10/31/2557

นี่คือความจริงของลังกาสุกะ-ปาตานี



นานมาแล้วตั้งแค่ยุคหิน มีผู้คนอาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ (แหลมทองอินโดจีน หรือคาบสมุทรมลายู) ผู้คนในยุคแรกนี้เกิดขึ้นจากการผสมผสานชาติพันธุ์ระหว่างพวกมองโกลอยด์ (มอญ พม่า ลาว เขมร เวียดนาม) พวกนิกริโต (เซมัง ซาไก ปาปวน) และพวกออสตราลอยด์ (ชวา สุมาตรา บาหลี ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย)


            ผู้คนเหล่านี้อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลาช้านาน ดังเห็นได้จากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทิ้งไว้เป็นหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน หรือขวานฟ้า (บาตูลิตา) ทั้งรูปแบบเหลี่ยม ผืนผ้า และแบบมีบ่า พบอยู่ทั่วไปตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศจีน เรื่อยลงมาถึงบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และตลอดปลายแหลมทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่บ้านป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบขวานหินนี้จำนวนมาก


            นอกจากนี้ พระราชกวี หรือท่านเจ้าคุณอ่ำ ธัมมทัตโต วัดโสมนัสราชวรวิหาร ยังกล่าวไว้ในหนังสือ พุทธศาสตร์สุวัณณภูมิปกรณ ราชบุรีวัตถุกถา ตำนานเมืองขุนไทยซึ่งท่านได้ค้นคว้าและรวบรวมประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยจากการอ่านแผ่นกเบื้องจาน (กระเบื้องจาร) พบว่าคนไทยได้อาศัยอยู่ในแหลมทองแห่งนี้มาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล คนไทยสร้างบ้านแปลงเมือง มีการปกครอง มีภาษาหนังสือ และวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว


            พลโทดำเนิร  เลขะกุล ได้กล่าวถึงเมืองปัตตานีเก่าว่า ตามแนวชายฝั่งแม่น้ำปัตตานี พบหลักฐานการตั้งชุมชนโบราณเรียงรายกันอยู่หลายแห่ง เช่นที่บ้านเนียง วัดหน้าถ้ำ ในเขตจังหวัดยะลา พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ในถ้ำในเขตวัดคูหาภิมุข แสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นเคยเป็นที่อยู่ของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์


            เมื่อวันเวลาผ่านไป เกิดการอพยพย้ายถิ่น การติดต่อค้าขายกับผู้คนจากภายนอก สภาวะทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งการทำสงครามทำให้ผู้คนในดินแดนแถบนี้มีเลือดผสมผสานระหว่างคนเชื้อชาติต่างๆ ทั้งไทย จีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย กรีก โรมัน พม่า มอญ เขมร มลายู เซมัง ซาไก ชาวน้ำ และชนพื้นเมืองต่างๆ จึงน่าจะกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้คนกลุ่มใดในดินแดนแห่งนี้ที่มีสายเลือดบริสุทธิ์จากเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของตน


            ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย (ไท) มีอยู่หลายทฤษฏีด้วยกัน ในทางวิชาการปัจจุบันเชื่อว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีน และทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย โดยมีแนวคิดจากความคล้ายคลึงของภาษาถิ่น ประเพณี และวัฒนธรรม


            นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาคและโบราณคดีไทยยังสนับสนุนทฤษฏีดังกล่าวนี้ โดยการศึกษาเปรียบเทียบมนุษย์สมัยหินที่ได้ทำการขุดค้นพบในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี กับโครงกระดูกคนไทยในปัจจุบัน พบว่ามีความเหมือนกันทุกอย่าง


            แต่เดิม ดินแดนที่มีชนชาติไทยอาศัยอยู่ ผู้คนในดินแดนนั้นได้เรียกตนเอง และถูกเรียกจากชนเผ่าอื่นว่า ชาวเซียม สยาม ชาม ฉาน ไต ไท ส่วนชื่อของแว่นแคว้น รัฐ หรืออาณาจักรจะใช้ชื่อเมืองหลวง หรือราชธานีเป็นสำคัญ เช่น อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา เป็นต้น


            จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ชื่อ ประเทศสยามอย่างเป็นทางการในหนังสือสนธิสัญญาต่างๆ เพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี และการติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก


            ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยตามแนวคิดชาตินิยม เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเรียกประชาชนและสัญชาติจาก สยามเป็น ไทยอันหมายถึงความเป็นอิสระ ไม่เป็นทาส และได้ใช้มาจวบจนถึงปัจจุบัน


            มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่งกล่าวไว้ว่า ชาวสยามได้มาอยู่บนดินแดนแหลมทองนี้เป็นเวลาช้านานแล้ว ดังเช่นในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ชิง บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ.2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงส่งราชทูตไปถวายเครื่องบรรณาการ และพระราชสาร์นแด่จักรพรรดิเฉียนหลงฮ่องเต้ เจ้ากรมพิธีการทูตของจีนได้ถวายรายงานเรื่อง เสียมหลอก๊กหรือสยามประเทศนั้นมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งราชวงศ์สุย (พ.ศ.1124-1161) ราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1451)


            สมัยนั้นเรียกว่าประเทศเซี้ยะโท้ว หรือ ฉีตู (สันนิฐานว่ามีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองไทรบุรี สงขลา นครศรีธรรมราช หรือเวียงสระที่สุราษฎร์ธานี) พระเจ้าแผนดินเซี้ยะโท้ว นับถือศาสนาพุทธ และมีแซ่เดียวกับพระพุทธเจ้า ชาวเสียมหลอก๊กนั้นเป็นชนชาติเดียวกับชาวฮูหลำ (อาณาจักรฟูนัน) ประเทศนี้ตั้งอยู่ริมทะเลทางทิศใต้


            ในหนังสือสยาเราะห์กรือยาอันมลายูปะตานี ของอิบรอฮิม ซุกรี ได้บันทึกประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีไว้ว่า ในดินแดนแห่งนี้มีชาวสยามตั้งภูมลำเนาอยู่แต่เดิม หลังจากนั้นจึงมีชาวฮินดูจากอินเดียเดินทางเข้ามา และมีชาวมลายูเป็นชนชาติหลังสุดที่เข้ามาอาศัย


             ตำนานเมืองปัตตานีบันทึกไว้ว่า ชาวสยามได้พากันอพยพเคลื่อนย้ายลงมสู่ดินแดนคาบสมุทธมลายูแห่งนี้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10 – 11 และมีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับชนพื้นเมืองดั้งเดิม จนกระทั่งชาวสยามได้กลายเป็น ชนชั้นปกครอง และมีอำนาจเหนือดินแดนคาบสมุทธมลายู


            ตำนานเมืองไทรบุรี ปัตตานี กล่าวว่า พระเจ้ามะโรงมหาวงศ์ พร้อมเหล่าอำมาตย์ และข้าราชบริพารเดินทางจากอินเดียมาสร้างเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) พบชาวเสียมหรือชาวสยามเป็นหัวหน้า แสดงให้เห็นว่าชาวเสียมได้เข้าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในแหลมมลายูเป็นเวลาช้านานแล้ว วัฒนธรรมและความเจริญของชาวเสียมคงเหนือกว่าชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ จึงได้การยอมรับและยกย่องให้เป็นผู้นำของชุมชน


            สำหรับชนชาติมลายู พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ได้รวบรวมหนังสือพงศาวดาร และประวัติศาสตร์ภาษามลายูหลายเล่ม สรุปความได้ว่าชนชาติมลายูนั้นเกิดมาจากโอรังลาโวค หรือชาวน้ำ ผสมผสานทางเผ่าพันธุ์กับชนชาติไทยเมืองละโค (นครศรีธรรมราช) ชุมพร ไชยา และชวาในภายหลัง


            ผู้คนในดินแดนแหลมทองหรือคาบสมุทรมลายูนี้ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน เกิดการผสมผสานเผ่าพันธุ์ และรวมตัวกันตั้งเป็นชุมชนปกครองกันเองโดยมีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้นำ ต่อมาชาวอินเดียได้เดินทางเข้ามาเพื่อการค้าขายและเผยแพร่ศาสนา วัฒนธรรม จึงมีการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นบ้านเมืองและแว่นแคว้นน้อยใหญ่ ดังปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่นอาณาจักรฟูนัน ทวารวดี ศรีวิชัย พันพัน ตักโกละ ตามพรลิงค์ และหนึ่งในนั้นคือ ลังกาสุกะ


            ศาสตราจารย์ ขจร สุขพานิช กล่าวว่า ในพุทธศวรรษที่ 18 ชาวมลายูแต่เดิมอยู่บนเกาะสุมาตรา จนกระทั่งอีกประมาณ 111 ปีต่อมา ราชาปรเมศวร กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรมัชฌปาหิตในเกาะชวา ได้เข้ามาตั้งรัฐมลายูแห่งแรกบนปลายแหลมทองที่เมืองมะละกา เมื่อปี พ.ศ.1946 โดยมีฐานะเป็นประเทศราชของสยาม (รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุทธยา) ทั้งนี้คำว่า ผู้อพยพหรือ ผู้ข้ามฟาก

ตนไทยปลายด้ามขวาน เรียบเรียง

10/28/2557

กลุ่ม MPRMP แถลงผ่าน You Tube สร้างอำนาจต่อรองรัฐบาลไทย

แบมะ ฟาตอนี

เมื่อ 23 กันยายน 2557 เว็บไซต์ patanigovtinexile.wordpress.com ได้นำเสนอเรื่องราวการออกมาแถลงการณ์เผยแพร่ผ่านสื่อYou Tube ของกลุ่มสมัชชาประชาชนมลายูปัตตานี (Majlis Permesyuaratan Rakyat Melayu : MPRMP) โดยนายโต๊ะวันฮามะ ยูซุฟ ประธาน และนายไซด์ ตันศรีอาซิช รองประธาน ซึ่งได้มีการประกาศอิสรภาพจากประเทศไทยและจัดตั้งรัฐบาลปาตานีพลัดถิ่น


คณะทำงานเพื่อเอกราชปัตตานี (KBKP) จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2539 ต่อมาได้มีการปรับปรุงพัฒนาบทบาทหน้าที่ และรูปแบบการดำเนินงาน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการเจรจาเพื่อประชาชนมลายูปัตตานี(Komiti Perundinga Rakyat Melayu Patani:KPRMP) โดยมี ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมาน และ ดร.มาฮาดี ดาโอ๊ะ เป็นประธาน ทำหน้าที่ร่างระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการก่อตั้ง สมัชชาประชาชนมลายูปัตตานี เมื่อ 23 พ.ย.39 และแก้ไขเมื่อ 4 ม.ค.40 และ 1 มี.ค.40 ลงนามรับรองโดยประธานและกรรมการ KPRMP และหัวหน้าทุกขบวนการ

เมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย.40 ได้มีการจัดประชุมขึ้นของผู้นำขบวนการต่างๆ ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยมี ดร.มาฮาดี ดาโอ๊ะ, ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมาน ประธาน BERSATU, รองประธาน BERSATU, ประธาน BIPP, ประธาน BRN Co-ordinate, ประธาน BRN-Congress, ประธาน GMP, ประธานกลุ่มอูลามาปาตานี (GUP) , ประธาน PULO ใหม่ และตัวแทนเข้าร่วมประชุม รวม 84 คน สาระสำคัญคือ ประกาศก่อตั้งสมัชชาประชาชนมลายูปัตตานี (MPRMP) และเปลี่ยนแปลงคำย่อเป็น MPRP หรือ The Patani Malay Consultative Congress:PMCC เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.40 ซึ่งถือเป็นวาระครบรอบ 540 ปี ของการนับถือศาสนาอิสลามของชนชาติมลายูปัตตานี และกำหนดให้วันดังกล่าวเป็น วันชาติมลายูปัตตานีทั้งนี้กลุ่ม MPRMP เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีกลุ่มพันธมิตรใน BERSATU ได้แก่ PULO ใหม่, BIP, BRN-Congress และ GMP และกลุ่มที่ไม่สังกัด BERSATU อาทิเช่น BRN CO-ordinate, PULO 88, GUP (กลุ่มอูลามาปาตานี) เป็นแกนนำในการจัดตั้ง เพื่อสร้างเอกภาพในการต่อสู และมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับรัฐบาลไทย ตลอดจนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากแนวร่วมทั้งในและต่างประเทศ โดยนำหลักการต่อสู้เพื่อศาสนา หรือ Jihad มาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงาน มีการโฆษณาชวนเชื่อโดยขบวนการ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแลงรูปแบบการต่อสู้จากเดิมมาเป็นรูปแบบใหม่


ประวัตินายโต๊ะวันฮามะ ยูซุฟ ประธาน MPRMP
นายโต๊ะวันฮามะ ยูซุฟ ซึ่งได้อ้างตัวเองว่าเป็นประธาน MPRMP นั้น น่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกันกับ นายวาห์ยุดดีน มูฮัมหมัด แกนนำ BIPP และดีกรียังเคยดำรงตำแหน่งประธาน BERSATU นายวาห์ยุดดีน เป็นชาวจังหวัดปัตตานีโดยกำเนิด ปัจจุบันจากแหล่งข่าวได้เปิดเผยว่าอาศัยอยู่ในบ้านเช่าย่านฮัจยะห์โรสนิบาร์ ถนนศรีเซอลายัง เขตกอมบัก กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จากการตรวจสอบยังพบว่านายวาห์ยุดดีนเคยเป็นตัวแทนของกุ่มสมัชชาประชาชนลายูปัตตานี (MPRMP) เข้าร่มในการเจรจากับหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลไทยคณะหนึ่งที่ทำเนียบโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อประมาณเดือนกันยายน ปี 2551 ทั้งนี้ นายวาห์ยุดดีน ดีกรียังเคยดำรงตำแหน่งประธาน BERSATU ก่อนที่ ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมัน, ดร.มาฮาดี ดาโอ๊ะ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนจนถึงปี 50 สำหรับ ดร.วันกาเดร์ และ ดร.มาฮาดีในปัจจุบันได้ประกาศยุติบทบาทและกลับใจหันมาให้ความร่วมมือกับภาครัฐแล้ว

ย้อนรอยความเคลื่อนไหวของ MPRMP ที่ผ่านมา
ปลายปี 2540 ได้ปรากฏเอกสารแผ่นปลิวกรรโชกทรัพย์ของ กองกำลังติดอาวุธร่วมแห่งชาติปัตตานี (Angkatan Bersenjata Bersatu Negara Patani) ซึ่งได้มีการข่มขู่กรรโชกทรัพย์บริษัท เอส.ที.พาราวู๊ด จำกัด เลขที่ 400 ถนนสาธารณประโยชน์ หมู่ 7 ต.สะแตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา และบริษัทเอ็มวู๊ด จำกัด เลขที่ 46 ถนนวิทยุ-โต๊ะปาเก๊ะ หมู่ 3 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา

ต้นปี 2541 หนังสือพิมพ์ BERNAMA ของมาเลเซีย ฉบับวันที่ 16 ม.ค.41) ได้รับเอกสารจากสมัชชาประชาชนมลายูปัตตานี (MPRMP) ระบุว่า สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน ลงนามโดย นายโมฮัมหมัด ฮาริส ฮาดาฟี เลขานุการส่วนตัวของ ดร.มาฮาดี ดาโอ๊ะ/ดร.วันกาเดร์ เจ๊ะมัน ประธาน MPRMP ปฏิเสธข้อกล่าวหาของทางการไทยที่ระบุว่า หน่วยจรยุทธ กองกำลังติดอาวุธของพวกตนที่ทำการฝึกในประเทศมาเลเซีย และได้แสดงความรับผิดชอบว่าการก่อการร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยเป็นการกระทำของพวกตน

11 มี.ค.41 บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด ได้รับเอกสาร ซึ่งเป็นจดหมายส่งจากประเทศเยอรมัน ประทับตรา สัญลักษณ์ กองกำลังติดอาวุธปัตตานี (Angkatan Bersenjata Bersatu Negara Patani-ABNP) มีข้อความว่า เป้าหมายของกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติปัตตานี คือการต่อสู้เพื่อ ทำการปลดปล่อยและจัดตั้งรัฐปัตตานีให้เป็นอิสระ หลังจากที่รัฐปัตตานีตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศไทยตั้งแต่ ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445)พวกเรากองกำลังติดอาวุธแห่งชาติปัตตานี ขอเตือนบริษัทการท่องเที่ยว ให้หยุดการบริการในประเทศไทย หรือโดยสารโดยเครื่องบินของการบินไทย มิฉะนั้นพวกเราจะไม่รับรองความปลอดภัยท้ายลงชื่อ อับดุลเราะมาน

26 ก.ย.57 เว็บไซต์ patanigovtinexile.wordpress.com ได้นำเสนอเนื้อหาข่าวสารกลุ่ม MPRMP เตรียมยื่นเอกสารการจัดตั้งรัฐบาลอิสลามมลายูปาตานีพลัดถิ่น แก่นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) พร้อมระบุถึงพื้นที่ประเทศอิสลามมลายูปาตานี ประกอบด้วย จังหวัดยะลา, จังหวัดนราธิวาส, จังหวัดปัตตานี, จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล

ท่าทีนักวิชาการต่อกลุ่ม MPRMP
ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี/ผอ.ศูนย์เฝ้ารัวังสถานการณ์ภาคใต้ ระบุว่า เคยเป็นกลุ่มเดียวกันที่เคยไปแถลงการณ์ที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเจรจากับรัฐบาลไทยสมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่มเก่าที่ไม่มีบทบาท

พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ที่ปรึกษามูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ระบุว่า คลิปดังกล่าวเป็นการแสดงออกของกลุ่มมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี โดยมีนายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ เป็นประธาน สาเหตุของการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่ม BRN และกลุ่ม PULO ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ แต่กลุ่มดังกล่าวไม่เห็นด้วยกับแนวทางการเจรจา จึงออกมาประกาศจุดยืนการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
นายฮาร่า ชินทาโร่ อาจารย์สอนวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตกตานี  ได้กล่าวว่า การประกาศดังกล่าวยังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่คำนึงถึงความสำคัญของคนมลายูปาตานี แต่ในทางตรงกันข้ามกลับให้ความสำคัญเฉพาะกลุ่มของตนเอง ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของประชาชนปาตานี ที่ต้องการความเป็นหนึ่งเดียว

นายกามาลุดดีน ฮานาฟี ตัวแทน BIPP ระบุว่าจากประสบการณ์ที่เคยทำงานร่วมกักลุ่มดังกล่าว ระยะเวลาร่วม 30 ปี ได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ แต่เวลาได้เปลี่ยนไปแล้ว เป็นแค่ความพยายามของคนชราที่ไม่มีอำนาจแล้ว ยากที่จะได้รับความสนใจของคนรอบข้าง

การแถลงการณ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ You Tube ในครั้งนี้ของนายโต๊ะวันฮามะ ยูซุฟ  (Tok Wan Hamat Wan Yusof) ได้ระบุตำแหน่งของตนเองอย่างชัดเจนว่าเป็นประธานกลุ่ม MPRMP และนายไซด์ ตันศรีอาซิช (Zaid Tan Sri Aziz) รองประธาน MPRMP ซึ่งเคยเจรจากับรัฐบาลไทยมาก่อนในสมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นกลุ่มเก่าที่ค่อนข้างไม่มีบทบาทสักเท่าไหร่

เป็นที่น่าสังเกตว่าการแถลงการณ์ครั้งนี้มีขึ้นภายหลังจากรัฐบาลไทยได้แสดงจุดยืน เดินหน้าการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุขกับทุกกลุ่มทั้งในทางลับและทาเปิด อาจมีวัตถุประสงค์ในการออกมาเพื่อเปิดเผยตัวตน สถานภาพ แสดงอำนาจของกลุ่ม MPRMP ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในการประกาศอิสรภาพจากประเทศไทย และจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อเป็นการสร้างกระแสต้องการเข้ามีส่วนร่วมในการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข และที่สำคัญต้องการยกระดับฐานะของกลุ่ม เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองกับรัฐบาลไทย..แต่ที่แน่ๆ การออกมาประกาศจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นของกลุ่ม MPRMP ในครั้งนี้ไม่ได้เป็นผลบวกใดๆ เลย ทั้งนักวิชาการและแนวร่วมที่เคลื่อนไหวไม่เห็นด้วยต่างดาหน้าออกมากล่าวแสดงความคิดเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อกลุ่มของตัวเอง มีนัยยะแอบแฝงซ่อนเร้น เป็นความพยายามของคนชราที่หมดอำนาจไปแล้ว…..

-------------------------------

10/16/2557

เมื่อ ผลประโยชน์ไม่ลงตัวในการเมืองท้องถิ่น

แบมะ ฟาตอนี
 เมื่อวันที่ 4 ต.ค.57 เวลา 17.30 น. เกิดเหตุลอบยิงนายก อบต.ตะโละแมะนา บนถนนภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ตะโละแมะนา อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ที่เกิดเหตุพบเพียงรอยเลือดจำนวนมากและมีปลอกกระสุน เอ็ม 16 ตกอยู่บนถนนกว่า 10 ปลอก เจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บพลเมืองดีนำส่ง รพ.ทุ่งยางแดง ทราบชื่อ นายมะสะกรี สาและ อายุ 48 ปี เป็น นายก อบต.ตะโละแมะนา มีบาดแผลถูกยิงเข้าตามลำตัวหลายนัดอาการสาหัส แพทย์พยายามช่วยยื้อชีวิตแต่ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา


พฤติกรรมนายมะสะกรี สาและ
นายมะสะกรี สาและ เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุความรุนแรง ระดับแกนนำ แต่ในบทบาทหน้าที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นผู้กว้างขวาง เป็นที่นับหน้าถือตาของคนในสังคม
นายมะสะกรี สาและ เป็นนายก อบต.ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ อำเภอทุ่งยางแดง แต่ในทางลับเป็นแกนนำ RKK ที่คอยสั่งการให้สมาชิกแนวร่วมทำการก่อเหตุ พื้นที่แห่งนี้นอกจากจะมีการก่อเหตุของกลุ่ม ผกร.อยู่บ่อยครั้งแล้ว เบื้องลึกยังมีความขัดแย้งของกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ ระหว่างนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพลคนเก่า กับนายมะสะกรี สาและ ซึ่งเป็นนายก อบต.ตะโละแมะนา คนปัจจุบัน จะมีการเข่นฆ่ากันไปมาของคน 2 กลุ่ม
นายมะสะกรี สาและ มีคู่หูเพื่อนซี้แนวร่วมอีกคนเป็นกำนันในพื้นที่ ที่จับมือประสานสร้างอิทธิพล กดดันประชาชนในพื้นที่จนไม่มีใครกล้าหือรือ ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนต้องหวานอมขมกลืน ต้องทนอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายมะสะกรี สาและ มาโดยตลอด

ผลประโยชน์ในการเมืองท้องถิ่น
ในพื้นที่อำเภอทุ่งยางแดง โดยเฉพาะตำบลตะโละแมะนา ถือได้ว่ามีความขัดแย้งในเรื่องการเมืองท้องถิ่นค่อนข้างรุนแรงเลยทีเดียว ซึ่งจากข้อมูลที่มีการรวบรวมเหตุการณ์ มีเหตุลอบยิงนักการเมืองท้องถิ่น ตั้งแต่ มกราคม 56 ถึง ตุลาคม 57 เสียชีวิตไปแล้ว 6 รายด้วยกัน คือ
16 ม.ค.56 เหตุคนร้ายลอบยิง นายมาหามะ  อีแม็ง  อดีตรองนายก อบต.ตะโละแมะนา
18 ม.ค.56 เหตุคนร้ายลอบยิง นายอับดุลเลาะห์ มะเซ็ง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ.ลูกไม้ไผ่ ต.ตะโละแมะนา
22 มี.ค.56 เหตุคนร้ายลอบยิง นายสอฟี  ยะพา อดีตสมาชิก อบต.ตะโละแมะนา และดำรงตำแหน่งเป็น รองประธานสภา อบต.ตะโละแมะนา
3 เม.ย.56 เหตุคนร้ายลอบยิง นายหามุ สาแลมะ อดีตผู้ใหญ่บ้านตะโละนิบง หมู่ที่ 4 ต.ตะโละแมะนา
17 พ.ค.57 เหตุคนร้ายลอบยิง นายมะยูโซะ สาแลมะ อดีต นายก อบต.ตะโละแมะนา
และล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ต.ค.57 นายมะสะกรี สาและ นายก อบต.ตะโละแมะนา คนปัจจุบันถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิตบนถนนภายในหมู่บ้าน
จะเห็นได้ว่าเหตุลอบยิงที่เกิดขึ้นในตำบลตะโละแมะนา เป็นความขัดแย้งในเรื่องการเมืองท้องถิ่น การแย่งชิงในเรื่องของผลประโยชน์ภายใน อบต.ตะโละแมะนา และอาจรวมถึงธุรกิจผิดกฎหมายที่ไม่ลงตัวของคนสองกลุ่ม นอกจากนี้ผู้มีอิทธิพลยังแย่งชิงการนำมวลชนในพื้นที่ของตัวเอง และจากผลประโยชน์จำนวนมหาศาลเหล่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนให้กับกลุ่ม ผกร.ใช้ในการก่อเหตุสร้างสถานการณ์


ประวัติการเข้าสู่กระบวนการ
เคยเดินทางไปศึกษาต่อด้านศาสนายังประเทศปากีสถาน ประมาณ 3 ปี ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ได้เข้าร่วมกับกลุ่มตะลีบัน สังกัดหน่วยข่าวกรองของกลุ่มตะลีบัน ในประเทศอัฟกานิสถาน
นายมะสะกรี สาและ ศึกษาด้านศาสนาไปด้วยทำงานลับให้กับองค์กรไปด้วย ประมาณ 3 ปี ก็ได้เดินทางกลับเมืองไทย มาเป็นอุสตาซสอนหนังสือที่โรงเรียนดารุลอุลูม ตำบลสะเตงนอก อ.เมือง จังหวัดยะลา สอนหนังสืออยู่ระยะหนึ่งได้หันมาเป็นลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี
การเคลื่อนไหวในการก่อเหตุ
นายมะสะกรี สาและ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการก่อเหตุยิงนายช่าง อบต.ตะโละแมะนา เมื่อวันที่ 1 ส.ค.48 ทำการเผาอู่ซ่อมรถยนต์นิพันธ์ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.50 ซึ่งอู่ดังกล่าวเป็นของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา คนหนึ่ง
นอกจากนี้ นายมะสะกรี สาและ ยังมีพฤติกรรมในการเป็นแกนนำในการปลุกระดมหาแนวร่วมในพื้นที่ กว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นนายก อบต.ผ่านการเป็นอุสตาซสอนหนังสือ แต่เบื้องหลังมีการปลุกระดม ปลูกฝังอุดมการณ์ผิดๆ ให้กับกลุ่มเป้าหมายแล้วไปจำนวนเท่าไหร่ ลองคิดเล่นๆ ดู จะมีนักเรียน นักศึกษาที่หลงผิด โดนนายมะสะกรี สาและ ชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิกในองค์กร และเข้าสู่แหล่งบ่มเพาะ ออกมาเป็นนักรบรุ่นใหม่ที่ติดอาวุธ และที่สำคัญบุคคลเหล่านี้มีความรู้ ยังมีแกนนำอีกกี่คนที่แอบแฝงตัวอาศัยสถานศึกษาในการหาสมาชิกแนวร่วม คนรุ่นเก่าก็ตายกันไป แต่ที่หนักใจและเป็นปัญหาต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดหากแก้ปัญหาไม่ถูกจุด คือ..เยาวชน นักเรียน นักศึกษาเหล่านี้ ต้องตกเป็นเครื่องมือให้กับกลุ่มขบวนการหลอกใช้งานทำการก่อเหตุต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์

-----------------------------------

รอยร้าวทางความคิดประตูสู่ความแตกแยกของขบวนการ

 ชะบา สีขาว

ข่าวคราวที่เกิดขึ้นภายในของขบวนการ ได้มีการหลุดกระเด็นออกมาสู่หูของพวกเราเป็นระยะพวกเราเองก็คิดอยู่เสมอว่า “ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนเป็นไปตามประสงค์ของอัลลอฮ์ ผู้ที่ไม่ยึดมั่นและไม่ปฏิบัติตามแนวทางของอัลกุรอ่านย่อมไม่ได้รับการโปรดปราน ความเมตตา ดังเช่นขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือที่รัฐเรียกว่า “บีอาร์เอ็น.” ผู้หวังผลประโยชน์บนแผ่นดิน  โดยมิได้มองเห็นความทุกข์ ความโศกเศร้า หรือการสูญเสียของผู้อื่น”



ที่ผ่านมา มีบรรดาสมาชิกระดับแก่นนำของขบวนการที่หันหลังให้ขบวนการ  สาเหตุหนึ่งมาจากความแตกต่างทางความคิด  ต่างก็มีความเห็นไปคนละทิศละทางอย่างหลากหลาย จนกลายเป็นความแตกแยก หลายคนเห็นว่าการต่อสู้ของขบวนการอย่างที่ทำอยู่ไม่มีทางชนะ  เพราะขบวนการเองก็ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่  แล้วจะมีโอกาสชนะเพื่อแบ่งแยกประเทศได้อย่างไร  จุดนี้ทำให้แกนนำแต่ละกลุ่มคิดกันไปต่างๆ นานา  ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ชัยชนะ หรือวางจังหวะทิศทางเพื่อก้าวเดินต่อไปอย่างไร  ซึ่งแต่ละคนก็คิดไม่เหมือนกัน การแบ่งพรรคแบ่งพวกจึงเกิดขึ้นตามมา


         เรื่องของผลประโยชน์ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ขบวนการปฏิวัติรัฐปัตตานีเดินไปไม่ได้ แต่การที่ยังมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอยู่  เพราะยังมีแนวร่วมคอยก่อเหตุ  ซึ่งการจะยับยั้งแนวร่วมเหล่านี้ทำได้ยากมาก  เพราะพวกเขาถูกใส่ความเชื่อเข้าไปแล้วก็จะไม่รับฟังคนอื่น  เนื่องจากทางกลุ่มขบวนการเขาปลูกฝังอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อมากว่า 20 ปี ใครก็เปลี่ยนความคิดความเชื่อไม่ได้นอกจากคนในขบวนการเท่านั้น

          นอกจากนั้นแล้ว  ปัญหาใหม่ที่สำคัญไม่แพ้ปัญหาความแตกแยกทางความคิดของกลุ่มระดับแกนนำ   นั่นคือปัญหากลุ่มติดอาวุธ หรือ “อาร์เคเค.”  ซึ่งขณะนี้กลุ่มอิทธิพลในพื้นที่รู้ช่องทาง  จึงสร้างฐานอำนาจโดยนำ อาร์เคเค. มาเลี้ยงไว้  แล้วต่างฝ่ายต่างก็พึ่งพากัน  กลุ่มอิทธิพลได้ใช้ อาร์เคเค.เป็นกองกำลังส่วนตัว โจมตีเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง  โจมตีปรปักษ์ของตนเองบ้าง  ขณะที่ อาร์เคเค.ก็ได้เงิน ได้อาวุธ ได้กระสุน และมีคนคอยปกป้อง ที่แย่ก็คือเมื่อก่อนกลุ่มติดอาวุธมักอยู่ในป่า ปฏิบัติการในเขตป่า แต่วันนี้มาอยู่ในเมืองซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะสามารถก่อเหตุ  ก่อวินาศกรรมได้ทุกเวลา  แต่ก็ยังพบว่าเมื่อไปปฏิบัติจริง กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากปีกแนวร่วมเพื่อรับประกันความปลอดภัย 100% เหมือนเมื่อก่อน  ทำให้เริ่มมีความสูญเสีย     จึงสะท้อนให้เห็นว่า  ขบวนการหรือกลุ่มอิทธิพลปัจจุบันไม่สามารถพูดคุยหรือขอความร่วมมือจากชาวบ้านได้มากเหมือนเดิม


ถึงวันนี้แม้จะมีปัญหาความขัดแย้งในขบวนการเข้ามารุมเร้าและมีกลุ่มอิทธิพลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก อาร์เคเค. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเดินทางถึงจุดเปลี่ยน เพราะภาครัฐยังไม่สามารถเปลี่ยนจาก "ฝ่ายรับ" มาเป็น "ฝ่ายรุก" ได้ดังที่ทุกคนเห็นกันอยู่
“ประชาคมอาเซียน”น่าจะทำให้สถานการณ์เบาบางลง เนื่องจากเยาวชนจะเริ่มให้ความสนใจเรื่องการศึกษามากขึ้น กลุ่มขบวนการหมดน้ำยาที่จะโน้มน้าว ข่มขู่หรือบังคับ  การเกิดประชาคมอาเซียนจะเป็นเหมือนกับการแยกสายน้ำ หรือเส้นทางออกเป็น 2 สาย จากเมื่อก่อนมีเพียงสายเดียว ทำอะไรก็ไปในแนวทางเดียวกัน  แต่เมื่อแยกเป็นสองแล้วจะทำให้มีตัวเปรียบเทียบว่าฝ่ายไหนจะดำรงอยู่ได้ แม้ฝ่ายที่เลือกแนวทางก่อความไม่สงบจะยังก่อเหตุได้ แต่ก็เชื่อว่าจะค่อยๆ ลดจำนวนลง



ส่วนแนวทางที่บางฝ่ายพยายามรณรงค์ให้เกิดโมเดลปกครองตนเองหรือ “เขตปกครองพิเศษ” นั้น  ในทางปฏิบัติยังเร็วเกินไปยังไม่ถึงเวลา เพราะชาวบ้านยังไม่มีความรู้พอ หากตั้งเขตปกครองพิเศษ ประโยชน์จะไปตกอยู่กับคนแค่บางกลุ่ม และชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นเบี้ยล่างเหมือนเดิม

             แนวคิดที่แตกต่างของระดับแกนนำ  นำไปสู่ความแตกแยก  การเอาตัวรอดของ อาร์เคเค.ที่หันไปพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในพื้นที่  ด้วยเหตุผลขบวนการเริ่มเอาตัวไม่รอด  ชาวบ้านเองก็เห็นธาตุแท้ของขบวนการ  นี้คือจุดเปลี่ยนและความล้มเหลวของอุดมการณ์ที่มุ่งหวังผลประโยชน์เฉพาะตนมากจนเกินไป   จนลืมไปว่าอุดมการณ์ที่ประกาศไปคืออะไร…….
----------------------------