"Ibrahim"
เรื่องราวที่มีการกล่าวถึงมากที่สุดในห้วงนี้
และเป็นที่สนใจของผู้ที่ติดตามข่าวสารชายแดนใต้คงหนีไม่พ้น กรณี: กอ.รมน.ถอนฟ้อง 3 เอ็นจีโอ ในข้อหาหมิ่นประมาทและการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้ต้องหาประกอบด้วย
นายสมชาย หอมลออ, น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา
หีมมิหน๊ะ
เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวสารออกไปของสื่อมวลชน
กระแสของผู้ที่ติดตามข่าวสารชายแดนใต้มี“ผู้ที่เห็นด้วย”และ“ไม่เห็นด้วย”ต่อประเด็นการถอนฟ้องดังกล่าวของ
กอ.รมน.ซึ่งได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถกแถลงถึงสาเหตุไปต่างๆ นาๆ
ในส่วนของผู้ที่เห็นด้วยกับ “การถอนฟ้อง”ซึ่งมองโลกในแง่ดีกลับ“คิดบวก”มองว่า“การประนีประนอม”ดังกล่าว จะเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่ายในการทำงานร่วมกันในอนาคต อีกทั้งจะส่งผลดีต่อการแก้ปัญหา
จชต. ร่วมกันตรวจสอบ คานอำนาจ มิให้มีการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ต้องสงสัยที่มีการควบคุมตัวโดยรัฐ
ลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยคุมกำลังในพื้นที่กับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม นักสิทธิมนุษยชน
ซึ่งมีผลต่อบรรยากาศการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอยู่
ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อกรณีการถอนฟ้อง
แน่นอนกลับมีความคิดตรงกันข้ามเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับ 3 นักสิทธิมนุษยชนถึงที่สุด
เพื่อพิสูจน์“ความจริง”ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้น ใคร?
กันแน่ที่บิดเบือนข้อมูล กล่าวคำเท็จโกหกคำโตต่อสังคม กระชากหน้ากากเปิดเผยให้ปรากฏต่อสังคม
อีกทั้งให้ดำเนินคดีความเอาผิดเพื่อสร้างบรรทัดฐาน และความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำ
มิใช่? กระทำแบบครึ่งๆ กลางๆ ปล่อยให้ประชาชนคิดไปเองต่อการถอนฟ้อง อีกทั้งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไม่สามารถเอาผิดต่อผู้ละเมิด!! ได้
มูลเหตุของการฟ้องร้อง
การฟ้องร้องของ กอ.รมน. ได้เกิดขึ้นหลังจากที่
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, องค์กรเครือข่ายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) และกลุ่มด้วยใจ ได้ร่วมกันจัดงาน เปิดตัว “รายงานสถานการณ์
การทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และหลังจากนั้นได้ทำการเผยแพร่รายงานดังกล่าวในสื่อหลายชนิด
ทำการกล่าวหา การซ้อมทรมาน โดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
(กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางทหาร ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ทำไม?
กอ.รมน.จึงต้องฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน
“รายงานสถานการณ์ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
และได้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวในสื่อต่างๆ ในเวลาต่อมา กลับพบว่าในรายงานทั้งหมดเป็นข้อมูลเก่าที่เคยดำเนินการมาแล้วเมื่อวันที่
28 พฤษภาคม 2555 โดยกลุ่มเป้าหมาย และรูปแบบรายงานการที่ยังคงเป็น รูปแบบเดิมๆ
อย่างไรก็ตามหากเจาะลึกลงในเนื้อหาที่มีการรายงานอย่างละเอียด
กลับพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นการนำข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2547 มานำเสนอซ้ำ มีการกล่าวอ้างแบบลอยๆ
อย่างเช่น (จากคำบอกเล่า...เขาเล่าว่า)
โดยขาดหลักฐานในข้อเท็จจริง และไม่มีการตรวจสอบก่อนที่จะนำมาเสนอต่อสาธารณชน
ซ้ำร้ายยิ่งไปกว่านั้นในรายงานทั้ง 2
ครั้ง พบว่าสิ่งที่เหมือนกันมีการกล่าวถึง การถูกข่มขืน การผ่าตัดนำอวัยวะภายในออก
การบังคับให้ทานสารเคมี และการเผาไหม้ตามอวัยวะร่างกาย
และที่เพิ่มเติมล่าสุด คือการหมิ่นประมาท
และกล่าวหาเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่เป็นไปไม่ได้ เช่น “ให้ทหารพรานหญิงใช้นมปิดใบหน้าให้ผู้ต้องสงสัยขาดลมหายใจตาย” หรือประเด็นการทำร้ายร่างกาย เช่น ใช้ลำกล้องปืนกระแทกจนฟันกรามหัก
ศีรษะแตก เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเรื่องจริงย่อม มีร่องรอย
หรือหลักฐานให้ปรากฏต่อแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย “ทั้งก่อน” และ “ภายหลัง” การควบคุมตัว
รวมทั้งปรากฏต่อญาติ และครอบครัวที่เข้าเยี่ยมได้ทุกโอกาสที่เอื้ออำนวย ซึ่งกลุ่มองค์กรเหล่านี้ต่างก็ทราบดีแต่ยังนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนความจริง
ดังนั้นจากพฤติกรรมของ 3
นักเอ็นจีโอ คือ นายสมชาย หอมลออ, น.ส.พรเพ็ญ
คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ต่อการรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จ
อีกทั้งได้ทำการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ถือได้ว่า “เป็นการจงใจพยายามทำลายความน่าเชื่อถือในระบบอำนาจรัฐ
และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีระดับสากล สร้างความเสื่อมเสียที่ไม่น่าให้อภัย” จึงมีการฟ้องร้องในเวลาต่อมา ในข้อหา “หมิ่นประมาทและการกระทำผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์”
การถอนฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน ทำให้สังคมมองภาพรวมกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “ความจริงไม่ได้มีการพิสูจน์”
การที่หยุดดำเนินคดีกลางคัน ส่งผลให้สังคมไม่สามารถรับรู้ข้อเท็จจริง อีกทั้งความเสียหายที่
3 นักสิทธิมนุษยชนได้ก่อนั้นไม่ใช่แค่ระดับประเทศ
แต่รายงานดังกล่าวมีการส่งไปยังองค์กรระหว่างประเทศอีกด้วย
ในความคิดของผู้เขียนเข้าใจต่อความรู้สึกของผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อการถอนฟ้อง
3 นักสิทธิมนุษยชน เพราะ “ตอนที่คุณทำไม่คิด
แต่เมื่อมีการเอาผิดกลับโอดครวญ”เมื่อมีการฟ้องร้องเอาผิดกลับกล่าวหารัฐรังแกโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
เคลื่อนไหวยืมมือองค์กรต่างชาติอย่างเช่น แอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการแจ้งข้อหาต่อ 3
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ เคยถูกหน่วยงานความมั่นคงแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญามาแล้ว
โดยแจ้งความข้อหาหมิ่นประมาทให้กรมทหารพรานที่ 41 จังหวัดยะลา ต้อง“เสื่อมเสียชื่อเสียง” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จากกรณีที่นางสาวพรเพ็ญฯ
บิดเบือนข้อเท็จจริง กรณีเรียกร้องให้มีการสอบสวนข้อหาทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัวอันเป็นเท็จ
แต่ภายหลังหน่วยงานความมั่นคงยอมถอนแจ้งความเนื่องจากโดนข้อหา “รังแกผู้หญิง” ให้โอกาสกลับเนื้อกลับตัว แต่ น.ส.พรเพ็ญฯ
ไม่เคยสำนึกตัว กลับทำผิดซ้ำซาก?
การถอนฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน จะเป็นก้าวก้าวแรกในการตัดสินใจทำงานร่วมกัน
เพื่อจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่แปลก หากการทำงานร่วมกันได้ผลดีจริง ผลประโยชน์จะตกสู่ประชาชนในพื้นที่ แต่ถ้าผลของการตัดสินใจครั้งนี้ ไร้ซึ่งความจริงใจ.....ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนจริงๆ..........เพราะหากไม่จริงใจแล้วไม่ต่างอะไร?
กับการแสดงละครให้ประชาชนดู โดยจะซ้ำเติมทำร้ายประชาชน......อยู่เช่นเดิม.
-----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น