แนวทางการดำเนินคดีความมั่นคงสำหรับพนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2523 ตาม มาตรา 21 “พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี
การปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายโดยสุจริต เที่ยงธรรม”
“ลมใต้ สายบุรี”
การใช้อำนาจตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2523
ถ้าหากพนักงานอัยการเห็นว่า การฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน หรือจะมีผลกระทบ ต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอ ต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่สำนักอัยการสูงสุดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.อ. (คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ) ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกรณีที่พนักงานอัยการไม่ยื่นคำร้องไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนคำร้อง ถอนอุทธรณ์ และถอนฎีกา ด้วยโดยอนุโลม
ถ้าหากพนักงานอัยการเห็นว่า การฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน หรือจะมีผลกระทบ ต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอ ต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่สำนักอัยการสูงสุดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.อ. (คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ) ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับกรณีที่พนักงานอัยการไม่ยื่นคำร้องไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนคำร้อง ถอนอุทธรณ์ และถอนฎีกา ด้วยโดยอนุโลม
การใช้อำนาจตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2523
เป็นการใช้อำนาจของอัยการสูงสุด เป็นอำนาจทางการบริหาร จะไม่ผูกติดกับอำนาจตุลาการ
การสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของอัยการสูงสุด
ถ้าเห็นว่าการฟ้องจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย
หรือความมั่นคงของชาติจะต้องผ่านการพิจารณาจาก
ผอ.รมน.ภาค 4 แล้ว
เห็นว่าบุคคลนั้นกระทำไปเพราะหลงผิด และสัญญาว่าจะกลับใจ จะไม่เข้าร่วมขบวนการและสามารถที่จะดึงคนในขบวนการและเพื่อนออกมาได้
อัยการสูงสุด สามารถถอนฟ้องได้
เรื่องทางคดีอาญาเป็นอันยุติ “การสั่งไม่ฟ้อง” ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ
“โครงการพาคนกลับบ้าน” โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจาก ผอ.รมน.ภาค 4
จะเป็นส่วนสนับสนุนให้ ผกร.
หรือผู้ที่หลงผิดสามารถเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้านมากขึ้น
ส่วนผู้ที่ให้ความร่วมมือ ผู้ที่ให้ข้อเท็จจริงกับรัฐ ศาลรับฟังและลดโทษให้
ที่ผ่านมาหลายคดีผู้ที่ไม่ยอมรับสารภาพในชั้นซักถาม มีการส่งตัวฟ้องศาลดำเนินคดีจนกระทั่งมีการต่อสู้ในชั้นศาลผลการพิจารณาคดี
ถึงที่สุดศาลจะไม่มีเหตุลดโทษให้
ถึงที่สุดศาลจะไม่มีเหตุลดโทษให้
หากจะฟังเสียงสะท้อนของชาวไทยพุทธในพื้นที่ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาไม่เห็นด้วยกับโครงการพาคนกลับบ้าน
จากการที่ พลโทพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4
ได้เดินสายพบปะชาวไทยพุทธเพื่อรับฟังปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งตัวแทนกลุ่มไทยพุทธได้มีการเสนอแนะข้อคิด “โครงการพาคนกลับบ้าน” ว่าเห็นด้วยแต่ขอให้มีการพิจารณาด้วยการใช้กฎหมายเป็นรายๆ ไป เป็นการช่วยให้ปัญหาไฟใต้ได้บรรเทาลง
เพราะกลุ่มแนวร่วมจำนวนหนึ่งต้องการกลับมาใช้ชีวิตเช่นคนปกติทั่วไป
แต่ติดขัดที่มีคดีความติดตัว และเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐและกระบวนการยุติธรรม
เมื่อมีการเปิดช่องทางนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หลงผิดต้องการมอบตัวมากขึ้น
จึงขอบอกกล่าวไปยัง พ่อแม่
พี่น้อง ญาติผู้ที่หลงผิด ผู้ที่กำลังหลบหนี ผู้ที่มีคดีความมั่นคงติดตัว หมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หมาย ป.วิอาญา
รัฐได้ช่องทางให้บุคคลเหล่านั้นรายงานตัวแสดงตนเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน
เพื่อการพิสูจน์ตนเอง พิสูจน์ความจริงในชั้นศาล หากให้ความร่วมมือ
ให้ข้อเท็จจริงกับรัฐจะได้รับการลดโทษ ไม่ต้องหลบหนีกลับมาอยู่กับครอบครัวดั่งเช่นคนปกติ
การใช้ พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2523 อัยการสูงสุด
มีอำนาจตาม มาตรา 21 ที่จะสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาคดีความมั่นคงได้
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ตลอดจนการถอนฎีกาคดีความมั่นคงได้ทั้งหมด
ซึ่งผ่านการพิจารณาเห็นชอบจาก ผอ.รมน.ภาค 4 แล้วโดยการใช้อำนาจนี้เป็นของอัยการสูงสุดแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
จะมอบหมายให้คนอื่นทำแทนไม่ได้มีระเบียบ วิธีการ ที่ต้องมีการเสนอตามลำดับขั้นตอน
ซึ่งหากผู้ต้องหาที่สั่งไม่ฟ้องไปแล้ว กระทำผิดซ้ำอีกก็จะถูกดำเนินคดีในทันที
ไม่มีการยกเว้น ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่รัฐได้เปิดช่องทางให้ผู้หลงผิดมอบตัวเพื่อเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้านของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
4 ส่วนหน้าต่อไป.
……………………………………………………………
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น