"Ibrahim"
“ทุ่งยางแดง” ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี
เป็นพื้นที่ที่เกิดเหตุบ่อยครั้ง กลุ่มขบวนการมักฉวยโอกาสทีเผลอลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์
จงใจก่อเหตุสร้างความเดือดร้อนให้ผู้คนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายอ่อนแอไม่มีแม้อาวุธปกป้องตนเองต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
แต่มิได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะไม่ตกเป็นเป้าของกลุ่มขบวนการ
ล่าสุดเมื่อ
26 ธ.ค.59 กรณีเหตุคนร้ายประกบยิง นายมะโซ๊ะ เจ๊ะแว ซึ่งเป็นคนขับรถนายอำเภอทุ่งยางแดง
อีกทั้งยังเป็นเจ้าหน้าที่ อส.ทุ่งยางแดง ในขณะที่ นายมะโซ๊ะฯ ขับรถจักรยานยนต์คู่ชีพเพื่อเดินทางกลับบ้านช่วงหัวค่ำ
ขณะขับมาตามเส้นทางถนนภายในหมู่บ้าน บ้านบาลูกาลูวะ หมู่ที่ 1 ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง
จ.ปัตตานี คนร้ายได้ขับรถกระบะยี่ห้อมาสด้า แบบตอนครึ่ง สีขาว ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน
ตามประกบและใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิง นายมะโซ๊ะ เจ๊ะแว กระสุนถูกบริเวณศีรษะและลำตัวได้รับบาดเจ็บสาหัส
พลเมืองดีนำส่งรักษาตัวเพื่อยื้อชีวิต แต่ทนพิษบาดแผลและคมกระสุนไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ณ โรงพยาบาลทุ่งยางแดง
หลังก่อเหตุคนร้ายใช้ความชำนาญเส้นทางในพื้นที่ขับรถยนต์หลบหนีไป
จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ พบปลอกกระสุนปืน ขนาด 5.56 มม. จำนวน 4 ปลอก
ตกอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ
ในขณะที่ทุกฝ่ายกำลังตื่นตัวกับวาทกรรม
“การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” มีการผลักดันในเวทีพูดคุยสันติสุขให้เกิดเป็นรูปธรรม
แต่ความเป็นจริงในพื้นที่กลับใช้ความรุนแรงยังปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
“การฆ่าคน” ทุกศาสนาได้บัญญัติและสอนไว้ว่าเป็นบาปจะต้องพึงละเว้น
ไม่มีศาสนาไหนสอนให้ “การฆ่าคน” เป็น“วาญิบ”สิ่งที่ควรทำ หรือทำแล้วได้บุญ แต่กลุ่มขบวนการ
BRN
ยังเดินหน้าปลิดชีวิตของผู้คนโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป
ใคร?
คือผู้ก่อเหตุ
เหตุร้ายรายวันที่ซัยตอนอาละวาดเข่นฆ่าผู้คน
คอยเติมเชื้อไฟใต้ไม่ให้มอดดับเป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการ BRN และส่วนหนึ่งมาจากปัญหาในเรื่องส่วนตัว ขัดแย้งผลประโยชน์
ปัญหายาเสพติดน้ำมันเถื่อน สินค้าลักลอบหนีภาษี ที่ผ่านมาหลายๆ เหตุการณ์มักจะอาศัยสถานการณ์ทำการก่อเหตุ
เพื่อเบี่ยงเบนให้เห็นว่าเป็นคดีความมั่นคงไม่ใช่ประเด็นส่วนตัว
เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่
มีการนำหลักนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการเก็บหลักฐานส่งตรวจพิสูจน์เพื่อหาความเชื่อมโยงของคดีในสารบบ
ซึ่งกระบวนการมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล
ผลของการกระทำ
ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม?
สิบกว่าปีที่ผ่านมาเหตุไฟใต้ สถิติสะสมของเด็กกำพร้าพ่อและแม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงได้พุ่งสูงขึ้น
ไม่นับรวมผู้ที่ได้รับผลกระทบอีกเป็นจำนวนมาก
รัฐต้องเสียงบประมาณในการเยียวยาด้วยวงเงินที่สูง ทั้งครอบครัวของประชาชนผู้บริสุทธิ์
ครอบครัวของกลุ่มขบวนการ BRN
เองตลอดจนครอบครัวของเจ้าหน้าที่รัฐต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
การเป็นเด็กกำพร้า
ลูกหลานมุสลิมอย่าเข้าใจผิดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ หรือจะไม่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าหลีกเลี่ยงได้
ความเป็น“เด็กกำพร้า” ได้ถูกยัดเยียดจากกลุ่มขบวนการ BRN ซึ่งอยู่ในคราบซัยตอน
กลุ่มขบวนการนี้ทำการก่อเหตุโดยไม่แยกแยะเป้าหมายแม้กระทั่งผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยกันเองก็ไม่เว้น
การฆ่า นายมะโซ๊ะ
เจ๊ะแว ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มขบวนการกระทำผิดหลักศาสนา ผู้ที่เสียชีวิตมีครอบครัว
มีลูกมีเมียที่จะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู ประกอบอาชีพหาเงินมาดูแลครอบครัวด้วยความสุจริต
การเป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครักษาดินแดนทุ่งยางแดง ผิดด้วยหรือ? ถึงได้มาพรากชีวิต
หรือเพื่อสนองตัณหาของแกนนำบางคนที่นั่งสั่งการอยู่บนฟูก
แล้วครอบครัวของพี่น้องมุสลิมที่ได้รับผลกระทบล่ะ!! เมื่อขาดเสาหลักของครอบครัวไป
การดำเนินชีวิตจะเป็นเช่นไร?
นี่หรือ!! คือ..วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มขบวนการ BRN ที่ใช้อาวุธในการเข่นฆ่าผู้คน
เพื่อหาทางออกของความขัดแย้ง เสพติดความรุนแรง นิยมความป่าเถื่อน..สุดโต่ง..!!
-------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น