8/03/2559

พ่นสี-แขวนป้ายผ้า อุดมการณ์ หรือเรื่องของผลประโยชน์ ?


จากเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 1 สิงหาคม ที่มี “เหตุก่อกวน” ด้วยการพ่นข้อความต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กันหลายจุด ในพื้นที่เดิมๆ ที่เคยเกิดเหตุ เป็นการป่วนการลงประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้ เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 20 จุด และ อ.สะบ้าย้อย ในฐานะ 1 ใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่เป็นรอยต่อกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 2 จุด รวมเป็น 22 จุด

เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่าแกนนำสั่งการเครือข่ายกลุ่มผู้ก่อเหตุ ซึ่งรับใช้กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเริ่มจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่เชื่อมโยงกับผู้สูญเสียอำนาจ ซึ่งคัดค้านรัฐบาลทหารอยู่แล้ว มีการปลุกกระแสไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองสามารถใช้เครือข่ายคนเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการขจัดขัดขวาง มีความพยายามโหนกระแส เชื่อมโยงสถานการณ์ จชต. กับการลงประชามติร่าง รธน.(เพื่อจะอ้างว่า ประชาชนในพื้นที่ จชต.ไม่เอารัฐธรรมนูญไทย)


สอดรับกับปีกการเมืองกลุ่มขบวนการอย่างนักศึกษา PerMAS ที่มีการปลุกกระแสในการเขียนข้อความในบัตรออกเสียงประชามติว่า "ปาตานีเอกราช" แทนกากบาทรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง เพื่อสร้างกระแสว่าคนชายแดนใต้ต้องการเอกราชและเป็นอิสระจากรัฐไทย

อย่างนี้จะตอบคำถามชาวบ้านผู้ที่ถูกขบวนการหลอกใช้ และให้เชื่อว่าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องต่อสู้เพื่อศาสนาอิสลามได้อย่างไร? ในเมื่อความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเป็นการต่อสู้ปม “การเมือง” ไม่ใช่ปม “ศาสนา” ที่กลุ่มขบวนการกล่าวอ้างหลอกใช้มวลสมาชิกมาโดยตลอด อีกทั้งยังปิดหูปิดตาพี่น้องยะลา ปัตตานี และนราธิวาส


แต่ในความสัมพันธ์เชิงลึกของนักการเมืองกับกลุ่มขบวนการแทบแยกกันไม่ออกเป็นเนื้อเดียวกัน กล่าวโดยสรุปคือมีการแอบอ้างและบิดเบือนศาสนา เพื่อหลอกมวลสมาชิกให้ทำการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองในพื้นที่ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีแม้คำว่าอุดมการณ์ที่แท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น