‘แบดิง โกตาบารู’
ในประเทศไทยเรามีการปลุกระดม
ปลุกกระแสให้เกิดความแตกแยกในสังคมของกลุ่มผู้เห็นต่าง
มีการเคลื่อนไหวทางความคิดกระทำการอย่างเปิดเผยไม่กลัวเกรงต่อกฎหมายใดๆ
ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ
ยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
มีกลุ่มและองค์กร นักคิดนักเขียน นักวิชาการ นักการศาสนา ทนายความ
และปีกการเมืองกลุ่มขบวนการไม่แค่ทำการปลุกระดมทางความคิดธรรมดาๆ ทั่วไป
แต่ถึงขนาดชี้นำปลุกกระแสให้มีการแบ่งแยกดินแดนเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐบาลไทยกันเลยทีเดียว
การสร้างการรับรู้กับประชาชนมีการเผยแพร่บทความ
การจัดเวทีเสวนา หนักหนาสาหัสถึงกับยุแหย่ให้ประชาชนในพื้นที่ละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ไม่ยอมรับการปกครองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.59 นายอาบีบุสตา
ดอเลาะ ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
อดีตกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมชายแดนใต้ (KAWAN-KAWAN) ได้เผยแพร่บทความผ่านเว็บไซต์ deepsouthwatch หัวข้อ
“การผนวกรัฐปาตานีผ่านรัฐธรรมนูญโดยรัฐไทย”
ในบทความดังกล่าวได้ระบุสนธิสัญญา Anglo-Siamese
Treaty ทำให้ปาตานีถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม ตั้งแต่
พ.ศ.2452 โดยไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากเจ้าเมือง
และประชาชนปาตานีไม่มีส่วนรู้เห็น
โดยได้มีการชี้นำว่าเมื่อปี 2475
อาณาจักรสยามได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับแรก กำหนดในมาตรา 1 “สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้
ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด
ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน”
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนจากคำว่า “สยาม” เป็น
“ประเทศไทย” เพื่อลบภาพ “รัฐล่าอาณานิคม”
และไม่เคยเปลี่ยนแปลงข้อความในรัฐธรรมนูญ
มาตรา 1 เท่ากับ “เป็นการผูกมัดให้ประชาชนปาตานีต้องกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”
ความอิสระทางความคิด
การปลุกระดมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นับวันยิ่งทวีความรุนแรง มีกลุ่มบุคคลมุ่งสร้างความแตกแยกในเรื่องเชื้อชาติ
และศาสนา
เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกตัวมาปรับทัศนคติกลับกล่าวหาเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในฐานะที่จังหวัดชายแดนใต้มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
กลุ่มหรือบุคคลเหล่านี้ย่อมรู้ดีว่าการบังคับใช้กฎหมายของประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวดขนาดไหน
ลองมาดูและเปรียบเทียบความผิดที่ลงโทษการละเมิดต่อกฎหมาย แต่พฤติกรรมที่ผ่านมาของกลุ่มเครือข่ายแนวร่วมสนับสนุนกลุ่มขบวนการได้คืบจะเอาศอกวัตถุประสงค์ของกลุ่มทนายความมุสลิมจัดตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร? ไม่ใช่มุ่งช่วยเหลือผู้กระทำความผิด
ให้พ้นผิดหรอกหรือ?
ความเข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมายของประเทศมาเลเซีย
ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติปลุกระดม (พ.ร.บ.ปลุกระดม) ซึ่งกฎหมายฉบับนี้“จับกุมคนที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนการ์ตูน นักกฎหมาย ทนายความ
ฝั่งตรงข้ามรัฐบาล แม้กระทั่งทนายความที่ช่วยเหลือผู้ถูกจับกุม ก็โดนจับกุมด้วย”
พ.ร.บ.ปลุกระดม
และกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดียในมาเลเซีย ผู้กระทำความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต หรือประมาณ 45,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 3
ปี หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำความผิดครั้งแรก และไม่เกิน 5
ปี สำหรับผู้กระทำความผิดซ้ำ
นี่หากกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไปอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียคงติดคุก
ติดตะรางกันหลายรอบแล้ว ประเทศมาเลเซียแค่เบาะๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลุกระดมอย่างเดียวก็มีความผิดแล้ว
แต่จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเรา..พฤติกรรมถึงกับคิดแบ่งแยกดินแดนแยกตัวเป็นเอกราชจากรัฐบาลไทย
ที่สำคัญมีการปลุกกระแสความเป็นชาตินิยม
ให้ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวหลงผิดคิดว่าตัวเองคือ “มลายู”ไม่ใช่คนไทย ด้วยการปฏิเสธ 5 ไม่ กล่าวคือ
NO
INFORMATION จะต้องไม่ยอมรับสื่อหรือข่าวสารใดๆ
ที่มาจากฝ่ายรัฐบาลไทย หรือเจ้าหน้าที่รัฐไทย ต้องไม่ยอมรับไม่เห็นด้วย
และต่อต้านข่าวสารทุกชนิดที่มาจากรัฐไทย
NO COMPROMISE ไม่ยอมให้อภัย ไม่สมานฉันท์
ไม่คืนดี ไม่ให้คำมั่นสัญญา ไม่เจรจา ไม่ประนีประนอม
ไม่ต้องการให้มีการเจรจาเกิดขึ้น
NO ASSIMILATE จะต้องไม่อยู่ร่วมกันอย่างเด็ดขาดกับคนสยาม
ไม่กลมกลืนทางวัฒนธรรม ไม่ปรองดองกับสยาม
ซึ่งมีความพยายามชี้ให้ให้เห็นว่าสยามทำลายความเป็นชนชาติมลายู ทำลายศาสนาอิสลาม
NO AUTONOMY จะต้องไม่เอาเขตปกครองพิเศษ หรือ AUTONOMY
อย่างเด็ดขาด เขตปกครองพิเศษไม่ใช่เป้าหมายการต่อสู้ขององค์กร
ขบวนการ BRN มีเป้าหมายเดียวเท่านั้นคือ MERDEKA (เอกราช) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
NO PALIAMENT จะต้องไม่ยอมรับกฎหมายไทย
เพราะกฎหมายไทยเป็นกฎหมายของคนสยาม เป็นกฎหมายของชาวไทยพุทธ
จะมาบังคับใช้กับคนมลายู และบังคับคนที่นับถือศาสนาอิสลามไม่ได้
การปลุกระดมเพื่อหาแนวร่วมยังคงใช้ประเด็นสยามกดขี่
ข่มแหง กดดัน ใช้ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ เช่นเหตุการณ์ตากใบ
ชี้ให้เห็นว่าซีแยกระทำต่อพี่น้องมลายูปาตานีอย่างโหดเหี้ยมยังคงใช้ได้ผลอยู่ในปัจจุบัน
คนที่ยังไม่รู้เท่าทัน คงจะรู้แล้วว่ากลุ่มขบวนการ รวมไปถึงเครือข่ายสนับสนุนมีการปลุกระดมทางความคิดใน
จชต.เพื่ออะไร?
------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น