‘แบดิง
โกตาบารู’
การเคลื่อนไหวของนักศึกษาสนับสนุนหรือถ่วงดุลการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้เป็นความพยายามเคลื่อนไหวของนักศึกษาชายแดนใต้
ที่ทุกคนรู้จักกันดีภายใต้ชื่อกลุ่มนักศึกษา PerMAS ซึ่งเป็นปีกการเมืองของกลุ่มขบวนการ
BRN
ยามที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในพื้นที่
จชต. นักศึกษากลุ่มนี้รีบลงพื้นที่เพื่อพบปะผู้เสียหาย หรือผู้สูญเสีย
ใช้ความตายของผู้คนเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน
ดูดีในสายตาพี่น้องประชาชนปาตานีบางคนแต่ซ่อนลึกด้วยเล่ห์เหลี่ยมกลโกงที่ซ่อนเงื่อนหลายชั้นนัก
เหตุการณ์กรณีคนร้ายได้ปล้นรถยนต์กระบะยี่ห้อฟอร์ด
จากพื้นที่ในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยเจ้าหน้าที่สามารถติดตามจับกุม
รวมทั้งตรวจยึดรถคืนเอาไว้ได้ในพื้นที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม
เจ้าหน้าที่จึงได้มีการเปิดแผนตรวจค้นเป้าหมายย่านตลาดเก่า
เขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 9 เป้าหมาย
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหอพักบ้านเช่านักศึกษา
โดยได้เชิญตัวผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องต่อกรณีปล้นรถยนต์กระบะที่ อำเภอยะหา
และเหตุลอบวางระเบิดก่อกวน รวม 22 ราย มาเข้าสู่กระบวนการซักถาม ซึ่งใน 22 ราย
ที่ควบคุมตัวเอาไว้นั้น มี 3 ราย
ให้การรับสารภาพแล้วว่าร่วมในการก่อเหตุลอบวางระเบิดในวันที่ 14-16 พฤษภาคม
และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งได้ทำการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย
จำนวน 5 คน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องเหตุระเบิดยะลา
เมื่อ 14 - 16 พฤษภาคม ขณะทำกิจกรรมค่ายเยาวชน ที่โรงเรียนดารุสสาลามมูลนิธิ ม.6
ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ไปแตะต้องตัว
มีการตรวจค้นหอพักมวลสมาชิกกลุ่ม PerMAS จะได้เสียงตอบรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการโจรใต้ในคราบนักศึกษาเหล่านี้อย่างทันที
และทันใด
การออกมาเคลื่อนไหวกดดันเจ้าหน้าที่
พร้อมทั้งกล่าวหามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การคุกคามการจัดกิจกรรมของนักศึกษา มีการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อเพื่อทำการชี้ให้ประชาชนในพื้นที่
นอกพื้นที่ และต้องการสื่อไปยังองค์กรระหว่างประเทศได้เห็นคล้อยตาม
นับเป็นยุทธวิธีที่มีการลงทุนน้อยแต่ได้ผลคุ้มค่า
หลายครั้งด้วยกันที่กลุ่มนักศึกษา
PerMAS
มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุสร้างสถานการณ์
สมาชิกภายในองค์กรมี 2 สถานะ เป็นสมาชิก PerMAS ทำงานเคลื่อนไหวทางการเมือง
และอีกมิติหนึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วม RKK ลงมือก่อเหตุเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์
นายกามาลุดดีน
ฮานาฟี แกนนำกลุ่ม BIPP
เป็นระดับแกนนำกองกำลังโจรใต้ได้ออกมาให้ท้ายกับกลุ่มนักศึกษาเถื่อนเหล่านี้ให้มีการเคลื่อนไหวในการต่อสู้ทางการเมือง
ซึ่งจะนำไปสู่ชัยชนะโดยไม่ต้องใช้กำลัง และให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องในการท้าทายต่ออำนาจรัฐ
เมื่อ 4 มิถุนายน
2558 นายสุไฮมี ดูละสะ ประธานกลุ่ม PerMAS ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
(IVM) เดินทางไปชุมนุมที่บริเวณด้านหน้า ศชต. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงถึงสาเหตุการควบคุมตัว
และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักเรียนที่ถูกควบคุมตัวไว้
ขณะที่นักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ เรียกร้องศิษย์เก่าทุกคนร่วมกันสวดดุอาร์ให้ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคน
ให้ได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัย
วันนี้ 5 มิถุนายน 2558 ตัวแทนนักศึกษา
สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS นำโดย
อาร์ฟาน วัฒนะ ผู้อำนวยการ ฝ่ายการรณรงค์ PerMAS เดินทางเข้าไปพบเจ้าหน้าที่
OHCHR องค์การสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ ณ
สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นจดหมายแถลงการณ์ กรณีที่มีการปิดล้อม จับกุม นักเรียน
นักศึกษา นักกิจกรรม เพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานี เมื่อวันที่ 2
มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา
นายสุไฮมี
ดูละสะ อ้างว่า การเก็บ DNA
ในภาวะปกติ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายและละเมิดสิทธิ
แต่ในภาวะที่ประกาศกฎอัยการศึก การเก็บ DNA ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ได้รับการตรวจ
หากไม่ได้รับการยินยอม ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ขณะที่สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH) กล่าวอ้างว่า
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในพื้นที่ปาตานี
เป็นการสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
การออกมากล่าวอ้างการตรวจ
DNA
ของเจ้าหน้าที่ของนายนายสุไฮมี ดูละสะ เป็นการกล่าวอ้างที่ฟังไม่ขึ้น
หากไม่มีข้อมูลเจ้าหน้าที่คงไม่ทำการตรวจค้นและเชิญตัวนักศึกษาเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการซักถามอย่างแน่นอน
ยังจำกรณีการตรวจค้นหอพักนักศึกษาและมีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุลอบวางระเบิดเมืองนราธิวาสกันได้มั๊ย..กลุ่ม
PerMAS
ตีโพยตีพายกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่คุกคาม
ละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทำกิจกรรมของนักศึกษา
มีการประสานงานไปยังเครือข่ายนักศึกษาสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศออกมาเรียกร้องกดดันให้มีการปล่อยตัวนักศึกษาที่มีการควบคุมตัว
สุดท้ายผลออกมาเป็นอย่างไร?..
หน้าแหกไปตามๆ กัน เมื่อผู้ต้องสงสัยได้ยอมรับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องเหตุลอบวางระเบิดเมืองนราธิวาสจริง
พร้อมได้เปิดเผยขั้นตอนเป็นฉากๆ นี่คือผลงานของกลุ่ม PerMAS ที่พยายามปกป้องผู้ที่กระทำความผิดอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
พวกมากลากไปใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
และในครั้งนี้เป็นอย่างไร...กับเสียงตอบรับขององค์กรนักศึกษาทั่วประเทศกลับเงียบเฉย
เพราะนักศึกษาเหล่านั้นเริ่มรู้แกวแล้วว่ากลุ่ม PerMAS อุ้มโจรใต้
ปกป้องคนผิด และไม่มีนักศึกษาสถาบันไหนออกมาเคลื่อนไหวเหมือนเช่นครั้งที่ผ่านมา
คงเข็ดหลาบกับความตอแหลลื่นไหลของกลุ่มนักศึกษาโจรใต้กลุ่มนี้
สำหรับเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา 44 จุด รวม 56 ลูก ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บรวมทั้งหมด
18 ราย เป็นการกระทำที่ท้าทายต่ออำนาจรัฐของกลุ่มขบวนการโจรใต้ฟาตอนี
ความคืบหน้าของคดีล่าสุด
พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. ได้เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณีการจับกุมผู้ต้องหาวางระเบิดในพื้นที่
อำเภอเมืองยะลาว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมผู้ต้องหาได้แล้ว 8 ราย ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการสืบสวนเพื่อทำการขยายผล
โดยตนจะลงพื้นที่ไปสอบปากคำผู้ต้องหาด้วยตนเอง
และจะมีการแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีดังกล่าวต่อสื่อมวลชนให้ทราบต่อไป
จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับ
จากการเปิดเผยจากพนักงานสอบสวน ซึ่งได้มีการสอบปากคำ ผู้เสียหายและพยานในคดีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
รวม 60
ปาก เมื่อ 18 พฤษภาคม 2558 ในเวลาต่อมาศาลจังหวัดยะลา ได้ออกหมายจับ นายอับดุลฟาริด สะกอ
ตามหมายจับที่ 175/2558 ลง 18 พ.ค.2558
ส่วนความคืบหน้าในการซักถามผู้ต้องสงสัยของเจ้าหน้าที่
นายซอบรี กาซอ ได้ให้การยอมรับว่าได้ร่วมลงมือก่อเหตุลอบวางระเบิดร้านขายของชำบริเวณสามแยกร้านแอม
ถนนผังเมือง 4 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
เมื่อ 14 พฤษภาคม 2558 แต่ได้เกิดระเบิดขึ้นในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558
ส่วนสื่อของแนวร่วมขบวนการ
สำนักสื่อ Wartani
อ้างว่าเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด
ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 7 คน ซึ่งการปล่อยตัวดังกล่าวเป็นความดี
ความชอบของนายสุไฮมี ดูละสะ ประธานกลุ่ม PerMAS นั้น
เป็นการโฆษณาชวนเชื่อและให้ราคาต่อตัว นายสุไฮมีฯ เกินเหตุ
ในความเป็นจริงกระบวนการขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวน
และซักถาม จะมีการปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยในทันทีที่บุคคลผู้นั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์
ไม่ได้เป็นความดีความชอบของใคร การปล่อยตัวเป็นไปขั้นตอน และตามสั่งการของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่
4
ให้มีการเร่งรีบปล่อยตัวผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิด
ส่วนผู้ที่ทำการก่อเหตุ เมื่อมีความผิดก็ต้องว่าไปตามกระบวนการของกฎหมาย
นายสุไฮมี
ดูละสะ ประธานกลุ่ม PerMAS ได้เปิดเกมรุกใส่เจ้าหน้าที่ด้วยการออกแถลงการณ์ มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์
และเว็บไซต์ เป็นแกนนำปลุกระดมมวลชนทำการกดดันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ยื่นข้อเรียกร้องให้ทำการปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัวที่หน้า ศชต.
เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐได้ปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย
ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแน่นอน
มีแต่กลุ่มนักศึกษาโจรกลุ่มนี้เสียอีกที่ได้ทำการเคลื่อนไหวโจมตี
กดดันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด ซึ่งนับวันยิ่งได้ใจจะทำอะไรก็ได้เพราะไม่มีใครไปกล้าเตะ
ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
หน้าที่นักศึกษาคือร่ำเรียนหนังสือไม่ใช่ทำการเคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มขบวนการโจรใต้
ประชาชนปาตานีต่างคาดหวังต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข
หากทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรงต่อกัน ใช้เวทีในการพูดคุยหาทางออกร่วมกันเพื่อเดินหน้าขจัดปัญหาความขัดแย้ง
กลุ่ม และองค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะนักศึกษา PerMAS
หยุดการเคลื่อนไหวในการสร้างความแตกแยก ชี้นำทางความคิด
ปลุกกระแสในการกำหนดใจตนเองเพื่อนำไปสู่การลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช...ทุกอย่างน่าจะเดินไปได้ด้วยดีตามกระบวนการที่ได้มีการขับเคลื่อนจากรัฐบาล
เพื่อความปรองดองของคนในชาติ นำพาสันติสุขกลับคืนมาสู่ดินแดนปาตานีอย่างยั่งยืน..เพื่อประชาชนปาตานีทุกเชื้อชาติ
ศาสนา ได้อยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรมบนความแตกต่าง ดั่งเฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมาที่เคยอยู่ร่วมกันมาอย่างผาสุข....
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น