กรณีเว็บเพจ Berita Bumi Patani ได้ทำการโพสต์คลิปวีดีโอ นายอับดุลการิม คาลิด โฆษก BRN ได้ประกาศชัยชนะในการต่อสู้ในภาพรวม
จากรุ่นสู่รุ่นเป็นระยะเวลา 100 ปี
ที่บรรพบุรุษได้ต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิและอัตลักษณ์เพื่อลูกหลานของชาวปัตตานี อีกทั้งได้พยายามชี้นำ ให้เห็นว่า
การต่อสู้ดังกล่าวได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาลไทย จนทำให้คนมลายูได้ผลประโยชน์มากมายที่ตามมา
จนลืมกล่าวถึงผลเสียหรือความเสียหายจากการกระทำรุนแรงที่ผ่านมา ผมในฐานะคนกลางที่อยู่ในพื้นที่มานาน ขอแสดงความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบในคำแถลงการณ์ดังนี้
๑.ประเด็นการโฆษณาชวนเชื่อโน้มน้าวให้พี่น้องชาวปาตานีเข้าร่วมต่อสู้ เพื่อความยุติธรรมกับขบวนการ อ้างถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๘
ที่บรรพบุรุษพยายามต่อสู้มาอย่างยาวนาน โดยให้กำลังใจว่า
สักวันชัยชนะจะเป็นของเรา อีกทั้งยังเรียกร้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลไทย ตลอดระยะเวลา 15 ปีกับความร่วมมือของประชาชนที่ยอมเสียสละเพื่อร่วมกันต่อสู้
ชาวปาตานีไม่เคยได้อะไรจากสยาม
แต่สยามกลับให้เราเอง
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า
พยายามหยิบเอาประวัติศาสตร์มาปลุกระดม
ทั้งๆที่คนส่วนใหญ่ก็รู้เรื่องนี้ดี ผ่านเอกสาร หนังสือ ที่ผู้รู้
นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์นำเสนอไปแล้วว่า
เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาลสยามกับการชยายอิทธิพลของรัฐบาลอังกฤษกับฝรั่งเศส
ที่ต้องการแสวงหาอำนาจและดินแดนในภูมิภาคนี้
จนส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของผู้ปกครองทั้งของสยามและมลายูในเวลานั้น จุดยืนของ BRN ยังคงต้องการแบ่งแยกไทย-พุทธ
จึงพยายามบอกว่า ไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย
ทั้งๆที่รัฐได้นำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เมืองต้นแบบ โครงการเมืองมั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รายได้
ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาระบบการศึกษา สิ่งที่ยืนยันได้คือ
ห้วงที่ผ่านมามีคณะทูตขององค์กร OIC และผู้นำศาสนาจากต่างประเทศ
ได้เดินทางมาเยี่ยมชม/พบปะพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ จชต.ยังกล่าวชื่นชมรัฐบาลไทย รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดี อาจจะดีกว่าบางประเทศมุสลิมด้วยกันอีก
๒. ประเด็นการต่อสู้ที่ผ่านมา
ทำให้รัฐบาลไทยต้องหวาดกลัว ต้องส่งกำลังทหารมาดูแลความไม่สงบ
จึงต้องขอการสนับสนุนจากมวลชนในการต่อสู้ต่อไป
ข้อนี้รัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวอะไร
แต่เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดูแลความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ ปชช.ได้ดำเนินชีวิตเป็นปกติสุข รัฐมีความพร้อมทั้งกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์
และศักยภาพที่เหนือกว่า แต่รัฐไม่ต้องการใช้ความรุนแรง
ใช้หลักสันติวิธี หลักการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
มีหลายโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้หลงผิดหรือถูกทอดทิ้งจาก
BRN เข้าร่วมกับรัฐ
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ปชช.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยจากการใช้ความรุนแรง การแสดงออกของชาวบ้านที่ออกมาไม่เห็นด้วยที่
ต.กาลิซา อ.ระแงะ จำนวนมาก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออกมาประณาม
ผกร.ที่เข้าใช้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นที่โจมตีต่อชุดคุ้มครองตำบลกาลิซาที่ผ่านมา
อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เข้มแข็งขึ้นในการที่ช่วยเข้าเวรยามของ
ชรบ. อรม. และกำลัง อส. ตัวอย่างชัดเจนที่นำกำลังมาช่วยสู้กับ ผกร.ในการโจมตีฐาน
ชคต.กาลิซา
๓. ประเด็นที่มี BRN เข้ามาแสดงบทบาทใน
จชต.ทำให้รัฐต้องมาสนับสนุนการพัฒนามากขึ้น
สร้างอาชีพให้กับคนมุสลิมในการเป็นครู
การรับราชการ นักธุรกิจ
จัดการศึกษาดีขึ้น
ข้อนี้ลองทบทวนในมุมกลับ ถ้าหากไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงใน
จชต.สิ่งดีๆจะเกิดขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน เช่น การลงทุนมากขึ้นทำให้เศรษฐกิจดี รายได้ของคนที่ค้าขายหรือทำงานก็มากขึ้น นักท่องเที่ยวมากขึ้น ระบบการพัฒนาการศึกษาโปร่งใสขึ้น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมืองของรัฐบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือการนิยมความรุนแรง การแบ่งแยก ความหวาดระแวง ความเชื่อมั่นของสังคมภายนอก คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ทราบดีว่า
ใครอยู่เบื้องหลังอุปสรรค แต่ BRN เป็นองค์กรลับ ไม่ยอมรับและเปิดเผยในสิ่งที่กระทำ
๔.
ประเด็นที่รัฐบาลไทยไม่จริงใจที่จะแสวงหาสันติภาพ
และมองว่าเป็นปัญหาภายในประเทศ
ข้อนี้จะเห็นว่า ปัญหา
จชต.รัฐบาลได้ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ
ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาหลายระดับ ทั้งหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่
รวมทั้งการจัดสรรประมาณลงมาเพื่อแก้ปัญหาทั้งในมิติความมั่นคง การพัฒนา
การอำนวยความยุติธรรม
การเสริมสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต้องการให้พื้นที่
จชต.กลับสู่ความสงบ
ปชช.อยู่ร่วมกันแบบพาหุวัฒนธรรมร่วมอย่างปกติสุข
อีกทั้งคณะพูดคุยสันติสุขในระดับรัฐบาลและระดับพื้นที่กำลังขับเคลื่อนหาแนวทางการพูดคุยกับฝ่ายเห็นต่างทุกกลุ่ม
ผ่านทางผู้อำนวยความสะดวกฝ่ายมาเลเซียในขณะนี้
ถ้ามองอีกมองหนึ่งหาก BRN ไม่นิยมความรุนแรง
ต้องหันกลับมาใช้แนวทางสันติวิธีโดยเข้าร่วมการเจรจากับคณะพูดคุยสันติสุขที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น