11/05/2560

ทำไม? ยกฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน


จากประเด็นข่าว “กรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องนักสิทธิ” ที่เขียนและเผยแพร่โดย isranews เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2560 เวลา 21:01 ในกรณีรายงานการทรมานภาคใต้นั้น  ไม่ได้หมายความว่า นักสิทธิฯ ทั้ง 3 ท่าน ที่อัยการสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้นั้น  เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ที่ถูกต้องแล้ว หรือ พยานหลักฐานอ่อน ในความเห็นของพนักงานอัยการ!!  แล้วอะไรล่ะ ???? คือข้อเท็จจริงขอการสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้

ทำไม? จึงต้องฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชน
หากย้อนไปดู ก็พบว่าหนึ่งในกลุ่ม NGOs จากต่างประเทศ คือ องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่ง เป็นองค์กรนอกภาครัฐที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลก ได้เขียนข้อความโจมตีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ จชต. ว่ามีการกระทำความรุนแรง และการทรมานที่โหดร้าย ต่อผู้ที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ ถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน เป็นข้อมูลที่ องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้มาจากการเผยแพร่รายงาน “สถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใน จชต. ปี 2557 – 2558”  ของ 3 นักสิทธิฯ  ในพื้นที่ประกอบด้วย  นายสมชาย หอมลออ, น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ  โดยเรื่องที่นักสิทธิฯ ทั้ง 3 ท่าน ได้รายงานนั้น ก็ไม่ได้มีการเกิดขึ้นจริง โดยทั้งสามคนอ้างว่า มีการกระทำความรุนแรง และการทรมานที่โหดร้าย ของเจ้าหน้าตำรวจ และทหาร ทั้งการทุบตี การใช้ถุงพลาสติกครอบศีรษะ ใช้มือหรือเชือกรัดคอ และการกระทำให้อับอายในรูปแบบต่างๆ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเป็นการกล่าวอ้างที่ขาดทั้งหลักฐานและข้อเท็จจริง โดยไม่มีการตรวจสอบก่อนที่จะนำมาเสนอต่อสาธารณชน
พฤติกรรมของนักสิทธิที่เคลื่อนไหวทำกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ จชต.ทั้ง 3 คน ถือได้ว่า “เป็นการจงใจพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่รัฐ และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีระดับสากล สร้างความเสื่อมเสียที่ไม่น่าให้อภัย” อีกทั้งข้อมูลที่นักสิทธิฯ ทั้ง 3 ร้องเรียนก็เป็นรายงานเท็จ และไม่ยอมให้ความร่วมมือหรือยินดีรับการตรวจสอบใดๆ  จึงได้มีการฟ้องร้องเป็นคดีความในเวลาต่อมา ในข้อหา “หมิ่นประมาท” และการกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์”

เหตุผลที่ศาลสั่งไม่ฟ้อง...
เหตุผลที่ศาลสั่งไม่ฟ้องไม่ได้เกิดจาก พยานหลักฐานอ่อน  หรือขาดน้ำหนัก หรือ การกดดันขององค์กรภาคประชาสังคม หรือ NGOs  แต่เป็นเพราะ  กอ.รมน.ภาค 4 สน. อยากให้โอกาสนักสิทธิทั้ง 3 คนนี้ ที่เป็นประชาชนคนไทยด้วยกัน ได้กลับใจ มาปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา จชต.ร่วมกันในอนาคตจึงได้ถอนแจ้งความ
       โดยเมื่อวันที่ 
7 มีนาคม 2560  กอ.รมน.ภาค 4 สน.ได้
จัดหารือร่วมระหว่าง  3 นักสิทธิฯ ประกอบด้วย นายสมชาย หอมละออ, น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ : มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และน.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ประธาน กลุ่มด้วยใจ  พร้อม ดร.โคทม อารียา  ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี   และ ผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ เพื่อหาทางยุติการดำเนินคดีที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ยื่นฟ้องนักสิทธิทั้ง 3 ฐานหมิ่นประมาท ที่ สภ.เมืองปัตตานี  โดยได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน 3 ประการคือ การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น, การป้องกันการละเมิด  กำหนดมาตรการแก้ไขหลังเหตุละเมิด  และการกำหนดสถานที่นำตัวเข้าซักถามข้อมูลรวมทั้งการจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน ผ่านกลไกต่างๆ เพื่อร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้การรายงานถูกต้อง ไม่กระทบฝ่ายใด ซึ่งเมื่อบรรลุข้อตกลง ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ก็ได้ถอนแจ้งความกับนักสิทธิฯ ทั้ง 3 ท่าน ซึ่งทางนายสมชาย, น.ส.พรเพ็ญ และ น.ส.อัญชนา ได้กล่าวขอบคุณ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ที่ถอนแจ้งความ
            จะเห็นได้ว่า  กอ.รมน.ภาค 4 สน. ไม่ได้มีเจตนาเอาความทางคดี ให้ 3 นักสิทธิฯ ได้รับโทษทัณฑ์ แต่ต้องการให้เกิดการแก้ปัญหา มีการตรวจสอบความจริงร่วมกัน และมีการจัดทำรายงานร่วมกัน ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ จชต.  โดยหวังว่าทั้ง 3 คน จะมีสำนึกรับผิดชอบในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มากกว่าเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนที่จะได้จากองค์กรข้ามชาติ  ซึ่งกำลังใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ทันคิดว่าผลประโยชน์ส่วนตนที่ได้รับนั้น เป็นการทำลายชื่อเสียง เกียรติภูมิของประเทศ ของเขาเอง
            ภาพลักษณ์ที่ผ่านมาของภาคประชาสังคมในพื้นที่ มักถูกมองในทัศนคติเชิงลบ เช่น  ..... เป็นองค์กรที่สร้างความแตกแยกและสร้างความขัดแย้งในสังคม ..... เป็นองค์กรที่รับเงินต่างชาติเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ..... เป็นม๊อบรับจ้าง ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมต่างๆ ..... เป็นกลุ่มขัดขวางการพัฒนาประเทศ หรือไม่ก็ .... เป็นพวกที่ชอบต่อต้านประท้วงและคัดค้าน โครงการต่าง ๆ ของรัฐ... เลือกข้าง  ไม่เคยออกมาประณามกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่  นี่คือการมองจากภายนอกและกิจกรรมในบางประเด็น  ซึ่งภาคประชาสังคมในอุดมคตินั้นเป็นกลุ่มคนที่ปรารถนาอยากให้สังคมดีขึ้น และอยากให้การทำงานและการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐ  ได้ถูกตรวจสอบและเปิดเผย ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน  เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความมุ่งมั่น อยากเห็นปัญหาสังคมได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหากลุ่มคนด้อยโอกาส และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา
 สุดท้ายอยากให้สังคมได้รับรู้ความจริงว่า เหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง เพราะ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้ถอนแจ้งความพนักงานอัยการจึงมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง คดีก็เป็นอันยุติ
        ก็ขอแสดงความยินดีกับนักสิทธิฯ ทั้ง
 3 ท่าน  ซึ่งก็หวังว่าการถอนแจ้งความซึ่งนำมาซึ่งความเห็นสั่งไม่ฟ้องของอัยการในครั้งนี้นั้น  จะทำให้บรรยากาศในการทำงานร่วมกันในอนาคต เป็นไปโดยราบรื่นสามารถ สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต. ได้อย่างยั่งยืนต่อไป!!!


"ดำดิ่งมหาสมุทร"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น