สิ่งที่ถูกผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังนำมาหยิบยก
ให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือผู้ก่อเหตุรุนแรงยึดถือเป็นอุดมการณ์ในการต่อสู้ (The ideology in the fight) คืออะไร มีการออกแบบ สร้าง และใช้อย่างไร ใคร่ขอนำมาไล่เรียงทีละประเด็นดังนี้
ทำไมเยาวชนวัยรุ่นหนุ่มสาวจึงตกเป็นเป้าหมาย!!!
เยาวชนหรือวัยรุ่นจะมีความกระตือรือร้นสูง มีพลังและความปรารถนาอันแรงกล้า ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและได้รับการยอมรับ
อีกทั้งสังคมทั่วไปเชื่อและยอมรับว่าพลังเยาวชนเป็นพลังบริสุทธิ์ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็คืออยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงของวัย
ซึ่งจะสับสน เคว้งคว้าง ยังไม่แน่ใจในเป้าหมายของชีวิตตน กอปรวุฒิภาวะยังน้อย หรืออ่อนต่อโลก เป็นเป้าหมายที่ผู้นำ
หรือผู้ที่ทำหน้าที่กระตุ้นแนวความคิด (catalyst) สามารถที่จะเผยแพร่แนวความคิด สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อชักจูงให้เข้าร่วมขบวนการได้โดยง่าย ยิ่งถ้าผู้บอกเล่าเป็นครู
หรือผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน
และเป็น Idol เยาวชนเหล่านั้น เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งจะทำให้เยาวชนหลงเชื่อได้โดยบริสุทธิ์ใจ
การสร้างอุดมการณ์ร่วมกัน ทำอย่างไร!!!
การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง คือปรัชญาในการปลูกฝังอุดมการณ์ที่สร้างขึ้นมา
เช่น นำเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา มาตุภูมิ
มาขยายให้เห็นจุดร่วมและจุดต่างชัดขึ้น ฉายภาพประวัติศาสตร์ที่หยุดนิ่งเพื่อสร้างความเคียดแค้น
เกลียดชัง (hatred) บนความแตกต่าง หรือไม่ก็ต้องสร้างเหตุการณ์ที่สำคัญเพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์เชิงบาดแผลร่วมสมัยไว้สำหรับการระลึกถึง และใช้การกระตุ้นทางการเมืองและศาสนา เป็นระยะๆ
เพื่อสร้างความเกลียดชังหล่อเลี้ยงอุดมการณ์ที่สร้างขึ้นมา ให้เชื่อว่าเป็นอุดมการณ์ในการต่อสู้ร่วมกัน
โดยที่เหยื่อเหล่านั้น ไม่รู้เลยว่าอุดมการณ์ที่รับการปลูกฝังมานั้น เป็นอุดมการณ์ที่ถูกวางแผน และสร้างขึ้นมา
อาจจะเนื่องมาจากความเคียดแค้นส่วนตัวของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่อาจจะเคยได้รับการปฏิบัติอย่างอยุติธรรม
หรือหลงผิดคิดว่าคนคือตนกับรัฐเป็นสิ่งเดียวกันเท่านั้น หรืออาจจะเป็นผลประโยชน์แห่งรัฐ ซึ่งกว่าที่เยาวชนผู้หลงเชื่อเหล่านั้นจะรู้ก็ถลำลึก
และได้สูญเสียช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตไปเสียแล้ว
กลายเป็นผู้หลงผิดในสายตาของรัฐ
แล้วอะไรคืออุดมการณ์ของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้!!!
ในช่วงแรกๆ ของการสร้างสถานการณ์ไม่มีกลุ่มใดๆ
ออกมายอมรับ เรียกร้อง
หรือแสดงความรับผิดชอบใดๆ
ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความสับสน ว่าใคร และทำเพื่ออะไร
แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งขบวนการที่คิดว่า ตนเองมีอิทธิพลมากสุด ได้ออกมาแถลงการณ์เมื่อ กุมภาพันธ์ 2556 , ตุลาคม 2558 และ เม.ย.60
ซึ่งทั้ง 3 ครั้ง ก็ไม่ได้กล่าวถึงอุดมการณ์ในการต่อสู้แต่อย่างไร
มีเพียงข้อเรียกร้องและความต้องการได้รับการยอมรับ
แม้กระทั่งแถลงการณ์ล่าสุดของกลุ่มผู้แทนในการพูดคุย ซึ่งผู้แทนจากขบวนการสำคัญก็เป็นหนึ่งในนั้น
ก็มีเพียงความต้องการได้รับการยอมรับถึงกับเรียกร้องให้รัฐบาลใช้กฎหมายพิเศษรับรองสถานะของตน
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีเอกภาพและสถานะปัจจุบัน ที่ชัดเจน ประมวลจากภาพเหล่านี้ก็อาจจะเป็นคำตอบได้ว่า
สาเหตุที่ขบวนการและกลุ่มเหล่านี้ไม่เคยพูดถึงอุดมการณ์ในการต่อสู้เลยก็เพราะว่ามันไม่เคยมีกระมัง มีแต่ผู้หลงผิด ยึดติดในสิ่งที่ถูกสร้างและได้รับปลูกฝังขึ้นมาเท่านั้น
ที่ยังหลงผิดคิดว่านั่นคืออุดมการณ์ของขบวนการที่ตนร่วมอยู่ และหลงว่าตนกับขบวนการคือสิ่งเดียวกัน
เยาวชนเป้าหมายระหว่างการปลูกฝัง จะเป็นอย่างไร!!!
เราอาจวิเคราะห์กระบวนการสร้างแนวร่วมที่ปฏิบัติอยู่ในพื้นที่
จชต.เทียบเคียงกับบันไดสู่การก่อการร้าย (Staircase to Terrorism) ของ Moghaddam
ได้ดังนี้
เยาวชนผู้หลงผิดเมื่อได้รับการปลูกฝัง ตอกย้ำ จะเกิดการตีความทางจิตวิทยา
รู้สึกว่าอัตลักษณ์ของตนและกลุ่มตนถูกคุกคาม ไม่มีความสำคัญ ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม
ยิ่งรวมเข้ากับประสบการณ์ตรงที่พบเห็น หรือการบอกเล่าของบางคนในกลุ่มที่ได้รับประสบการณ์ตรง
จะยิ่งสามารถสร้างความคุมแค้น เกลียดชังได้ง่ายขึ้น ซึ่งขั้นแรกนี้จะถูกปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัย
ทำให้เยาวชนที่ได้รับการปลูกฝังเหล่านั้นต้องพยายามหาทางออกเพื่อต่อต้านความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม
หลงเชื่อโดยสนิทใจในสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกตัวเองจากผู้ที่ไม่ได้คิดเหมือนตน
ปฏิเสธความคิดของผู้อื่น แม้กระทั่งคนในครอบครัว
การเลือกเยาวชนเป้าหมายจะต้องเป็นเยาวชนที่มีความประพฤติเรียบร้อย
มีความอ่อนไหวง่ายต่อการปลูกฝังอุดมการณ์ทางความคิด
โดยที่ผ่านมาส่วนมากจะเป็นครูสอนศาสนา
รุ่นพี่หรือบุคลากรในสถานศึกษาที่เป็นนักจัดตั้ง ทำการปลุกระดม
ชักชวนให้เยาวชนเป้าหมายเข้าสู่ขบวนการ ซึ่งจะแบ่งเป็นเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา
และนอกสถานศึกษา
การเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารสมัยใหม่ในการชักชวนเยาวชนเป้าหมายเข้าร่วมอุดมการณ์
ปัจจุบันมีความสะดวกมาก เพราะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่
หันมาสนใจกับเทคโนโลยีทางการสื่อสารมากยิ่งขึ้น
มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง จึงเป็นช่องทางให้กลุ่มขบวนการ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการโน้มน้าว
ชักชวนกลุ่มเยาวชนเป้าหมายที่มีคุณสมบัติดังกล่าว พร้อมกับมีการนัดพบปะเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์แนวความคิดต่อต้านรัฐ
พัฒนาเยาวชนเป้าหมายไปเข้าสู่ขบวนการตามขั้นตอนในการจัดตั้งเพื่อเป็นสมาชิกร่วมอุดมการณ์ต่อไป
พัฒนาการต่อมาก็คือไม่ยอมรับความจริงที่รับรู้ได้ในภายหลัง
มีแนวคิดที่สุดโต่ง ใช้ความรุนแรง (Violent Extremism) ขาดสำนึกในเรื่องผิดชอบชั่วดี
ต้องการแก้แค้น คิดว่าฆาตกรรมเป็นสิ่งที่ไม่ผิด แยกตัวออกจากครอบครัว
เชื่อว่าการใช้ความรุนแรงเป็นทางที่ถูกต้องตามหลักความเชื่อศาสนาโดยถูกปลูกฝังในทางที่ผิด
เป็นสิ่งที่ทำให้เหนือฝ่ายตรงข้ามและเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำและพร้อมที่จะใช้หรือเข้าร่วมกับกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตน
และเป็นผู้เข้าร่วมขบวนการในที่สุด
เมื่อร่วมขบวนการแล้วเป็นอย่างไร!!!
ผู้เข้าร่วมขบวนการจะต้องรับการฝึกเพื่อสร้างความฮึกเหิม
และความมั่นใจในการก่อเหตุรุนแรง สร้างความเกลียดชังหล่อเลี้ยงอุดมการณ์ร่วมในการต่อสู้ที่สร้างขึ้นมา
เริ่มก่อเหตุจากง่ายๆ ให้มีหมายจับเพื่อยึดโยงทางกฎหมายอีกที ขยับจากเรื่องง่ายไปยาก
เรื่องเล็กไปใหญ่ตามลำดับ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่การสร้างกงล้อแห่งความหวาดกลัว โดยเริ่มจากสร้างความรุนแรงและเสียหายในพื้นที่
เพื่อให้เกิดผลกระทบในด้านที่ต้องการ สร้างความหวาดกลัว
และการจดจำ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ โดยผู้เข้าร่วมขบวนการไม่รู้ว่าจะหาทางออกจากกงล้อนี้ได้อย่างไร
เมื่อรู้แล้ว จะออกจากขบวนการได้อย่างไร!!!
ผู้เข้าร่วมขบวนการไประยะหนึ่งแล้ว จะรับรู้ความจริงและตระหนักในสำนึกความรับผิดชอบ
ชั่ว ดี อยากออกมาจากขบวนการ ออกมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ติดพันธะทางกฎหมาย พันธะขบวนการสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่
ตลอดจนความไม่รู้ เป็นอุปสรรคไม่สามารถทำตามที่ใจตนเองต้องการ จะปรึกษาปัญหานี้กับใครก็ไม่ได้
มีแต่เพื่อนร่วมขบวนการจำใจต้องร่วมขบวนการไปเรื่อยๆ การหาทางออกที่ดีที่สุดของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป แต่รัฐบาลมองว่าเยาวชนเหล่านี้คือผู้หลงผิด
ซึ่งควรได้รับโอกาส และโครงการพาคนกลับบ้านที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่ขณะนี้เป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้หลงผิดเหล่านี้
เมื่อรู้แล้วจะยอมเป็นตัวแทนของผู้ที่มีความเกลียดชัง เคียดแค้นเป็นการส่วนตัว
ไปเพื่ออะไร
"ดำดิ่งมหาสมุทร"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น