10/12/2559

ความแตกต่างการปลุกระดม...ชายแดนใต้vsประเทศมาเลเซีย

แบดิง  โกตาบารู


พ.ร.บ.ปลุกระดม และกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดียในมาเลเซีย ผู้กระทำความผิดมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต หรือประมาณ 45,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำความผิดครั้งแรก และไม่เกิน 5 ปี สำหรับผู้กระทำความผิดซ้ำ

ย้อนมองความอิสรเสรีในการปลุกระดมในประเทศไทยเรา ถึงขนาดมีการคิดแบ่งแยกดินแดนออกจากผืนแผ่นดินไทยของคนบางกลุ่ม ทุกวันนี้กลุ่มองค์กรนี้ยังเสนอหน้าอยู่ในพื้นที่ หลงผิดคิดว่าตนเองเป็นมลายู กล่าวหาสยามรุกรานไม่สำนึกในแผ่นดินเกิด น่าจะย้ายถิ่นไปพำนักในมาเลย์ดูว่าจะมีความสุขมั๊ย!!

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา นักสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รวมตัวกันที่หน้าสถาน

เอกอัครราชทูตมาเลเซีย ประจำประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียยกเลิกพระราชบัญญัติปลุกระดม (พ.ร.บ.ปลุกระดม) ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล

ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่ปกครองโดยคนมลายู ความเข้มงวดของกฎหมายมีความเข้มข้น โดยเฉพาะผู้ที่กระทำความผิดมีบทลงโทษที่รุนแรง สามารถบังคับใช้กฎหมายกับบุคคล กลุ่มหรือองค์กรที่ต่อต้านรัฐได้ผลอย่างดีเยี่ยม

แต่น่าแปลกใจการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ขนาดรัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกทั้งประเทศ  หรือแม้กระทั่งการใช้กฎหมายพิเศษการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้มีการเข้มงวดกวดขัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่
แต่กลับมีกลุ่ม องค์กรและบุคคลที่พยายามเคลื่อนไหวให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎหมายพิเศษ อ้างไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ท่าทีกลุ่มและองค์กรเหล่านี้อ้างประชาชน ข้อเท็จจริงออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องกลุ่มขบวนการ ปกป้องผู้กระทำความผิด การประกาศใช้กฎหมายพิเศษไม่ได้กระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่แต่อย่างใด แต่มีผลต่อกลุ่มขบวนการที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ ไม่มีอิสระในการก่อเหตุ

คำว่าเชื้อชาติ ไม่ได้เป็นตัวแบ่งแยกคนในชาติ รัฐจะต้องมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงแห่งชาตินั้นๆ เพื่อความสงบสุขของคนในชาติ
สำหรับพระราชบัญญัติปลุกระดม (พ.ร.บ.ปลุกระดม) ของประเทศมาเลเซีย จับกุมคนที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนการ์ตูน นักกฎหมาย ทนายความ ฝั่งตรงข้ามรัฐบาล แม้กระทั่งทนายความที่มาช่วยผู้ถูกจับกุม ก็โดนจับด้วย

สำหรับบทลงโทษ หากประชาชนถูกตั้งข้อหาตาม พ.ร.บ.ปลุกระดม และกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดียจะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต หรือประมาณ 45,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำความผิดครั้งแรก และไม่เกิน 5 ปี สำหรับผู้กระทำความผิดซ้ำ


แล้วในประเทศไทยเราละ..ดินแดนแห่งสยามเมืองยิ้ม กลุ่มคนที่บิดเบือนความจริง ทนายความที่ช่วยเหลือกลุ่มขบวนการ นักวิชาการ นักคิด องค์กรภาคประชาสังคมทั้งหลาย นำข้อมูลเท็จทำร้ายทำลายประเทศย่อยยับเสียหาย รัฐทำอะไรไม่ได้ ไปแตะก็แอะอะโวยวายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน...ทำไม? มาเลเซียบังคับใช้ พ.ร.บ.ปลุกระดม และกฎหมายการสื่อสารเอาผิดกับประชาชนตนเองได้!!!..น่าคิดนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น