เหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง ต.มะรือโบตก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของไฟใต้ที่กลับคุกรุ่นขึ้นมาอีกครั้ง และนับจากนั้นการต่อสู้ของขบวนการก่อการร้ายนำโดยขบวนการ BRN CO. ก็เริ่มขึ้น แต่เหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อตอกย้ำและปลุกระดมพี่น้องมลายูมุสลิมตลอด 8 ปีที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 เม.ย.2547 กลุ่มชายฉกรรจ์ได้เข้าโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ จ. ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา โดยใช้อาวุธเท่าที่มีจู่โจมเข้าโจมตีหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ จุดตรวจ ฐานปฏิบัติการทหาร พร้อม ๆ กันถึง 11 จุด ส่งผลให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งเสียฃีวิตและบาดเจ็บ ขณะที่กลุ่มคนร้ายเสียชีวิตไปถึง 107 คน และจับเป็นได้จำนวนหนึ่ง
แต่เหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกันที่มัสยิดกรือเซะซึ่งเป็นจุดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดถึง 34 คน จากการตัดสินใจเข้ากวาดล้างในมัสยิด เนื่องจากกลุ่มคนร้ายที่อยู่ข้างในใช้อาวุธยิงออกมาจนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต ประกอบกับมีประชาชนนับพันมาล้อมเจ้าหน้าที่บริเวณชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง หากปล่อยให้มืดค่ำตามเวลาอาจทำให้สถานการณ์พลิกผันบานปลายสร้างความเสียหายมากกว่านี้
เหตุการณ์ที่กรือเซะนอกจากเป็นเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายและจุดประกายสงครามแย่งชิงประชาชนระหว่างฝ่ายรัฐกับขบวนการก่อการร้ายแล้ว ขบวนการยังได้หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการปลุกปั่นพี่น้องมลายูมุสลิมให้เกิดความรู้สึกต่อต้านรัฐอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะในห้วงเดือนเมษายนในช่วงปีแรกๆ ของเหตุการณ์
ยิ่งกว่านั้นขบวนการยังบิดเบือนรายละเอียดของเหตุการณ์นี้อย่างจงใจชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ โดยให้ข้อมูลด้านเดียวต่อองค์กรและประเทศมุสลิมว่าเหตุการณ์นั้นเป็นการปิดล้อมเพื่อกวาดล้างคนมุสลิมที่กำลังละหมาดอยู่ในมัสยิด โดยไม่ได้กล่าวถึงการก่อเหตุที่ขบวนการเป็นฝ่ายเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐก่อนแต่อย่างใด
และเช่นเคยการครบรอบ 8 ปี ของเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะในปีนี้แกนนำบีอาร์เอ็นฯ ก็ยังพยายามนำเหตุการณ์กรือเซะไปใช้ปลุกระดมประชาชนในพื้นที่ และในประเทศที่สาม หวังตอกย้ำให้เห็นถึงความเลวร้ายและความเจ็บปวดของผู้ถูกกระทำ โดยวิธีการเดิมๆ คือปิดบังข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่ในช่วงหลังมานี้ประชาคมโลกมีความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมากขึ้น และรู้ดีว่าใครคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง
เรื่องนี้ขบวนการก็รู้ดีว่าต้องเสียการสนับสนุนไปพอสมควร จนต้องออกมาฟาดหัวฟาดหางให้ข่าวสารเชิงตำหนิองค์กรต่างๆ ว่าเข้าข้างรัฐบาลไทย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรอิสลามใหญ่ๆ เช่น องค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC (Organization of Islamic Cooperation) ก็พลอยโดนคนไร้ความคิดพวกนี้ด่าไปด้วย ด้วยเหตุผลที่ไม่ยอมเชื่อในสิ่งที่พวกเขาหลอกลวง
หันกลับมาให้มุมมองของชาวบ้าน โดยเฉพาะที่เคยทำมาหากินกับการท่องเที่ยวที่มัสยิดกรือเซะและศาลเจ้าแม่ลิ้ม กอเหนี่ยวที่ตั้งอยู่ติดกัน ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นมีนักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และภายในประเทศ มาเที่ยวชมโบราณสถานสำคัญแห่งนี้เป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าเม็ดเงินจำนวนไม่น้อยที่แพร่สะพัด ได้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ
แต่หลังเกิดเหตุการณ์ที่พวกไร้ความคิดได้ก่อขึ้นทุกอย่างก็เงียบสงบ นักท่องเที่ยวลดลงวูบวาบเพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงชีวิตเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมความสวยงามของโบราณสถานหรือธรรมชาติที่ร่มรื่น เพราะยังมีกลุ่มพวกที่ไร้ความคิด ไร้มนุษยธรรมยังวนเวียนก่อเหตุความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบที่นั่น
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่ต่อเหตุการณ์กรือเซะในปัจจุบันคือชาวบ้านไม่สนแล้ว “การพูดถึงเหตุการณ์กรือเซะ ก็เหมือนการย้อนเทปม้วนเก่าให้ชาวบ้านนึกถึงความเจ็บปวดเหล่านั้นอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดมีผลกระทบกับความรู้สึกของคนที่นี่ แต่เวลาก็ช่วยบรรเทาได้ แต่ไม่ได้ลืม เพียงไม่อยากให้เน้นภาพที่เลวร้ายนั้นมาก เพราะจะเป็นการปลุกกระแสให้เกิดความเกลียดชังอีก”
ในความพยายามของทุกภาคส่วนที่ได้เข้าไปดำเนินการทั้งการเยียวยาผู้เสียชีวิตแม้ว่าจะเป็นผู้กระทำผิด เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม และครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบและเพื่อให้สังคมโลกเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ละเลยในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการปลุกภาพลักษณ์ของกรือเซะในฐานะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ก็เป็นอีกความพยายามที่ทุกฝ่ายทำมาโดยต่อเนื่อง แต่จากคำพูดของครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ พบว่ามีสื่อบางแขนงที่ลงไปทำข่าวกรณีกรือเซะพยายามที่จะยุยงให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตไม่ยอมความ โดยยุยงให้ดำเนินการเอาผิดกับรัฐ และไม่ให้ยุติการเรียกร้องการช่วยเหลือจากรัฐ นี่คือสิ่งที่ครอบครัวผู้เสียหายกรณีกรือเซะได้สะท้อนมา
เห็นได้ชัดว่านั้นเป็นความพยายามที่ต้องการให้ชาวบ้านได้รับความยุติธรรมซึ่งพวกเขาได้รับแล้วหรือพยายามที่จะหยิบยกเหตุการณ์นี้เพื่อสร้างรอยร้าวที่เกือบประสานให้ปริแตกออกมาอีกครั้ง
ถึงวันนี้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนมุสลิม พุทธและจีน ที่นั่นโดยเฉพาะบ้านกรือเซะกำลังดีวันดีคืน เหตุการณ์ร้ายที่เป็นเสมือนหมอกควันได้เลือนหายไป แล้วการที่ใครบางคน บุคคลบางกลุ่มยังพยายามใช้เหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์นี้สร้างกระแสใดๆ ขึ้นมาอีกครั้ง ย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เขาไม่มีความหวังดีกับพี่น้องประชาชน ไม่มีความต้องการให้เกิดสันติสุขขึ้นในดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้
แล้วอะไรคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความพยายามนี้ล่ะ เขาทำเพื่อใคร ? น่าคิดนะ....
ซอเก๊าะ นิรนาม
เหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง ต.มะรือโบตก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของไฟใต้ที่กลับคุกรุ่นขึ้นมาอีกครั้ง และนับจากนั้นการต่อสู้ของขบวนการก่อการร้ายนำโดยขบวนการ BRN CO. ก็เริ่มขึ้น แต่เหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อตอกย้ำและปลุกระดมพี่น้องมลายูมุสลิมตลอด 8 ปีที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 28 เม.ย.2547 กลุ่มชายฉกรรจ์ได้เข้าโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ จ. ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา โดยใช้อาวุธเท่าที่มีจู่โจมเข้าโจมตีหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็น ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ จุดตรวจ ฐานปฏิบัติการทหาร พร้อม ๆ กันถึง 11 จุด ส่งผลให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งเสียฃีวิตและบาดเจ็บ ขณะที่กลุ่มคนร้ายเสียชีวิตไปถึง 107 คน และจับเป็นได้จำนวนหนึ่ง
แต่เหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกันที่มัสยิดกรือเซะซึ่งเป็นจุดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดถึง 34 คน จากการตัดสินใจเข้ากวาดล้างในมัสยิด เนื่องจากกลุ่มคนร้ายที่อยู่ข้างในใช้อาวุธยิงออกมาจนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต ประกอบกับมีประชาชนนับพันมาล้อมเจ้าหน้าที่บริเวณชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง หากปล่อยให้มืดค่ำตามเวลาอาจทำให้สถานการณ์พลิกผันบานปลายสร้างความเสียหายมากกว่านี้
เหตุการณ์ที่กรือเซะนอกจากเป็นเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายและจุดประกายสงครามแย่งชิงประชาชนระหว่างฝ่ายรัฐกับขบวนการก่อการร้ายแล้ว ขบวนการยังได้หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการปลุกปั่นพี่น้องมลายูมุสลิมให้เกิดความรู้สึกต่อต้านรัฐอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะในห้วงเดือนเมษายนในช่วงปีแรกๆ ของเหตุการณ์
ยิ่งกว่านั้นขบวนการยังบิดเบือนรายละเอียดของเหตุการณ์นี้อย่างจงใจชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ โดยให้ข้อมูลด้านเดียวต่อองค์กรและประเทศมุสลิมว่าเหตุการณ์นั้นเป็นการปิดล้อมเพื่อกวาดล้างคนมุสลิมที่กำลังละหมาดอยู่ในมัสยิด โดยไม่ได้กล่าวถึงการก่อเหตุที่ขบวนการเป็นฝ่ายเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐก่อนแต่อย่างใด
และเช่นเคยการครบรอบ 8 ปี ของเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะในปีนี้แกนนำบีอาร์เอ็นฯ ก็ยังพยายามนำเหตุการณ์กรือเซะไปใช้ปลุกระดมประชาชนในพื้นที่ และในประเทศที่สาม หวังตอกย้ำให้เห็นถึงความเลวร้ายและความเจ็บปวดของผู้ถูกกระทำ โดยวิธีการเดิมๆ คือปิดบังข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ทั้งๆ ที่ในช่วงหลังมานี้ประชาคมโลกมีความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมากขึ้น และรู้ดีว่าใครคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง
เรื่องนี้ขบวนการก็รู้ดีว่าต้องเสียการสนับสนุนไปพอสมควร จนต้องออกมาฟาดหัวฟาดหางให้ข่าวสารเชิงตำหนิองค์กรต่างๆ ว่าเข้าข้างรัฐบาลไทย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรอิสลามใหญ่ๆ เช่น องค์การความร่วมมืออิสลาม หรือ OIC (Organization of Islamic Cooperation) ก็พลอยโดนคนไร้ความคิดพวกนี้ด่าไปด้วย ด้วยเหตุผลที่ไม่ยอมเชื่อในสิ่งที่พวกเขาหลอกลวง
หันกลับมาให้มุมมองของชาวบ้าน โดยเฉพาะที่เคยทำมาหากินกับการท่องเที่ยวที่มัสยิดกรือเซะและศาลเจ้าแม่ลิ้ม กอเหนี่ยวที่ตั้งอยู่ติดกัน ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นมีนักท่องเที่ยวทั้งจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และภายในประเทศ มาเที่ยวชมโบราณสถานสำคัญแห่งนี้เป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าเม็ดเงินจำนวนไม่น้อยที่แพร่สะพัด ได้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ
แต่หลังเกิดเหตุการณ์ที่พวกไร้ความคิดได้ก่อขึ้นทุกอย่างก็เงียบสงบ นักท่องเที่ยวลดลงวูบวาบเพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงชีวิตเดินทางท่องเที่ยวเพื่อชมความสวยงามของโบราณสถานหรือธรรมชาติที่ร่มรื่น เพราะยังมีกลุ่มพวกที่ไร้ความคิด ไร้มนุษยธรรมยังวนเวียนก่อเหตุความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบที่นั่น
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่ต่อเหตุการณ์กรือเซะในปัจจุบันคือชาวบ้านไม่สนแล้ว “การพูดถึงเหตุการณ์กรือเซะ ก็เหมือนการย้อนเทปม้วนเก่าให้ชาวบ้านนึกถึงความเจ็บปวดเหล่านั้นอีก ซึ่งต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดมีผลกระทบกับความรู้สึกของคนที่นี่ แต่เวลาก็ช่วยบรรเทาได้ แต่ไม่ได้ลืม เพียงไม่อยากให้เน้นภาพที่เลวร้ายนั้นมาก เพราะจะเป็นการปลุกกระแสให้เกิดความเกลียดชังอีก”
ในความพยายามของทุกภาคส่วนที่ได้เข้าไปดำเนินการทั้งการเยียวยาผู้เสียชีวิตแม้ว่าจะเป็นผู้กระทำผิด เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม และครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบและเพื่อให้สังคมโลกเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ละเลยในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการปลุกภาพลักษณ์ของกรือเซะในฐานะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ก็เป็นอีกความพยายามที่ทุกฝ่ายทำมาโดยต่อเนื่อง แต่จากคำพูดของครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ พบว่ามีสื่อบางแขนงที่ลงไปทำข่าวกรณีกรือเซะพยายามที่จะยุยงให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตไม่ยอมความ โดยยุยงให้ดำเนินการเอาผิดกับรัฐ และไม่ให้ยุติการเรียกร้องการช่วยเหลือจากรัฐ นี่คือสิ่งที่ครอบครัวผู้เสียหายกรณีกรือเซะได้สะท้อนมา
เห็นได้ชัดว่านั้นเป็นความพยายามที่ต้องการให้ชาวบ้านได้รับความยุติธรรมซึ่งพวกเขาได้รับแล้วหรือพยายามที่จะหยิบยกเหตุการณ์นี้เพื่อสร้างรอยร้าวที่เกือบประสานให้ปริแตกออกมาอีกครั้ง
ถึงวันนี้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนมุสลิม พุทธและจีน ที่นั่นโดยเฉพาะบ้านกรือเซะกำลังดีวันดีคืน เหตุการณ์ร้ายที่เป็นเสมือนหมอกควันได้เลือนหายไป แล้วการที่ใครบางคน บุคคลบางกลุ่มยังพยายามใช้เหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์นี้สร้างกระแสใดๆ ขึ้นมาอีกครั้ง ย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เขาไม่มีความหวังดีกับพี่น้องประชาชน ไม่มีความต้องการให้เกิดสันติสุขขึ้นในดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้
แล้วอะไรคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความพยายามนี้ล่ะ เขาทำเพื่อใคร ? น่าคิดนะ....
ซอเก๊าะ นิรนาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น