10/15/2560

เพียงแค่เขาเล่ามา..


"แบคอรี ลังกาสุกะ"



     เครื่องมือการสร้างข่าวลือของกลุ่มขบวนการโจรใต้ ยังคงใช้วิธีการเดิมๆ แต่ได้ผล แหล่งข่าวลือมักอยู่ที่ร้านน้ำชาเป็นหลัก ดังนั้นร้านน้ำชานี้เองจึงเป็นแหล่งรวมของพี่น้องชาวมลายูมุสลิมตามวิถีชีวิตปกติในแต่ละวัน และเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคนต่างพื้นที่ ภาษา วัฒนธรรม จึงทำให้เป็นอุปสรรคปัญหาในการเข้าถึง  ทำให้ข่าวลือที่มาจากร้านน้ำชากลายเป็นปัญหาในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้

     การแพร่กระจายข่าวลือจึงเริ่มจากร้านน้ำชาจากปากสู่ปาก  จากนั้นก็แพร่สู่เพื่อนบ้านและหมู่บ้านต่างๆ รวมถึงตลาดนัด นอกจากการร่ำลือแบบปากต่อปาก ยังมีอุปกรณ์เสริมใช้เป็นเครื่องมือ เช่น โทรโข่ง โทรศัพท์มือถือ ใบปลิว โดยเฉพาะในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างสื่อสังคมออนไลน์ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมื่อในการสร้างข่าวลือให้กับกลุ่มขบวนการ โดยการสร้างโฆษณาชวนเชื่อผ่านแอปพิเคชั่นต่างๆ เช่น เฟสบุค ไลน์ ยูเทป ทวีตเตอร์ หรือแม้แต่เว็บไซต์ โดยข่าวสารจะถูกสร้างขึ้นและถูกปล่อยออกไปในลักษณะว่า เจ้าหน้าที่รัฐยิงชาวบ้าน ทหารฆ่าประชาชน  ทั้งนี้ยังบิดเบือนประวัติศาตร์ ชาติพันธ์ ศาสนา อัตลักษณ์วัฒนธรรม กระบวนการยุติธรรม รวมถึงความผิดผลาดของการทำงานเจ้าหน้าที่นำมาเป็นประเด็นในการสร้างความรู้สึกร่วมให้กับพี่น้องชาวมลายู เกลียดชังเจ้าหน้าที่ สร้างความแตกแยก สร้างความหวาดระแวงระหว่างประชาชนไทยพุทธกับประชาชนไทยมลายูและประชาชนกับเจ้าหน้าที่ เพียงเพื่อต้องการแยกประชาชนออกจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งกลุ่มขบวนการจะไม่คำถึงผลกระทบหรือความสูญเสียของประชาชนในพื้นที่ คิดแค่ว่า อะไรก็ได้ที่ทำให้ประชาชนกับเจ้าหน้าที่สามารถแยกออกจากกันได้กลุ่มขบวนการจะทำหมด แม้แต่ฆ่าพี่น้องมุสลิมด้วยกันก็ตามกลุ่มขบวนการเองก็ยอมทำและโยนความผิดด้วยการโฆษณาชวนเชื่อใส่ร้ายเจ้าหน้าที่
     
      พฤติกรรมของกลุ่มสื่อแนวร่วมขบวนการ ซึ่งหลายคนที่ติดตามสื่อสังคมออนไลน์  มักจะเห็นว่ากลุ่มพวกนี้มักจะสร้างโฆษณาชวนเชื่อสร้างประเด็นขัดแย้ง เช่น ชอบแถด้วยข้อความ ไร้พยานหลักฐานไร้ข้อเท็จจริง ชอบเสริมเติมแต่งข้อมูลด้วยตัวอักษร ไม่เคยมีพยานหลักฐานใดๆ นำมาแสดงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือประเด็นที่เกิดขึ้น ซึ่งต่างจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีพยานหลักฐานเด่นชัด รวมถึงการนำกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ก่อนจะนำเสนอข้อมูลทุกครั้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นการสะท้อนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล เหมือนเหรียญคนละด้าน หรือด้านมืดกับด้านสว่าง แต่ที่เจ็บปวดใจคือคนในพื้นที่บางกลุ่ม กลับหลงเชื่อการนำเสนอข้อมูลที่ไร้หลักฐานข้อเท็จจริง เพราะคนเหล่านี้ชอบอ้างว่า “เขาเล่ามา เขาพูดมา เขาบอกว่าจับผิด เขาบอกว่าโดนทรมาน เขาบอกว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนทำ เขาบอกว่าเป็นการจัดฉาก เขาบอกว่าเจ้าหน้าที่อุ้ม”เมื่อเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง “ก็บอกว่าฉันไม่รู้ เห็นเขาเล่ามา” มันง่ายดีนะกับคำตอบที่เกิดขึ้น แล้วใครละจะรับผิดชอบต่อการนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จใครละรับผิดชอบ ขณะที่เจ้าหน้าที่เองก็ต้องก้มรับชะตากรรมไป จะให้ไปไล่จับหรือฟ้องร้องก็หาว่าเจ้าหน้าที่รังแกประชาชนกลายเป็นการสร้างเงื่อนไขในพื้นที่อีก คนเรามักจะเชื่อข้อมูลที่ได้รับมาในครั้งแรก โดยไม่ค่อยพิจารณาว่า ความจริงเป็นเช่นไร ไม่ตรวจสอบความจริงหรือรอให้ความจริงปรากฎกลับใช้หลักการรับรู้และตัดสินใจเชื่อจนกลายเป็นเหยื่อของกลุ่มขบวนการโดยไม่รู้ตัว
        
      ดังนั้นผู้เขียนอยากเตือนสติ การเสพข่าวสารไม่ว่าจะเป็นปากต่อปาก ใบปลิว ภาพข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรใช้วิจารณญาณเลือกรับฟังข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้และเสพข่าวอย่างมีสติ คิดวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงรอบด้าน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเครื่องมือของกลุ่มขบวนการ จนกลายเป็นประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนใต้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


---------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น