12/28/2559

มุมมองของ NGOs ต่างประเทศ ต่อการแก้ปัญหา จชต.

"Ibrahim"


อัญชนา หีมมิน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว เกี่ยวกับความท้าทายของกระบวนการสันติภาพในระดับรากหญ้า ระดับพื้นที่ และชุมชนว่าสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้คนมีความปลอดภัย และมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยดังนั้น พื้นที่ปลอดภัย ผู้ที่มีอำนาจ ผู้ที่ถืออาวุธจะต้องพิจารณาให้รอบด้าน มองในหลายมิติ สื่อสารกันให้มาก รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนให้มาก

แต่ She มิวายที่จะแขวะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการติดตามจับกุมบุคคลต้องสงสัยกรณีเหตุระเบิดในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนกับการใช้กฎหมายพิเศษ


การแสดงความคิดเห็นของอัญชนา หีมมิน๊ะประธานกลุ่มด้วยใจ เกี่ยวกับ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ทุกฝ่ายกำลังตื่นตัวและเรียกร้องในระดับเวทีการพูดคุยสันติสุข และเรียกร้องให้รับฟังความคิดเห็นให้มาก

ในมุมมองของผู้เขียนอัญชนา หีมมิน๊ะยังมีเรื่องที่ค้างคาใจอยู่หลายประเด็น เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผ่านมา โดยเฉพาะการนำประเด็นที่สำคัญมาบิดเบือน เช่นประเด็น การซ้อมทรมานกล่าวหา เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทารุณกรรม ที่จริงไม่อยากจะฟื้นฝอยหาตะเข็บสักเท่าไหร่  กล่าวถึงเรื่องนี้ทีไรบอกได้เลยคำเดียว She เป็นพวก Ultras BRN (ยิ่งกว่า BRN) ก็สมควรแล้วที่หน่วยงานความมั่นคงฟ้องร้องเอาผิดกับองค์กรเหล่านี้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

องค์กรภาคประชาสังคมที่มีมากกว่า 520 องค์กร ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ จชต. หากคิดดีทำดีจิตบริสุทธิ์ ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขปัญหาไฟใต้ก็สมควรยกย่อง แต่ในขณะเดียวกันมีกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนไม่น้อยในพื้นที่ จชต. ที่มีแนวความคิดตรงข้ามกับภาครัฐ คอยจับผิดซ้ำเติมข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน  นำไปขยายผลรายงานไปยังองค์กรต่างประเทศ เสมือนหนึ่งไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้วกลับคอยราดน้ำมันลงในกองเพลิง เพื่ออะไร? มิทราบ ซึ่งมีองค์กรที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นจริง และหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มด้วยใจของ อัญชนา หีมมิน๊ะและ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ของ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

นอกจากนี้ยังมีองค์กรประเภทอีแอบ คอยจัดเวทีเสวนาโน่นนี่ ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมก็จะเป็นไปในลักษณะปิดลับ โดยเฉพาะที่ผ่านมา วิทยาลัยประชาชน ซึ่งมี นายอิสมาแอล แนแซ เป็นผู้อำนวยการ จะมีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ไม่ได้เชิญบุคคลทั่วไปเข้าร่วมมีการจำเพาะเจาะจงผู้ที่มีอุดมคติเดียวกัน และที่สำคัญไม่ได้เชิญเจ้าหน้าที่รัฐเข้าร่วมแต่อย่างใด? แต่ก็มีบางองค์กรที่สามารถทำงานร่วมกับภาครัฐได้อย่างลงตัวเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา จชต.อย่างแท้จริง

อยากจะให้ อัญชนา หีมมิน๊ะ ดูแบบอย่าง NGOs ที่ดีอย่างเช่น “Miss Cynthia Petrigh” ผู้ก่อตั้ง Beyond Peace, French และ International Monitoring yeam in Mindanao ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานร่วมกับภาครัฐและทหารที่ทำงานร่วมกันทั่วโลก ซึ่งองค์กรนี้มีแนวความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นกลาง และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ พูดแบบชาวบ้านคือใจกว้าง ไร้อคติเอนเอียง

ส่วนกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐ ติดตามจับกุมบุคคลต้องสงสัยกรณีเหตุระเบิดในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยใช้กฎหมายพิเศษ She ได้กล่าวพาดพิง ไม่อยากให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดหรือไร? ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติไม่สามารถประเมินค่าได้ อีกทั้งในเรื่องความมั่นใจของนักการค้า การลงทุนต้องหดหาย นี่มันอะไรกันจะปล่อยให้คนชั่วลอยนวลทำการก่อเหตุได้ตามอำเภอใจ ต้องการแบบนั้นหรือ?

การรายงานข้อเท็จจริงขององค์กรภาคประชาสังคมไปยังต่างประเทศก็เช่นกัน มีการตกแต่งบิดเบือนข้อมูล เป็นข้อมูลด้านเดียวจนกระทั่งฝรั่งต่างชาติมองปัญหา จชต.ติดลบ ขอยกคำพูดของ Miss Cynthia Petrigh ที่ได้มีโอกาสเดินทางเข้ามาในพื้นที่ จชต. ครั้งแรก และได้ลงไปเยี่ยมเยียนสัมผัสรับรู้ปัญหาจริงๆ ถึงกับกล่าวว่า สถานการณ์ จชต. มิได้ย่ำแย่ตามที่เป็นข่าว แปลกใจที่เคยได้ยินเรื่องปัญหาจากประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม แต่แปลกใจเมื่อตนลงพื้นที่กลับพบว่าประชาชนที่นี่ได้รับครบถ้วนมิได้ขาด ในเรื่องการประกอบศาสนกิจไม่ว่าจะเป็นการคลุมฮิญาบ หรือการละหมาด

นั่นคือมุมมององค์ภาคประชาสังคมต่างประเทศที่ทำงานร่วมกับรัฐ และทหารทั่วโลก ที่องค์กรนี้ไปตั้งสำนักงานอยู่ประเทศไหนก็จะยึดแนวความคิดที่เป็นกลาง และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ หันกลับมามององค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยเรา!!  โดยเฉพาะองค์กรที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ จชต. เคยทำประโยชน์ และตอบแทนบุญคุณผืนแผ่นดินเกิดหรือยัง!! หรือมีแต่คอยบิดเบือนข้อมูลทำลายประเทศชาติให้ฉิบหายต่อไป...
-------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น