ผมพึ่งกลับมาจากเยี่ยมญาติที่เชียงใหม่
เจอกับหลานเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังว่าเมื่อกลางเดือนที่แล้วได้ไปงาน “พื้นที่พลเมือง เปลี่ยน (ไม่) ผ่าน“ ซึ่งเขาจัดที่ร้านน้ำชาสนิมทุนเชียงใหม่
กลุ่มปาตานี ฟอรั่ม กลุ่มลุ่มน้ำสายบุรี องค์กรอะไรก็ไม่รู้เขียนว่า LEMPAR
คนประชาธิปไตย พลเมืองเสมอกัน เมื่อ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา
หลานและเพื่อน ของเขาเล่าให้ฟัง
ท่านตูแวดานียา ตูแวแมแง เป็น ผอ.ของ องค์กร LEMPAR เล่าว่าความหมายของคำว่าปาตานีเป็นชื่อของอาณาจักรของคนมลายู
ที่ไม่เหมือนกับคำว่าปัตตานี ซึ่งเป็นชื่อจังหวัดของประเทศไทย ฟังดูมันยังไง ๆ
เหมือนแบ่งแยกนะ แต่เด็กๆ เขากลับไม่ได้คิดอะไร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคใต้
ท่านบอกว่าเกิดมาตั้งนานแล้วตั้งแต่เกิดจากการต่อต้านของกลุ่มเจ้าเมืองเก่า
ต่อมาเป็นการต่อต้านโดยกลุ่มผู้นำทางศาสนา
และตั้งแต่ปี 2503 เกิดการลุกขึ้นสู้ของปัญญาชน พร้อมว่ารามคำแหง
หรือกลุ่มที่จบจากอินโดนีเซีย และอียิปต์ เป็นเบ้าหลอมหรือแหล่งบ่มเพาะคนของ BRN
จนมีอยู่ในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่ม รวมทั้งแฝงตัวอยู่ในกลุ่ม จนท.รัฐ
กลุ่มนี้ เมื่อก่อเหตุเสร็จ ก็จะกลับไปเป็นชาวบ้าน ชาวสวน ท่าน ผอ.ตูแวดานียา บอกว่าตัวท่านเองก็เป็นแนวร่วมของ
BRN ด้วยเช่นกัน แต่ที่
ไม่ถูกจับหรือเป็นอะไรเพราะมีนักศึกษาหลายสถาบันหนุนหลังอยู่...ชัดเจนว่าแนวร่วม BRN
น่าจะกระจายอยู่ในกลุ่มนักศึกษาหลายโรงเรียนวิทยาลัยมหาวิทยาลัย...
เจ้าหน้าที่ทั้งหลาย ท่านทราบหรือไม่!!!
เรื่องที่ ผอ.ตูแวดานียา เล่า
มันก็ทำให้เข้าใจได้ทันทีว่าทำไม NGOs ทั้งหลาย
รวมทั้งกลุ่มนักศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเราถึงไม่ค่อยออกมาประณาม
หรือแสดงความไม่เห็นด้วยเวลามีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นกับคนทั่วไปโดยเฉพาะกับคนไทยพุทธ
ก็คงจะเป็นอย่างที่ ผอ.ตูแวดานียา ว่า เป็นเพราะ NGOs และนักศึกษาจำนวนไม่น้อย
เป็นแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อเหตุ… แต่พูดอย่างนี้
ก็ดูจะเหมารวมเกินไป เอาเป็นว่าใครอยากจะรู้ก็คงต้องไปลองสืบๆ ดูว่า แกนนำ NGOs
หรือภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวในปักษ์ใต้บ้านเราตอนนี้จบการศึกษามาจากไหนบ้าง
ถ้าส่วนมากจบมาจากรามคำแหง อินโดนีเซีย หรืออียิปต์ ก็คงไม่ต้องคาดหวังอะไรมากมาย
เรื่องจะให้พวกเขามาเป็นปากเป็นเสียง
เป็นทางเลือกที่จะช่วยสร้างสันติภาพในพื้นที่...และถึงแม้ว่าท่านตูแวดานียาจะไม่ได้พูดถึงสถาบันการศึกษาในพื้นที่
3 จังหวัดที่เป็นแหล่งบ่มเพาะ แต่ก็น่าเชื่อว่าคงจะมีด้วยแน่ๆ
แต่จะเป็นที่ไหนบ้างนั้น ก็คงต้องดูว่านักศึกษากลุ่มไหนที่เป็นพันธมิตร
หรือทำกิจกรรมร่วมกับองค์กร LEMPAR บ่อยๆ
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ ท่าน
ผอ.ตูแวดานียา พูดมาจากการรู้จริง และจากประสบการณ์จริงของความเป็นคนในพื้นที่
เป็นผู้นำองค์กรที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก มันช่วยตอกย้ำข้อสงสัยหลายๆครั้งที่ผ่านมา
ว่าทำไมเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่นี่มันถึงเกิดได้ง่าย
ทั้งในพื้นที่ตัวเมือง ย่านชุมชน และในตลาด ทั้งๆที่ด่านตรวจตั้งเยอะแยะ
ที่แท้ก็เป็นอย่างที่ท่านตูแวดานียาว่านี่เอง
ว่าคนเป็นแนวร่วมก็คือชาวบ้านไม่มีเครื่องแบบเราดีๆนี้แหละ ก่อเรื่องเสร็จก็แปลงกลับไปตีหน้าซื่อเป็นชาวบ้าน
ชาวสวน คงจะเหมือนในคลิปคนวางระเบิดในยะลา และนราธิวาส ที่เขาส่ง ต่อๆกันมาใน Line ที่มีกระทั่งพวกใส่ชุดดาวะห์ ไม่รู้ว่าดาวะห์ปลอม หรือดาวะห์จริงๆ
ที่ทำงานเสริมเป็นแนวร่วมไปก่อเรื่องกับเขาด้วย
สรุปก็คือ ประชาชนคนทั่วไปซวยที่สุด
คือ เจ้าหน้าที่แยกไม่ได้ว่าใครเป็นชาวบ้านทั่วไป ใครเป็นโจร
เลยคุมไม่ได้เต็มที่ทำให้ยังมีเหตุระเบิด เหตุยิง อย่างที่เป็นอยู่
แถมพอเกิดเรื่อง แทนที่จะได้ NGOs ออกมาช่วยกันประณามกดดันไม่ให้มีการทำร้ายประชาชน
พวกมีปากมีเสียงดันพากันเงียบ เพราะเป็นแนวร่วมซะอีก
ยังไงก็ดี ในฐานะคนในพื้นที่
รับรู้ความสูญเสีย เห็นและผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจมาหลายครั้ง ขอประกาศตรงนี้เลยว่า
จริงๆ ก็ไม่ได้สนใจหรอกนะ เรื่องที่พวกคุณๆ ทั้งหลายทั้ง BRN พูโล NGOs และนักศึกษาอยากจะแบ่งแยก อยากเป็นเอกราช
จะโดยการใช้ความรุนแรง หรือการเรียกร้องให้ประชาชนตัดสินใจเลือกอย่างที่ ท่าน
ผอ.ตูแวดานียา
ว่าเพราะเห็นด้วยว่าประชาชนควรมีสิทธิ์เลือกและตัดสินใจหากรัฐไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองที่ดีได้จริงๆ
แต่รู้ไหม ?? การที่พวกคุณใช้ความรุนแรงกับประชาชน เพิกเฉยกับความสูญเสียของประชาชน
มันไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่คุณกล่าวหารัฐบาลเลยแม้แต่น้อย
และการเคลื่อนไหวของพวกคุณจะไม่มีวันชอบธรรมหรือได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ได้เลย
เพราะไม่ใช่แค่คนไทยพุทธที่เป็นเหยื่อการเลือกปฏิบัติของพวกคุณเท่านั้น
ที่จะต่อต้าน แต่คนมลายูนับถืออิสลามหลายๆ คนเขาก็ไม่เอาพวกคุณด้วยเช่นกัน
ไม่ใช่ว่าพวกเขาเป็นคนทรยศ หรือไม่รักพี่น้องอิสลามด้วยกันหรอกนะ
แต่เพราะว่าจนถึงวันนี้ พวกคุณทั้งหลายยังไม่สามารถทำให้พวกเขาเห็น ว่า
พวกคุณคือทางเลือกที่ดีกว่า นั่นเอง…เข้าใจนะ
ที่มา http://board.postjung.com/887853.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น