกล้ชิดแนบแฟ้นกับแหล่งเงินทุนหลักอย่าง “มูลนิธิเอเชีย”
ตัวเลือกที่ 2 นายอาร์ฟาน วัฒนะ รองประธาน PerMAS, ประธาน IRIS กำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์
สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เป็นหลานชายแท้ๆ ของนายอาเต็ฟ โซ๊ะโก ที่ปรึกษา PerMAS นอกจากดำรงตำแหน่งรองประธาน
PerMAS และประธาน IRIS แล้ว
ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานโครงการ “หนึ่งศตวรรษกฎอัยการศึกแห่งสยามกับหนึ่งทศวรรษกฏอัยการที่ปาตานี”
ตัวเลือกที่ 3 นายบูคอรี
ลาเตะ รองประธาน PerMAS กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา
เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานในอันดับที่ 4 เมื่อวันที่ 17
เมษายน 2557 มีประสบการณ์ด้านงานมวลชนสัมพันธ์ เป็นผู้กุมกำลังมวลชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างแท้จริง
ที่สำคัญได้รับการยอมรับจากองค์กรชี้นำ และรับผิดชอบโครงการ “เพิ่มศักยภาพแกนนำองค์กรเยาวชนเพื่อสันติภาพ” ซึ่งเป็นโครงการสำคัญเกี่ยวกับการสร้างหมู่บ้านปกครองตนเองตัวอย่าง
ที่ขอรับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชีย
แนวโน้มว่าที่ประธานคนใหม่กลุ่ม
PerMAS
แนวโน้มประธาน PerMAS คนใหม่ 99.99% หวยล็อคน่าจะลงที่ นายอาร์ฟาน วัฒนะ ตำแหน่งในปัจจุบัน คือ รองประธาน PerMAS
อีกทั้งยังดำรงตำแหน่ง ประธาน IRIS และประธานโครงการ
"หนึ่งศตวรรษกฏอัยการศึกแห่งสยามกับหนึ่งทศวรรษกฏอัยการที่ปาตานี"
แต่ที่แน่ยิ่งกว่าแน่ คืออาร์ฟาน วัฒนะ เป็นหลานแท้ๆ ของนายอาเต็ฟ โซ๊ะโก
เนื่องจากสามารถควบคุมสั่งการได้โดยตรง ไม่เหมือนนายสุไฮมี ดูละสะ
ที่ได้ดำเนินการผิดพลาดในการบริหารจัดการหลายต่อหลายเรื่องในห้วงที่ผ่านมาคอยจับตาดูว่านายอาเต็ฟ
โซ๊ะโก สามารถผลักดันหลานตัวเองขึ้นแท่น ประธาน PerMAS สำเร็จหรือไม่
ตัวเลือกทั้ง 3
ว่าที่ประธาน PerMAS เป็นแค่นอมินีของนายอาเต็ฟ โซ๊ะโก
คงไม่มีผลอะไรมากมายในแง่ของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์กรกลุ่ม PerMAS
อยู่ที่ว่าคณะที่ปรึกษากล้าที่ปล่อยมือให้ประธานบริหารจัดการ
กำหนดอนาคตของกลุ่ม PerMAS มากน้อยแค่ไหน
หากยังเป็นเช่นนี้อีก ปัญหาเดิมๆ ยังตกอยู่ที่ประธาน PerMAS คนใหม่
ที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ
อุปสรรคปัญหาความล่าช้าในการดำเนินกิจกรรม การจัดการภายในองค์กรก็จะไม่เอกภาพ
สุดท้ายจะแตกเหมือนนายสุไฮมี ดูละสะ บริหารจัดการ
มาจับตาดูกันว่าจะไปถึงฝั่งฝันกันหรือไม่
@@@@@@@@@@@@@@
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น